ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยSom chai Prasongsanti ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
รูปแบบรัฐ ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
รูปแบบรัฐ ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
2
องค์ประกอบทางสังคมวิทยาของรัฐ ศาสตราจารย์ Andre Hauriou et Jean Gicquel ได้กล่าวว่า “ องค์ประกอบทางสังคมวิทยาของรัฐที่สำคัญและ จำเป็นมี 3 ประการ คือ องค์ประกอบทางด้านบุคคล ได้แก่ ประชากร หรือชาติ องค์ประกอบทางด้านเนื้อหา ได้แก่ ดินแดน องค์ประกอบทางด้านรูปแบบ ได้แก่ อำนาจทางการเมือง เฉพาะ หรืออำนาจอธิปไตย”
3
รูปแบบของรัฐ ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม ได้กล่าวถึงรูปแบบของรัฐไว้ดังนี้ “ ในการศึกษาถึงรูปแบบของรัฐนั้น อาจพิจารณาได้ ในสองแง่ที่ต่างกัน กล่าวคือ พิจารณาในแง่ทางการเมือง พิจารณาในแง่กฎหมาย
4
รูปแบบของรัฐ ในที่นี้จะขออนุญาตอธิบายเฉพาะการจัดแบบกฎหมายเท่านั้น ซึ่งแบ่งเป็นรัฐเดี่ยวและรัฐรวม รัฐเดี่ยว คือ รัฐที่มีศูนย์กลางทางการเมืองและการปกครอง แห่งเดียวกัน เป็นรัฐที่มีผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งภายในและ ภายนอกประเทศเป็นศูนย์เดียวกัน คือรัฐที่มีสภาพเป็น นิติ บุคคล บุคคลทุกคนในประเทศจะอยู่ใต้บังคับบัญชาของ อำนาจแห่งเดียวกันนี้ ทุกคนจะอยู่ในระบอบการปกครอง เดียวกัน จะอยู่ใต้บทบัญญัติของกฎหมายอย่างเดียวกัน
5
สำหรับรูปแบบการปกครองในรัฐเดี่ยวมี 2 ระบบที่สำคัญคือ การปกครองแบบรวมอำนาจ (Centralisation) การปกครองแบบกระจายอำนาจ (Decentralisation)
6
รัฐรวม รัฐรวมแบบใหม่อาจจำแนกได้ 2 ประเภท คือ สมาพันธรัฐ (La Confederation d’Etats) สหพันธรัฐ (L’Etat federal)
7
รูปแบบการปกครองของประเทศไทย
รูปแบบการปกครองของประเทศไทย “ รัฐ” ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ. ศ ตามบทบัญญัติ มาตรา 1 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ. ศ ความว่า “ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยก มิได้” นั้นได้แสดงถึงลักษณะความเป็น “ รัฐเดี่ยว” ของ ประเทศไทย กล่าวโดยสรุป ประเทศไทยมีรูปแบบของ “ รัฐ เดี่ยว” มิใช่ “ รัฐรวม” แต่ประการใด
8
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
9
พระมหากษัตริย์ของไทยจึงทรงมีฐานะในทางการเมืองการปกครองของไทย ดังนี้ 1) ทรงอยู่ในฐานะประมุขของประเทศเท่านั้น มิใช่ในฐานะผู้บริหารเหมือนในสมัยราชาธิปไตยอีกต่อไป โดยจะทรงใช้อำ นาจอธิปไตยโดยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เท่านั้น ทั้งนี้ในการใช้พระราชอำนาจดังกล่าว จะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการหรือรับผิดแทนเสมอ
10
2) ทรงเป็นกลางและทรงอยู่เหนือการเมืองตลอดเวลา หมายความว่าจะไม่ทรงสนับสนุนนักการเมืองคนใด หรือพรรคการเมืองใดที่รณรงค์แข่งขันในการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้อำ นาจการเมืองการปกครอง แต่พระองค์จะทรงมีอำ นาจในการแนะนำ ตักเตือน และให้กำ ลังใจนักการเมืองและประชาชนทั้งปวง ให้ทำหน้าที่อย่างผู้ซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน
11
3) ทรงดำ รงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดและกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศานู- ปถัมภก และทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย รวมทั้งทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนา ฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
12
ฐานะของพระมหากษัตริย์ในสมัยปัจจุบัน 1) ทรงเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในการติดต่อกับประมุขของต่างประเทศโดยจะทรงแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำ ณ ประเทศต่าง ๆ 2) ทรงเป็นเอกลักษณ์และศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของประชาชนทั้งประเทศ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.