ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แบบนำเสนอผลงานโครงการ
“การจัดการความรู้ : Share and Learn ประจำปี 2555” วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม 2555 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1. ชื่อผลงาน : พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน 2. เจ้าของผลงาน : นางประกาย พิทักษ์ นางสาวพจนีย์ ขันศรีมนต์ นางสาวอรวรรณ ปรันเสน นายสะอาด โยธาทูน นางจันทร์เพ็ญ ศรีขา 3. ประเภทผลงานตามพันธกิจ : การบริการวิชาการและวิชาชีพ 4. ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน / ความสำคัญ โรคติดต่อเป็นโรคที่สำคัญที่จะต้องมีระบบการเฝ้าระวังโรค มีเครือข่ายในการรายงานโรค และ ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT : Surveillance Rapid Respons Team) ถ้าบุคลากรในหอผู้ป่วย ห้องตรวจต่างๆ หรือ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ ขาดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคติดต่อการแพร่กระจายโรครวมทั้งระบบการรายงานโรค การดำเนินการป้องกันหรือสอบสวนโรคได้ไม่ทันตามกำหนด ในระยะฟักตัวของเชื้อก่อโรค เช่น โรคไข้เลือดออก โรคหัด โรคคางทูม โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ จะทำให้เกิดโรคระบาดในชุมชนได้ง่าย ซึ่งการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อต้องอาศัยความร่วมมือ ของบุคลากรทางการแพทย์ เครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ผู้นำชุมชน ครู จึงจะประสบผลสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้ชุมชนและเครือข่ายเฝ้าระวังโรค ให้มีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนดูแลตนเองได้ดี ปลอดภัยจากโรคระบาด ชุมชนมีส่วนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน พร้อมรับและแก้ไขปัญหาสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อและภัยสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.วิธีดำเนินการ (How to) ดังนี้ 1) การสำรวจชุมชน สร้างและขยายเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน 2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้นำชุมชน อสม. ครู อนามัย จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายทุกเดือน เล่าประสบการณ์การทำงาน 3) รณรงค์ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ โรคระบาดในชุมชนโดยเครือข่าย 4) ถอดบทเรียน ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จของการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ระยะเวลาดำเนินการ 1 มิถุนายน–31 กรกฎาคม 2555 1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การเฝ้าระวังโรคในชุมชน 6.ผลการดำเนินงาน มีเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อและภัยสุขภาพ ที่เข้มแข็งและยั่งยืน 10 ชุมชน เครือข่ายโรคไข้เลือดออกในชุมชนสามเหลี่ยม ชุมชนหมู่บ้านไทยสมุทร ชุมชนตะวันใหม่ ชุมชนหนองแวง เครือข่ายป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ศูนย์เลี้ยงเด็กกลางวันสามเหลี่ยม ผลการประเมินการดำเนินงาน อยู่ในระดับดี และดีมาก เครือข่ายเข้าร่วมและจัดโครงการ รณรงค์ป้องกันโรคเลือดอออก ร่วมกันในชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ในชุมชน อาสาสมัครสาธารสุขชุมชนนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อ 2.ลงพื้นที่ รณรงค์ ป้องกันควบคุมโรคในชุมชน 7.ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ (Key success factors) การทำงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ ตั้งใจของเครือข่าย การได้รับการสนับสนุน สร้างแรงจูงใจ และการให้ความสำคัญ ยกย่อง ชมเชยการดำเนินงานของเครือข่าย 3.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำผลการทำงานมานำเสนอ 8.ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินงานของเครือข่ายมีความเข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป ชุมชนสามารถดูแลตนเองได้ โรงพยาบาลควรสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมและ จัดประกวดเครือข่ายเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและผลงานดีเด่นในปี 2556 ต่อไป หน่วยระบาดวิทยาโรคติดต่อ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ โทร ,
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.