ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แนวทางการตรวจทางห้องปฏิบัติการรองรับกับเป้าหมายของโครงการกำจัดหัดอย่างไร
2
โครงการกวาดล้างโรคหัด ตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายของการกำจัดโรคหัด
มาตรการ ตัวชี้วัด เป้าหมาย บทบาทของLab 1. ความครอบคลุมของวัคซีน ความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคหัดเข็มแรก ตาม EPI program และเข็มที่สอง ตาม EPI program หรือการรณรงค์ให้วัคซีนเสริม (Supplementary immunization activity: SIA) ความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคหัดเข็มแรก และเข็มที่สองต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ในระดับตำบลและระดับประเทศ การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสหัด 2. ขนาดของเหตุการณ์การระบาด จำนวนผู้ป่วยยืนยันในแต่ละเหตุการณ์ระบาด พบผู้ป่วยยืนยันโรคหัดไม่เกิน 10 รายต่อหนึ่งการระบาดในอย่างน้อยร้อยละ 80 ของเหตุการณ์ระบาดทั้งหมด การตรวจยืนยันโรคหัดในแต่ละเหตุการณ์ระบาด ด้วยวิธี ELISA IgM 3. อุบัติการณ์ของโรคหัด อุบัติการณ์โรคหัดต่อประชากรล้านคน อุบัติการณ์โรคหัดน้อยกว่า 1 ต่อประชากรล้านคน ทั้งนี้ไม่นับรวมผู้ป่วยนำเข้าจากต่างประเทศ (imported case) การตรวจยืนยันโรคหัดด้วยวิธี ELISA IgM และตรวจหาสายพันธุ์ไวรัสหัดในแต่ละเหตุการณ์ระบาด 4. สายพันธุ์ของไวรัสโรคหัดที่แพร่กระจายภายในประเทศ จำนวนสายพันธุ์ของไวรัสโรคหัดที่แพร่กระจายภายในประเทศ ไม่มีผู้ป่วยยีนยันโรคหัดที่ติดเชื้อจากไวรัสหัดสายพันธุ์ภายในประเทศ เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ตรวจหาสายพันธุ์ไวรัสหัดในแต่ละเหตุการณ์ระบาด เมื่อดูที่มาตรการที่1.ความครอบคลุมของวัคซีน ...การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสหัดจากกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนเป็นการทำให้มั่นใจได้ว่าระดับภูมิคุ้มกันในสมาชิกของชุมชนอยู่ในระดับที่สามารถป้องกันโรคได้.....ในมาตรการที่ 2.การยืนยันขนาดของเหตุการณ์ระบาด ระบบเฝ้าระวังโรคสามารถตรวจจับการระบาดของโรคหัดได้อย่างรวดเร็วด้วยการตรวจยืนยันด้วยวิธี ELISA IgM มาตรการที่ 3.การตรวจจับอุบัติการณ์ของโรคหัดว่าน้อยกว่า 1 รายต่อประชากรล้านคน โดยไม่นับรวมผู้ป่วยนำเข้าจากต่างประเทศ ได้โดยการตรวจยืนยันด้วยวิธีELISA IgM และตรวจหาสายพันธุ์ไวรัสหัดในแต่ละเหตุการณ์ระบาด ในมาตรการสุดท้าย การหาสายพันธุ์ไวรัสหัดที่แพร่กระจายในประเทศและไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อจากสายพันธุ์ท้องถิ่นไม่ต่ำกว่า 12เดือน โดยการตรวจหาสายพันธุ์ไวรัสหัด Recommended by WHO
3
ตัวชี้วัดทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสด้วยการตรวจหา IgM ด้วยวิธี ELISA ตัวชี้วัด รายงานผลภายใน 48 ชั่วโมง เกณฑ์ที่ยอมรับได้ 90% 2. การตรวจวิเคราะห์หาสายพันธุ์ของไวรัสหัด ตัวชี้วัด รายงานผลภายใน 1 เดือน เกณฑ์ที่ยอมรับได้ 90%
4
วัตถุประสงค์และชนิดตัวอย่างส่งตรวจ
1. การตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสหัดโดยวิธี ELISA IgM Serum 2. การตรวจวิเคราะห์หาสายพันธุ์ (Genotype) ไวรัสหัด Throat swab หรือ Nasal swab การดำเนินการในทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวแล้วนั้นจำเป็นต้องมีความเข้าในเรื่องของวัตถุประสงค์และชนิดตัวอย่างส่งตรวจ 1....มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจจับการระบาดอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองระบบเฝ้าระวังโรค 2…….เพื่อตรวจหาสาเหตุของการระบาดและหาแหล่งที่มาของเชื้อว่าเป็นสายพันธุ์ท้องถิ่นหรือสายพันธุ์นำเข้า โดยใช้วิธีsequencing จากตัวอย่างTS NS
5
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่าง
แล้วตัวอย่างสำหรับวัตถุประสงค์ข้อ1และ2.นั้นเราจะเก็บอย่างไร เรามาดูที่กลไกการก่อโรค ธรรมชาติไวรัสหัดเมื่อเริ่มมีการติดเชื้อในคนซึ่งใช้เวลาฟักตัวของโรค 10-14วัน แล้วจะเกิดผื่นซึ่งอาจร่วมกับพบอาการทางคลินิคอื่นๆเช่น…แถบสีเขี่ยวด้านล่างที่เห็นเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างสำหรับการตรวจยืนยันทางน้ำเหลืองด้วยวิธีELISA IgMซึ่งจะเก็ตัวอย่างที่4-30 วันหลังพบผื่น ส่วนแถบสีน้ำเงินด้านล่างเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างสำหรับการตรวจวิเคราะห์หาสายพันธุ์ไวรัสหัดซึงจะเก็บตัวอย่างที่ 1-5 วันแรกหลังพบผื่น
6
การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวนตัวอย่าง/outbreak
วัตถุประสงค์ การตรวจ วิธีการตรวจ ชนิดตัวอย่าง ระยะเวลาที่เก็บ จำนวนตัวอย่าง/outbreak อุณหภูมิในการขนส่งและเก็บรักษาตัวอย่าง ยืนยัน case/outbreak ELISA (IgM) Serum เจาะเลือดเพียงครั้งเดียวช่วง 4-30 วัน หลังพบผื่น 10-20 ตัวอย่าง #2-8 C (ไม่เกิน 3 วัน) # -20C (เกิน 3 วัน) ตรวจหาสายพันธุ์ Sequencing Nasal/throat swab 1-5 วันแรกหลังพบผื่น 5 ตัวอย่าง #2-8 C (ส่งตัวอย่างทันที/ไม่เกิน 24 ชั่วโมง) # ≤ -70 C (เกิน 24 ชั่วโมง) ตารางนี้แสดงให้เห็นรายละเอียดการเก็บตัวอย่าง จากตารางนี้แสดงให้เห็นตัวอย่างที่เราเก็บสำหรับการตรวจการยืนยันการติดเชื้อไวรัสหัดโดยวิธี ELISA IgM และการตรวจวิเคราะห์หาพันธุ์ไวรัสหัด ซึ่งการปฏิบัติงานในภาคสนามเราอาจจะพบผู้สงสัยป่วยโรคหัดที่มีช่วงเวลาที่ซ้อนทับกันระหว่างช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บตัวอย่างตรวจยืนยันและการตรวจหาสายพันุธุ์
7
ส่งตรวจที่ไหนได้บ้าง ?
8
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
การดำเนินงานในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงของประเทศ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.