ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร LW 406
ประภาศ คงเอียด น.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2) (ม.ร.) รุ่นที่ 12 น.บ.ท. ITP/LL.M. (Harvard University) U.S.A. ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
2
โครงสร้างการบรรยาย 1. ลักษณะและโครงสร้างทั่วไปของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. เงินได้พึงประเมิน 3. ความรับผิดในการเสียภาษี 4. หน่วยภาษี 5. ประเภทของเงินได้พึงประเมิน 6. การเสียภาษี 7. การยกเว้นภาษี 8. การหักค่าใช้จ่าย 9. การหักลดหย่อน 10. การคำนวณภาษี 11. ปัญหาการเสียภาษีบางประเภท
3
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ลักษณะทั่วไปของ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1. เป็นภาษีอากรประเมิน (มาตรา 38) 2. โครงสร้างหลักในการคำนวณภาษี เงินได้พึงประเมิน (ไม่รวมที่ได้รับยกเว้นภาษี) หัก ค่าใช้จ่าย = เงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน (หักด้วยจำนวนที่ได้รับยกเว้นภาษี) = เงินได้สุทธิ (หักด้วยจำนวนที่ได้รับยกเว้นภาษี) เงินได้สุทธิ X อัตราภาษี = จำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
4
เงินได้พึงประเมิน มาตรา 39
"เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ ด้วย
5
เงินได้พึงประเมิน 1. เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี
2. ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจ คิดคำนวณได้เป็นเงิน 3. เงินภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 4. เครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ
6
เครดิตภาษีเงินปันผล 1. มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ข)
2. จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 3. การคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล หารด้วย (ผลต่างของ หนึ่งร้อย ลบด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) = = เงินปันผล 210,000 บาท คิดเป็นเครดิตภาษีเงินปันผล = ,000 X 3 7 = , บาท
7
เครดิตภาษีเงินปันผล นาย ก. มีรายได้ในปีภาษี 2547 จากเงินเดือนในการรับราชการจำนวน 800,000 บาท และมีเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทจำนวน 210,000 บาท อยากทราบว่า นาย ก. มีเงินได้พึงประเมินในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำนวนเท่าใด เครดิตภาษีเงินปันผล = ,000 X 3 7 = , บาท เงินได้พึงประเมินของนาย ก. คือ 800, , , = 1,100,000 บาท
8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2548
กรมสรรพากร (จำเลย) โจทก์ - โจทก์ขายที่ดินราคา 6,300,000 บาท - โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คของผู้ซื้อได้แล้วในปีภาษีที่ถูกประเมินจำนวน 4,046,000 บาท - ส่วนที่เหลือจำนวน 2,254,000 บาท ผู้ซื้อจ่ายเช็คลงวันที่สั่งจ่ายล่วงหน้าในปีภาษีถัดไป ยังเรียกเก็บเงินไม่ได้ และโจทก์ก็ได้ฟ้องคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อผู้สั่งจ่าย - จำเลยประเมินภาษีโดยนำจำนวนเงินตามเช็คที่สั่งจ่ายล่วงหน้าในปีภาษีถัดไปมารวมเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ - จำเลยอ้างว่า เงินได้พึงประเมินตาม ป.ร.ฎ. มาตรา 39 รวมถึงตราสารที่มีค่าเหมือนเงินสด เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวเงินอย่างหนึ่งด้วย (มาตรา 39) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2548
9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2548
ส่งมอบที่ดิน อาคาร และส่วนปรับปรุงอาคาร โจทก์ ทศท ประเมินภาษี กรมสรรพากร (จำเลย) - โจทก์ประกอบกิจการเป็นผู้รับสัมปทานตามสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์กับ ทศท. - โจทก์ส่งมอบโอนการคอบครองที่ดิน อาคาร และส่วนปรับปรุงอาคาร เพื่อใช้ในกิจการร่วมการงานและร่วมลงทุนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ทศท. - ไม่มีการชำระราคาและมิได้จดทะเบียนการโอนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2548
10
โจทก์ พนักงาน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2535
- โจทก์หักเงินเดือนของพนักงานที่เป็นสมาชิกทุกเดือน ตามข้อบังคับว่าด้วยเงินทุนสะสม - นำเงินเข้าฝากธนาคารในบัญชีสมทบทุนที่เปิดไว้ในชื่อสมาชิกเป็นรายบุคคล - โจทก์จะจ่ายเงินทั้งสิ้นในบัญชีสมทบทุนของสมาชิก ให้แก่สมาชิกเมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลง โดยมีกรรมการผู้จัดการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นผู้ควบคุมในการถอนเงิน ** ปัญหาคือดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินฝากเป็นเงินได้ของโจทก์หรือไม่ ** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2535
11
เจ้าของ ลิขสิทธิ์ โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2535
- เจ้าของลิขสิทธิ์ให้โจทก์จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่น ตามที่บอกให้โจทก์จ่าย - แบ่งจ่ายให้แก่บุคคลหลายคน - ผู้รับไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในลิขสิทธิ์ ** ปัญหาว่าต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร ** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2535
12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536
รับฝากขายสินค้า โจทก์ บริษัท อ. Consignment Fee คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536
13
โจทก์ บริษัท อ. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536
- โจทก์รับฝากขายผงชูรสและผลิตภัณฑ์พลอยได้จากผงชูรสให้แก่บริษัท อ. - ได้รับค่าตอบแทนคือ “ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น” (Consignment Fee) เป็นรายเดือนจำนวนแน่นอน โดยไม่คำนึงถึงยอดขาย - บริษัท อ. ได้มอบรถยนต์จำนวน คัน ให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าตอบแทน ** ปัญหาว่ารถยนต์ที่โจทก์ใช้เป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์หรือไม่ ** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536
14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2536
ผู้จะซื้อ ผู้จะขาย - ผู้จะซื้อจ่ายเงินมัดจำ 1,000,000 เป็นส่วนหนึ่งของเงินชำระค่าที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย - เงินจำนวน 5,000,000 บาท เป็นเงินส่วนหนึ่งของค่าที่ดิน - ส่วนอีก 477,500 บาท เป็นดอกเบี้ยที่ผู้จะซื้อจ่ายให้แก่ผู้จะขายเพื่อตอบแทนในการที่ผู้จะขายผัดการชำระเงินออกไป - ต่อมาผู้จะซื้อจะได้ยื่นฟ้องผู้จะขายขอให้บังคับผู้จะขายจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน หากโอนไม่ได้ให้ผู้จะขายคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับไว้พร้อมเบี้ยปรับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2536
15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539
ผู้จะขาย ผู้จะซื้อ - ผู้จะซื้อวางเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน - ผู้จะขายบอกริบมัดจำ - ผู้จะซื้อยื่นฟ้องผู้จะขายเรียกมัดจำคืน คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539
16
โจทก์ พนักงาน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2540
- โจทก์ให้บริการรับประทานอาหารฟรีแก่พนักงานบนเรือขุดแร่ ** ปัญหาว่าค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออาหารของโจทก์ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานหรือไม่ ** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2540
17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540
