ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
FTA : ลู่ทางการส่งออกไป ออสเตรเลีย จีน อินเดีย
วันที่ 19 สิงหาคม 2547 ณ ห้อง ชั้น 4 อาคารริมน้ำ กระทรวงพาณิชย์ โดย อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
2
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา เลือกประเทศที่ไทยจะทำ FTA
ประเทศใหญ่ที่เป็นตลาดดั้งเดิม (Market Strengthening) ขยายตลาดใหม่ (Market Broadening and Deepening) ตลาดที่เป็นประตูการค้า (Gateway) 1. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประเทศที่ไทยจะทำ FTA การเลือกประเทศคู่เจรจา พิจารณาจาก 1. ประเทศใหญ่ที่เป็นตลาดหลักดั้งเดิม (Market Strengthening) เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา 2. ขยายตลาดใหม่ (Market Broadening and Deepening) โดยเฉพาะตลาดที่มีศักยภาพสูง เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 3. ตลาดที่เป็นประตูการค้า (Gateway) สู่ภูมิภาคนั้นๆ เช่น บาห์เรน เป็นประตูการค้าสู่กลุ่มประเทศ GCC (บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรต) เปรู เป็นประตูการค้าสู่ประเทศ Mercosur และอเมริกาใต้ หรือเป็นตลาดในระดับภูมิภาค เช่น BIMST-EC
3
กรอบการเจรจา FTA ครอบคลุม สินค้า บริการ การลงทุน
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอื่นๆ 2. มีกรอบในการเจรจาจัดทำ FTA อย่างไร เดิมการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีจะมุ่งเน้นในการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่มิใช่ภาษีเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี จะครอบคลุมทั้งสิ้นค้า และรวมถึงการเปิดเสรีด้านบริการ การลงทุน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอื่นๆ สำหรับกรอบการเจรจาของอาเซียน-จีน ครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในทุกด้าน โดยการเจรจาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ Early Harvest FTA เปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน ขยายความร่วมมือด้านอื่นๆ เช่น การเกษตร, ICT
4
สาระสำคัญของการเจรจา FTA กับประเทศต่างๆ
ไทย - ออสเตรเลีย อาเซียน – จีน / ไทย - จีน ไทย - อินเดีย 3. สาระสำคัญของการเจรจา FTA กับประเทศต่างๆ -ไทยได้เจรจาจัดทำ FTA กับ 8 ประเทศ + 1 กลุ่มเศรษฐกิจ (จีน อินเดีย บาห์เรน ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เปรู) และ BIMST-EC -มีการลงนามในกรอบความตกลงแล้ว 4 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม ได้แก่ บาห์เรน จีน อินเดีย เปรู และ BIMST-EC -สำหรับการอภิปรายนี้จะเน้นการจัดทำ FTA กับ 3 ประเทศ ซึ่งบางประเทศมีผลบังคับใช้แล้ว คือ อาเซียน-จีน (1 มกราคม 2547) และจะกำลังมีผลบังคับใช้ในเวลาอันใกล้ คือ ไทย-อินเดีย (1 กันยายน 2547) และไทย-ออสเตรเลีย (1 มกราคม 2548)
5
เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
ได้ลงนามความตกลงแล้ว เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2004 การลดภาษีของไทย ลดภาษีเหลือ 0 ทันที ในปี 2005 ประมาณ 49% ของรายการสินค้า เช่น ธัญพืช เส้นใยใช้ในการทอ โกโก้ อัญมณี รถยนต์นั่งขนาดเกิน 3,000 c.c. ลดภาษีเหลือ 0 ในปี 2010 เช่น ผักผลไม้ พลาสติก กระดาษ สิ่งทอ เสื้อผ้า เหล็ก สินค้าอ่อนไหว ลดภาษีเหลือ 0 ในปี เช่น เนื้อโค เนื้อสุกร นม เครื่องในสัตว์ มันฝรั่ง กาแฟ ชา ข้าวโพด ลดภาษีเหลือ 0 ในปี 2025 เช่น นมและครีม เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ผลการเจรจาลดภาษีสินค้า ไทยจะมีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวกว่าออสเตรเลีย (ไทย 20 ปี ออสเตรเลีย 10 ปี) แผนการลดภาษีของไทย ประมาณร้อยละ 49 