ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยNeeramphorn Niratpattanasai ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
ความเสี่ยงและการเตรียมรับมือการก่อการร้ายด้วยอาวุธชีวภาพของประเทศไทย
โดย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค ณ 24 มิถุนายน 2554
2
Bioterrorism อาวุธชีวภาพ
WHO ใช้ชื่อว่า “Deliberate use of biological agents” หรือ “กรณีเหตุการณ์การจงใจกระทำของมนุษย์ด้วยสารชีวะ” : อาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูง ทำให้คนจำนวนมากในพื้นที่กว้างได้รับบาดเจ็บ ป่วย และตาย จุลินทรีย์ที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาวุธชีวภาพได้ ต้องมี คุณสมบัติผลิตง่าย ต้นทุนต่ำมีความคงทนในการผลิต เก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ และเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง อาวุธชีวภาพ หมายถึง อาวุธที่มีอานุภาพในการทำลายล้างสูง ทำให้คนจำนวนมากในพื้นที่กว้างได้รับบาดเจ็บ ป่วย และตาย เป็นอาวุธที่แตกต่างจากอาวุธประเภทอื่น คือ มีการบรรจุสิ่งมีชีวิตไว้ข้างใน ในทางทหารนั้น จุลินทรีย์ที่สามารถนำมาผลิตเป็นอาวุธชีวภาพได้ ต้องมี คุณสมบัติผลิตง่าย ต้นทุนต่ำมีความคงทนในการผลิต เก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ และเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง การรบโดยใช้อาวุธชีวภาพ จะทำได้ 3 วิธี ได้แก่ การปล่อยกระจายเป็นแอโรซอล ( Aerosol Method ) โดยการใช้สเปรย์ หรือวัตถุระเบิดให้กระจายอยู่ในอากาศ คาดว่าการปล่อยกระจายวิธีนี้เป็นวิธีหลักที่จะถูกใช้มากที่สุด ส่วนการปล่อยกระจายไปกับสัตว์พาหะจะใช้วิธีการทำให้สัตว์ที่ดูดเลือดเป็นอาหาร ให้ตัวสัตว์นั้นติดเชื้อ แล้วจึงปล่อยให้สัตว์เหล่านั้นเข้าไปในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้สัตว์ที่เป็นพาหะนำสารชีวะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ แต่วิธีการนี้เป็นวิธีรอง ๆ ลงไป และสุดท้ายเป็นการใช้วิธีการก่อวินาศกรรม หรือปล่อยกระจายโดยวิธีปกปิด
3
คุณลักษณะของเชื้อโรคที่อาจจะนำมาใช้ทำ อาวุธชีวภาพ
ทำให้มีอัตราป่วยและอัตราตายสูง แพร่จากคนสู่คนได้ง่าย ใช้ปริมาณเชื้อน้อย แต่แพร่ได้มากทางการหายใจ การวินิจฉัยโรคได้ไม่เร็วนัก ไม่มีวัคซีน ทำให้เกิดความตื่นตระหนกได้มาก สามารถผลิตเชื้อได้เอง มีความคงตัวในสิ่งแวดล้อม มีฐานข้อมูลจากการวิจัยและการพัฒนามาก่อน สามารถใช้เป็นอาวุธได้
4
รายชื่อโรคที่ใช้เป็นอาวุธชีวภาพ (US CDC)
Group A : Anthrax, Plague, Smallpox, Botulism, Tularemia, Viral Haemorrhagic Fever (อิโบลา ลาสสา มาบวร์ก จูนิน ) Group B : Q fever, Brucellosis, Glanders, VEE, Ricin, Clostridium perfringens, Staph. Enterotoxin B, Salmonella, Shigella, E.coli O 157 : H7, Vibrio chloerae, Cryptosporidium parvum Group C : Nipah virus, Hanta virus, Yellow fever, Tick-borne haemorrhagic fever, MDR-TB High potential US CDC = United States Centers for Disease Control and Prevention = ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดกลุ่มความเป็นไปได้ของการนำเชื้อโรคมาทำเป็นอาวุธชีวภาพ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม A, B และ C ซึ่งกลุ่ม A เป็นกลุ่มที่มีความเป็นได้สูงที่จะนำมาทำเป็นอาวุธชีวภาพ เนื่องจากมีคุณสมบัติเหมาะสม โดย 4 เชื้อแรกที่มีความเป็นไปได้สูงสุด ได้แก่ Anthrax, Plague, Smallpox, Botulism ส่วนกลุ่ม B และ C ก็มีความเป็นไปได้รองลงไปตามลำดับ
5
BIOLOGICAL ANTHRAX 2002, USA
Risk factors in Thailand Alliance with western countries Local political/religious conflicts Craze, mimicry
6
Anthrax mail hoaxes, Thailand
(16 Oct Feb 02) Anthrax test results on 217 suspected letters/objects were all negative ! The confidence in public security was finally restored.
