งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
งานนำเสนอของ นาย องอาจ ฮามคำไพ คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม (เครื่องกล) วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม

2 หลักการทำงานของเครื่องยนต์สองจังหวะและสี่จังหวะ
เรื่อง หลักการทำงานของเครื่องยนต์สองจังหวะและสี่จังหวะ (Two stroke and four stroke engine)

3 หลักการทำงานของเครื่องยนต์สองจังหวะ (Two stroke engine)
เครื่องยนต์ชนิด 2 จังหวะ ถูกออกแบบมาไม่เหมือนกับเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะคือ เครื่องยนต์ 4 จังหวะจะใช้วาล์ว ไอดี และวาล์วไอเสีย เป็นกลไก ในการจ่ายไอดี และไอเสียสลับกัน แต่เครื่อง 2 จังหวะ ถูกออกแบบให้มีช่องไอดี และไอเสีย อยู่ที่กระบอกสูบ ซึ่งช่องนี้ จะเปิด หรือปิดได้ อยู่ที่การเคลื่อนที่ของตัวลูกสูบ เท่ากับว่าลูกสูบ ทำหน้าที่เป็นวาล์วไปในตัว

4    จังหวะดูด และอัด     เป็นจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่าง ขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ระหว่างการเคลื่อนที่นี้เอง ด้านบนลูกสูบคือการอัดอากาศไอดี ในขณะเดียวกัน ช่องไอเสีย จะถูกปิดด้วยตัวลูกสูบ โดยอัตโนมัติ โดยที่เวลาเดียวกันนี้เอง ความสูงของลูกสูบก็พ้นช่องไอดีออกไป ทำให้อากาศไอดี ไหลเข้าสู่ห้องเพลาข้อเหวี่ยง โดยอัตโนมัติ เช่นกัน จังหวะอัด จังหวะดูด

5  จังหวะกำลัง และจังหวะคาย
    เมื่อลูกสูบ เคลื่อนที่ขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบน ก็จะเกิดประกายไฟจากหัวเทียนทำให้เกิดระเบิดเพื่อดันลูกสูบลงไปสู่ศูนย์ตายล่าง อีกครั้ง ในระหว่างการเคลื่อนที่ลงครั้งนี้ ความสูงของลูกสูบ ก็จะไปปิดช่องอากาศทางเข้าไอดี และด้านบนของลูกสูบก็จะพ้นช่อง ทางออกของไอเสีย ทำให้อากาศไอเสียไหลผ่านออกไป ในขณะเดียวกันนี้เองที่ด้านบนของลูกสูบก็จะพ้นช่องไหลเข้าของไอดี ที่มา จากห้องเพลาข้อเหวี่ยง เข้าไปแทนที่  จังหวะกำลัง จังหวะคาย

6 ภาพแสดงการทำงาน

7 หลักการทำงานของเครื่องยนต์สี่จังหวะ (Four stroke engine)
การทำงานของเครื่องยนต์  4  จังหวะ    1. จังหวะดูด  (Intake Stroke)      เมื่อลูกสูบเลื่อนลงจากจุดศูนย์ตายบนถึงจุดศูนย์ตายล่าง(TDC-BDC)  ลิ้นไอดีจะเปิด  อากาศจะถูกดูดเข้ามาประจุในห้องเผาไหม้   แต่ในขณะนี้ลิ้นไอเสียยังคงปิดอยู่    2. จังหวะอัด (Compression Stroke)   เมื่อลูกสูบเริ่มเลื่อนขึ้นจากศูนย์ตายล่าง  (BDC)  ลิ้นทั้งสองจะปิด   ดังนั้นอากาศในกระบอกสูบจึงถูกอัดโดยกระบอกสูบ แรงดันและความร้อนของอากาศจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  อากาศในขณะนี้เป็นอากาศที่ร้อนแดง  " Red  hot Air"  ถ้าอัตราส่วนการอัดเท่ากับ  20:1 อากาศจะมีแรงดัน  กก./ตารางเซนติเมตร  และมีอุณหภูมิ  องศาเซลเซียส

8 จังหวะดูด จังหวะอัด

9 3. จังหวะระเบิด (power Stroke)  เมื่อลูกสูบเลื่อนขึ้นเกือบจุดศูนย์ตายบน  ในปลายจังหวะอัด  ละอองน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าสู่ห้องเผาไหม้  ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างทันทีทันใด  แรงดันจากการเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเลื่อนลง  อุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นประมาณ  2000 องศาเซลเซียส    และแรงดันสูงขึ้นเป็น  55-80  กก./ตารางเซนติเมตร  ในจังหวะระเบิดนี้พลังงานความร้อนจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกล     4.  จังหวะคาย (Exhaust Stroke)  ปลายจังหวะระเบิด  ลิ้นไอเสียจะเปิด  แก๊สไอเสียจึงขับไล่ออกจากกระบอกสูบ  ด้วยการเลื่อนขึ้นของลูกสูบ

10 จังหวะกำลัง จังหวะคาย

11 ภาพแสดงการทำงาน


ดาวน์โหลด ppt คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google