ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1 เมษายน ครบรอบ ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2
สัดส่วนญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าเกษตร ปี 2546
ญี่ปุ่นเป็นประเทศนำเข้าอาหารสุทธิ จึงมีความกังวลมากในเรื่องความ มั่นคงอาหารของประเทศ ฉะนั้นญี่ปุ่นจึงต้องกระจายความเสี่ยงในการนำเข้าอาหารโดยพยายามนำเข้าจากหลายๆ แหล่ง ไม่เน้นการนำเข้าเพียงแหล่งเดียว 1 1
3
สัดส่วนไทยส่งออกสินค้าเกษตร ปี 2546
1. ญี่ปุ่น % อื่นๆ 34% 2. สหรัฐอเมริกา % ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรและอาหารกับไทยใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้น ไทยจึงต้องให้ความสำคัญสูงต่อตลาดญี่ปุ่น 2 3. จีน 8% 5. ฮ่องกง 4% 4. มาเลเซีย 6% 2
4
ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 การค้าสินค้าเกษตร ไทยและญี่ปุ่น ไทยส่งออก
หน่วย: ล้านบาท ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ไทยส่งออก 98,242 99,836 93,317 ไทยนำเข้า 4,874 6,346 5,146 ไทยได้ดุล 93,368 93,490 88,171 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาและก่อนหน้านี้ ไทยได้ดุลสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง สินค้าหลักที่ไทยส่งออก คือ ไก่ น้ำตาล อาหารทะเล ผักและผลไม้ อาหาร แปรรูป มันสำปะหลัง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าดั้งเดิมที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่น ฉะนั้นควรที่จะต้องมีการพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายและสร้างมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าเกษตรในปริมาณ 5,000 ล้านบาทเศษ โดยเฉพาะสินค้าประมงที่นำมาเป็นวัตถุดิบ อาหารปรุงแต่ง แป้งข้าวสาลี เป็นต้น 3 3
5
JTEPA Tariff Rules of Origin Cooperation SPS Local to Local 4
การสัมมนาเรื่อง “FTA ไทย-ญี่ปุ่น: ไทยได้หรือเสีย” ในวันนี้จึงนับว่าทันต่อเหตุการณ์ ผมต้องขอขอบคุณผู้จัดที่ได้เชิญผมมาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกับท่านทั้งหลาย ในโอกาสนี้ ผมจะนำเสนอผลจากการเจรจา JTEPA รอบที่ 9 ซึ่งคาดว่าจะเป็นรอบสุดท้าย เฉพาะประเด็นสินค้าเกษตร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ประเด็นภาษี 2. ประเด็นแหล่งกำเนิดสินค้า และ 3. ประเด็นความร่วมมือด้าน SPS และสหกรณ์ 4 Local to Local 4
6
กลุ่มยกเลิกภาษี รายการ ภาษี ก่อน FTA ภาษี หลัง FTA กุ้งสด, กุ้งแช่แข็ง
1% กุ้งต้ม, แปรรูป % ผลไม้สด (มังคุด ทุเรียน มะละกอ มะม่วง) % ผลไม้แช่เย็นแช่แข็ง 12% หน่อไม้ฝรั่ง 3% เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น และระยะเวลาที่มีน้อย ผมจะยกเป็นหัวข้อและเน้นเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกสูง จากตารางนี้ ท่านจะเห็นว่าการลดภาษีทันทีเมื่อความตกลงมีผล 5 5
7
กลุ่มลดภาษีไม่เป็นศูนย์/เป็นศูนย์ภายใน 5-10 ปี
รายการ ภาษี ก่อน FTA ภาษี หลัง FTA ไก่ปรุงสุก 6% 3% (ภายใน 5 ปี) ไก่สดแช่แข็ง 11.9% 8.5% (ภายใน 5 ปี) ปลาทูน่ากระป๋อง 9.6% 0 (ภายใน 5 ปี) ปลาหมึกกล้วย แช่แข็ง 3.5% อาหารสุนัขและแมว เยน/กก. 0 (ภายใน 10 ปี) กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่ลดภาษีโดยมีกรอบระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการลดภาษี ซึ่งอาจจะเป็นภาษีศูนย์หรือไม่เป็นศูนย์ ในระบบการเก็บภาษีของญี่ปุ่น มีทั้งระบบที่เก็บภาษีเป็นเปอร์เซนต์ และเก็บภาษีคงที่ต่อหน่วย 6 6
