งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร.

2 การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการจัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน เหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ มาตรา 78 (2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ ที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 53/1 ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลางและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด รวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง จำนวนและวิธีการสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการดำเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งปวงที่กระทำในพื้นที่จังหวัดต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว มาตรา 55/1 มาตรา 53/2 ให้นำความในมาตรา 53/1 มาใช้บังคับกับการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ธ.จ.” ทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้ในมาตรา 3/1 มาตรา 55/1

3 ผู้ว่าราชการจังหวัด (แกนประสาน) และการประชุมปรึกษาหารือ
การพัฒนาโดยยึดพื้นที่ แผนพัฒนาจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ โครงการ ผู้ว่าราชการจังหวัด (แกนประสาน) การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ผ่านกลไก ก.บ.จ./ก.บ.ก. และการประชุมปรึกษาหารือ ตาม ม. 53/1 วรรคสอง

4 Collaborative Governance
การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบมีส่วนร่วม Collaborative Governance ราชการบริหารส่วนกลาง Vertical (Multi-level) Governance ราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค ภาคประชาสังคม ชุมชน ประชาชน ภาคเอกชน Horizontal Governance Horizontal Governance ราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น

5 ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกษตรแปรรูป ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เกษตรปลอดภัย ท่องเที่ยววัฒนธรรม สรุปประเด็นยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เกษตรแปรรูป ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกษตรแปรรูป ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 16 15 ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประวัติศาสตร์ โลจิสติกส์ เกษตรข้าวหอมมะลิ+โค ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 17 11 10 ท่องเที่ยว โลจิสติกส์ เกษตรข้าว+อ้อย+มัน เกษตร ข้าวหอมมะลิ + มันสำปะหลัง ท่องเที่ยว อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไหมไทย 18 14 12 13 4 2 เกษตรอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 3 1 เกษตรข้าวหอมมะลิ อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและพลังงานทดแทน 5 เกษตรปลอดภัย ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ 9 เกษตรข้าวหอมมะลิ ท่องเที่ยว เกษตรแปรรูป ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อุตสาหกรรมชุมชน เกษตรปลอดภัย ท่องเที่ยว อุตสาหกรรม โลจิสติกส์ 6 7 เกษตร ผลไม้เมืองร้อน ท่องเที่ยว แทนด้านเกษตร แทนด้านท่องเที่ยว แทนด้านอุตสาหกรรม แทนด้านโลจิสติกส์ เกษตรแปรรูป ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 8 เกษตรยางพารา + ปาล์ม ท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง โลจิสติกส์ ท่องเที่ยวทางทะเล เกษตร - ยางพารา

6 ตัวอย่าง ประเด็นยุทธศาสตร์ : พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว
เชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและสุขภาพ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ตัวชี้วัด : ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้ จากการท่องเที่ยว (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี) คำของบประมาณปี พ.ศ ของกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ฯจำนวน 38,800,000 บาท ประกอบด้วย 1. โครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของกลุ่มฯ (26,000,000 บาท) 2. จัดงานมหัศจรรย์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติบำบัดกอล์ฟแอนด์สปา (The Miracle Thailand) ของกลุ่มฯ เชื่อมโยงกับประเทศ GMS (3,000,000 บาท) 3. โครงการการดูร์ เดอ ล้านนาตะวันออก : ขยายผลโครงข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกลุ่มฯ (9,800,000 บาท)

7 ตัวอย่าง ประเด็นยุทธศาสตร์ : การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน
การผลิตภาคการเกษตร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนกลาง ตัวชี้วัด : ผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น มูลค่าและรายได้จากผลผลิต ภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้น คำของบประมาณปี พ.ศ ของกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ฯจำนวน 492,772,800 บาท ประกอบด้วย 1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรทั้งในและนอกเขตชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก (รวม 26 โครงการย่อย งบประมาณ 395,981,600 บาท) 2. โครงการส่งเสริมคุณภาพการผลิตภาคการเกษตร (รวม 4 โครงการย่อย งบประมาณ 81,215,000 บาท) 3. โครงการพัฒนาปัจจัยการผลิตภาคการเกษตร (รวม 5 โครงการย่อย งบประมาณ 15,576,200 บาท)

