ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
TISI วัฒนธรรมซื่อตรง สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Integrity ที่หมายความว่า “ความซื่อสัตย์ ความซื่อตรง” เป็นสิ่งที่หลายๆ ประเทศพยายามที่จะศึกษา และดำเนินการเพื่อนำหลักการดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างเป็นรูปธรรม เช่นการจัดทำแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติของประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยได้มีการส่งเสริมให้คนในสังคมตระหนักถึง “ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง” ดังเช่นงานพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่อง “หลักราชการ” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้องกับ “ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
3
แนวคิดด้านความซื่อตรงปรากฏอยู่ ณ ที่ใดบ้าง
หลักคำสอนทางศาสนาทุกศาสนา (เช่น พุทธ คริสต์ อิสลาม ฯลฯ) รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมไปถึงข้อตกลงหรือพันธกรณีระหว่างประเทศ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ ประมวลจริยธรรมหรือจรรยาบรรณวิชาชีพ (เช่น แพทย์วิศวกร ผู้พิพากษา ทนายความ ครู นักธุรกิจ ฯลฯ) นโยบายของรัฐ
4
ความหมายของความซื่อตรง ในทรรศนะของกลุ่มตัวอย่าง
ความหมายของความซื่อตรง ในทรรศนะของกลุ่มตัวอย่าง สามารถแบ่งประเภทของความซื่อตรงออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ความซื่อตรงต่อตนเอง 2) ความซื่อตรงต่อผู้อื่นหรือความซื่อตรง ต่อสถาบัน เช่น ความซื่อตรง ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม รวมไปถึงซื่อตรงต่อชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ 3) ความซื่อตรงต่อหน้าที่ 4) ความซื่อตรงต่อวิชาชีพ
5
ความหมายของความซื่อตรงในเชิงคุณลักษณะ
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ความซื่อตรงในเชิงการกระทำหรือการปฏิบัติ คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตามหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ประพฤติตรงไปตรงมาทั้งต่อหน้าลับหลัง ยึดมั่นในความถูกต้องและชอบธรรม มีจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์กติกาทางสังคม รู้จักหน้าที่พลเมือง มีสัจจะ พูดจริงทำจริง โปร่งใสตรวจสอบได้ ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล 2) ความซื่อตรงในเชิงจิตใจ คือ มโนสุจริต มีจิตใจที่สุจริต สำนึกดี มีความซื่อสัตย์สุจริต ความถูกต้องชอบธรรม ความยุติธรรม เที่ยงธรรมจริงใจ ไม่คดไม่งอ มีความเสมอภาค เท่าเทียมตรงไปตรงมา ไม่เอนเอียง ยึดมั่นในความดี ความถูกต้อง ชอบธรรม ไม่เบี่ยงเบนจากความจริง โปร่งใส สำนึกรับผิดชอบ มีทศพิธราชธรรม
6
ตัวชี้วัดความซื่อตรงสำหรับสังคมไทย
สามารถจัดแบ่งออกได้เป็นมิติต่างๆ ดังนี้ 1) ตัวชี้วัดพื้นฐาน 2) ตัวชี้วัดสำหรับผู้เป็นสมาชิกขององค์กรหน่วยงานต่างๆ 3) ตัวชี้วัดสำหรับกลุ่มวิชาชีพ
7
ตัวชี้วัดพื้นฐาน มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีปทัสถาน ไม่คดโกง
มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีปทัสถาน ไม่คดโกง ปฏิบัติตามกฎหมาย มีวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ตรงไปตรงมาทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความวิริยะอุตสาหะ อดทน อดกลั้น มีวาจาสัตย์ รักษาคำพูด ไม่โกหก
8
ตัวชี้วัดสำหรับผู้เป็นสมาชิกขององค์กรหน่วยงานต่างๆ
13. โปร่งใส ตรวจสอบได้ 14. ตรงต่อเวลา 15. มีความยุติธรรม 16. ทำงานให้สำเร็จ 17. เป็นที่น่าเชื่อถือและศรัทธาจากคนทั่วไป 18. แนะแนวทางที่ถูกที่ควรแก่ผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชา 19. ห้ามมิให้ผู้อื่นกระทำผิด