โจทก์ พนักงาน - โจทก์หักเงินได้ของลูกจ้างไว้และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของจำเลย - ตั้งยอดลูกหนี้ไว้ในงบดุลของสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย - สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีได้โอนยอดเงินดังกล่าวไปเข้าบัญชีของสำนักงานใหญ่ เพราะลูกจ้างถูกสำนักงานใหญ่หักภาษีเงินได้ไว้เพื่อเสียภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยมแล้วยังถูกสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งแก่เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรอีก - สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยจึงให้ลูกจ้างยืมเงินตามจำนวนดังกล่าวไปชำระก่อนแล้วจึงนำไปหักกลบกับเงินที่สำนักงานใหญ่ได้หักไว้เป็นค่าภาษีตามกฎหมายประเทศเบลเยี่ยม **เป็นกรณีที่โจทก์ออกเงินค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ลูกจ้างหรือไม่** คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2540
18
ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) (มาตรา 41 วรรค 1) 2. หลักถิ่นที่อยู่ (Resident Rule) (มาตรา 41 วรรค 2 และ 3) 3. หลักสัญชาติหรือความเป็นพลเมือง (ไม่มีกำหนดในประมวลรัษฎากร)
19
ความรับผิดในการเสียภาษี
มาตรา 41 ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ
20
ความรับผิด ตามหลักแหล่งเงินได้
1. หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย 2. กิจการที่ทำในประเทศไทย 3. กิจการของนายจ้างในประเทศไทย 4. ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย *จะจ่ายเงินได้ที่ใดมิใช่สาระสำคัญ*
21
ความรับผิดในการเสียภาษี
มาตรา 41 ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้เมื่อนำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะรวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
22
ความรับผิดตามหลักถิ่นที่อยู่
1. เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย 2. มีเงินได้พึงประเมินเนื่องจาก - หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ - กิจการที่ทำในต่างประเทศ - ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ 3. นำเงินได้พึงประเมินเข้ามาในประเทศไทย
23
ตัวอย่างกรณีศึกษา 1. Mr. A เป็นวิศวกรทำงานในประเทศไทยให้แก่บริษัทนายจ้างที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 2. Mr. A เป็นวิศวกรทำงานในประเทศไทยให้แก่บริษัทนายจ้างที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ 3. Mr. A เป็นวิศวกรทำงานในต่างประเทศให้แก่สาขาของบริษัทนายจ้างที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในต่างต่างประเทศ 4. Mr. A ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าจ้างให้มาติดต่อหาลูกค้า และมาประจำอยูในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี
24
ตัวอย่างกรณีศึกษา 5. Mr. A เป็นคนอเมริกัน มอบหมายให้ นายไก่ลูกจ้างเป็นผู้ดำเนินการเปิดร้านอาหาร Fast Food ในประเทศไทย 6. Mr. A ถือหุ้นในบริษัทไทย และได้รับเงินปันผล 7. Mr. A ขายหุ้นของบริษัทไทยในตลาดหลักทรัพย์ มีกำไรจากการขายหุ้น 8. Mr. A เปิดกิจการโรงเรียนสอนภาษาในประเทศไทย
25
CASE หารือกรมสรรพากร Bangkok Bank (Thailand) นาย ก Bangkok Bank
จ้างแรงงาน นาย ก ส่งไปทำงานประจำ 1. ค่าจ้างจ่ายจากสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย 2. ค่าจ้างจ่ายโดยสาขาฮ่องกง Bangkok Bank (Hong Kong)
26
และผู้มีหน้าที่เสียภาษี (Tax Payer)
หน่วยภาษี (Tax Unit) และผู้มีหน้าที่เสียภาษี (Tax Payer) 1. หน่วยบุคคล (ที่มิใช่นิติบุคคล) - บุคคลคนเดียว (ม. 56 ว. 1) - คณะบุคคล (ม. 56 ว. 2) - ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ม. 56 ว. 2) - ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี (ม. 57 ทวิ ว. 1) 2. หน่วยทรัพย์สิน - กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง (ม. 57 ทวิ ว. 2)
27
หน่วยภาษี มาตรา 56 ให้บุคคลทุกคน เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วพร้อมทั้งข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกำหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถ้าบุคคลนั้น (1) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 30,000 บาท (2) ไม่มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา 40 (1) ประเภทเดียวเกิน 50,000 บาท (3) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท หรือ (4) มีสามีหรือภริยาและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเฉพาะตามมาตรา 40 (1) ประเภทเดียวเกิน 100,000 บาท
28
หน่วยภาษี ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย
29
หน่วยภาษี มาตรา 57 ทวิ ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง หรือก่อนที่ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ได้ปฏิบัติตามมาตรา 57 ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก หรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี ปฏิบัติแทน และโดยเฉพาะในการยื่นรายการเงินได้พึงประเมินของผู้ตายนั้น ให้รวมเงินได้พึงประเมินของผู้ตายและของกองมรดกที่ได้รับตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตายเป็นยอดเงินได้พึงประเมินที่จะต้องยื่นทั้งสิ้น
30
หน่วยภาษี สำหรับในปีต่อไป ถ้ากองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่งและมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตามมาตรา 56 (1) ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในส่วนนี้ในชื่อกองมรดกของผู้ตาย
31
ประเภทของ เงินได้พึงประเมิน
1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน (ม. 40 (1)) 2. เงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ (ม. 40 (2)) 3. เงินได้เนื่องจากค่าแห่งสิทธิ เงินรายปี (ม. 40 (3)) 4. เงินได้จากดอกเบี้ย หรือผลประโยชน์จากการลงทุน (ม. 40 (4)) 5. เงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน (ม. 40 (5)) 6. เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ (ม. 40 (6)) 7. เงินได้จากการรับเหมา (ม. 40 (7)) 8. เงินได้จากธุรกิจ หรือเงินได้อื่น ๆ (ม. 40 (8))
32
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1
มาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้นคือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
33
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2
(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
34
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3
(3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
35
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4
(4) เงินได้ที่เป็น (ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืม หรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
36
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4
(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไรหรือ ประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม เงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
37
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม
38
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4
(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน (จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน (ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน (ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน โอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