ของรายการสินค้าทั้งหมด 5,505 รายการ จะลดภาษีเป็นศูนย์ทันที ณ วันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ คิดเป็นมูลค่า 2,161.7 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ไทยไม่มีศักยภาพในการผลิตหรือเป็นสินค้าที่นำเข้ามา แล้วจะไม่กระทบการแข่งขันกับสินค้าในประเทศ เช่น ธัญพืช เส้นใยใช้ในการทอ โกโก้ สินแร่ อัญมณี เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ รถยนต์นั่งขนาดเกิน 3,000 c.c. เป็นต้น สินค้าที่เหลือประมาณร้อยละ 51 ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวของไทย จะค่อยๆ ทยอยลดภาษีเป็นศูนย์ ภายใน 2553 (5 ปี), 2558 (10 ปี), (15 ปี), และ (20 ปี ) แผนการลดภาษีของออสเตรเลีย ประมาณร้อยละ 83 ของสินค้าทั้งหมด 6,108 รายการ จะลดภาษีเป็นศูนย์ทันที ณ วันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ คิดเป็นมูลค่า 2, ล้านเหรียญออสเตรเลีย ได้แก่ สินค้าเกษตรทุกรายการ ยกเว้น ปลาทูน่ากระป๋อง และสินค้าอุตสาหกรรมทุกรายการ ยกเว้น พลาสติก เครื่องหนัง ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็ก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สินค้าที่เหลืออีกร้อยละ 13 ภาษีจะเป็นศูนย์ในปี 2553 (5 ปี) และร้อยละ 4 เป็นศูนย์ในปี 2558 (10 ปี)
6
เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
การลดภาษีของออสเตรเลีย ลดเหลือ 0 ทันที ในปี 2005 ประมาณ 83% ของรายการสินค้า เช่น สินค้าเกษตรทุกรายการ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ยกเว้น ปลาทูน่ากระป๋อง สินค้าอุตสาหกรรมทุกรายการ เช่น อัญมณี ทองแดง ตะกั่ว ดีบุก ลดเหลือ 0 ภายในปี 2010 เช่น สิ่งทอ รองเท้า สินค้าอ่อนไหว ลดเหลือ 0 ภายในปี 2015 เช่น เสื้อผ้า เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ผลการเจรจาลดภาษีสินค้า ไทยจะมีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวกว่าออสเตรเลีย (ไทย 20 ปี ออสเตรเลีย 10 ปี) แผนการลดภาษีของไทย ประมาณร้อยละ 49 ของรายการสินค้าทั้งหมด 5,505 รายการ จะลดภาษีเป็นศูนย์ทันที ณ วันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ คิดเป็นมูลค่า 2,161.7 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่ไทยไม่มีศักยภาพในการผลิตหรือเป็นสินค้าที่นำเข้ามา แล้วจะไม่กระทบการแข่งขันกับสินค้าในประเทศ เช่น ธัญพืช เส้นใยใช้ในการทอ ครั่ง โกโก้ สินแร่ อัญมณี เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ รถยนต์นั่งขนาดเกิน 3,000 c.c. เป็นต้น สินค้าที่เหลือประมาณร้อยละ 51 ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวของไทย จะค่อยๆ ทยอยลดภาษีเป็นศูนย์ ภายใน 2553 (5 ปี), 2558 (10 ปี), (15 ปี), และ (20 ปี ) แผนการลดภาษีของออสเตรเลีย ประมาณร้อยละ 83 ของสินค้าทั้งหมด 6,108 รายการ จะลดภาษีเป็นศูนย์ทันที ณ วันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ คิดเป็นมูลค่า 2, ล้านเหรียญออสเตรเลีย ได้แก่ สินค้าเกษตรทุกรายการ ยกเว้น ปลาทูน่ากระป๋อง และสินค้าอุตสาหกรรมทุกรายการ ยกเว้น พลาสติก เครื่องหนัง ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็ก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สินค้าที่เหลืออีกร้อยละ 13 ภาษีจะเป็นศูนย์ในปี 2553 (5 ปี) และร้อยละ 4 เป็นศูนย์ในปี 2558 (10 ปี)
7
เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