9
ตัวชี้วัดสำหรับกลุ่มวิชาชีพ
20. จรรยาบรรณวิชาชีพ
10
หลักราชการ พระนิพนธ์ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลักราชการ พระนิพนธ์ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว “ความซื่อตรงต่อหน้าที่ คือ ตั้งใจทำกิจการซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหน้าที่ของตนโดยซื่อสัตย์สุจริต ใช้ความอุตสาหวิริยภาพเต็มสติกำลีงของตน ด้วยความมุ่งหมายให้กิจกรรมนั้นๆ บรรลุความสำเร็จโดยอาการอันงดงามที่สุดที่พึงมีหนทางปฏิบัติได้” “ความซื่อตรงต่อบุคคลทั่วไป คือ ประพฤติซื่อตรงต่อคนทั่วไป รักษาตนให้เป็นคนควรเขาทั้งหลายจะเชื่อถือได้ โดยรักษาวาจาสัตย์ พูดอะไรเป็นมั่น ไม่เหียนหันเปลี่ยนแปลงคำพูดไปเพื่อความสะดวกเฉพาะครั้ง ๑ คราว ๑”
11
หลักราชการ พระนิพนธ์ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลักราชการ พระนิพนธ์ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ความซื่อตรงต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความวิริยะอุตสาหะ ความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างงดงาม ความซื่อตรงต่อบุคคลทั่วไป การรักษาวาจาสัตย์ (คำมั่นสัญญา) เป็นที่น่าเชื่อถือ (ศรัทธาและไว้วางใจ)
12
วัฒนธรรมองค์กรของ สมอ.
การสร้างความเชื่อมั่น (Trustworthiness - T) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและมีความเป็นมืออาชีพ จริยธรรม (Integrity – I) มีจรรยาข้าราชการ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส ตรวจสอบได้ กล้ายืนหยัดเพื่อความถูกต้องโดยมุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
13
วัฒนธรรมองค์กรของ สมอ.
การผนึกกำลังเพื่อผลสัมฤทธิ์ (Synergy – S) เน้นการทำงานเป็นทีม มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก ความเป็นสากล (Internationalization – I) ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกติกาสากล ให้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนากระบวนการทำงานให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล
14
จรรยาข้าราชการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(1) ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง พึงยึดหลักวิชาการและวิชาชีพ ความถูกต้อง และผลลัพธ์เป็นสำคัญ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว พวกพ้อง อามิสสินจ้าง และไม่โอนอ่อนตามอิทธิพลใดๆ (2) มีความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ พึงประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งตามหลักกฎหมายและคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนหลักแนวทางในวิชาชีพของตนอย่างเต็มความสามารถจนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ รักษาไว้ซึ่งมาตรฐานงาน พร้อมรับผิดชอบต่อผลงานที่ได้กระทำไปแล้ว
15
จรรยาข้าราชการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(3) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ พึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เปิดเผยอย่างมีเหตุผล พร้อมรับการตรวจสอบ (4) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม พึงให้บริการด้วยความเอื้อเฟื้อ เสมอภาค ปราศจากอคติ มีความยุติธรรม และปฏิเสธระบบอุปถัมภ์ที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม
16
จรรยาข้าราชการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน พึงมุ่งมั่น กระตือรือร้น และจริงจังในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานสำเร็จอย่างรวดเร็วและคุ้มค่า ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จสมบูรณ์ตามเวลาที่กำหนด ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายของงาน และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
