งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การรับมือกับความเปลื่ยนแปลงด้านสุขภาพกายและจิตในวัยสูงอายุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การรับมือกับความเปลื่ยนแปลงด้านสุขภาพกายและจิตในวัยสูงอายุ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การรับมือกับความเปลื่ยนแปลงด้านสุขภาพกายและจิตในวัยสูงอายุ
น.พ.สุรชัย วิจารณ์กัยกิจ

2 องค์การสหประชาชาติได้ให้ความหมายของผู้สูงอายุว่าหมายถึงบุคคลที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายหญิง
การแบ่งช่วงของความสูงอายุแบ่งได้เป็น 3 ช่วง วัยสูงอายุตอนต้น (young-old) อายุ ปี วัยสูงอายุตอนกลาง (medium-old) อายุ ปี วัยสูงอายุตอนปลาย (old-old) อายุ 80 ปีหรือมากกว่า

3 ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า - พ. ศ. 2503 มีประชากรสูงอายุ 1
ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า - พ.ศ.2503 มีประชากรสูงอายุ 1.5ล้านคนหรือ 5.4%ของประชากรทั้งหมด - พ.ศ.2552 ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 7.6 ล้านคนหรือ 11.5% บ่งชี้ว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากมีประชากร สูงอายุมากกว่า 10%ของประชากรทั้งหมด - คาดว่าในอีก 30 ปี หรือปีพ.ศ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วน 30% ของประชากรทั้งประเทศ

4 สถิติขององค์การอนามัยโลก ปีพ.ศ. 2554
อายุเฉลี่ยของชายไทยอยู่ที่ 64 ปี ส่วนหญิงไทยอยู่ที่ 67 ปี อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี (Life expectancy at 60) ชายไทย 15 ปี (75 ปี) หญิงไทย 18 ปี (78 ปี)

5 ปีของชีวิตที่หายไป (Years of Life Lost)
การเสียชีวิตก่อนตัวเลขประมาณการนี้ ถือว่าเป็นการ เสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควร ทางการแพทย์เรียก Years of Life Lost หรือ ปีของ ชีวิตที่หายไป

6 การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ
วัยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง 3 อย่างใหญ่ๆคือ การ เปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ทางสังคม และทางจิตใจ (อารมณ์)

7 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
- เป็นความเสื่อมทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นช้าๆเป็นเวลานาน - เป็นผลให้การทำหน้าที่ของระบบต่างๆในร่างกายและความสามารถในการต่อต้านโรคลดลง - โรคเรื้อรังยังเป็นตัวเร่ง ทำให้ความเสื่อมของร่างกายเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น

8 สูงวัยอย่างมีความสุข
- เกิดได้จากการปฎิบัติตัวเพื่อชลอความเสื่อมของร่างกาย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมีอายุยืน - โดยให้มีช่วงเวลาที่ปราศจากโรคยาวนานที่สุด คนที่อายุยืนที่สุดอยู่ที่ 122 ปี

9 สูงวัยอย่างมีความสุข
เกิดขึ้นได้จากการป้องกันโรค ที่ประกอบด้วย 1. ป้องกันก่อนการเกิดโรค (การป้องกันแบบปฐมภูมิ) 2. ป้องกันหลังจากเกิดโรค (การป้องกันแบบทุติยภูมิ)

10 การป้องกันก่อนการเกิดโรค
ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ รักษาน้ำหนักตัว รับประทานผัก ผลไม้ ถั่ว และแป้งไม่ขัดขาว งดสูบบุหรี่ ได้รับวิตามินและสารอาหารครบถ้วน ฉีดวัคซีนป้องกันโรค

11 การป้องกันหลังจากเกิดโรค
1. ควบคุมความดันเลือด 2. ควบคุมเบาหวาน 3. ลดระดับไขมันในเลือด 4. ตรวจร่างกายประจำปีโดยสม่ำเสมอ

12 การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย
- การออกกำลังกายควรเป็นแบบแอโรบิก หรือทำกิจกรรม ต่างๆติดต่อกันให้ได้ 30 นาที - หัวใจเพิ่มการทำงานช้ามาก กว่าจะทำงานเต็มที่ต้องใช้เวลา นาที - หัวใจจะทำงานเต็มที่ 10 นาที แต่ก็พอเพียงที่จะทำให้ระดับน้ำตาล และ LDL ไขมันชนิดเลวลดลง ส่วนไขมันดี HDL เพิ่มขึ้น - ผลนี้จะอยู่ได้นาน 48 ช.ม. ดังนั้นการออกกำลังกายวันเว้นวันจึงเพียงพอ