39
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5
(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
40
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5
ในกรณี (ก) ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไปไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้ ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ตามส่วน 2 หมวด 2 ลักษณะ 2 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณี (ข) และ (ค) ให้ถือว่าเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้วแต่วันทำสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาทั้งสิ้นเป็นเงินได้พึงประเมินของปีที่มีการผิดสัญญานั้น
41
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6
(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่น ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
42
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7
(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
43
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว
44
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2530
โจทก์ นายจ้าง 1. โจทก์ได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างในการเลิกจ้าง 2. ค่าชดเชยดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2530
45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532
โจทก์ ผู้รับเหมา 1. โจทก์ก่อสร้างตึกแถวโดยจัดหาวัสดุก่อสร้างเอง 2. ค่าแรงงานเหมาจ่ายให้แก่ผู้รับเหมาไปจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้าง ลูกจ้าง 3. ผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่ลูกจ้างเอง 4. หากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532
46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533
โจทก์ บริษัท พ. 1. โจทก์จ้างบริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาและให้บริการทางเทคนิค 2. โจทก์จ่ายเงินค่าใช้จ่ายเบิกชดเชย ค่าการตลาด และค่าส่งเสริมการลงทุนให้บริษัท พ. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4925/2533
47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2543
แพทย์ โรงพยาบาล 1. ค่าตรวจรักษาแพทย์จะเรียกจากผู้ป่วยได้ไม่เกินอัตราที่โรงพยาบาลกำหนด 2. ค่าตรวจรักษาเป็นเงินได้ของแพทย์ทั้งหมด 3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่ายา ค่าพยาบาล ค่าห้อง เป็นรายรับของโรงพยาบาลทั้งหมด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2543
48
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2526
การไฟฟ้า ฝ่ายผลิต โจทก์ 1. โจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่ประจำในการรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นพนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต คลินิก 2. โจทก์เปิดคลินิกรับรักษาผู้ป่วยแต่เพียงผู้เดียว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2526
49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2531
โจทก์ บริษัท ฮ. 1. บริษัท ฮ. ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่โจทก์ในการผลิตกระดาษ 2. บริษัท ฮ. ได้รับเงินค่าธรรมเนียมในการให้ความช่วยเหลือจากโจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2531
50
บริษัทฮอนชูเปเปอร์ (ญี่ปุ่น)
สัญญาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assistance Agreement) การผลิตกระดาษ บริษัทสยามคราฟท์ (ไทย) หมายเหตุ - ฎ. 3867/2531 (บริษัทสยามคราฟท์ จำกัด โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย) - ฎ ส่งผู้เชี่ยวชาญ 15 คน เข้ามาประจำอยู่ที่โรงงานสยามคราฟท์ที่จังหวัดราชบุรี
51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่5634/2536
บริษัท เนสท์เทค โจทก์ 1. โจทก์ผลิตกาแฟโดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขและความควบคุมของบริษัทเนสท์เทค 2. ชำระค่าตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อผลิตกาแฟตามสูตรและกรรมวิธีที่กำหนด 3. โจทก์ต้องเก็บรักษาสูตร กรรมวิธี และความรู้ที่ได้รับไว้เป็นความลับ 4. ส่งคืนเอกสารทั้งปวงเกี่ยวกับสูตรและความรู้ให้แก่เนสท์เทคเมื่อสิ้นสุดสัญญา คำพิพากษาศาลฎีกาที่5634/2536
52
โจทก์ พ คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน
ทำสัญญากู้และจำนองโดยแสดงเจตนาลวง ปัญหาว่าโจทก์มีเงินได้ตาม ม. 40 (4) คือดอกเบี้ยที่จะต้องเสียภาษีหรือไม่ พ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2533
53
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2538
ธนาคาร (ในประเทศ) โจทก์ ธนาคาร (ต่างประเทศ) ผู้ขาย 1. โจทก์เปิด Letter of Credit ผ่านธนาคารในประเทศ 2. โจทก์ให้ผู้ขายสินค้านำ Letter of Credit ไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศ 3. โจทก์รับภาระในส่วนลดที่ผู้ขายได้ขาย Letter of Credit ให้แก่ธนาคารต่างประเทศ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2538
54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2540
บริษัท (ต่างประเทศ) โจทก์ 1. โจทก์สั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากบริษัทต่างประเทศ 2. ตกลงชำระราคาภายใน 270 วัน และ 180 วัน นับแต่วันส่งมอบ 3. โจทก์ตกลงชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ขายอีกในอัตราร้อยละ 10.8 ของราคาสินค้า นับแต่วันส่งมอบสินค้าถึงวันชำระราคาตามที่ระบุในใบกำกับสินค้า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2540
55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8479/2540
ธนาคาร (ต่างประเทศ) โจทก์ 1. โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารต่างประเทศ เพื่อดำเนินธุรกิจกับลูกค้า 2. ถ้าเงินที่ธนาคารจ่ายไปมากกว่าจำนวนที่มีในบัญชี ธนาคารจะออกให้ก่อนโดยคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ 3. เมื่อโจทก์นำเงินเข้าบัญชี ธนาคารก็จะนำยอดดอกเบี้ยมาหักทอนบัญชี 4. โจทก์นำดอกเบี้ยมาหักเป็นรายจ่าย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8479/2540
56
มีกำไรจากการชำระบัญชี
ถือหุ้น เลิกกิจการ ชำระบัญชี โจทก์ บริษัท ข. ได้รับส่วนแบ่งผลกำไรจากการชำระบัญชีในแต่รอบระยะเวลาบัญชี มีกำไรจากการชำระบัญชี คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 7671/2546
57
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2532
โจทก์ เจ้าของที่ดิน 1. โจทก์เช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดิน 15 ปี 2. โจทก์มีสิทธิปลูกสร้างอาคารและจะต้องรื้อถอนไปเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง 3. โจทก์ให้ ด. รับเหมาปลูกสร้างตึกแถวให้คนเช่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2532
58
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2531
บริษัท (ต่างประเทศ) โจทก์ 1. โจทก์จ่ายเงินให้แก่บริษัทต่างประเทศ 2. ค่าออกแบบแปลนโรงงาน สำรวจสถานที่ตั้งโรงงาน ออกแบบเครื่องจักร ติดตั้งเครื่องจักร ทดลองการผลิต ดูแลรักษาเครื่องจักร ฝึกวิศวกรไทยของโจทก์ให้รู้จักดูแลรักษาและการใช้เครื่องจักร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2531
59
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2531
