งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 8 การภาษีอากร และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 8 การภาษีอากร และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 8 การภาษีอากร และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

2 เหตุผลในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาครัฐบาล
การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ การลดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศ

3 ความหมายของภาษี ( Tax )
สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎรและนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษี

4 ประเภทของภาษีอากร ภาษีทางตรง ( Direct tax ) คือ ผู้เสียภาษีและไม่สามารถผลักภาระภาษีและไม่สามารถผลักภาระภาษีไปให้บุคคลอื่นได้ ภาษีทางอ้อม ( Indirect tax ) ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้

5 ประเภทของอัตราภาษี อัตราภาษีก้าวหน้า ( Progressive tax ) อัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อฐานภาษีรายได้ของผู้เสียภาษีเพิ่มขึ้น อัตราภาษีแบบสัดส่วน ( Proportional tax ) คือ อัตราภาษีคงที่เมื่อรายได้ของผู้เสียภาษีเปลี่ยนแปลงไป อัตราภาษีถดถอย ( Regressive tax ) คือ อัตราภาษีที่ผู้เสียภาษีเสียในอัตราที่ลดลงเมื่อรายได้ของผู้เสียภาษีเพิ่มขึ้น

6 รายได้ของรัฐบาล 1. รายได้จากภาษี 1.1. ภาษีจากฐานรายได้ 1.2. ภาษีจากรากฐานการบริโภค 2. รายได้ที่มิใช่ภาษี 2.1. การประกอบธุรกิจของรัฐบาล 2.2. การบริหารงาน 2.3. การขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ 2.4. การกู้ยืม

7 หนี้สาธารณะ ( Public debt )
การกู้ยืมของรัฐบาล เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในกรณีที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีสูงกว่ารายได้ของภาครัฐบาล

8 ประเภทของหนี้สาธารณะ
1. หนี้ในประเทศภาครัฐบาล หมายถึง ยอดหนี้คงค้างของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ที่กู้ยืมภายในประเทศ 1.1. หนี้ระยะสั้น 1.2. ระยะปานกลาง 1.3. ระยะยาว 2. หนี้ต่างประเทศ หมายถึง ยอดคงค้างหนี้สินผู้มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศ โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนให้กับผู้มีถิ่นฐานในต่างประเทศ

9 รายจ่ายของรัฐบาล ( Public Expenditure )
คือ การใช้จ่ายของรัฐบาลในรูปงบประมาณแผ่นดินประจำปี ที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา เพื่อให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโต การกระจายรายได้และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ

10 แนวทางในการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาล
การใช้จ่ายเพื่อรักษา ระดับการบริหารงานของรัฐบาล การใช้จ่าย เพื่อผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจส่วนรวม รายจ่าย เพื่อช่วยเหลือต่างประเทศ

11 เงินเฟ้อ ( Inflation ) คือ ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการเฉลี่ย โดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

12 เงินฝืด ( Deflation ) คือ การลดลงของระดับราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ

13 ดัชนีที่ใช้ประมาณเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภค ( Consumer Price Index : CPI ) หรือ ดัชนีค่าครองชีพ คือ ดัชนีวัดการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการที่มีการซื้อขายกันโดย ครัวเรือนในระบบเศรษฐกิจ ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP deflator ) คือ ดัชนีที่แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้าและบริการ โดยเฉลี่ยทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ ดัชนีราคาผู้ผลิต ( Product Price Index : PPI ) คือ ดัชนีที่แสดงการเพิ่มขึ้นราคาสินค้าและบริการที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า

14 สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อจากแรงดึงอุปสงค์ ( Demand Pull Inflation ) การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า โดยทั่วไปอันเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่าย เงินเฟ้อจากแรงผลักของต้นทุน ( Cost Push Inflation ) การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโยทั่วๆ ไป เนื่องจากการเพิ่มของต้นทุนการผลิต ผลด้านจิตวิทยา เช่น สินค้าขาดแคลน

15 ผลกระทบของเงินเฟ้อ บุคคลที่ได้รับประโยชน์ คือ ผู้ผลิต พ่อค้า และลูกหนี้ บุคคลที่เสียประโยชน์ คือ ผู้มีรายได้ประจำ ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้

16 นโยบายการคลัง ( Fiscal Policy )
คือ เครื่องมือการใช้จ่ายและภาษีของรัฐบาล เพื่อให้มีผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตของประเทศ การจ้างงานและระดับราคาในประเทศ

17 ประเภทของนโยบายการคลัง
งบประมาณแบบเกินดุล ( Surplus Budget ) หรือ นโยบายการคลังแบบหดตัว คือ การจัดทำงบประมาณรายได้สูงกว่ารายจ่าย งบประมาณขาดดุล ( Deficit Budget ) หรือ นโยบายแบบขยายตัว คือ การจัดทำงบประมาณรายได้น้อยกว่ารายจ่าย งบประมาณแบบสมดุล ( Balance Budget ) คือ การจัดทำงบประมาณรายได้เท่ากับรายจ่าย


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 8 การภาษีอากร และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google