งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เรื่อง ภาษาถิ่นภาคกลาง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เรื่อง ภาษาถิ่นภาคกลาง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เรื่อง ภาษาถิ่นภาคกลาง

2 ภาษาถิ่นภาคกลาง จัดทำโดย นายฐานวัฒน์ ไชยนากร ม.5/5 เลขที่ 2
นายฐานวัฒน์ ไชยนากร ม.5/5 เลขที่ 2 นายพิชญะ บุญญะบา ม.5/5 เลขที่ 4 นางสาวภาสิริ ฤกษ์สุขกาย ม.5/5 เลขที่ 7 นายปฐมฤกษ์ โตสวัสดิ์ ม.5/5 เลขที่ 10 นายรวิพล พูลทรัพย์ ม.5/5 เลขที่ 12 นายอานนท์ เอกพินิจพิทยา ม.5/5 เลขที่ 16 นายสุทิวัส ชาติเผือก ม.5/5 เลขที่ 21 นายเพียว วิศรุตานันท์ ม.5/5 เลขที่ 26 นายณัฐวัชร์ อิทธิโอภาสกุล ม.5/5 เลขที่ 31 นายสหพล สวัสดิ์พานิช ม5/5 เลขที่ 34 เสนอ อาจารย์นิตยา เอี่ยมแดง

3 ภาษาถิ่นกลาง ภาษากลางได้แก่ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดภาคกลางของ ประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาภาคกลางที่สำคัญ คือ ภาษากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นภาษาราชการ และเป็นภาษาประจำชาติ

4 การแบ่งภาษาถิ่นเป็นการแบ่งอย่างคร่าวๆ ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงแล้วภาษาในแต่ละภาคก็ไม่เหมือนกันทีเดียว มีความผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ภาษากรุงเทพฯ ถือเป็นภาษาถิ่นภาคกลาง ที่ยอมรับกันว่าเป็นภาษามาตรฐานที่กำหนดให้คนในชาติ ใช้ร่วมกัน เพื่อสื่อสารให้ตรงกัน แต่ ภาษาถิ่นทุกภาษามีศักดิ์ศรีความเป็นภาษาเท่าเทียมกัน ถ้าเราเข้าใจและสามารถใช้ภาษาถิ่นได้ จะทำให้สื่อสารสัมฤทธิ์ผลและเสริมสร้าง ความเข้าใจอันดีต่อกันยิ่งขึ้น

5 การทักทาย การทักทายในภาษากลางเป็นการทักทายที่พบเห็นได้ทั่วไปใน ทั่วประเทศไทยเนื่องจากภาษากลางเป็นภาษาประจำชาติ ตัวอย่างเช่น -สวัสดีครับ -สวัสดีค่ะ -เป็นยังไงบ้าง? -สบายดีไหม?

6 บทสนทนา สมชาย : สวัสดีครับ คุณเป็นยังไงบ้างครับ
สมหญิง : ก็สบายดีค่ะ แล้วคุณล่ะค่ะเป็นยังไงบ้างค่ะ สมชาย: ก็สบายดีครับ วันนี้ไปไหนรึเปล่าครับ สมหญิง : ไป ไปสยามค่ะ ไปด้วยกันไหมค่ะ สมชาย : ไปครับ กำลังอยากไปพอดีเลย แล้วไปยังไงหรอครับ สมหญิง : ไปรถไฟฟ้าบีทีเอสค่ะ คงประมาณ 10 นาทีน่าจะถึงพอดีค่ะ สมชาย : โอเคครับ ไปกันเลยดีกว่า 

7 บทกล่อมเด็ก ตัวอย่างเช่น เดือนเอยเดือนหงาย ดาวกระจายทรงกลด
-เดือนหงาย เดือนเอยเดือนหงาย                       ดาวกระจายทรงกลด อุ้มนางวางท้ายรถ                         ว่าจะไปชมเดือน พิศแลดูดาว                                   ดาวก็ไม่งามเหมือน พิศแลดูเดือน                                 ไม่งามเหมือนอุแม่นา