17
ความบกพร่องของสังคมไทย ในเรื่องความซื่อตรง
ระบบและกระบวนการ - ขาดการบูรณาการระบบ กระบวนการกลไกและเครื่องมือ กฎหมาย จารีตประเพณี หลักธรรมทางศาสนา จรรยาบรรณ ฯลฯ - ระบบการศึกษาไม่เอื้ออำนวยในการพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม - ขาดระบบและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมความซื่อตรงที่มีประสิทธิภาพ - ขาดการถอดบทเรียนคนต้นแบบหรือองค์กรต้นแบบเพื่อขยายผลในวงกว้าง - โครงสร้างของระบบราชการที่ไม่เอื้ออำนวย และขาดการบูรณาการ - ระบบป้องกันและปราบปรามทุจริตไม่เข็มแข็ง - ระบบการเมืองที่ขาดความซื่อตรง - ขาดบุคลากรที่มีศักยภาพในการถ่ายทอดหรืออบรมขัดเกลา - สังคมไม่ให้คุณค่ากับ “ความซื่อตรง” - ขาด “ระบบและกระบวนการยกย่องเชิดชูดูแล” และการลงโทษอย่างจริงจัง
18
ความบกพร่องของสังคมไทย ในเรื่องความซื่อตรง
ปัจเจกบุคคล - ไม่รู้จักบทบาทหน้าที่ - ขาดความรับผิดชอบ - ขาดวินัย - ขาดความรู้ - ขาดการปลูกฝังกล่อมเกลาทางจิตใจ - ทัศนคติไม่สอดคล้องกับการสร้างความซื่อตรง - ไม่เคารพกติกาสังคม
19
ความบกพร่องของสังคมไทย ในเรื่องความซื่อตรง
ผู้นำ ขาดแบบอย่างหรือต้นแบบที่ดี บริหารงานไม่ซื่อตรง การผูกขาดอำนาจ และมีอำนาจดุลพินิจ โดยปราศจากการตรวจสอบและความรับผิดชอบ ขาดความตระหนักและ ยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง - ขาดการยกย่องคนดี
20
ความบกพร่องของสังคมไทย ในเรื่องความซื่อตรง
โครงสร้าง/สถาบัน สถาบันครอบครัว ขาดแบบอย่างที่ดี ขาดการกล่อมเกลาที่ดี สถาบันการศึกษา ระบบการสอนที่ไม่เน้นสร้างความซื่อตรง รูปแบบวิธีการอบรมสั่งสอนขัดเกลาหรือปลูกฝังไม่เหมาะสม ขาดการสื่อสารกับสังคมเพื่อให้การเรียนรู้ในคุณธรรม ความซื่อตรง ศาสนาและวัฒนธรรม ไม่ทำหน้าที่ขัดเกลาสังคม วัฒนธรรมไม่เอื้อ เช่นระบบอุปถัมภ์ ขาดผู้สอนที่ดีงามเป็นแบบอย่าง
21
ความบกพร่องของสังคมไทย ในเรื่องความซื่อตรง
สื่อมวลชน ไม่เน้นการยกย่องคนดีและตีแผ่ความไม่ดี คนไม่ดี มุ่งตอบสนองต่อธุรกิจและการเมือง หน่วยงานของรัฐ ขาดต้นแบบ ขาดการตรวจสอบ กฎหมายไม่มีประสิทธิผล วิชาชีพ - จรรยาบรรณวิชาชีพขาดความเข้มแข็งในการควบคุมกำกับดูแลสมาชิก ภาคธุรกิจเอกชน - ไม่ได้เข้าร่วมการเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคม
22
แนวทางเสริมสร้างความซื่อตรง ในสังคมไทย
ระบบและกระบวนการ: บูรณาการระบบ โครงสร้าง และกลไกทั้งหมดไปสู่ทิศทางเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรง โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน รณรงค์ให้มีการนำหลักความพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติหน้าที่ พัฒนาระบบการศึกษาและระบบการเรียนรู้โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม สร้างระบบและกระบวนการยกย่อง เชิดชู ดูแลคนซื่อตรง และการลงโทษผู้ที่ไม่ซื่อตรง มีแผนพัฒนาความซื่อตรงโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบการประสานผลักดันการปฏิบัติตามแผนพัฒนาความซื่อตรง กระบวนการปลูกฝังกล่อมเกลาในและนอกระบบ โดยใช้แบบอย่างที่ดีและกิจกรรม โดยมีเครือข่ายความซื่อตรงหรือกลุ่มคุณธรรมความซื่อตรง พัฒนาปรับปรุงระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และบังคับใช้กฎหมายจริงจัง แนวทางการพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ความซื่อตรง เป้าหมายคือความสุข
23
แนวทางเสริมสร้างความซื่อตรง ในสังคมไทย
