ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บารากุ หรือ บารากู่ ( baraku)
ชื่อเรียกอุปกรณ์การสูบยาอย่างหนึ่งที่มาจาก อาหรับ รูปทรงคล้ายตะเกียงอาหรับ ทรงสูงปากแคบ
2
วัยรุ่นไทยกับบารากู่
3
วัยรุ่นไทยกับบารากู่
4
ตัวยาที่ใช้สูบบารากู่
5
ถ่านที่ใช้สูบบารากู่
ที่มา
6
วิธีการสูบ ส่วนบนสุดใช้วาง ยาเส้นที่เรียกว่า มาแอสเซล (MU’ASSEL) ซึ่งเป็นส่วนผสมของใบยาสูบกับสารที่มีความหวานเช่น น้ำผึ้ง กากน้ำตาล ผลไม้หรือดอกไม้ตากแห้ง เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่น มะม่วง กาแฟ วานิลลา มะนาว กุหลาบ รวมไปถึงสมุนไพรต่างๆ ทำให้เกิดกลิ่นหอม ซึ่งมักจะห่อไว้ในกระดาษฟอยส์ โดยจะใช้ถ่านหรือความร้อนจากไฟฟ้า ในการเผายาเส้น ควันจากการเผาไหม้จะผ่านน้ำมายังส่วนล่างสุด ซึ่ง ด้านล่างจะเป็นกระเปาะใส่น้ำ เมื่อมีการทำความร้อน ยาสูบจะเกิดควันแล้ว ลอยผ่านมาทางน้ำ
7
แหล่งข่าววัยรุ่นนักเที่ยวคนหนึ่ง เปิดเผยว่า ขณะนี้การสูบบารากู่ มีทั้ง
ลูกค้าชาวไทยและต่างประเทศ ทั้งหญิงและชาย ราคาการสูบบารากู่นั้น อัตราค่าสูบตกครั้งละ บาท แต่มีนักเที่ยวบางคนฉวยโอกาสนำ ยาเสพติด อาทิ ยาเค ยาอี ยาบ้า กัญชา หรือผงขาว ผสม เข้าไปในยาสูบ บารากู่ หากร้านสูบบารากู่ร้านใดมีลูกค้าแนวนี้ ก็จะคิดราคาเพิ่มอีกในอัตรา ตั้งแต่ 200 – 1,000 บาท ดังนั้น บารากู่จึงเป็นช่องทางหนึ่ง ในการขายยาเสพติด โดยพ่อค้าจะมี กลวิธีล่อใจลูกค้าด้วยการบอกว่า ใครสูบบารากู่แล้ว จะทำให้มีรูปร่างและ ผิวพรรณดี นอนหลับ กินได้ ที่สำคัญจะช่วยกระตุ้นอารมณ์เพศได้อีกด้วย
8
อันตรายของบารากุ ผู้สูบจะมีอาการปวดศีรษะ ตามองเห็นภาพไม่ชัด เวียนศีรษะ
ใจสั่น ระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทั่วไป อาจกระตุ้นให้เกิดหลอดลมตีบตัวในผู้ป่วยโรคหอบหืด ทำให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของทารกในครรภ์ และเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารจึงเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
9
อันตรายของบารากุ มหาวิทยาลัยเวอร์จีเนียแห่งอังกฤษ ได้ทำการวิจัยพบว่า
1. การสูบบารากุ 45 นาทีจะมีปริมาณฝุ่นละอองมากกว่า 36 เท่า คาร์บอนมอนอกไซด์ 15 เท่า และมีนิโคตินสูงขึ้น 70% เมื่อเทียบกับการ สูบบุหรี่หนึ่งมวน 30% ของผู้ที่สูบบารากุมีโอกาสจะติดโรคร้ายแรงในช่องปาก ขณะที่ ผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคในช่องปาก 24%
10
อันตรายของบารากุ น.พ. หทัย ชิตานนท์ ประธานภาคีกฎหมายบุหรี่โลกและประธานสถาบัน ส่งเสริมสุขภาพไทย ได้ชี้แจงให้เห็นถึงการวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่า ยาเส้นประเภทสูบผ่านน้ำหรือฮูกาห์นั้นมีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ เพราะมีสารนิโคตินและสารทาร์มากกว่าบุหรี่ทั่วไป วิธีการสูบผ่านน้ำและการปรุงแต่งรสของยาเส้นกับผลไม้หรือกลิ่นต่าง ๆ นั้นทำให้ความเข้มข้นของควันจางลง ซึ่งส่งผลให้สามารถสูบได้ลึกมากขึ้น และสูบจำนวนมากนั้นก็ถือว่าเป็นการสูบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
11
คุณศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
บารากู่ ถือเป็นยาสูบที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบ แต่ยังไม่มีการควบคุมการขาย ยาสูบ เครื่องสูบ ประเภทดังกล่าว ทำให้มีการขายอย่างเสรีในหลายที่ รวมทั้งผับ บาร์ ที่ยังลักลอบจำหน่าย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.