8  -นกกาเหว่า เจ้ากาเหว่าเอย                                 ไข่ให้แม่กาฟัก แม่กาหลงรัก                                          คิดว่าลูกในอุทร คาบข้าวเอามาเผื่อ                                คาบเหยื่อเอามาป้อน ปีกหางยังอ่อน                                       ท้อแท้เพิ่งสอนบิน พาลูกไปหากิน                                       ฝั่งน้ำแม่คงคา ตีนหนึ่งเหยียบสาหร่าย                           ปากก็ไซ้เที่ยวหาปลา กินกุ้งกินกั้ง                                            กินหอยกระพังและมังดา กินแล้วก็โผมา                                        จับต้นหว้าข้างโพธิ์ทอง นายพรานเห็นเข้า                                   เยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง                                         ว่าจะต้องแม่กาดำ ตัวหนึ่งจะต้ม                                          ตัวหนึ่งจะยำ กินนางแม่กาดำ   ค่ำวันนี้อุแม่นา

9 คำศัพท์ภาษาถิ่นกลาง

10 เปรียบเทียบกับภาษาถิ่นอื่น
-ภาคเหนือ -ภาคอีสาน ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นกลาง กิ๋น กิน กาดมั่ว ตลาดเช้า กะเลิบ กระเป๋า เกี้ยด เครียด ขี้จุ๊ โกหก เข บังคับ คุ้ม วัง ง่าว โง่ จ้อง, กางจ้อง ร่ม, กางร่ม ตุง ธง เต้า เท่า บะเขือส้ม มะเขือเทศ ป้อ พ่อ ไผ ใคร ม่วน สนุก เยียะ ทำ ลำ อร่อย หัน เห็น อุ๊ย คนแก่ ฮัก รัก ภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นกลาง กะปอม กิ้งก่า เกิบ รองเท้า ข้อง ติด, คา จังซั่น อย่างนั้น จังได๋ อย่างไร จ้อย ผอม แซบอีหลี อร่อยจริง ๆ ซวด ๆ ปรบมือ ด๊ะดาด มากมาย แถน เทวดา ท่ง ทุ่ง เบิ่ง ดู บักหุ่ง มะละกอ ผู้ใด๋ ใคร ม่วน, ม่วนหลาย สนุก, สนุกมาก ย่าง เดิน แลนหนี วิ่งหนี หนหวย หงุดหงิด เฮ็ด, เฮ็ดเวียด ทำ, ทำงาน

11 -ภาคใต้ ภาษาถิ่นใต้ ภาษาถิ่นกลาง กุบกั่บ รีบร้อน แกล้ง ตั้งใจทำ ข้องใจ
คิดถึง, เป็นห่วง ขี้ชิด ขี้เหนียว ขี้หก, ขี้เท็จ โกหก เคร่า คอย, รอคอย ไคร้ ตะไคร้ คง ข้าวโพด ฉ่าหิ้ว ตะกร้า เชียก เชือก แตงจีน แตงโม ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก โลภมาก,อยากได้ แต่วา เมื่อวาน น้ำชุบ น้ำพริก เนือย หิว, อ่อนแรง เปรว ป่าช้า พุงปลา ไตปลา ยิก ไล่ ลกลัก เร่งรีบ,ลนลาน แลกเดียว เมื่อตะกี้ สากเบือ สาก หวันมุ้งมิ้ง โพล้เพล้ หล่าว อีกแล้ว หัว หัวเราะ หย่านัด สับปะรด หรอย อร่อย

12 วิเคราะห์ทางด้านภาษา
ภาษาถิ่นกลางมีเสียงคำพูดที่เป็นเสียงสามัญเป็นส่วนใหญ่ สามารถพูดและสื่อสารได้ง่าย ไม่มีเสียงสูงต่ำของคำมากจนเกินไป จึงเป็นที่นิยมของคนหมู่มากเนื่องจากภาษาถิ่นกลางเป็นภาษาสามัญที่ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศไทย มักจะเห็นคนใช้ภาษาถิ่นกลางได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย

13 วิเคราะห์ด้านวัฒนธรรม
วัฒนธรรมประเพณีและการละเล่นต่าง ๆ ซึ่งยังคงมีให้ชมได้ในหลายพื้นที่ของจังหวัดในภาคกลาง เช่น ระบำชาวไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย เพลงอธิษฐาน เพลงเหย่อย เพลงแม่ศรี เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงลำตัด เพลงปรบไก่ เพลงอีแซ่ว กลองยาว และลิเก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงในราชสำนักที่ภายหลังได้นำออกเผยแพร่ทั่วไป เช่น โขน ละคร หนังใหญ่ หุ่นกระบอก และดนตรีไทย โดยส่วนมากคนภาคกลางจะประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม เป็นชาวไร่ชาวนา เนื่องจากภาคกลางเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ เหมาะแก่การเพาะปลูก

14 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt เรื่อง ภาษาถิ่นภาคกลาง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google