8 ตัวอย่าง Value Chain ของการผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตร กระทรวง กรม
วิจัยและ พัฒนา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ การผลิต การแปรรูป เพิ่มและสร้าง คุณค่า การพัฒนา เกษตรกรและ สถาบัน เกษตรกร การพัฒนา ระบบการตลาด กระทรวง กรม จังหวัด องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ชุมชน/ เอกชน 8

9 งบประมาณเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
กระทรวง กรม งบ Function แผนพัฒนาจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ โครงการ จังหวัด/ กลุ่มจังหวัด งบ Area การลงทุนของภาคเอกชน งบ อปท. ตามความสมัครใจ

10   มติของ ก.น.จ. (วันที่ 26 กันยายน 2554)
มติของ ก.น.จ. (วันที่ 26 กันยายน 2554) มีมติเห็นชอบรวม 2 เรื่อง ดังนี้ หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด และการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 แนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดกับ ส่วนราชการ และกับท้องถิ่น ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.น.จ. สำหรับลักษณะโครงการที่ไม่ควรเสนอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด และหลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ อ.ก.น.จ.ฯ จะได้พิจารณาในรายละเอียดและนำเสนอแนวทางในการประชุม ก.น.จ. ครั้งต่อไป

11 แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 มติ ก.น.จ. วันที่ 26 ก.ย. 54 : หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

12 แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 มติ ก.น.จ. วันที่ 26 ก.ย. 54 : หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) ให้นำนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่แถลงต่อสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 มาเป็นกรอบในการจัดทำโครงการ ลักษณะโครงการที่จะนำมาจัดทำเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

13 แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 มติ ก.น.จ. วันที่ 26 ก.ย. 54 : หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ)

14  จัดประชุมร่วมระหว่างจังหวัด จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
มติ ก.น.จ. วันที่ 26 ก.ย. 54 : แนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดกับส่วนราชการ และกับท้องถิ่น ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.น.จ. แนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดกับส่วนราชการ และกับท้องถิ่น ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.น.จ. จัดประชุมร่วมระหว่างจังหวัด กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการการทำงาน/ โครงการร่วมกัน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผู้นำการ บริหารการเปลี่ยนแปลง” (CEO Retreat) มอบหมายให้ทีมบูรณาการกลาง (สงป. สศช. มท. และสำนักงาน ก.พ.ร.) ประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อ จัดประชุมร่วมกันกับจังหวัด และ อปท. เพื่อบูรณาการการทำงาน/ โครงการร่วมกัน โดยในระยะแรก ให้นำร่องในภารกิจ 4 ด้าน คือ ด้านน้ำ ด้านทาง ด้านการเกษตร และด้านการท่องเที่ยว เพื่อจะได้รูปแบบ และนำไปขยายผลในภารกิจด้านอื่นต่อไป เป็นการจัดประชุมร่วมระหว่างจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด (Area) กับส่วนราชการ (Function) เพื่อบูรณาการโครงการ ที่จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ขอรับการ สนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

15 พัฒนาการบริหารจัดการและปัจจัยพื้นฐาน
มติ ก.น.จ. วันที่ 26 ก.ย. 54 : แนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างจังหวัดกับส่วนราชการ และกับท้องถิ่น ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ประธาน ก.น.จ. (ต่อ) Value Chains เกษตร ถนน น้ำ ท่องเที่ยว พัฒนาการบริหารจัดการและปัจจัยพื้นฐาน วิจัยและ พัฒนา พัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนา การตลาด การให้ บริการ การขาย แผนกระทรวง กรม A จังหวัด/ กลุ่มจังหวัด F บูรณาการแผน ที่จะทำงาน ในพื้นที่ร่วมกัน L อปท. กระทรวง กรมนำแผนฯ ไปแจ้งหน่วยงานในพื้นที่