8
กลุ่มที่มีโควตา รายการ ภาษี ก่อน FTA ภาษี หลัง FTA กล้วยสด 20-25 %
0 ในโควตา 4,000 ตัน (ปีแรก) เพิ่มเป็น 8,000 ตัน (ปีที่ห้า) สับปะรดสด 17% 0 ในโควตา ตัน (ปีแรก) เพิ่มเป็น ตัน (ปีที่ห้า) กากน้ำตาล 15.3 เยน/กก. 7.65 เยน/กก. ในโควตา 4,000 ตัน (ปีที่สาม) เพิ่มเป็น 5,000 ตัน (ปีที่สี่) แป้งแปรรูป (Esterified Starch) 6.8% 0 ในโควตา 200,000 ตัน (ปีแรก) กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มสินค้าที่กำหนดโควตาในการนำเข้า เนื่องจากเป็นสินค้าอ่อนไหวของญี่ปุ่น เพราะอาจมีผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศ 7 7
9
กลุ่มที่ต้องนำกลับมาเจรจาใหม่
รายการ ภาษี ก่อน FTA ภาษี หลัง FTA น้ำตาลทรายดิบ (5 ปี) 35.3 เยน/กก. สับปะรดกระป๋อง (5 ปี) 33 เยน/กก. , 25% 33 เยน/กก. แป้งมันสำปะหลังดิบ (5 ปี) 25% ปูกระป๋อง (5 ปี) 5% ปลาทูน่าครีบเหลือง (5 ปี) 3.5% กลุ่มที่สี่ เป็นกลุ่มที่ญี่ปุ่นต้องการให้มีการเจรจาใหม่ ส่วนใหญ่ภายใน 5 ปี ทั้งๆ ที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก ขณะที่ญี่ปุ่นตกลงกับเม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ภายใน 3 ปี ขอเรียนว่าไทยพยายามเจรจาให้ได้รับสิทธิ์เท่าเทียมกับประเทศอื่น แต่ญี่ปุ่นอ้างว่าประเทศไทยโดยภาพรวมได้สิทธิ์มากกว่าประเทศอื่น 8 8
10
Rules of Origin (ROO) สินค้าเกษตร (ตอนที่ 01-24) 727 รายการ
- 498 รายการ (มูลค่า 51,000 ล้านบาท) เข้าตลาดได้ - 229 รายการ (มูลค่า 42,000 ล้านบาท) ติดล็อค ROO สินค้าที่ติดล็อค: เนื้อสัตว์แปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ผัก/ผลไม้กระป๋อง อาหารสุนัขและแมว อาหารปรุงแต่ง ขนมปังกรอบ ผงโกโก้ น้ำหวาน น้ำอัดลม ไวน์ผลไม้ กฎแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นเรื่องที่เจรจาภายหลังจากการเจรจาเรื่องภาษี และเป็น Tactic ของญี่ปุ่นเพื่อปิดกั้นสินค้าเกษตรของไทยไม่ให้เข้าตลาดญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่น ยอมลดและเลิกภาษี เช่น การกำหนดสินค้าประมง จะเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้ ไต้ก๋งและลูกเรือจะต้องมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 75% เป็นต้น ขณะนี้ ยังไม่มีการสรุป ROO แต่รองนายกรัฐมนตรี (ท่านสมคิด ) ให้แนวทางการเจรจาว่าสินค้าเกษตรในปัจจุบันที่ผลิตในประเทศไทย ต้องเข้าตลาดญี่ปุ่นได้ 9 9
11
อุปสรรคส่งออกสินค้าเกษตร
ด้านมิใช่ภาษี (NTBs) คุณภาพ (สารตกค้าง โรค แมลง) การวิเคราะห์ความเสี่ยง (PRA) ใช้เวลานาน ROO กำหนดเงื่อนไขไม่เอื้อต่อสินค้าไทย ความต้องการบริโภคสินค้าอาหารของชาวญี่ปุ่นจะเน้นคุณภาพเป็นหลัก อาทิเช่น ไม่มีสารตกค้าง บรรจุภัณฑ์พร้อมรับประทาน และคุณค่าทางอาหาร 10 10
12
ความร่วมมือด้าน SPS ตั้งคณะทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหา SPS มีภาคเอกชนร่วมด้วย สนับสนุนความสามารถด้าน SPS คณะทำงานจะประชุมทุกปี ให้ความสำคัญต่อคำเรียกร้องของไทย ประเด็นสุดท้ายที่จะเป็นผลสรุป คือ ความร่วมมือด้านสุขอนามัยและ สุขอนามัยพืช รวมทั้งการเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์ไทยและสหกรณ์ญี่ปุ่น ซึ่งความร่วมมือด้าน SPS จะเป็นกลไกเพื่อแก้อุปสรรคที่กล่าวมาแล้ว 11 11