แหล่งกำเนิดสินค้า ใช้ Wholly Obtained สำหรับสินค้าเกษตร Substantial Transformation สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าเกษตรแปรรูป สิ่งทอ ใช้ Regional Value Content : RVC กฎแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย สินค้าที่จะถือว่าได้แหล่งกำเนิดสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่งต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1. กฎ Wholly-obtained สำหรับสินค้าเกษตร 2. กฎ Substantial transformation สำหรับสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด ปลาทูน่ากระป๋อง 3. กฎ Substantial transformation สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม สำหรับสิ่งทอใช้กฎ RVC ซึ่งจะใช้ควบคู่ไปกับกฎ Substantial transformation โดยสัดส่วนมูลค่าของ RVC ตามที่ไทยและออสเตรเลียได้ตกลงกันจะอยู่ที่ร้อยละ 40 หรือ 45 ของราคาสินค้าส่งออกตามราคา FOB
8
สินค้าอ่อนไหวของไทย สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม
1. ปลาแมคเคอเรล กุ้ง นมข้น บัตเตอร์มิลค์ น้ำผึ้ง ส้ม องุ่น มันฝรั่งปรุงแต่ง ไวน์ ลดเหลือ 0 ใน 10 ปี 2. เนื้อ นม หางนม เนย เนยแข็ง เครื่องในสัตว์ มันฝรั่ง น้ำตาล กาแฟ ข้าวโพด ชา ลดเหลือ ภายใน 15 ปี สินค้าเกษตรอ่อนไหวของประเทศไทย ซึ่งจะมีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวกว่า 5 ปี เรียงลำดับจากน้อยไปมาก ได้แก่ - ปลาแมคเคอเรล กุ้ง นมข้น บัตเตอร์มิลค์ น้ำผึ้ง ส้ม องุ่น มันฝรั่งปรุงแต่ง ไวน์ จะทยอยลดภาษีจนเป็นศูนย์ใน 10 ปี - เนื้อ นม หางนม เนย เนยแข็ง เครื่องในสัตว์ มันฝรั่ง น้ำตาล กาแฟ ข้าวโพด ชา จะทยอยลดภาษีจนเป็นศูนย์ใน 15 ปี - นมและครีม มีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวที่สุด โดยจะลดภาษีจนเป็นศูนย์ใน 20 ปี สินค้าอุตสาหกรรมอ่อนไหวของไทย ซึ่งมีระยะเวลาการลดภาษียาวกว่า 5 ปี ได้แก่ - แอลบูมิน สิ่งพิมพ์ เหล็กแป้น แผงคอนโซลและฐานรองรับอื่นๆ จะทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายใน 10 ปี (รวมถึงเสื้อผ้าบางรายการที่ออสเตรเลียมีระยะเวลาการลดภาษียาวกว่า 5 ปี) 3. นมและครีม ลดเหลือ 0 ภายใน 20 ปี สินค้าอุตสาหกรรม - แอลบูมิน สิ่งพิมพ์ เหล็ก แป้น แผงคอนโซล และฐานรองรับอื่นๆ ลดเหลือ 0 ภายใน 10 ปี
9
สินค้าอ่อนไหวของออสเตรเลีย
1. ทูน่ากระป๋อง สิ่งทอ รองเท้า ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็ก เคมีภัณฑ์ พลาสติก ลดเหลือ 0 ภายใน 5 ปี 2. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดเหลือ 0 ภายใน 10 ปี สินค้าอ่อนไหวที่ออสเตรเลียไม่ลดภาษีเหลือ 0% ทันที ในวันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ ประกอบด้วย - ทูน่ากระป๋อง สิ่งทอ รองเท้า ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็ก เคมีภัณฑ์ พลาสติก ออสเตรเลียจะทยอยลดภาษีจนเป็นศูนย์ใน 5 ปี - เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดสำหรับออสเตรเลีย โดยใช้เวลาในการลดสูงสุด 10 ปี ปัจจุบันอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 25 ออสเตรเลียจะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 12.5 ทันที ในวันที่ 1 มกราคม 2548 และลดเหลือร้อยละ 5 ใน 5 ปี และเหลือ 0% ใน10 ปี คือ ปี 2558 คู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดออสเตรเลีย คือ จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย
10
สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS)
