งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย
โดย นายไพศาล มีพร้อม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแสรออ

2 การส่งเสริม การสร้างความสมานฉันท์

3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้รัฐต้องส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและ การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4 นโยบายรัฐบาล พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมืองให้มีความมั่นคงและบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม เสริมสร้างความสมานฉันท์และสามัคคีของคนในชาติให้ เกิดขึ้นโดยเร็ว ใช้แนวทางสันติรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายและหลีกเลี่ยง การใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาของชาติในทุกกรณี ปฏิรูปการเมือง โดยจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

5 หลักการเบื้องต้นที่สำคัญ การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย
1 ยึดหลักกฎหมาย ความมีเหตุผล และสันติวิธี 2 ปฏิบัติตามเสียงข้างมาก รับฟังเสียงข้างน้อย 3 รับผิดชอบและเสียสละเพื่อส่วนรวม 4 มีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคมและการเมือง

6 การยึดหลักกฎหมาย ความมีเหตุผลและสันติวิธี
ปฏิบัติตามกฎหมาย การรู้จักใช้เหตุผล มีความคิดกว้างไกล,มีใจอดทน,ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ใช้หลักความสมัครใจ มีน้ำใจนักกีฬา ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีวินัย เคารพกติกา

7 การปฏิบัติตามเสียงข้างมาก รับฟังเสียงข้างน้อย
การปกครองระบอบประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนมีอำนาจในการปกครองโดยเท่าเทียมกัน การตัดสินปัญหาต่างๆ ต้องทำตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ ฝ่ายข้างน้อยต้องยอมรับและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ขณะเดียวกันฝ่ายข้างมากต้องยอมรับเหตุผลความจำเป็นของฝ่ายข้างน้อย และไม่ละเลยประโยชน์หรือความจำเป็นของข้างน้อยที่ควรจะได้รับการตอบสนอง

8 ความรับผิดชอบและเสียสละเพื่อส่วนรวม
- ต้องเป็นเพื่อส่วนรวมมิใช่เพื่อส่วนตนหรือพวกพ้อง - ความรับผิดชอบต่อสาธารณะต้องพร้อมที่จะรับการตรวจสอบ (accountability) โดยเฉพาะจากประชาชน บุคคลในสังคมจะต้องรู้จักการให้การอนุเคราะห์ผู้อื่น และการรับจากผู้อื่นด้วยการรับอย่างเดียวย่อมเป็นสังคมที่เห็นแก่ตัว สังคม ที่ดีนั้นคนในสังคมจะต้องเสียสละเพื่อผดุงสังคมให้มีความเท่าเทียมเสมอภาคไม่มีความเหลื่อมล้ำจนไม่อาจสมานฉันท์กันได้

9 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและการเมือง
การใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนระดับต่างๆ การสมัครรับเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนับสนุนคัดค้านอย่างมีเหตุผล ให้ความร่วมมือในกิจกรรมของส่วนราชการ

10 โครงการสร้างความสมานฉันท์
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สามารถนำหลักการสำคัญของการสร้างความสมานฉันท์ มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ลดการเผชิญหน้า และสร้างจิตสำนึกร่วมของคนในชาติที่จะยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

11 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระดับหมู่บ้าน โดยพัฒนาบทบาทและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างความสมานฉันท์ อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google