13
Local-to-Local ตั้งคณะทำงานเชื่อมโยง Local-to-Local
ร่วมพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ สอดคล้องตลาด ร่วมพัฒนาโครงการ OTOP พัฒนาบุคลากรด้านสหกรณ์ ส่งเสริมธุรกิจซื้อขายระหว่างสหกรณ์ ขณะนี้มีการส่งออกกล้วยหอมสดระหว่างสหกรณ์บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี และสหกรณ์ผู้บริโภคของญี่ปุ่น ฉะนั้น การสนับสนุนการค้าระหว่าง สหกรณ์จะเป็นช่องทางการขยายตัวทางการค้า และเกิดประโยชน์กับเกษตรกรโดยตรง 12 12
14
การเตรียมตัวของภาคเอกชน
เน้นคุณภาพสินค้าเกษตร เน้นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก เช่น อาหารทะเล ผัก ผลไม้สด ไก่ต้มสุก ปรับภาพลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ใช้เทคโนโลยีในการยืดอายุสินค้าเกษตร หลังเก็บเกี่ยว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ปรับยุทธศาสตร์ในการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน และตอบสนองต่อผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่เจรจา FTA ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนก็ต้องเตรียมความพร้อมโดยเน้นสินค้าอาหารที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตสมัยใหม่ของญี่ปุ่น ที่เน้นความสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว พร้อมรับประทาน หลากหลาย บรรจุภัณฑ์สวยงาม โดยที่ราคาจะไม่ใช่ปัจจัยหลักในการตัดสินใจของผู้บริโภค ดังจะเห็นได้จากราคามังคุดสดผลละ มากกว่า 100 บาท 13 13
15
JTEPA ไทยได้อะไร สินค้าเกษตรไทยมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นมากขึ้น เพราะต้นทุนนำเข้าถูกลง มีกลไกถาวรในการแก้ปัญหา NTBs: SPS ซึ่งไทยจะได้รับการตอบสนองเร็วขึ้น มีการลงทุนร่วมในการผลิตสินค้าเกษตร ถ้าถามผมว่าพอใจต่อผลการเจรจาในสินค้าเกษตรหรือไม่ ซึ่งถ้าผมเป็นเกษตรกรก็คงตอบว่าไม่พอใจ ผลสรุปการเจรจา JTEPA ครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการเจรจาเพิ่มเติมในภายหลังอีก การเจรจาใดๆ จะมองผลประโยชน์ฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่จะต้องมองในภาพรวมทั้งหมด ผมเชื่อว่าส่วนแบ่งตลาดสินค้าเกษตรของไทยในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นจากลำดับที่ 5 อย่างแน่นอน เนื่องจากข้อสรุป JTEPA จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้สูงขึ้น อุปสรรคในการ ส่งออกสินค้าเกษตรก็จะมีกลไกรองรับเพื่อแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหา SPS ไทยจะได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรก อาทิเช่น การตรวจสอบและขึ้นทะเบียนโรงงานแปรรูปไก่และสุกร การวิเคราะห์ความเสี่ยงจะใช้เวลาสั้นลง ท้ายที่สุด ผลจาก JTEPA จะเป็นแรงจูงใจให้ชาวญี่ปุ่นมาลงทุนการผลิตสินค้าเกษตรมากขึ้น ซึ่งหมายถึงจะนำเทคโนโลยีใหม่ การจัดการตลาด ตลอดจนการบริหารและจัดการระบบการทำฟาร์มมาสู่ภาคเกษตรกรรมของไทย ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นจุดอ่อนในการผลิตสินค้าเกษตรของไทย ตัวอย่างเช่น การทำฟาร์มในภาคตะวันตกของไทย ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หรือผัก จะมีปัญหาน้อยกว่าภาคอื่นๆ 14
16
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1 เมษายน ครบรอบ ปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.