บริษัท (ต่างประเทศ) โจทก์ 1. โจทก์จ่ายเงินให้แก่บริษัทต่างประเทศ 2. ค่าบริการในการออกแบบแปลนและแผนผังในการสร้างโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก รวมทั้งการติดตั้งเครื่องจักร 3. ไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีใด ๆ ให้แก่โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2531
60
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533
โจทก์ โรงพยาบาล 1. โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาลได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน 2. นายจ้างมีข้อตกลงให้โจทก์ประกอบอาชีพอิสระส่วนตัวได้นอกเวลาทำงาน โดยใช้สถานที่โรงพยาบาลของนายจ้าง 3. แบ่งรายได้เข้าโรงพยาบาลตามอัตราที่กำหนด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533
61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2543
โจทก์ โรงพยาบาลฟัน 1. โจทก์ให้บริการรักษาฟันในโรงพยาบาลฟัน 2. มีข้อตกลงกับโรงพยาบาลว่า ค่าบริการรักษาฟันที่ได้รับจากผู้ใช้บริการ โจทก์จะได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 50 3. ได้รับค่าบริการจำนวน 1,751, บาท คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2543
62
กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่า
เป็นผู้มีเงินได้ 1. โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน (ม. 41 ทวิ & นิยาม “ขาย” ม. 50 (6)) 2. เงินได้ของบุตรให้ถือเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดา (ม. 40 (4) ว. 2 และ 3) 3. เงินได้พึงประเมินของภริยาให้ถือเป็นเงินได้ของสามี (ม. 57 ตรี) 4. ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินในหนังสือสำคัญ หรือเป็นผู้รับเงินได้พึงประเมินโดยหนังสือสำคัญ (ม. 61)
63
การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
มาตรา 41 ทวิ ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้ถือว่าผู้โอนเป็นผู้มีเงินได้ และต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้
64
เงินได้ของบุตรเป็นเงินได้ของบิดามารดา
มาตรา 40(4) วรรค 2 และ 3 เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินได้ตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่บุตรชอบด้วยกฎหมายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้มีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดา แต่ถ้าความเป็นสามีภริยาของบิดาและมารดามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ของบุตรดังกล่าวเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของบิดาในกรณีบิดามารดาใช้อำนาจปกครองร่วมกัน ความในวรรคสองให้ใช้บังคับกับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ด้วยโดยอนุโลม
65
เงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี
มาตรา 57 ตรี ในการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่ถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วันแล้ว ให้ภริยาร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย ถ้าสามีหรือภริยามีความประสงค์จะยื่นรายการแยกกันก็ให้ทำได้ โดยแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ยื่นรายการ แต่การแยกกันยื่นรายการนั้น ไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลงอย่างใด
66
เงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี
มาตรา 57 ตรี ถ้าเห็นสมควร เจ้าพนักงานประเมินอาจแบ่งภาษีออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่สามีและภริยาแต่ละฝ่ายได้รับและแจ้งให้สามีและภริยาเสียภาษีเป็นคนละส่วนก็ได้ แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระและอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วันแล้ว ให้อีกฝ่ายหนึ่งนั้นร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย การที่สามีภริยาอยู่ต่างท้องที่กันหรือต่างคนต่างอยู่เป็นครั้งคราวยังคงถือว่าอยู่ร่วมกัน
67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2545
ภริยา สามีคนที่ 1 สามีคนที่ 2 จดทะเบียนสมรสซ้อน ภริยามีเงินได้ระหว่างปีภาษี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2545
68
ผู้มีชื่อในหนังสือสำคัญ
มาตรา 61 บุคคลใดมีชื่อในหนังสือสำคัญใด ๆ แสดงว่า (1) เป็นเจ้าของทรัพย์สินอันระบุไว้ในหนังสือสำคัญ และทรัพย์สินนั้นก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน หรือ (2) เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินโดยหนังสือสำคัญเช่นว่านั้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีทั้งหมดจากผู้มีชื่อในหนังสือสำคัญนั้นก็ได้ แต่ถ้าบุคคลนั้นต้องโอนเงินได้พึงประเมินให้แก่บุคคลอื่น บุคคลนั้นมีสิทธิหักเงินภาษีจากจำนวนเงินซึ่งต้องโอนให้แก่บุคคลอื่นตามส่วน
69
บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเสียภาษี
1. ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการภาษี (ม. 56, 57, ทวิ และ 62) 2. ผู้มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับผู้มีเงินได้ (ม. 54) 3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้มีเงินได้ (ม. 48 ทวิ)
70
การยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา
1. ยกเว้นตามมาตรา 42 2. ยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา (ม. 3) 3. ยกเว้นตามกฎกระทรวง (ม. 42 (27))
71
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรือผู้รับทำงานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
72
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
73
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (1) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายทั้งหมดโดยจำเป็นเพื่อการเดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิมและในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายในสามร้อยหกสิบห้าวัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
74
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (4) ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญากันโดยสุจริตก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 มีข้อกำหนดว่านายจ้างจะชำระเงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเดียวเมื่อการงานที่จ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้เงินเต็มจำนวนนั้นจะได้ชำระภายหลังที่ใช้บัญญัติในส่วนนี้ก็ดี เงินบำเหน็จ เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า หรือเงินโบนัสส่วนที่เป็นค่าจ้างแรงงานอันได้ทำในเวลาก่อนใช้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 นั้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
75
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (5) เงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่งและเงินค่าเช่าบ้าน หรือบ้านที่ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า สำหรับข้าราชการสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ (6) เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล (7) เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
76
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้ (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ (ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
77
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ
78
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
79
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามกระทำความผิด
80