จัดตั้ง Expert Group on SPS and Food Standards เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ให้มีผลลุล่วงใน 2 ปี สินค้าสำคัญลำดับแรกของไทย มี 9 รายการ คือ มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ทุเรียน สับปะรด เนื้อไก่ กุ้ง มะม่วง และปลาสวยงาม สินค้าสำคัญลำดับแรกของออสเตรเลีย มี 5 รายการ ได้แก่ ส้มในตระกูลซิตรัส (นาเวล, แมนดาริน, แทงโก้, ส้มโอ) หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง โคกระบือมีชีวิต และอาหารสัตว์เลี้ยง ในการเจรจาฯ มีการแก้ไขปัญหาเรื่องมาตรการสุขอนามัยอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม เนื่องจากเป็นประเด็นที่ไทยให้ความสนใจมาตั้งแต่ต้นและใช้ต่อรองกับเรื่องอื่นๆ เช่น การลดภาษีสินค้าเกษตร ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยได้จัดตั้ง Expert Group on SPS and Food Standards เพื่อเป็นเวทีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วงภายใน 2 ปี และได้จัดทำรายการสินค้าสำคัญลำดับแรกไว้แนบท้ายความตกลงฯ ด้วย ขณะนี้ออสเตรเลียได้จัดทำรายงานเรื่องการวิเคราะห์ความเสี่ยงการนำเข้าสินค้ามังคุด ลิ้นจี่และลำไยเสร็จสิ้นแล้ว ตามคำร้องขอของประเทศไทยและเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างกันภายใต้การจัดทำ FTA ไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งจะมีผลทำให้ประเทศไทยจะสามารถส่งสินค้ามังคุด ลิ้นจี่ และลำไยเข้าไปขายในตลาดออสเตรเลียได้เป็นครั้งแรกในกลางปีนี้ สินค้าสำคัญลำดับแรกของไทย มี 9 รายการ คือ มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย ทุเรียน สับปะรด เนื้อไก่ กุ้ง มะม่วง และปลาสวยงาม สินค้าสำคัญลำดับแรกของออสเตรเลีย มี 5 รายการ ได้แก่ ส้มในตระกูลซิตรัส (นาเวล, แมนดาริน, แทงโก้, ส้มโอ) หน่อไม้ฝรั่ง มันฝรั่ง โคกระบือมีชีวิต และอาหารสัตว์เลี้ยง
11
การเปิดตลาดบริการและการลงทุน
ข้อเสนอเปิดตลาดของออสเตรเลีย -ไทยสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจบริการและการผลิตสินค้าได้ 100% -เปิดโอกาสให้คนไทยทำธุรกิจประเภทต่างๆ ได้มากกว่าสมาชิกอื่นใน WTO หลายประเภท -อนุญาตให้คนไทยทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้เชี่ยวชาญ ข้อเสนอเปิดตลาดของออสเตรเลีย คนไทยจะสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจบริการและการผลิตสินค้าได้ 100% ยกเว้นหนังสือพิมพ์ ธุรกิจกระจายเสียง การบินระหว่างประเทศ และท่าอากาศยาน เนื่องจากมีผลกระทบต่อความมั่นคง อย่างไรก็ตาม หากการลงทุนเกิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (280 ล้านบาท) จะต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนต่างประเทศของออสเตรเลีย ออสเตรเลียเปิดโอกาสให้คนไทยทำธุรกิจประเภทต่างๆ ได้มากกว่าสมาชิกอื่นใน WTO หลายประเภท ได้แก่ ที่ปรึกษากฎหมาย การตกแต่งภูมิทัศน์ ซ่อมรถยนต์ สถาบันสอนทำอาหาร สอนภาษาไทย สอนนวดแผนไทย ฯลฯ การผ่อนคลายเงื่อนไขการเข้าไปทำงาน โดยยกเลิก Labour Market Test ซึ่งทำให้สามารถจ้างคนไทยเข้าไปทำงานได้เลย ไม่ต้องรอประกาศจ้างคนออสเตรเลียก่อน ทำให้คนไทยสามารถเข้าไปทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญ ได้ง่าย การเปิดตลาดการค้าบริการและการลงทุน ครอบคลุมธุรกิจบริการทุกประเภท โดยจะค่อยๆ เจรจาเปิดเสรีในธุรกิจที่มีความพร้อมทุกๆ 3 ปี ออสเตรเลียให้หลักประกันว่าคนไทยสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจทุกประเภทได้ 100% ยกเว้น หนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการลงทุนที่มีขนาดเกิน 10 ล้านเหรียญออสเตรเลีย จะต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาการลงทุนของต่างชาติก่อน สำหรับธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพและจะได้ประโยชน์ ได้แก่ ภัตตาคาร การซ่อมรถยนต์ การตกแต่งภูมิทัศน์ โรงแรม สถาบันสอนภาษอังกฤษ สถาบันสอนภาษาไทย สถาบันสอนทำอาหารไทย สถาบันสอนนวดไทย และอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าทุกประเภท ส่วนไทยเปิดให้ออสเตรเลียเข้ามาลงทุนในธุรกิจซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูงและรัฐมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน โดยให้คนออสเตรเลียถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 