ปัจเจกบุคคล: เริ่มแก้ไขที่ตนเอง ขยายสู่คนรอบข้างในครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ปรับทัศนคติและจิตสำนึกโดยใช้หลักธรรมทางศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ปฏิบัติตามหลักความพอเพียงและแนวพระราชดำริ ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ กติกาสังคม ดึงพลังทางบวกมาใช้ สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อดำรงตนเป็นคนดี
24
แนวทางเสริมสร้างความซื่อตรง ในสังคมไทย
ผู้นำ: ผู้นำทุกระดับ โดยเฉพาะผู้นำประเทศควรเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในการดำรงชีวิตส่วนตัว และการปฏิบัติหน้าที่การงาน ควบคุมกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา หรือตักเตือนเมื่อพบว่ามีการกระทำผิดหรือไม่ถูกต้อง ให้การยกย่องเชิดชูคนดีที่ซื่อตรง เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและสร้างแรงจูงใจในการทำดี สร้างระบบการตรวจสอบผู้นำด้วยกฎทางสังคม ควบคู่กับกฎหมาย จารีตประเพณี และศีลธรรมจรรยา
25
แนวทางเสริมสร้างความซื่อตรง ในสังคมไทย
ครอบครัว: ผู้นำเป็นแบบอย่างที่ดี อบรมสั่งสอนขัดเกลา พร้อมยกตัวอย่างและมีกิจกรรมร่วมในครอบครัว , ปลูกฝังระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ซื่อตรง โดยใช้หลักธรรมทางศาสนา , การสร้างครอบครัวเข้มแข็งและครอบครัวอบอุ่น สถาบันการศึกษา: ปฏิรูประบบการศึกษาและระบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนา “ความรู้คู่คุณธรรม” โดยใช้หลักธรรมทางศาสนา, สร้างครูต้นแบบ, หลักสูตรการศึกษาและการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบ และกิจกรรมเสริมสร้างความซื่อตรง ระเบียบวินัย ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และยึดประโยชน์สาธารณะ , ยกระดับกระบวนการเรียนรู้และการปฏิบัติตามกรอบคุณธรรม ความซื่อสัตย์ซื่อตรง กฎหมาย กฎเกณฑ์ กติกา มารยาทของสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม: เพิ่มบทบาทสถาบันศาสนาในการพัฒนาจิตใจด้วยหลักธรรมทางศาสนา เพื่อปลูกฝังกล่อมเกลาจิตใจ และมีการปฏิบัติตาม ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมการเรียนรู้และนำกรอบวัฒนธรรมอันดีมาใช้ ประสานและเชื่อมโยงการทำงานกับครอบครัวและสถาบันการศึกษา
26
แนวทางเสริมสร้างความซื่อตรง ในสังคมไทย
หน่วยงานของรัฐ : รัฐบาลเป็นเจ้าภาพการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ความซื่อตรงโดยผ่านนโยบายสาธารณะ, ผลักดันวาระแห่งชาติและประชาชน รณรงค์ส่งเสริมความซื่อตรงในทุกภาคส่วน เริ่มโดยหน่วยงานของรัฐและขยายผลสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาสังคม และสื่อมวลชน, ค้นหาองค์กรต้นแบบและบุคคลต้นแบบ บูรณาการและพัฒนาศักยภาพองค์กรตรวจสอบ สื่อมวลชน: ปฏิรูปสื่อให้เป็นสื่อสร้างสรรค์ทำหน้าที่สื่อสารกับสาธารณะเพื่อการสร้างสังคมคุณธรรมความซื่อตรง , มุ่งเน้นนำเสนอข้อมูลความรู้ และการยกย่องเชิดชูคนดีที่ซื่อตรงสื่อทุกประเภททุกระดับรณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกความซื่อตรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การเรียนรู้ต่อสังคม , ทำหน้าที่สื่อสารกับสังคมโดยปฏิบัติตามจรรยาบรรณสื่ออย่างเคร่งรัด
27
แนวทางเสริมสร้างความซื่อตรง ในสังคมไทย
วิชาชีพ: ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ภาคธุรกิจเอกชน: ดำเนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาล ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม, เข้ามาร่วมสนับสนุนเพื่อการเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคม ภาคประชาสังคม : มีส่วนร่วมเสริมสร้างสังคมแห่งความซื่อตรง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.