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด (13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์ (14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม
81
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (15) เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจากกสิกรรมที่ตนและหรือครอบครัวได้ทำเอง (16) เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตามความในมาตรา 57 ทวิ (17) เงินได้ตามที่จะได้กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง (18) รางวัลสลากบำรุงกาชาดไทย เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้อสลากบำรุงกาชาดไทย (19) ดอกเบี้ยที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ
82
เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี
มาตรา 42 (23) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม (24) เงินได้ของกองทุนรวม (25) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม
83
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับมาตรา 42
3. ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กันจำนวนหนึ่ง (ฎ. 3353/2532) 4. ค่าเสียหายที่ชดใช้ให้แก่กันซึ่งเกิดจากมูลหนี้ในการกระทำผิดสัญญา (ฎ. 2346/2536)
84
จากเงินได้พึงประเมิน
การหักค่าใช้จ่าย จากเงินได้พึงประเมิน มาตรา 42 ทวิ เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา ๔๐ (1) และ (2) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
85
จากเงินได้พึงประเมิน
การหักค่าใช้จ่าย จากเงินได้พึงประเมิน มาตรา 42 ตรี เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) เฉพาะที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามวรรคหนึ่ง และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่ง
86
จากเงินได้พึงประเมิน
การหักค่าใช้จ่าย จากเงินได้พึงประเมิน มาตรา 43 เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40 (5) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
87
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 5 (1) การให้เช่าทรัพย์สิน (ก) ถ้าเป็นบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 30 ในกรณีให้เช่าช่วงให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วงแล้วแต่กรณี (ข) ถ้าเป็นที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่าให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 20 ในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี
88
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 5 (ค) ถ้าเป็นที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรมในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 15 ในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี (ง) ถ้าเป็นยานพาหนะ ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 30 ในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม หรือผู้ให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี
89
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 5 (จ) ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่น ในกรณีเจ้าของเป็นผู้ให้เช่า ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 10 ในกรณีให้เช่าช่วง ให้หักค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเช่าที่เสียให้แก่ผู้ให้เช่าเดิมหรือผู้ให้เช่าช่วง แล้วแต่กรณี
90
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 5 เว้นแต่ผู้มีเงินได้ตาม (ก) ถึง (จ) จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้น ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์
91
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 5 (2) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 20 (3) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ร้อยละ 20
92
จากเงินได้พึงประเมิน
การหักค่าใช้จ่าย จากเงินได้พึงประเมิน มาตรา 44 เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40 (6) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
93
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 6 หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาดังต่อไปนี้ (1) เงินได้จากวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะให้หักค่าใช้จ่ายในการเหมาร้อยละ 60 (2) เงินได้จากวิชาชีพอิสระนอกจาก (1) ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 30
94
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 6 เว้นแต่ผู้มีเงินได้ตาม (1) หรือ (2) จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้นก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์
95
จากเงินได้พึงประเมิน
การหักค่าใช้จ่าย จากเงินได้พึงประเมิน มาตรา 45 เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40 (7) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
96
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 7 ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จะแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้ ข้างต้น ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์
97
จากเงินได้พึงประเมิน
การหักค่าใช้จ่าย จากเงินได้พึงประเมิน มาตรา 46 เงินได้พึงประเมินตามความในมาตรา 40 (8) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
98
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ดังต่อไปนี้ (1) การเก็บค่าต๋งหรือค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรือการเล่นต่าง ๆ ร้อยละ 65 (2) การถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 70 (3) การทำกิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่ มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล ร้อยละ 70 (4) การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้หรือ หนังเทียม รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 70
99
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (5) การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้าหรือสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 70 (6) การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมแซมเครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 70 (7) การทำกิจการโรงแรมหรือภัตตาคาร หรือ การปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่มจำหน่าย ร้อยละ 70 (8) การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย ร้อยละ 70 (9) การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง ร้อยละ 70
100
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (10) การทำวรรณกรรม ร้อยละ 75 (11) การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชร พลอย หรืออัญมณีอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 75 (12) การทำกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วย สถานพยาบาลเฉพาะที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยา ร้อยละ 75 (13) การโม่หรือย่อยหิน ร้อยละ 75
101
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (14) การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้นร้อยละ 80 (15) การขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ ร้อยละ 80 (16) การทำบล็อก และตรา การรับพิมพ์ หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 80 (17) การทำเหมืองแร่ ร้อยละ 80 (18) การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเครื่องดื่ม ร้อยละ 80