13 การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย
ยืนแกว่งแขน เดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ วิ่ง เต้นแอโรบิก

14 การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย
- รำมวยจีน มีการศึกษาพบว่า การออกกำลังด้วยการรำมวย จีน สามารถเพิ่มความอดทน เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความสัมพันธ์ของการทำงานของกล้ามเนื้อ เพิ่มสมาธิได้

15 การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงวัย
Tai Chi Chuan - เป็นการออกกำลังกายตามมโนภาพ มีการศึกษาที่ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ใช้การออกกำลังด้วยมโนภาพ วันละ 5 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นแขนได้ 30-40%

16 การควบคุมน้ำหนักตัว - สูตรคำนวณหาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมอย่างง่าย
ชาย (กก) = ความสูง (ซม) - 100 หญิง (กก) = 90% ของความสูง (ซม) - 100 - ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กก) / ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง แนะนำให้ควบคุมน้ำหนักโดยดัชนีมวลกาย =

17 การควบคุมน้ำหนักตัว เส้นรอบเอว (พุง)
การศึกษาเพื่อหาคำตอบว่าดัชนีมวลกาย ความ ยาวรอบเอวและอัตราส่วนรอบเอวกับความสูง ตัวใดที่จะบอกโอกาสเสี่ยงโรคได้ดีที่สุด ประชากร >300,000 คน ใน 18 ประเทศ มีการ ติดตาม ตั้งแต่ ปี

18 การควบคุมน้ำหนักตัว พบว่าในประชากรชายและหญิง อัตราส่วนความ ยาวรอบเอวต่อความสูง เป็นตัวชี้โอกาสเสี่ยง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันไตรกลีเซอ ไรด์สูง และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีที่สุด จุดตัดที่แบ่งโอกาสเสี่ยงอยู่ที่ 0.5 'เส้นรอบพุงไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง' เส้นรอบพุงเพิ่มจากปกติทุก 5 ซม เสี่ยงต่อการเป็น เบาหวานและโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 5 เท่า

19 วิธีวัดเส้นรอบพุง

20 แกว่งแขนลดพุง

21 การออกกำลังเพื่อลดน้ำหนัก
การออกกำลังกายเพื่อกำจัดพลังงานออกได้ ยากกว่าที่ คิด เล่นเทนนิส 1 ชั่วโมง ใช้พลังงาน 425 กิโลแคลอรี แอโรบิคปานกลาง 1 ชั่วโมง ใช้พลังงาน 350 กิโล แคลอรี ว่ายน้ำ 1 ชั่วโมง ใช้พลังงาน 450 กิโลแคลอรี ก๋วยเตี๋ยวผัดไทยใส่ไข่ ให้พลังงาน 484 กิโลแคลอรี่ ผัดซีอิ๊วใส่ไข่ ให้พลังงาน 679 กิโลแคลอรี่

22 รับประทานผัก ผลไม้ ถั่ว และแป้งไม่ขัดขาว

23 งดสูบบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 2-4 เท่า หยุดสูบบุหรี่ 1 ปี ลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจ ได้ 50% ถ้าหยุดได้ถึง 2 ปี อัตราเสี่ยงจะกลายเป็น เท่ากับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย

24 ศูนย์บริการการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ
- ดำเนินการโดย มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ โดย ความตกลงกับ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

25 วิตามินและสารอาหาร ความเชื่อ: ผู้สูงวัยทุกคนควรกินวิตามินเสริมทุก วัน
ความจริง: ผู้สูงวัยที่ขาดอาหารหรือรับประทาน อาหารแบบมังสวิรัติเท่านั้น จะได้ประโยชน์จาก การกินวิตามินเสริม

26 วิตามินและสารอาหาร ความจริง: การกินอาหารที่มีวิตามิน B และสาร ต้านอนุมูลอิสระ สามารถชลอความเสื่อมของ ร่างกาย และลดอัตราเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ความเชื่อ: การกินวิตามิน B และสารต้านอนุมูล อิสระ ให้ผลดีเช่นเดียวกับการกินอาหารที่ได้ จากธรรมชาติ

