ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
องค์ประกอบ e-Learning และ WBI
2
ทั้ง e_Learning และ WBI ต่างมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญคล้ายคลึงกัน
องค์ประกอบด้านเนื้อหา เช่น คำแนะนำการเรียน คำประกาศ แหล่งความรู้ ห้องเรียน ฯลฯ องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการรายวิชา องค์ประกอบด้านช่องทางการติดต่อสื่อสาร เช่น ในลักษณะเวลาเดียวกัน กับต่างเวลา องค์ประกอบด้านการทดสอบและการประเมินผล
3
ประเภทของ e-Learning courseware
4
จากองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบหลักที่ได้กล่าวมา ได้แก่
เนื้อหา (Content) ระบบบริหารจัดการรายวิชา (Learn Management System) โหมดการติดต่อสื่อสาร (Modes of Communication) แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ
5
เนื้อหาสำคัญที่สุด เพราะ
ผู้เรียนจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาเรียนรู้ คิดค้น วิเคราะห์ อย่างมีหลักการและเหตุผลด้วยตนเอง จากเนื้อหา สารสนเทศที่ผู้สอนได้จัดเตรียมไว้ให้ ในความหมายของเนื้อหาแล้ว จะครอบคลุมความหมายค่อนข้างกว้าง คือ จะหมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดที่ช่วยให้เนื้อหาของ e-Learning มีความสมบูรณ์ และมีความเหมาะสมสำหรบการนำไปใช้ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-contained)
6
หัวใจของเนื้อหา อยู่ที่ คอร์สแวร์ (บทเรียนทางคอมพิวเตอร์)
คอร์สแวร์หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (คอมพิวเตอร์) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอบทเรียนจากเอกสารตำรา ให้อยู่ในรูปของบทเรียนทางคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการออกแบบ ซึ่งใช้ข้อได้เปรียบของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอมัลติมีเดีย และการให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนมีความยืดหยุ่นในการเข้าถึงเนื้อหา และมีการออกแบบกิจกรรมที่เน้นการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหา
7
กระบวนการในการเรียนการสอน (Instructional Process)
ส่วนใหญ่แล้วคอร์สแวร์ไม่ได้ถูกให้ความสนใจในกระบวนการเรียนการสอนมากนัก เพราะนิยมออกแบบในลักษณะของสื่อนำเสนอแทนการออกแบบในลักษณะคอร์สแวร์เชิงโต้ตอบ (Interactive) ซึ่งสื่อนำเสนอในที่นี้คือ การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการนำเสนอเนื้อหา โดยไม่ได้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อเท่าใดนัก ในขณะที่คอร์สแวร์เชิงโต้ตอบนั้น จะเน้นการออกแบบที่คำนึงถึงการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับสื่อ เพื่อเป้าหมายสำคัญอันได้แก่ การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful learning) สำหรับตัวผู้เรียนเอง ทั้งนี้เหตุผลส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนักออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ไม่มากนักที่ทราบว่า ในการออกแบบคอร์สแวร์นั้น จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการให้การเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งการออกแบบขั้นตอนในการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ก็คล้ายคลึงกันกับการออกแบบขั้นตอนการเรียนการสอนในชั้นเรียนนั่นเอง กล่าวคือ จะต้องประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งคอยช่วยผู้เรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
8
กระบวนการในการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับ E_Learning คอร์สแวร์ ได้ 4 ขั้น ดังนี้
ขั้นการนำเสนอเนื้อหาความรู้ ขั้นการให้คำแนะนำ ขั้นการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญและความคงทนในการเรียนรู้ ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน
9
ขั้นการนำเสนอเนื้อหาความรู้
ผู้สอนจะต้องนำเสนอเนื้อหาความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน ซึ่งสามารถกระทำได้มากมายหลายลักษณะ นอกจากนี้ในการสอนทักษะต่าง ๆ อาจมีวิธีสาธิตพร้อมการบรรยายเพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้เรียนศึกษาและทำตาม ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการนำเสนอเนื้อหา นอกจากนี้ผู้เรียนมักต้องการตัวอย่างมากกว่าหนึ่งตัวอย่างในการทำความเข้าใจก่อนที่จะสามารถนำกฎหรือทักษะต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้
10
ขั้นการให้คำแนะนำ ขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่เกิดการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนและผู้สอนมากขึ้น จากการที่ผู้เรียนได้ศึกษาจากการนำเสนอเนื้อหาในคอร์สแวร์แล้ว ควรออกแบบให้ผู้เรียนปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งภายใต้การความคุมของผู้สอน ซึ่งจะเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับธรรมชาติของเนื้อหา
11
ขั้นการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญและความคงทนในการเรียนรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นสำคัญ แม้ว่าผู้สอนจะทำหน้าที่คอยตรวจสอบผู้เรียน และคอยแก้ไขความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น แต่ขั้นนี้จะเน้นการฝึกฝนของผู้เรียนโดยผู้สอนจะคอยตรวจสอบและให้คำแนะนำสั้น ๆ เท่านั้น
12
ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน
การที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้นจริงหรือไม่อย่างไร จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินผลการเรียนการสอน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.