7
การจงใจกระทำของมนุษย์ด้วยสารชีวะ หรือเหตุการณ์
กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ (International Health Regulation 2005) แนวทางของ WHO เรื่องของความมั่นคงทางด้านสาธารณสุข (Global Health Security) การจงใจกระทำของมนุษย์ด้วยสารชีวะ หรือเหตุการณ์ จะกระทบต่อระบบสาธารณสุข ซึ่งสารชีวะถูกทำให้กระจายในวงกว้างหรือติดต่อได้ง่าย และต้องดำเนินการกับผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ระบบต่างๆ จะต้องมีการเตรียมพร้อมสู่การรองรับ สำหรับการอพยพคนหรือการส่งวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือวัคซีน บางกรณีการปฏิบัติการตอบโต้อาจต้องใช้รูปแบบพิเศษ การดำเนินการตอบโต้ที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความเสี่ยงของการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยติดเชื้อ
8
ภารกิจที่จำเป็นในการเตรียมพร้อม
การจัดทำแผน คู่มือปฏิบัติงาน มาตรฐานงาน การให้ข้อมูลข่าวสารและเฝ้าระวังโรค : ศูนย์ข้อมูล ระบบข้อมูล การประสานงาน : คณะกรรมการและศูนย์ประสานงาน การฝึกอบรม : ตำรวจ เจ้าหน้าที่ กสท. บุคลากร สธ. การเตรียมเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ : ยาปฏิชีวนะ ชุด & อุปกรณ์กันเชื้อ การเตรียมปฏิบัติการ : หน่วยเฉพาะกิจเพื่อสอบสวนและควบคุมโรค การให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ภารกิจที่จำเป็นในการเตรียมพร้อม ต้องมีการจัดทำแผน คู่มือปฏิบัติงาน มาตรฐานงาน การให้ข้อมูลข่าวสารและเฝ้าระวังโรค แก่ ศูนย์ข้อมูล ระบบข้อมูลต่าง ๆ การประสานงาน กับ คณะกรรมการและศูนย์ประสานงาน การฝึกอบรมให้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กสท.(การสื่อสารแห่งประเทศไทย) และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การเตรียมเวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ประกอบด้วย ยาปฏิชีวนะ ชุด และ อุปกรณ์ป้องกันเชื้อ การเตรียมปฏิบัติการให้กับ หน่วยเฉพาะกิจเพื่อสอบสวนและควบคุมโรค และการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน
9
การประสานความร่วมมือพหุภาคีเพื่อแก้ปัญหาการใช้อาวุธชีวภาพ
สภาความมั่นคง แห่งชาติ กระทรวง กลาโหม กระทรวงมหาดไทย งานข้อมูลข่าวสาร การเฝ้าระวัง การประสานความร่วมมือ พหุภาคีเพื่อแก้ปัญหาการใช้อาวุธชีวภาพ สอบสวน ชันสูตร ปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุ การรักษาพยาบาล เวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ ด้านอื่นๆ กระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ กระทรวง สาธารณสุข การประสานความร่วมมือแบบพหุภาคี เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้อาวุธชีวภาพ ต้องร่วมมือกันทั้งหน่วยงานภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงกลาโหม สภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และองค์กรสาธารณประโยชน์ ด้านข้อมูลข่าวสาร การเฝ้าระวัง สอบสวน ชันสูตร ปฏิบัติการเมื่อเกิดเหตุ การรักษาพยาบาล เวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ และงานด้านอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย หน่วยงาน ภาคเอกชน สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ องค์กรสาธารณประโยชน์
10
แผนบรรเทาภัย จากอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม แผนบรรเทาภัย จากอัคคีภัย
แผนบรรเทาภัย จากโรคระบาดสัตว์ แผนบรรเทาภัย จากไฟป่า แผนป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน แห่งชาติ ๒๕๔๘ แผนบรรเทาภัยจากการคมนาคม ขนส่ง แผนบรรเทาภัย จากแผ่นดินไหว แผนเตรียมพร้อม รับมือภัยคุกคาม จากอาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี แผนบรรเทาภัย จากภัยแล้ง แผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน แห่งชาติ ๒๕๔๘ ประกอบด้วย แผนบรรเทาภัย จากสารเคมี วัตถุอันตราย แผนบรรเทาภัยจากการคมนาคม ขนส่ง แผนบรรเทาภัยจากโรคระบาดสัตว์ แผนบรรเทาภัยจากอุทกภัย วาตภัย โคลนถล่ม แผนบรรเทาภัยจากอัคคีภัย แผนบรรเทาภัยจากไฟป่า แผนบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว แผนบรรเทาภัยจากภัยแล้ง แผนบรรเทาภัยจากอากาศหนาว และแผนเตรียมพร้อม รับมือภัยคุกคาม จากอาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี แผนบรรเทาภัย จากสารเคมี วัตถุอันตราย แผนบรรเทาภัย จากอากาศหนาว
11
แนวทางการอำนวยการ การเตรียมพร้อมต่อภัยคุกคามจากอาวุธชีวภาพ