16 ปฏิทินการจัดกิจกรรมการบูรณาการ
ประชุมชี้แจงจังหวัด/กลุ่มจังหวัดผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกลของ มท. (รมต.สร (นายสรุวิทย์ คนสมบูรณ์) เป็นประธาน) พ.ย. 54 ทีมบูรณาการกลางจัดประชุมร่วมกับส่วนราชการ (สำนักนโยบาย และแผน) เฉพาะส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ ถนน การเกษตร และท่องเที่ยว 7 ธ.ค. 54 ทีมบูรณาการกลางจัดประชุมร่วมกับจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับตัวอย่างที่ดีและที่ไม่ดีในการเขียนโครงการและคำของบประมาณ 14 ธ.ค. 54 ประชุม ก.น.จ. นัดพิเศษผ่านระบบวีดีทัศน์ทางไกลของ มท. โดยเชิญ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ ถนน การเกษตร และท่องเที่ยวมานำเสนอแผนงาน/โครงการของส่วนราชการที่จะดำเนินการในพื้นที่ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (นรม. เป็นประธาน) 23 ธ.ค. 54 จัดประชุมร่วมระหว่างจังหวัด/กลุ่มจังหวัดกับส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ ถนน การเกษตร และท่องเที่ยว เพื่อบูรณาการแผนงาน/โครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ม.ค. 55

17 ความเห็นของ อ.ก.น.จ. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554) ได้พิจารณาในเรื่องที่ยังค้างการพิจารณาเพื่อนำเสนอ ก.น.จ. รวม 2 เรื่อง ดังนี้ หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ลักษณะโครงการที่ไม่ควรเสนอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

18     70% คงเดิม จังหวัด 30% ความเห็น อ.ก.น.จ. ฯ วันที่ 17 พ.ย. 54 :
หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) คงเดิม กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ที่ประชุมเห็นว่ายังไม่สามารถกำหนดกรอบงบประมาณได้ในขณะนี้ แต่ในเบื้องต้นให้ใช้กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ จำนวน 18,200 ล้านบาท โดยเป็นงบของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 18,170 เป็นฐาน ในการคำนวณเงินงบประมาณไปก่อน และอีก 30 ล้านบาท เป็นงบสำหรับทีมบูรณาการกลาง งบบริหารจัดการจังหวัด/กลุ่มจังหวัด กำหนดสัดส่วนระหว่างงบประมาณ กลุ่มจังหวัดและงบประมาณจังหวัด จังหวัดละ 10 ล้านบาท กลุ่มจังหวัดละ 5 ล้านบาท (รวมวงเงิน 850 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ 1) การจัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดกับภาคส่วนต่างๆ ตามมาตรา 53/1 และมาตรา 53/2 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ 2) การจัดประชุมคณะกรรมการ ก.บ.จ./ ก.บ.ก. 3) การศึกษาเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดฯ 5) การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เช่น การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ ก.บ.จ./ก.บ.ก. บุคลากร การจัดทำระบบฐานข้อมูล ฯลฯ 6) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ภาคส่วนต่างๆ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฯ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผน 7) การติดตามประเมินผล จังหวัด กลุ่มจังหวัด 30% 70% (5436 ล้านบาท) (12,734 ล้านบาท)

19   คงเดิม 10% 20% 10% 20% 40% ความเห็น อ.ก.น.จ. ฯ วันที่ 17 พ.ย. 54 :
หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) กรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัด ( 12,734 ล้านบาท) คงเดิม 10% จัดสรรตามคุณภาพของแผน 20% จัดสรรตามจำนวนประชากรของ ในแต่ละจังหวัด 10% 10% จัดสรรตาม GPP 20% 10% 20% 20% 40% จัดสรรเฉลี่ย เท่ากัน ทุกจังหวัด จัดสรรตามความผกผันของรายได้ต่อครัวเรือน ในแต่ละจังหวัด 40%