102
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (19) การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา ร้อยละ 80 (20) การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ร้อยละ 80 (21) การทำน้ำแข็ง ร้อยละ 80” (22) การทำกาว แป้งเปียกหรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและการทำแป้งชนิดต่าง ๆ ที่มิใช่เครื่องสำอาง ร้อยละ 80 (23) การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติก หรือเครื่องยางสำเร็จรูป ร้อยละ 80
103
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (24) การซักรีด หรือย้อมสี ร้อยละ 80 (25) การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ร้อยละ 80 (26) รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง ร้อยละ 80 (27) การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากหรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก ร้อยละ 85 (28) การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่น ที่มิใช่ยางสำเร็จรูป ร้อยละ 85
104
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (29) การฟอกหนัง ร้อยละ 85 (30) การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล ร้อยละ 85 (31) การจับสัตว์น้ำ ร้อยละ 85 (32) การทำกิจการโรงเลื่อย ร้อยละ 85 (33) การกลั่นหรือหีบน้ำมันร้อยละ 85 (34) การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 ร้อยละ 85
105
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (35) การทำกิจการโรงสีข้าว ร้อยละ 85 (36) การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุกและธัญชาติ ร้อยละ 85 (37) การอบหรือบ่มใบยาสูบ ร้อยละ 85 (38) การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 85 (39) การฆ่าสัตว์จำหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 85” (40) การทำนาเหลือ ร้อยละ 85
106
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (41) การขายเรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ เรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรืแพ ร้อยละ 85 (42) การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน ร้อยละ 61 (43) การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ (ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60
107
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 (ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40 การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมิน และพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิและมาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่า มีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้น ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์
108
การหักค่าใช้จ่ายสำหรับ เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
พ.ร.ฎ. ฉบับที่ 11 ม. 8 ทวิ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มิได้ระบุไว้ในมาตรา 8 ให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร มาใช้บังคับโดยอนุโลม
109
การหักลดหย่อน 1. ผู้มีเงินได้และคู่สมรส (ม. 47 (1) (ก) (ข) (2) และ (3)) 2. บุตรของผู้มีเงินได้ (ม. 47 (1) (ค) (ฉ) และ (3)) 3. การหักลดหย่อนแยกตามประเภทของค่าใช้จ่าย - เบี้ยประกันภัย (ม. 47 (1) (ง) - เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ม. 47(1) (ช) - ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (ม. 47 (1) (ซ) - เงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ม. 47(1)(ฌ)) - ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ม. 47(1)(ญ))
110
การหักลดหย่อน 4. ผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายระหว่าง ปีภาษี (ม. 47 (4))
4. ผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายระหว่าง ปีภาษี (ม. 47 (4)) 5. เงินได้จากกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง (ม. 47 (5))
111
การหักลดหย่อน 6. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล (ม. 47 (6)) 7. เงินบริจาค (ม. 47 (7)) 8. การหักลดหย่อนของสามีภริยา (ม. 57 เบญจ)
112
การหักลดหย่อนบุตร 1. บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ (ม. 47(1)(ค) ว.1) 2. บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี/ภริยา ของผู้มีเงินได้ (ม. 47(1)(ค) ว.1) 3. อายุยังไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา (ม. 47(1)(ค) ว.4) 4. เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (ไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุ) (ม. 47(1)(ค) ว.4) 5. เกิดก่อน พ.ศ หักไม่ได้ เพราะอายุเกินยี่สิบห้าปี เว้นแต่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามรถ หักได้ (ม. 47(1)(ค) ว.1(1) และ ว.4)
113
การหักลดหย่อนบุตร 6. เกิดในหรือหลัง พ.ศ หักได้ เพราะอายุยังไม่เกิน 25 ปี แต่จะต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา แต่ถ้าเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หักได้เสมอ (ม. 47(1)(ค) ว.1(1) และ ว. 4) 7. รับเป็นบุตรบุญธรรมก่อน/ใน/หลัง พ.ศ ให้พิจารณาว่าในระหว่างปีภาษีมีอายุเกิน/ไม่เกิน 25 ปี ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือไม่ (ม. 47(1)(ค) ว.1(1)(2), ว. 4 และ ว. 5)
114
การหักลดหย่อนบุตร 8. มีบุตรเกิดก่อน พ.ศ จำนวน 2 คน เกิดใน พ.ศ จำนวน 1 คน และเกิดหลัง พ.ศ จำนวน 1 คน หักได้ 1 คน เฉพาะบุตรที่เกิดใน พ.ศ เนื่องจากอายุยังไม่เกิน 25 ปี แต่จะต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา ส่วนบุตรที่เกิดหลัง พ.ศ หักไม่ได้ (ม. 47(1)(ค) ว.1(1), ว.2, ว.3 และ ว. 4) 9. มีบุตรเกิดก่อน พ.ศ จำนวน 3 คน เกิดในและหลัง พ.ศ จำนวน 2 คน หักไม่ได้เลย (ม. 47(1)(ค) ว.1(1) และ ว.2)
115
การหักลดหย่อนบุตร 10. เกิดก่อนหรือใน พ.ศ จำนวน 6 คน เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล หักได้ทั้งหมด 6 คน (ม. 47(1)(ค) ว.1(1) และ ว.2) 11. มีบุตรเกิดในและหลัง พ.ศ จำนวน 4 คน หักได้ 3 คน แต่จะต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ(ม. 47(1)(ค) ว.1(1)(2) และ ว.2) 12. มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว และเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี ตั้งแต่ 15,000 บาท หักลดหย่อนไม่ได้ (ม. 47(1)(ค) ว.4)
116
เงินได้สุทธิและอัตราภาษี
1. เงินได้สุทธิ (ม. 48 (1)) 2. อัตราภาษี (บัญชีอัตราภาษีเงินได้ (1)) 3. การกำหนดเงินได้สุทธิโดยเจ้าพนักงานประเมิน (ม. 49) 4. เงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้นภาษี (พ.ร.ฎ ฉบับที่ 412)
117
ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ปีภาษี 2547 นาย ก. มีเงินได้จากเงินเดือนตลอดปีรวม 1,200,000 บาท หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 96,000 บาท มีบุตร 1 คน กำลังเรียนชั้นประถมศึกษา นาง ข. ภริยานาย ก. ได้รับเงินปันผลจากบริษัทไทย จำนวน 210,000 บาท นาย ก. จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านให้แก่ธนาคารจำนวน 50,000 บาท จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้แก่บริษัทประกันภัยที่ประกอบกิจการในประเทศไทย 60,000 บาท และจ่ายเงินบริจาคให้แก่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยจำนวน 100,000 บาท ให้คำนวณค่าภาษีของ นาย ก.
