ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โดย โรงพยาบาลร้องกวาง
โรคเลปโตสไปโรซิส โดย โรงพยาบาลร้องกวาง
2
โรคเลปโตสไปโรซิส โรคเลบโตสไปโรซิส หรือ โรคไข้ฉี่หนู
พบได้ทั้งในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ปัจจัยเสี่ยง ต้องเหยียบย่ำน้ำหรือดินโคลนที่ ปนเปื้อนเชื้อ
3
สาเหตุของโรคเลปโตสไปโรซิส
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า “ เลปโตสไปร่า (Leptospira spp.) “ แบ่งตามซีรั่มวิทยาได้เป็น 2 ชนิด 1. ชนิดที่ไม่ก่อโรค อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นแฉะได้นาน 2. ชนิดที่ก่อโรคทั้งในคนและสัตว์ ไม่สามารถอยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมได้นาน
4
แหล่งที่เชื้ออาศัยอยู่ได้
ชนิดที่ไม่ก่อโรค อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นแฉะได้นาน ชนิดที่ก่อโรค อาศัยอยู่ในคนหรือสัตว์เพื่อการดำรงชีวิต อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสภาพ ความเป็นกรดด่างปานกลาง หรือค่อนไปทางด่างเล็กน้อย ที่อุณหภูมิประมาณ 28 – 32 องศาเซลเซียส
5
สัตว์ที่เป็นแหล่งโรค
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมทั้งคนสามารถติดเชื้อโรคนี้ได้ สัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรค จะขับเชื้อออกมากับปัสสาวะ
6
การระบาดของโรค มีการระบาดไปทั่วโลก ทั้งในเขตหนาวและเขตร้อน
- ในเขตหนาว พบการระบาดในฤดูร้อนหรือฤดูฝน - ในเขตร้อน พบการระบาดสูงขึ้นในฤดูฝน อุบัติการของการเกิดโรคมักจะพบในเขตร้อนมากกว่าในเขตหนาว
7
รูปแบบของการระบาดของโรค
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ 1. การระบาดจากการทำฟาร์มปศุสัตว์ พบมากในเขตหนาว 2. การระบาดในพื้นที่เขตร้อน 3. การระบาดในเขตเมือง สาเหตุมาจากสัตว์ฟันแทะโดยเฉพาะหนู
8
รูปแบบการระบาดในประเทศไทย
- การระบาดที่เพิ่มขึ้น มักเกิดจากการเพิ่มขึ้น ของจำนวนสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรค เช่น หนู โค กระบือ สุกร และสุนัข เป็นต้น - คนที่ติดเชื้อเลปโตสไปร่า มักจะมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น มีอาชีพที่ต้องเหยียบย่ำน้ำ หรือโคลน หรือมีอาชีพเลี้ยงสัตว์
9
การติดต่อของโรค คนหรือสัตว์ติดเชื้อเลปโตสไปร่าได้โดย 1. สัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะ เลือด ซากสัตว์ป่วย หรือสัมผัสทางอ้อมจากตัวเชื้อที่ถูกขับออกมาใน สิ่งแวดล้อมที่เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้ เช่น ในแอ่งน้ำที่ชื้นแฉะ - ในทุ่งนา เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างการคนหรือสัตว์โดย ไชเข้าที่ทางบาดแผล หรือเยื่อเมือกต่าง ๆ เช่น ปาก ตา จมูก หรือทางผิวหนังที่เปื่อย
10
การติดต่อของโรค 2. การกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป
3. การหายใจเอาละละอองของปัสสาวะ หรือของเหลวที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป
11
อาการในคน ได้แก่ มีไข้เฉียบพลัน ปวดหัวรุนแรง หนาวสั่น - ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง (โดนเฉพาะปวดที่หน่อง โคนขา และกล้ามเนื้อหลัง) - ตาแดง ดีซ่าน โลหิตจาง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้ความรู้สึกสับสน เพ้อ ซึม อาจพบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปมีเสมหะ หรืออาจมีเลือดปน และเจ็บหน้าอก
12
การควบคุมป้องกันโรคในคน
1. หลีกเลี้ยงการสัมผัสปัสสาวะสัตว์ ซากสัตว์ป่วย สัตว์แท้ง สัตว์ตายแรกคลอด ที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส และหลีกเลี้ยงการใช้ หรือสัมผัสแหล่งน้ำที่สงสัยว่า มีการปนเปื้อนของเชื้อ เช่น แหล่งน้ำที่สัตว์ลงไปแช่
13
การควบคุมป้องกันโรคในคน
2. ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี้ยงการสัมผัสแหล่งปนเปื้อนได้ ให้สวมเครื่องป้องกันร่างกาย เช่น รองเท้าบู๊ท หรือถุงมือ และให้รีบอาบน้ำ ล้างมือ หรือล้างเท้าทุกครั้งที่สัมผัสดินโคลน แอ่งน้ำ หรือแหล่งปนเปื้อน
14
การควบคุมป้องกันโรคในคน
3. หลีกเลี้ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ เช่น กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ลาบ ก้อย เครื่องในสัตว์ หรือผักสดที่เก็บมาจากท้องนา ที่อาจปนเปื้อนฉี่หนู 4. กำจัดหนู ในบริเวณที่พักอาศัย หรือบริเวณคอกสัตว์เลี้ยง 5. รีบไปพบแพทย์ทันที เมื่อสงสัยว่าป่วย หรือมีอาการคล้ายโรคเลปโตสไปโรซิส
15
การทำลายเชื้อ สามารถทำได้โดย
1.ลดหรือเพิ่มสภาพความเป็นกรดด่าง โดยเชื้อจะตายที่สภาพความเป็นกรดต่ำกว่า 6.5 หรือความเป็นด่างสูงกว่า 8.0 2. เพิ่มหรือลดอุณหภูมิ โดยเชื้อจะตายที่ อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที หรือ อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที
16
การทำลายเชื้อ 3. ความเค็ม เชื้อเลปโตสไปร่าจะตาย เมื่อมีความเค็มสูง
4. ความแห้ง เชื้อเลปโตสไปร่าจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่แห้ง 5. การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน , คลอรีน , น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป รวมทั้งสบู่ก็สามารถฆ่าเชื้อได้
17
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.