20   คงเดิม วงเงิน 5,436 ล้านบาท
ความเห็น อ.ก.น.จ. ฯ วันที่ 17 พ.ย. 54 : หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) กรอบการจัดสรรงบประมาณกลุ่มจังหวัด ( 5,436 ล้านบาท) คงเดิม วงเงิน 5,436 ล้านบาท ส่วนที่ 1 ร้อยละ 50 (2,736 ล้านบาท) จัดสรรเฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด แยกเป็น 1) กลุ่มที่มี 5 จังหวัด ได้วงเงิน 180 ล้านบาท (มี 5 กลุ่มจังหวัด) 2) กลุ่มที่มี 4 จังหวัด ได้วงเงิน 144 ล้านบาท (มี 12 กลุ่มจังหวัด) 3) กลุ่มที่มี 3 จังหวัด ได้วงเงิน 108 ล้านบาท (มี 1 กลุ่มจังหวัด) ส่วนที่ 2 ร้อยละ 50 (2,700 ล้านบาท) โดยประมาณการกรอบวงเงินเบื้องต้นกำหนดไว้ที่กลุ่มจังหวัดละ 150 ล้านบาท ซึ่งในการพิจารณาจัดสรรไม่จำเป็นจะต้องจัดสรรให้กลุ่มจังหวัดแต่ละกลุ่มเท่ากันขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาคุณภาพของแผนพัฒนา กลุ่มจังหวัด จำนวนจังหวัด ในกลุ่ม งบกลุ่มจังหวัด ส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2* รวม 3 จังหวัด (มี 1 กลุ่ม) 108 150 258 4 จังหวัด (มี 12 กลุ่ม) 144 294 5 จังหวัด (มี 5 กลุ่ม) 180 330 * กรณีได้รับคะแนนคุณภาพแผนเท่ากันทุกกลุ่ม

21  ความเห็น อ.ก.น.จ. ฯ วันที่ 17 พ.ย. 54 :
หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ (ต่อ) หลักเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ประเด็นการพิจารณา คะแนน เดิม ปรับใหม่ 1. ข้อมูลสภาพทั่วไปของจังหวัด 10 5 2. การวิเคราะห์สภาวการณ์และศักยภาพ 3. ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 80 85 3.1 วิสัยทัศน์ (10) 3.2 ประเด็นยุทธศาสตร์ (15) 3.3 เป้าประสงค์ 3.4 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ 3.5 กลยุทธ์ของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ 3.6 บัญชีรายการชุดโครงการของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ (30) (20) รวม 100

22  ลักษณะโครงการที่ไม่ควรเสนอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
ความเห็น อ.ก.น.จ. ฯ วันที่ 17 พ.ย. 54 : ลักษณะโครงการที่ไม่ควรเสนอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ลักษณะโครงการที่ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 1. พื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเห็นชอบจาก หน่วยงานที่รับผิดชอบ 2. ไม่ควรก่อสร้างถนนที่เป็นการก่อสร้างเส้นทางใหม่ เว้นแต่เป็นการสร้างทาง ที่จะทำให้ประเด็น ยุทธศาสตร์ ของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัดบรรลุผลได้อย่างแท้จริง 3. เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง ยกเว้นในกรณีของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อนั้นเป็น ส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4. มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน (เว้นแต่ฝึกอบรมด้านอาชีพ ด้านความมั่นคง และ วิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่ง มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษา) 5. เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย (ควรมีการบูรณาการภารกิจหรือกิจกรรมของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโครงการ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิผล) 6. เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของ หน่วยงานราชการต่างๆ หรือ อปท. อยู่แล้ว เว้นแต่หน่วยงานนั้นไม่มีแผนดำเนินการและเป็นโครงการที่จะทำให้ประเด็น ยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง 7. การเดินทางไปราชการต่างประเทศ ยกเว้นเป็นรายการที่มีข้อผูกพันกับต่างประเทศ หรือเป็นเรื่อง การค้าชายแดน หรือเรื่องการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