27 สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
ในกระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อสร้าง พลังงานที่ทำให้ร่างกายเราทำงานได้อย่างที่ เป็นอยู่ จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้น อนุมูลอิสระจะทำปฎิกิริยากับดีเอ็นเอ ที่อยู่ใน เซลล์ เป็นเหตุให้เซลล์เสียหาย ทำให้เกิดโรค หลายชนิด รวมทั้งมีทฤษฎีที่เชื่อว่า อาการแก่ ชราเป็นผลของอนุมูลอิสระด้วย

28 สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงตามธรรมชาติ เช่นผักและผลไม้ มีความสัมพันธ์กับสุขภาพที่ ดีและอายุที่ยืนยาว การศึกษาในคนพบว่า การกินสารต้านอนุมูล อิสระไม่ได้ให้ผลดีแก่สุขภาพเหมือนการกิน อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงตามธรรมชาติ

29 Omega-3 fatty acid มีการศึกษาพบว่า การกินปลาและอาหารที่มี Omega-3 สามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ American Heart Association แนะนำให้คนทั่วไปกิน ปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนคนไข้โรคหัวใจ ขาดเลือดควรได้รับ Omega-3 วันละ 1 กรัม

30 Omega-3 fatty acid พบมาก ในปลาแซลมอน ซาร์ดีน
น้ำมันวอลนัตและคาโนล่ามีมากกว่า 1 กรัมต่อ หนึ่งช้อนโต๊ะ น้ำมันแฟล็กซ์ (Flax seed) มี 7 กรัมต่อหนึ่ง ช้อนโต๊ะ

31 แคลเซียม สามารถป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ แนะนำให้กินวันละ 800-1000 มก
อาหารไทยมีปริมาณแคลเซียม มก นมพร่องมันเนย 1 แก้ว (200 ซีซี) ได้แคลเซียม 253 มก โยเกิร์ต 1 ถ้วย ได้แคลเซียม 252 มก ปลาซาร์ดีนกระป๋อง 2 ชิ้น ได้แคลเซียม 429 มก ปลาตัวเล็ก 2 ช้อนกินข้าว ได้แคลเซียม 226 มก

32 การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สามารถที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อใน ผู้สูงอายุได้ประมาณ 50% ประเทศไทยเรามีการฉีดวัคซีนนี้ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงสิงหาคมของทุกปี ผู้สูงอายุทุกคนควรได้วัคซีนนี้เป็นประจำทุกปี

33 การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัล (Pneumococcal) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบและโลหิต เป็นพิษได้ โดยผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้ มากกว่าผู้ป่วยอายุน้อย ผู้ที่อายุตั้งแต่ 65ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีนชนิดนี้หนึ่งครั้ง ผู้ที่อายุยังไม่ครบ 65ปีแต่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ มีโรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน ควรได้รับวัคซีนนี้ทันทีและควรได้รับการฉีดกระตุ้น อีกครั้งห่างจากเข็มแรกเป็นเวลา 5ปี

34 การป้องกันหลังจากเกิดโรค
ควบคุมความดันเลือด เป้าหมายคือคุมความดันเลือดอยู่ในระดับ ไม่เกิน 140/90

35 การควบคุมเบาหวาน พลาสมากลูโคสขณะอดอาหาร มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก/ดล
- การประเมินการควบคุมเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่ถือว่าควบคุมได้ดี ระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้า มก/ดล (ค่าปกติ ) การวัดฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี หรือเรียกว่าน้ำตาลเฉลี่ยหรือน้ำตาลสะสม ควรตรวจทุก 3 เดือน ควรควบคุมให้ต่ำกว่า 6.5% (ค่าปกติ 4-6%)

36 ลดระดับไขมันในเลือด การควบคุมระดับไขมันเลือดให้อยู่ในระดับที่ ปลอดภัย โดยการควบคุมอาหารและการให้ยาลด ไขมัน โดยใช้ระดับ LDL เป็นเป้าหมาย ความเสี่ยงต่ำ (มี 0-1 ปัจจัยเสี่ยง) เป้าหมาย <160 มก/ดล ความเสี่ยงปานกลาง(มีตั้งแต่ 2 ปัจจัยเสี่ยง) เป้าหมาย <130 มก/ดล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจหรือความเสี่ยงสูง (5 ปัจจัยเสี่ยง + เบาหวาน) เป้าหมาย <100 มก/ดล

