ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ลักษณะสำคัญของ ภาษาไทย
2
ภาษาไทยมีอักษรเป็นของตนเอง
พ่อขุนรามคำแหงได้บัญญัติตัวอักษรไทยขึ้นโดยดัดแปลงแบบที่ใช้กันอยู่ก่อนบ้างนั้น ก็ได้บัญญัติขึ้นเพื่อให้เหมาะสมแก่ภาษาไทยเป็นส่วนมาก แต่แล้วก็ได้มีอักษรเพิ่มขึ้นมา เพื่อถ่ายตัวอักษรภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งเขียนต่างกันแต่ออกเสียงเหมือนกัน พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
3
ภาษาไทยมีอักษรเป็นของตนเอง
ตัวอักษรของไทยที่ใช้ในปัจจุบันมีดังนี้ 1. สระ 2. พยัญชนะ 3. วรรณยุกต์ 4. ตัวเลข
4
ภาษาไทยแท้เป็นภาษาที่มีพยางค์เดียว
คำกริยา ไป มา เดิน นั่ง นอน พูด ปีน คำเรียกชื่อสัตว์ เป็ด ไก่ งู ควาย เสือ ลิง ปลา คำเรียกชื่อสิ่งของ ถ้วย ชาม มีด ผ้า ไร่ นา เสื้อ
5
ภาษาไทยแท้มีตัวสะกดตามมาตรา
ก. คำไทยแท้มีตัวสะกดตามมาตรา และไม่มีการันต์ คือ แม่กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ แม่กม แม่เกย แม่เกอว ข. คำที่ไทยยืมมาจากภาษาอื่นจะเขียนตัวสะกดตามรูปเดิมแต่ออกเสียงตามมาตราตัวสะกดของไทย เช่น เลข ครุฑ พิฆาต ภาพ อรัญ
6
ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำแหน่ง
ก. วางไว้หน้าพยัญชนะ ไป เสแสร้ง แม่ ข. วางไว้หลังพยัญชนะ จะ มา มากมาย ค. วางไว้บนพยัญชนะ ริ ดิถี ปิติ ศรี มี
7
ภาษาไทยมีรูปสระวางไว้หลายตำแหน่ง
ง. วางไว้ข้างล่างพยัญชนะ ครู ปู่ หมู สุข จ. วางไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เขา เธอ เกาะ ฉ. วางไว้ทั้งข้างหน้าและข้างบนพยัญชนะ เป็น เสียง เชิญ
8
คำเดียวมีความหมายหลายอย่าง
สังเกตได้จาก ปริบท ,หน้าที่ของคำ เขาสนุกสนานกันในห้อง แต่ทำไมเขากันไม่ให้กันเข้าไปในห้อง
9
ภาษาไทยมีความประณีต การทำให้ขาดจากกัน ตัด หั่น แล่ เชือด เฉือน สับ ซอย
การทำให้ขาดจากกัน ตัด หั่น แล่ เชือด เฉือน สับ ซอย การทำให้อาหารสุก ปิ้ง ย่าง ต้ม ตุ๋น นึ่ง ผัด ทอด คั่ว
10
ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ
1. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในศัพท์หรือ ท้ายศัพท์ ต่อไปนี้เธอต้องอดทนให้มาก ไม่ใช่รู้จักแต่ทนอดอย่างเดียว
11
ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ
2. ระเบียบการเรียงประโยคในภาษาไทย 2.1 ตามปกติเรียงลำดับ ประธาน กริย กรรม คำหรือวลี หรือประโยคขยายคำใดจะอยู่หลังคำนั้น ประโยคคำถามไม่เปลี่ยนรูปประโยค คำกริยาอาจจะซ้อนกันในประโยคเดียวกันตั้งแต่สองคำขึ้นไป
12