118
เงินได้พึงประเมิน (เงินเดือนตาม ม. 40(1)) 1,200,000 บาท
หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 40 ไม่เกิน 60,000 บาท ,000 บาท คงเหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย 1,140,000 บาท เงินปันผล (ม. 40(4)(ข) ,000 บาท เครดิตภาษีเงินปันผล (3 ใน 7) ,000 บาท รวมเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย 1,440,000 บาท หักลดหย่อน (บวกยกเว้นภาษี) ผู้มีเงินได้ 30,000 ภริยาผู้มีเงินได้ 30,000 บุตร 1 คน 15,000 การศึกษาบุตร 2,000
119
หักลดหย่อน (บวกยกเว้นภาษี)
ดอกเบี้ยเงินกู้ 50,000 เบี้ยประกันชีวิต 50,000 รวม ,000 เงินได้พึงประเมินก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค ,263,000 บาท (1,440, ,000) หักลดหย่อนเงินบริจาค (ไม่เกินร้อยละ 10) ,000 บาท เงินได้สุทธิ ,163,000 บาท คำนวณค่าภาษี (ยกเว้น 80,000 บาท ปี 2548 อาจยกเว้น 100,000) เงินได้สุทธิ 20,000 x 5% = 1,000 400,000 x 10% = 40,000 500,000 x 20% = 100,000 163,000 x 30% = 48,900
120
รวม ค่าภาษี ,900 บาท หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 96,000 เครดิตภาษีเงินปันผล 90, ,000 บาท ภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม 3,900 บาท
121
เงินได้ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
1. การโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน ถือว่าผู้โอนเป็นผู้มีเงินได้ (ม. 41 ทวิ) 2. ราคาขายถือตามราคาประเมินตามประมวลกฎหมายที่ดิน (ม. 49 ทวิ) 3. การโอนโดยมีค่าตอบแทน ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย (ม. 50 (5)) ถ้าไม่มีค่าตอบแทนถือว่าผู้โอนเป็นผู้จ่าย (ม. 50 (6))
122
เงินได้ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
4. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร - โดยทางมรดกหรือการให้โดยเสน่หา หักค่าใช้จ่ายตาม ม. 48 (4)(ก) - การขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น (ม. 48 (4)(ข) และ 50 (5)(ข)) หักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 165) - มีสิทธิเลือกเสียภาษีแยกจากเงินได้อื่น (ม. 48 (4))
123
เงินได้ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
5. เงินได้จากการขายที่ดินเงินผ่อนหรือให้เช่าซื้อที่ดิน หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 61 เว้นแต่พิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ก็ให้หักตามความจำเป็นและสมควร (พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 11) ม. 8 (42) และ ม. 8 วรรค 2) 6. เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร - หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 11) ม. 8 ทวิ) - ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี (พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 376) ม. 3)
124
การเสียภาษี 1. อัตราขั้นต่ำในการเสียภาษี (ม. 48 (2))
2. สิทธิในการเลือกเสียภาษี (ม. 48 (3) (4)(5)) 3. จำนวนภาษีเงินได้ที่ไม่ต้องเรียกเก็บ (ม. 48 ว. 2)
125
การเสียภาษี 4. การยื่นรายการภาษีทั่วไปและกำหนดเวลา (ม. 56, 57, 57 ทวิ, 57 ตรี และ 62) 5. การยื่นรายการภาษีสำหรับสามีภริยา (ม. 57 เบญจ) 6. สถานที่ยื่นรายการภาษี (ม. 57 จัตวา)
126
การเสียภาษี 7. การยื่นรายการภาษีก่อนกำหนดเวลา (ม. 52 ทวิ)
8. การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ม. 56 ทวิ) 9. การประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่น รายการ (ม. 60 ทวิ) 10. การแบ่งชำระภาษี (มาตรา 64)
127
เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน - โจทก์ทำสัญญาจ้างบริษัทต่างประเทศเป็นที่ปรึกษาและบริการทางเทคนิค บริษัทต่างประเทศส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาในประเทศไทยเพื่อให้คำปรึกษา จึงจ่ายค่าใช้จ่ายเบิกชดเชยและค่าการตลาดกับค่าส่งเสริมการตลาดให้แก่บริษัทต่างประเทศ (ฎ. 4925/2533) ** ถือว่าเป็นกรณีที่บริษัทต่างประเทศเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยหรือไม่ ** โจทก์มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งกรมสรรพากรหรือไม่
128
เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน - แพทย์ทำสัญญารับจ้างทำงานในโรงพยาบาล ใช้อุปกรณ์ของโรงพยาบาลในการรักษาผู้ป่วย ค่ายา ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดูแลรักษา โรงพยาบาลเป็นผู้ออก แพทย์เรียกเก็บค่าตรวจรักษาได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดและได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 85 ของค่าตรวจรักษาที่เรียกเก็บ ส่วนค่ายา ค่าห้อง ฯลฯ โรงพยาบาลเป็นผู้รับ (ฎ. 6865/2543) ** ปัญหาว่าเงินได้ที่แพทย์ได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด
129
เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน - โจทก์เป็นแพทย์ปฏิบัติหน้าที่ประจำ ณ สถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นพนักงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน (ฎ. 502/2526) ** ปัญหาว่าเป็นเงินได้ประเภทใด
130
เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน - บริษัท ฮ ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคในการผลิตกระดาษตามสัญญา และได้รับค่าธรรมเนียมในการให้ความช่วยเหลือจากบริษัทโจทก์ (ฎ. 3867/2531) ** ปัญหาว่าบริษัท ฮ ประกอบกิจการในประเทศไทยหรือไม่ ** เงินได้ที่ได้รับเป็นเงินได้ประเภทใด ** ค่าสิทธิตาม DTA Thai & Japan **
131
เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน - โจทก์จ่ายเงินให้บริษัทต่างประเทศเป็นค่าออกแบบแปลนโรงงาน สำรวจสถานที่ตั้งโรงงาน ออกแบบเครื่องจักร ติดตั้งเครื่องจักร ทดลองการผลิต ดูแลรักษาการใช้เครื่องจักร ฝึกวิศวกรให้รู้จักดูแลรักษาและการใช้เครื่องจักร (ฎ. 994/2531) - โจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้บริษัทต่างประเทศเป็นค่าบริการในการออกแบบแปลนแผนผังในการสร้างโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก รวมทั้งการติดตั้งเครื่องจักร (ฎ. 3923/2531)
132
เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน 19. โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชกรรมชั้นหนึ่ง เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาลได้รับค่าจ้างรายเดือน โรงพยาบาลให้ใช้สถานที่ประกอบวิชาชีพอิสระเปิดคลินิกส่วนตัวนอกเวลาโดยแบ่งรายให้โรงพยาบาลตามอัตราที่กำหนด (ฎ. 1802/2533) 20. โจทก์ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ให้บริการรักษาฟันในโรงพยาบาลฟัน มีข้อตกลงว่าค่าบริการรักษาฟันโจทก์จะได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 50 (ฎ. 3193/2543)
133
เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับประเภทของเงินได้พึงประเมิน 32. มติคณะกรรมการของ ก. กำหนดให้ซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 1 ตกลงขายให้ ก. ในราคา 14 ล้านบาทเศษ โจทก์ที่ 1 ได้โอนขายที่ดินให้โจทก์ที่ 2 ก่อนในราคา 1,700,000 บาท เพื่อบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ต่อมาโจทก์ที่ 2 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้ ก. ได้ เพราะขัดกับมติคณะกรรมการ โจทก์ที่ 2 จึงโอนกลับคืนให้โจทก์ที่ 1 (ฎ /2540)
134
มีกำไรจากการชำระบัญชี
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 7671/2546 ถือหุ้น เลิกกิจการ ชำระบัญชี โจทก์ บริษัท ข. ได้รับส่วนแบ่งผลกำไร จากการชำระบัญชีใน แต่รอบระยะเวลาบัญชี มีกำไรจากการชำระบัญชี
135
ได้รับค่าตอบแทนจากการที่ ม. และ ว. ถือกรรมสิทธิ์รวม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2546 ม. และ ว. ถือ กรรมสิทธิ์รวม ภริยา สามี (โจทก์) ได้รับค่าตอบแทนจากการที่ ม. และ ว. ถือกรรมสิทธิ์รวม
136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6652/2542
โจทก์ สามี โจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 5 ล้านบาทเศษ - สามีไม่มีเงินได้ - บุคคลใดมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6652/2542
137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2541
กรมสรรพากร (จำเลย) โจทก์ โจทก์มีเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ - มีเงินได้ในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2513/2541
138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2543
โจทก์ ภริยาเดิม - โจทก์มีบุตรกับภริยาคนเดิม 3 คน (มีคุณสมบัติที่จะหักลดหย่อนได้) - โจทก์ ภริยาเดิม และภริยาปัจจุบัน จะหักลดหย่อนสำหรับบุตร ได้หรือไม่ เพียงใด ภริยาปัจจุบัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2543
139
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับมาตรา 42
3. ฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กันจำนวนหนึ่ง (ฎ. 3353/2532) 4. ค่าเสียหายที่ชดใช้ให้แก่กันซึ่งเกิดจากมูลหนี้ในการกระทำผิดสัญญา (ฎ. 2346/2536)
140
คำพิพากษาศาลฎีกา เกี่ยวกับมาตรา 42
5. หุ้นที่บิดายกให้บุตรเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา (ฎ. 4505/2533) 6. ขณะที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยนั้น จำเลยมีอาชีพและครอบครัวเป็นหลักฐานแล้ว ที่ดินที่ยกให้เป็นจำนวนมากและราคาสูง (ฎ. 1680/2517) 7. ยกเงินให้คราวละมาก ๆ เพื่อหวังผลประโยชน์ (ฎ. 1262/2520)
141
และข้อหารือเกี่ยวกับมาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกา และข้อหารือเกี่ยวกับมาตรา 42 8. บริษัทโจทก์ส่งพนักงานที่ทำงานได้ตามเป้า ทำงานมานาน และมีความประพฤติดีไปดูงานที่ต่างประเทศ (ฎ. 9909/2539) 9. พนักงานประสบอันตรายถึงแก่ชีวิต นายจ้างจ่ายเงินทดแทนให้แก่ทายาทเป็นรายเดือนมีกำหนด 5 ปี (กค 0802/3514 ล.ว. 10 มี.ค. 30) 10. ข้าราชการได้รับทุนการศึกษาจากองค์กรเอกชนต่างประเทศไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก (กค 0811 (ก)/1512 ล.ว. 17 พ.ย. 40)
142
คำพิพากษาศาลฎีกา และข้อหารือ เกี่ยวกับการหักลดหย่อน
1. โจทก์หย่ากับภริยาเดิม และจดทะเบียนสมรสใหม่กับ ร. โจทก์มีบุตร 3 คนกับภริยาเดิม ซึ่งอยู่ในความอุปการะ (ฎ. 368/2543) 2. ลูกจ้างบริษัทต่างประเทศ มีเงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี คู่สมรสและบุตรอยู่ต่างประเทศ และบุตรกำลังศึกษาอยู่ที่ต่างประเทศ (กค 0802 (ก)/7678 ล.ว. 29 ก.ย. 35)
143
คำพิพากษาศาลฎีกา และข้อหารือ เกี่ยวกับการหักลดหย่อน
3. บุตรโจทก์อายุยังไม่เกิน 25 ปี กำลังศึกษาอยู่ที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา โจทก์ใช้สิทธิหักลดหย่อนการศึกษาบุตร (ฎ. 45/2547) 4. สามีภริยาจดทะเบียนหย่าระหว่างปีภาษี มีบุตร 2 คน กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาและอนุบาล ข้อตกลงการหย่าให้บุตรอยู่ในความอุปการะของสามี แต่ทางปฏิบัติภริยายังคงส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูให้บุตร (กค 0802/9508 ล.ว. 6 ก.ค. 31)
144
คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
1. คำว่า “ทางการค้า” หมายถึงการซื้อที่ดินมาเพื่อจะขายเอากำไร การกระทำเพียงครั้งเดียวก็อาจถือเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร (ฎ. 2860/2531) 2. สิทธิในการเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48 (4) มีเจตนารมย์เพื่อบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มิได้มีข้อจำกัดว่าจะหมดไปเมื่อใด (ฎ. 5323/2534)
145
คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
3. โจทก์ทั้งสองร่วมกันซื้อที่ดินมา 2 แปลง และขายให้บริษัท ช. หลังจากซื้อมา 24 วัน (ฎ. 1478/2539) 4. เงินได้จาการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้อสังหาริมทรัพย์มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขาย และที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย (ฎ. 5677/2540, 548/2543)
146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2543
นาง อ. โจทก์ ซื้อที่ดิน กองมรดก พันตำรวจตรี ช. โดย นาง อ. ผู้จัดการมรดก
147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2544
ผู้ตาย นาย อ. ฟ้องคดีก่อนตายให้โอนที่ดิน 3 แปลง นาย ล. เข้าเป็นคู่ความแทน (ผู้จัดการมรดก) มีที่ดินของตนเอง 2 แปลง ชนะคดี รับโอนที่ดินที่ชนะคดี และขายที่ดินที่รับโอนมา 3 แปลง พร้อมด้วยที่ดินของผู้ตายอีก 2 แปลง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.