37 ลดระดับไขมันในเลือด ปัจจัยเสี่ยง (Major risk factors) ได้แก่ - สูบบุหรี่ - ความดันเลือด สูงกว่า 140/90 หรือกินยาลดความดันอยู่ - พันธุกรรม ชายที่มีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นก่อนอายุ 55 ปี และฝ่ายหญิงก่อนอายุ 65 ปี - HDL <40 - เพศและอายุ ชายอายุมากกว่า 45 ปี หญิงอายุมากกว่า 55 ปี

38 ตรวจร่างกายประจำปี “ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โรคหลายโรคอาการจะ ไม่ปรากฏชัดในระยะแรก ถ้าได้ตรวจพบใน ระยะแรก การรักษาจะใด้ผลดี “

39 อัตราตายของคนไทยจากโรคต่างๆ (2550)
1. มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 2. อุบัติเหตุ 3. โรคหัวใจ 4. ความดันเลือดสูงและโรคหลอดเลือดใน สมอง

40 ตรวจร่างกายประจำปี ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ของการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้สูงอายุ การตรวจจะเน้นการคัดกรองโรคมะเร็งซึ่งหาก วินิจฉัยได้ในระยะเริ่มต้นและได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ผลการรักษาจะมีประสิทธิภาพ ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญการ

41 1. มะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงมาจากติ่งเนื้อธรรมดา (Adenomatous polyp) ซึ่งติ่งเนื้อนี้จะพบได้มากขึ้น ตามอายุ การตรวจและตัดติ่งเนื้อที่พบโดยการส่องกล้องผ่าน ทางทวารหนักจึงเป็นวิธีป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดี ที่สุด การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีส่องกล้องที่เรียกว่า Colonoscope นี้ แนะนำให้ทำอย่างน้อยทุกๆ 10ปี ระหว่างอายุ 50 ถึง 75ปี

42 2. มะเร็งต่อมลูกหมาก คัดกรองโดยการเจาะเลือดหาระดับของ PSA (prostate-specific antigen) ชายตั้งแต่อายุ 50ปี ควรตรวจ PSA ทุก 2ปี ถ้าค่า PSA ที่ตรวจได้ ต่ำกว่า 2.5ng/ml หากพบว่าค่า PSA สูงกว่า 2.5 ควรได้รับการตรวจซ้ำทุกปี ผู้มีประวัติมะเร็งต่อมลูกหมากในครอบครัว ควรเริ่มการตรวจตั้งแต่ อายุ 40ปี

43 3. มะเร็งปากมดลูก การตรวจเซลล์ที่ขูดมาจากปากมดลูกที่เรียก Pap smear
3. มะเร็งปากมดลูก การตรวจเซลล์ที่ขูดมาจากปากมดลูกที่เรียก Pap smear การตรวจหาไวรัส Human Papilloma (HPV test) พร้อมไปกับ การตรวจ Pap smear สตรีอายุระหว่าง 30 ถึง 65ปี ควรตรวจ Pap smear ทุก 3ปี หากตรวจ Pap smear ร่วมกับการตรวจหา HPV สามารถตรวจซ้ำ ทุก 5ปี หากผลการตรวจเป็นปกติ

44 4. มะเร็งเต้านม การแนะนำให้สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 40 ถึง 74ปี ทำการตรวจ mammogram ทุก 2ปี

45 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและอารมณ์
3 D = การเปลี่ยนแปลง 3 มิติ

46 3 Ds Deprivation - ความสูญเสีย Denial - ทำใจไม่ได้
Depression/ Anxiety – ซึมเศร้า/กังวล

47 Deprivation - ความสูญเสีย
ตำแหน่งหน้าที่การงาน อำนาจให้คุณให้โทษ สภาพที่เคยมีคนห้อมล้อม รายได้บางส่วน สิทธิพิเศษต่างๆ

48 Denial - ทำใจไม่ได้ การเกษียณอายุเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เตรียมตัวล่วงหน้าเป็นระยะเวลาพอสมควร มองว่าการเกษียณอายุเป็นเสมือนรางวัลที่ได้มาจาก การทำงานมาทั้งชีวิต วางแผนที่จะทำในสิ่งที่รักที่จะทำ ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องทำ