60 และกำหนดขนาดของพื้นที่และเงินลงทุนขั้นต่ำไว้เป็นเงื่อนไขด้วย เช่น ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ หอประชุม การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค สถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงแรมขนาดใหญ่ อุทยานสัตว์น้ำ มารีน่า และเหมืองแร่ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกันด้วย โดยมีสาระสำคัญทำนองเดียวกับความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนที่ไทยทำกับประเทศอื่นๆ
12
การเปิดตลาดบริการและการลงทุน
ข้อเสนอเปิดตลาดของไทย 1. ให้คนออสเตรเลียลงทุนในภาคการผลิตได้ 49.9% 2. คนออสเตรเลียจะถือหุ้นในบางธุรกิจได้มากขึ้น แต่ต้องไม่เกิน 60% และมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทยและมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 3 ต่อ 1 ข้อเสนอเปิดตลาดของไทย 1. ให้คนออสเตรเลียลงทุนในภาคการผลิตได้ 49.9% ในธุรกิจทุกประเภทที่ไม่อยู่ในบัญชี 1 และ 2 ของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 2. ออสเตรเลียจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรภาคธุรกิจบริการจากไทยมากกว่าที่สมาชิก WTO อื่นๆ ได้รับ คือ คนออสเตรเลียจะถือหุ้นในบางธุรกิจได้มากขึ้น แต่ต้องไม่เกิน 60% แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในไทย และมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt/Equity Ratio) ไม่เกิน 3 ต่อ 1 ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีเงินลงทุนสูง โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับภายในประเทศ เช่น -ธุรกิจการสร้างหอประชุมขนาดใหญ่ -ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ -โรงแรมหรูขนาดใหญ่
13
เขตการค้าเสรี อาเซียน - จีน
การเปิดตลาดสินค้า สินค้าลดภาษีกลุ่มแรก (Early Harvest) อาเซียน - จีน มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2004 สินค้าพิกัด ลดภาษีเหลือ 0 ภายในปี 2006 ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ที่บริโภคได้ ปลา สัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม ไข่สัตว์ปีก น้ำผึ้ง ผัก ผลไม้
14
ไทย - จีน ลงนามความตกลงเร่งลดภาษีเหลือ 0 สินค้าผัก – ผลไม้
ลงนามความตกลงเร่งลดภาษีเหลือ 0 สินค้าผัก – ผลไม้ ทุกรายการ (พิกัด 07-08) ภายใต้กรอบอาเซียน-จีน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2003 แหล่งกำเนิดสินค้า Wholly Obtained การจัดทำ FTA ไทย-จีน -สำหรับสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหว เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม ถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง เป็นสินค้าที่มีการกำหนดโควตานำเข้าภายใต้ WTO การเปิดเสรีกับจีนเป็นการลดภาษีลงเหลือ 0 โดยยังคงมาตรการโควตานำเข้า ซึ่งในปี 2546 ไทยเปิดโควตานำเข้ากระเทียม 65 ตัน อัตราภาษีในโควตา 27% นอกโควตา 57% อย่างไรก็ตาม ในอนาคตโควตานำเข้าสินค้าดังกล่าวจะค่อยๆ ขยายเพิ่มขึ้นและยกเลิกระบบโควตาในที่สุด -กระเทียมเป็นสินค้าหนึ่งที่มีการลักลอบนำเข้าค่อนข้างสูงในอดีต การทำ FTA และการลดภาษีนำเข้าเหลือ 0 จะทำให้การลักลอบนำเข้าลดลงและส่งผลให้มีการนำเข้าตามช่องทางปกติและถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบการค้าของไทย
15
การจัดทำเขตการค้าเสรี ไทย - อินเดีย