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ แนวทางการอำนวยการ การเตรียมพร้อมต่อภัยคุกคามจากอาวุธชีวภาพ นโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ (สมช.) แผนการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ แนวทางการอำนวยการ การเตรียมพร้อมต่อภัยคุกคามจากอาวุธชีวภาพ แผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ โดยคณะกรรมการเตรียมพร้อมแห่งชาติเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน แผนเตรียมพร้อมด้านการแพทย์และการสาธารณสุข พ.ศ โดยคณะอนุกรรมการเตรียมพร้อมด้านการแพทย์และการสาธารณสุขปลัด สธ. เป็นประธาน แผนเตรียมพร้อมต่อภัยคุกคามจากอาวุธชีวภาพ พ.ศ โดยคณะกรรมการอำนวยการศูนย์เตรียมพร้อม ต่อภัยคุกคามจากอาวุธชีวภาพอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธาน หมายเหตุ : ควร update แผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้มีการปรับปรุงเป็นระยะ ผังที่เขียนขึ้นนี้เป็นไปตามข้อตกลงเดิมกับหน่วยงานต่างๆ ส่วนแผนเตรียมพร้อมฉบับใหม่ ยังมิได้มีการทำความตกลง จึงยังมิได้บรรจุให้ในสไลด์นี้ แนวทางการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จากโรคติดต่ออุบัติใหม่ อาวุธชีวภาพ
12
อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ Biological Weapons Convention - BWC
ห้ามรัฐภาคีพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธชีวภาพ และให้ทำลายอาวุธที่มีอยู่ในครอบครอง อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพถือเป็นความตกลงพหุภาคีด้านการลดอาวุธฉบับแรกของโลก ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เป็นลำดับที่ 38 โดยให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ (พ.ศ. 2518) ในระดับนานาชาติข้อตกลงเกี่ยวกับการห้ามใช้อาวุธชีวภาพ คือ “อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ” (Biological Weapons Convention – BWC) หรือมีชื่อเต็ม ว่า “อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธบัคเตรี (ชีวะ) และอาวุธทอกซิน และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้” ชื่อภาษาอังกฤษว่า Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapons and on Their Destruction เป็นหนึ่งในความตกลงพหุภาคีด้านลดอาวุธที่สะท้อนถึงความพยายามของประชาคมโลกในการป้องกันมิให้มีการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง คือ อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี และอาวุธชีวภาพ อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพได้รับการเจรจายกร่างในกรอบของที่ประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ ณ นครเจนีวา แล้วเสร็จเมื่อ ค.ศ (พ.ศ. 2514) และเปิดให้มีการลงนามเมื่อ ค.ศ (พ.ศ. 2515) โดยมีผลบังคับใช้เมื่อ ค.ศ (พ.ศ. 2518) มีสาระสำคัญคือ ห้ามรัฐภาคีพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธชีวภาพ และให้ทำลายอาวุธที่มีอยู่ในครอบครอง อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพถือเป็นความตกลงพหุภาคีด้านการลดอาวุธฉบับแรกของโลก ซึ่งปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ จำนวน 144 ประเทศ และประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เป็นลำดับที่ 38 โดยให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ (พ.ศ. 2518)
13
การสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข
คู่มือการสวมใส่ถอดเครื่องป้องกันร่างกายการส่วนบุคคล ชุดสาธิตการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการฯ
14
กรณีพบจดหมายหรือพัสดุต้องสงสัยว่าอาจบรรจุอาวุธชีวภาพ
แนวทางปฏิบัติ กรณีพบจดหมายหรือพัสดุต้องสงสัยว่าอาจบรรจุอาวุธชีวภาพ
15
แนวทางปฏิบัติ ผู้ป่วยที่น่าสงสัยว่าอาจเกิดจากอาวุธชีวภาพ โดยไม่ปรากฎเหตุการณ์แพร่เชื้อที่ชัดเจน
16
สรุป ประเทศจำเป็นต้องมีความพร้อมต่อภัยจากอาวุธชีวภาพ
ความพร้อมของประเทศ ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐาน /บุคลากร ที่มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม และ ความมั่นคง ประสบการณ์การรับมือกับภัยคุกคามอาวุธชีวภาพ และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ แสดงว่าประเทศมีศักยภาพและความพร้อม และต้องพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น การปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพ ต้องทำในหลายมิติ เช่น นโยบาย การประเมินความเสี่ยง แผนเตรียมพร้อม การจัดองค์กร บุคลากร งบประมาณ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือพหุภาคี การดำเนินนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายด้านความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเสี่ยงและความพร้อมของประเทศ สรุป ประเทศจำเป็นต้องมีความพร้อมต่อภัยจากอาวุธชีวภาพ ความพร้อมของประเทศ ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของโครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากร ซึ่งมีศักยภาพทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ประสบการณ์การรับมือกับภัยคุกคามจากอาวุธชีวภาพ และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ แสดงว่าประเทศมีศักยภาพและความพร้อมระดับหนึ่ง ซึ่งต้องพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
17
ขอบคุณครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.