49 Depression/ Anxiety – ซึมเศร้า/กังวล
Stress Scale (Holmes & Rahe) - สูญเสียคู่สมรส - เกษียณอายุ

50 แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย
1. คุณพอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ตอนนี้ 2. คุณไม่อยากทำสิ่งที่เคยสนใจหรือเคยทำเป็นประจำ 3. คุณรู้สึกชีวิตของคุณช่วงนี้ว่างเปล่าไม่รู้จะทำอะไร 4. คุณรู้สึกเบื่อหน่ายบ่อยๆ 5. คุณหวังว่าจะมีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นในวันหน้า

51 แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย
6. คุณมีเรื่องกังวลอยู่ตลอดเวลา และเลิกคิดไม่ได้ 7. ส่วนใหญ่แล้วคุณรู้สึกอารมณ์ดี 8. คุณรู้สึกกลัวว่าจะมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นกับคุณ 9. ส่วนใหญ่คุณรู้สึกมีความสุข 10. บ่อยครั้งที่คุณรู้สึกไม่มีที่พึ่ง

52 แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย
11. คุณรู้สึกกระวนกระวาย กระสับกระส่ายบ่อย 12. คุณชอบอยู่กับบ้านมากกว่าที่จะออกนอกบ้าน 13. บ่อยครั้งที่คุณรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตข้างหน้า 14. คุณคิดว่าความจำของคุณไม่ดีเท่าคนอื่น 15. การที่มีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดี

53 แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย
16. คุณรู้สึกหมดกำลังใจ หรือเศร้าใจบ่อยๆ 17. คุณรู้สึกว่าชีวิตคุณค่อนข้างไม่มีคุณค่า 18. คุณรู้สึกกังวลมากกับชีวิตที่ผ่านมา 19. คุณรู้สึกว่าชีวิตนี้ยังมีเรื่องน่าสนุกอีกมากมาย 20. คุณรู้สึกลำบากที่จะเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ

54 แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย
21. คุณรู้สึกกระตือรือร้น 22. คุณรู้สึกสิ้นหวัง 23. คุณคิดว่าคนอื่นดีกว่าคุณ 24. คุณอารมณ์เสียง่ายกับเรื่องเล็กๆน้อยๆอยู่เสมอ 25. คุณรู้สึกอยากร้องไห้บ่อยๆ

55 แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย
26. คุณมีความตั้งใจในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ไม่นาน 27. คุณรู้สึกสดชื่นในเวลาตื่นนอนตอนเช้า 28. คุณไม่อยากพบปะพูดคุยกับคนอื่น 29. คุณตัดสินใจอะไรได้เร็ว 30. คุณมีจิตใจสบาย แจ่มใสเหมือนก่อน

56 แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย
คนสูงอายุปกติ คะแนน 0-12 ผู้มีอาการเศร้าเล็กน้อย คะแนน 13-18 ผู้มีความเศร้าปานกลาง คะแนน 19-24 ผู้ที่มีความเศร้ารุนแรง คะแนน 25-30

57 ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิตที่ดี
ปรับตัวให้เข้ากับบทบาททางสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้สูงวัยที่มีสังคมที่ดี มีสุขภาพกายและจิตดีกว่าผู้ที่ไม่มี สังคม ผู้สูงวัยที่ให้มากกว่ารับ มีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่รับ มากกว่าให้ ความเรียบง่ายสู่ความปิติสุข (Happiness in simplicity)

58 ชีวิตคือปาฏิหาริย์ จงเป็นอิสระดังสายลมที่กระทบยอดไม้
อบอุ่นดุจแสงแดดที่อาบสรรพสิ่ง เปิดความคิดเปิดใจกว้างราวโลกทั้งใบ วินทร์ เลียววาริณ

59 หนังสือควรอ่าน

60 หนังสือน่าอ่าน

61 หนังสือน่าอ่าน

62 หนังสือสำหรับนักวิชาการ

63 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt การรับมือกับความเปลื่ยนแปลงด้านสุขภาพกายและจิตในวัยสูงอายุ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google