คำในภาษาไทยมีเสียงสัมพันธ์กับความหมาย
ก. คำที่ประสมด้วยสระ เอ เก เข โซเซ รวนเร ข. คำที่ประสมด้วยสระ ออ มี “ม” หรือ “ น” สะกด งอนง้อ อ้อมค้อม น้อม อ้อม
13
ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรี
1.มีคำใช้มากขึ้น มา ม้า หมา, ขาว ข่าว ข้าว 2. มีความไพเราะ ทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์หรือมองเห็นภาพได้ง่าย ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าให้เหงาหงิม สุชลปริ่มเปี่ยมเหยาะเผาะเผาะผอย
14
ภาษาไทยเป็นภาษาดนตรี
3. มีจังหวะและคำคล้องจองเป็นประโยชน์ในการเน้นความ และเกิดความกระทัดรัด 4. สามารถเลียนเสียงธรรมชาติ และเลียนสำเนียงภาษาได้ทุกภาษา
15
ภาษาเขียนมีวรรคตอน ภาษาพูดมีจังหวะ
ก. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง พูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง เสียตำลึงทอง ข. ราคาข้าวตกลงเกวียนละ บาท ราคาข้าวตก ลงเกวียนละ บาท
16
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณนาม
1. ใช้ตามหลังจำนวนนับ ผ้า 2 ผืน ผ้า 2 ม้วน ผ้า 2 พับ ผ้า 2 ตั้ง 2. ใช้ตามหลังนามเมื่อต้องการเน้นหนักและบอกให้รู้ลักษณะ
17
ภาษาไทยเป็นขาษาที่มีระดับของคำ
1. ราชาศัพท์ 2. คำบอกลักษณะโดยเฉพาะ 3. ภาษาธรรมดากับภาษากวี อาทิตย์ - ตะวัน ทินกร ทิพากร ภาณุมาศ สุรีย์ รวิ อาภากร สุริยา สุริโย สุริยัน
18
ภาษาไทยมีคำพ้องเสียงพ้องรูป
กาฬ กาล การ กานต์ กานท์ คำพ้องรูป เรือนรก ตากลม เพลา ขอบอกขอบใจ
19
ภาษาไทยมักจะละคำบางคำ
ฉันไปที่ทำงานเวลา 8.00 น.
20
ภาษาพูดมีคำเสริมแสดงความสุภาพ
ก. แสดงความสุภาพ เถิด ซิ จ๊ะ คะ ครับ ข. แสดงความไม่สุภาพ โว้ย วะ ค. แสดงความรู้สึก นะจ๊ะ สิคะ
21
การลงเสียงหนักเบาทำให้หน้าที่ของคำเปลี่ยนไป
ก. ถ้าคำนั้นมีความหมายชัดแจ้งต้องลงเสียงหนักทุกพยางค์ สะสม สะสาง ข. ถ้าออกเสียงหนักเบาอาจแยกให้เห็นความหมายที่แตกต่างกัน ถ้าเสียก็แก้เสียให้ดี ข้าวเย็นหมดแล้ว
22
ภาษาไทยมีการสร้างคำ 1. การแปรเสียง ชุ่ม-ชอุ่ม ตรอก-กรอก
1. การแปรเสียง ชุ่ม-ชอุ่ม ตรอก-กรอก 2. การเปลี่ยนเสียง ฐาน-ฐานะ สีมา-เสมา 3. การประสมคำ คนใช้ พ่อตา นักศึกษา 4. การเปลี่ยนตำแหน่งคำ ไข่ไก่- ไก่ไข่
23
ภาษาไทยมีการสร้างคำ 5. การแปรความ เดินตลาด เดินสะพัด
5. การแปรความ เดินตลาด เดินสะพัด 6. การเปลี่ยนความ นิยาย กระโถน แห้ว 7. การนำคำ ภาษาอื่นมาใช้ เสวย กุหลาบ 8. การคิดตั้งคำขึ้นใหม่ โทรทัศน์ พฤติกรรม กิจกรรม ประยุกต์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.