23 ข้อสังเกตของ อ.ก.น.จ.ฯ ควรให้งบประมาณของจังหวัด/จังหวัดเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการทำงานเป็นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเสนอให้เป็นมติคณะรัฐมนตรี ให้มีการกำหนดสัดส่วนงบประมาณของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการในพื้นที่ เป็นสัดส่วนร้อยละ 2 หรือ ร้อยละ 3 ควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจในการบุรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการและจังหวัด โดยให้กรมเน้นในเรื่องของนโยบาย แต่ในเรื่องของการปฏิบัติควรเป้นหน้าที่ของภูมิภาคและท้องถิ่นดำเนินการ ทั้งนี้ จำเป็นต้องผลักดันให้มีการบริหารงานโดยยึดพื้นที่ (จังหวัด) ให้มากขึ้น สำหรับการจัดทำโครงการต่างๆ ที่สะท้อนยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัดนั้น ตั้องให้ความสำคัญกับโครงการที่สามารถแสดงผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์ขึ้นจริง โดยสามารถแสดงข้อมูลประกอบการดำเนินงานได้ชัดเจน

24 การจัดทำแผนงาน/โครงการ
สรุปบทเรียน การจัดทำแผนงาน/โครงการ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

25 ลักษณะโครงการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
ลักษณะโครงการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 รายละเอียดโครงการไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดกิจกรรม/กิจกรรมไม่ชัดเจน ไม่ระบุแนวทาง/วิธีการดำเนินงาน ไม่ระบุพื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ดำเนินโครงการยังไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดการใช้งบประมาณไม่เหมาะสม ไม่มีรายละเอียดวิธีการบริหารโครงการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ ชื่อโครงการไม่สื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์/เป้าหมายโครงการ โครงการไม่สอดคล้องกับศักยภาพการพัฒนาหรือสภาพพื้นที่จังหวัด เช่น  โครงการขยายพื้นที่ในการปลูกปาล์มน้ำมัน /โครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่บางแห่ง ฯลฯ โครงการไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์แนวทางของ ก.น.จ. เป็นการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ หรือครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่าย และ/หรือจัดจ้างบุคลากร โครงการที่ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาดูงานต่างประเทศ และ/หรือไม่มีข้อตกลงกับหน่วยงาน/องค์กรต่างประเทศในการดำเนินงานร่วมกัน โครงการที่เป็นงบผูกพันไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 ปี เป็นโครงการที่ควรใช้งบบริหารของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เช่น โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด โครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อบริการประชาชน ฯลฯ เป็นภารกิจประจำของส่วนราชการ  เป็นโครงการซึ่งเป็นภารกิจปกติของส่วนราชการที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว

26 ลักษณะโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
ข้อมูลทั่วไป/หลักการและเหตุผลของโครงการชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด สอดคล้องกับศักยภาพการพัฒนาหรือแก้ปัญหาสำคัญของจังหวัด กำหนดเป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์ แนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ โครงการมีกิจกรรมหลากหลายในลักษณะบูรณาการ และมีกิจกรรมหลักที่แสดงให้เห็นว่าสามารถขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมาย ผลลัพธ์ของโครงการได้ มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ ระบุวิธีการบริหารจัดการ และการดูแลบำรุงรักษาเมื่อโครงการแล้วเสร็จ ดำเนินการแล้วเสร็จได้ภายใน 1 ปี โดยไม่ก่อให้เกิดงบผูกพันข้ามปี

27 ฝ่ายเลขานุการ ก.น.จ. We invite you to come and use our professional photo lab services, and then... stay. Sip a capuccino, view our latest gallery showing or browse through our collection of photography books and magazines. Fine Art and Stock Photography Gallery – abstract impressionism, and realism in black and white, portraits, travel, landscape and digital photography. Welcome to our company. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) 59 ถนนพิษณุโลก แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทร 27


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการบูรณาการแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google