ลงนามกรอบความตกลง FTA เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2003 ครอบคลุมการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน ลดภาษีเหลือ 0% ภายในปี 2010 โดยให้มีการลดภาษีสินค้าบางส่วนก่อน (Early Harvest) จำนวน 82 รายการ ทยอยลดภาษีเหลือ 0 % ภายใน 3 ปี (1 กันยายน 2004 – 1 กันยายน 2006) แหล่งกำเนิดสินค้า สินค้าเกษตรใช้ Wholly Obtained สินค้าอุตสาหกรรมใช้ Substantial Transformation ควบคู่กับ local content เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย - จำนวนสินค้าเร่งลดภาษีได้ปรับลดเหลือ 82 รายการ โดยถอนสินค้าออกจากบัญชีเร่งลดภาษีจำนวน 2 รายการ คือ พิกัด (ข้องอ และปลอกเลื่อนท้ำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า) ซึ่งเป็นสินค้าที่อินเดียขอให้ไทยลดภาษี เนื่องจากอินเดียยืนยันให้ใช้หลักเกณฑ์ local content 40% อย่างเดียว แต่ไทยได้ยืนยันท่าทีเดิมตามที่ภาคเอกชนเสนอให้ใช้หลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ 4 หลัก แต่เพียงอย่างเดียว และพิกัด (โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต) เป็นรายการที่อินเดียขอให้ไทยถอนรายการสินค้าที่ไทยเสนอออกด้วย 1 รายการ เพื่อให้เท่าเทียมกัน ซึ่งตรงกับความประสงค์ของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้การแข่งขันสูงขึ้นและอาจทำลายราคาสินค้าระหว่างกัน - ในปี 2546 การค้าสินค้าเร่งลดภาษี 82 รายการ รวมมูลค่า 88.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 5.9 ของการค้ารวมทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าการส่งออกของไทยไปอินเดีย 50.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากอินเดียมูลค่า 38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ - ทะยอยลดภาษีเหลือ 0 % ภายใน 3 ปี (1 กย.2004 – 1 กย.2006) โดยกำหนดให้ทยอยลดภาษีแต่ละปีลงในอัตราร้อยละ และ 100 ตามลำดับ แหล่งกำเนิดสินค้า (เป็น Interim Rules of Origin) สินค้าเกษตรใช้ Wholly Obtained สินค้าอุตสาหกรรมใช้ Substantial Transformation ควบคู่กับ local content
16
เขตการค้าเสรี ไทย - อินเดีย
การเปิดตลาดบริการและการลงทุน - ทยอยเปิดเสรีในสาขาที่มีความพร้อมก่อน - มีการเจรจารายละเอียดตั้งแต่เดือนมกราคม 2004 และเสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม 2006 เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย - การเปิดตลาดบริการและการลงทุน นอกจาก การเจรจาด้านการค้าสินค้า ยังมีการเจรจาด้านการค้าบริการและการลงทุน และการเจรจาเพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้าในด้านต่างๆ เช่น การจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangement : MRA) พิธีการศุลกากร การออกวีซ่า และการเดินทางของนักธุรกิจ รวมถึง การลด/ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non Tariff Barriers)
17
ปัจจัยที่ชี้ถึงผลสำเร็จของการจัดทำ FTA
แหล่งกำเนิดสินค้า การเข้าไปศึกษาลู่ทางและกฎระเบียบ ในประเทศคู่เจรจา ปัจจัยที่ชี้ถึงผลสำเร็จของการจัดทำ FTA แหล่งกำเนิดสินค้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งชี้ถึงผลสำเร็จของการจัดทำ FTA หากไทยสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณสมบัติตรงตามแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ก็คือ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นผู้ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าต่อไป การเข้าไปศึกษาลู่ทางและกฎระเบียบในประเทศคู่เจรจา โดยกระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษเคลื่อนที่เร็ว (Special Task Force :STF) เข้าไปเจาะตลาด กระจายสินค้า และแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งกรมส่งเสริมการส่งออกจะเป็นผู้ที่ให้รายละเอียดต่อไป
18
รายละเอียดสินค้าและข้อมูลเพิ่มเติม
Website สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Call Center โทร , ,
20
คำถาม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.