ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กำเนิดดนตรีและเครื่องดนตรี
2
องค์ประกอบดนตรีที่สำคัญ คือ จังหวะและทำนอง จังหวะน่าจะเกิดก่อนหรือพร้อมกันกับทำนองก็เป็นได้ มนุษย์รู้จักทำจังหวะได้เองโดยไม่ต้องมีใครสอน เพราะสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับอารมณ์แล้วแสดงออกมาทางภาษากาย (อวัจนภาษา) เช่น เมื่อดีใจ สนุกสนาน ก็ตบมือ กระทืบเท้า ส่งเสียงร้อง เมื่อเสียใจก็ร้องไห้คร่ำครวญ อาจจะเป็นคำที่มีหรือไม่มีความหมายก็ได้ การแสดงออกทางอารมณ์เหล่านี้ เป็นต้นกำเนิดของดนตรี เพราะดนตรีเกิดจากอารมณ์ของมนุษย์ เมื่อมนุษย์รู้จักทำเสียงสูงเสียงต่ำเป็นทำนอง ก็ย่อมจะต้องมีจังหวะจะโคนตามมาเองอาจจะเป็นระบบหรือไม่เป็นระบบก็แล้วแต่ การทำจังหวะหรือทำนองในแรกเริ่มเดิมทีในส่วนต่างๆของโลกน่าจะไม่แตกต่างกันมากนัก
3
มนุษย์เริ่มมีการพัฒนาความเป็นอยู่ให้มีเจริญขึ้น โดยมนุษย์ต้องเรียนรู้กับปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่ธรรมชาติจัดสรร ซึ่งแต่ต่างกันไปตามสภาพภูมิศาสตร์(พื้นที่อยู่อาศัย) ทำให้วัฒนธรรมมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของการแต่งกาย อาหารการกิน รวมถึงภาษาที่ใช้ สื่อสาร เสียงธรรมชาติที่มนุษย์ได้ยินเป็นอย่างเดียวกันและเหมือนกัน แต่การตีความและแสดงออกของเสียงนั้นเป็นไปคนละอย่าง เช่น เสียงไก่ขัน เสียงนกร้อง เสียงหมาเห่า เสียงฟ้าร้อง ซึ่งเหมือนกันทั่วโลก แต่มนุษย์ที่อยู่ต่างสภาพภูมิศาสตร์ต่างวัฒนธรรม ต่างก็ออกเสียงเหล่านั้นไม่เหมือนกัน แม้ภาษาตระกูลเดียวกันก็ยังต่างออกไปตามท้องถิ่น ระบบเสียงในดนตรีนั้นยิ่งละเอียดและซับซ้อนขึ้นไปอีก เพลงในสมัยแรกเริ่มมีแค่เสียงสูง-ต่ำ สั้น-ยาว เพียงไม่กี่เสียง คือ มีทำนองและจังหวะ อาจจะเป็นเสียงที่เปล่งออกมาเป็นถ้อยคำอย่างง่าย ๆ ก่อน เมื่อรู้จักจัดระบบคำพูดเป็นภาษาที่สามารถสื่อสารได้แล้ว บทเพลงจึงมีเนื้อร้องและกลายเป็นบทเพลงที่สมบูรณ์
4
กำเนิดเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีโดยส่วนมาก เกิดจากการนำเครื่องมือเครื่องใช้หรือสิ่งใกล้ตัวมาเป็นเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีไม่ว่าชาติใดในโลก ก็ย่อมมีลักษณะการบรรเลงดนตรีที่สามารถพบได้ทั่วไป 4 ลักษณะ โดยเรียงลำดับการเกิดก่อนหลัง ดังนี้ การตี การเป่า การดีด และการสี การกำเนิดเครื่องดนตรีแต่ละประเภทนี้ ไม่ได้หมายถึงว่า เกิดเครื่องตีจนหมดแล้ว ค่อยมาเกิดเครื่องเป่า เครื่องดีด และเครื่องสี แต่หมายถึงเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้น
5
พัฒนาการของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี
เครื่องตี มีวิวัฒนาการมาจากการตบมือ เป็นเครื่องดนตรีประเภทแรกที่มนุษย์คิดขึ้นเพลงมีลักษณะการเล่นง่ายกว่าชนิดอื่น ๆ แยกได้ 3 ชนิด 1. เครื่องตีทำด้วยไม้ เช่น โกร่ง เกราะ กรับ (กรับคู่, กรับพวง และกรับเสภา) ระนาดเอก ระนาดทุ้ม
9
2. เครื่องตีทำด้วยโลหะ เช่น ระนาดทองหรือระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องราว ฆ้องราง ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องชัย ฆ้องเหม่ง ฆ้องคู่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญ วงฆ้องชัย ฆ้องกระแต มโหระทึก
13
กลองมโหระทึก
14
3. เครื่องดนตรีขึงด้วยหนัง มี 18 ชนิด ดังนี้ กลองทัด กลองชาตรี ตะโพน ตะโพนมอญ กลองตะโพน โทนหรือทับ (โทนชาตรี, โทนมโหรี) รำมะนา (รำมะนามโหรี, รำมะนาลำตัด) กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ เปิงมาง เปิงมางคอก กลองสองหน้า ตะโล้ดโป๊ด บัณเฑาะว์ กลองยาว กลองแอว กลองมะริกัน
23
นอกจากเครื่องตีของไทยแล้วจะขอยกตัวอย่างเครื่องตีของต่างชาติเพื่อให้เห็นภาพเปรียบเทียบได้ชัดเจน เช่น ชาวอะบอริจิน (Aborigin) ชนพื้นเมืองออสเตรเลียที่ล่าสัตว์ด้วยบูมเมอร์แรง ยามว่างจะนำเอาบูมเมอร์แรงมาเคาะเข้าด้วยกันเป็นกรับ (Boomerang Clapsticks) ประกอบการร้องเพลง
24
Kagul
26
ฆ้องชุด(มองเซิง) Gong Set
27
Horse Nation: Lakota painted drum
28
Native America drum
30
พัฒนาการของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
เครื่องเป่า มีวิวัฒนาการมาจากการผิวปาก เครื่องเป่าที่มนุษย์รู้จักใช้แต่เดิมก็คงเป็นหลอดไม้รวก ไม้ไผ่ ใช้เป่าเป็นสัญญาณในการล่าสัตว์ ต่อมาก็ใช้เป่าเขาสัตว์ เช่น ที่เรียกในภาษาบาลีว่า “ลิงคะ” หรือเรียกในภาษาสันสกฤตว่า “ศฤงคะ” หรือที่เรียกว่า “Horn” ภายหลังรู้จักเจาะรูและทำลิ้นให้เปลี่ยนเสียงได้ จึงนำเอามาเล่นเป็นทำนอง และใช้เป็นเครื่องดนตรีอีกพวกหนึ่ง เช่น ขลุ่ยและปี่ สันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่คนไทยคิดขึ้น ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ แคน แตร สังข์
31
1. ขลุ่ย เป็นเครื่องเป่าดั่งเดิมของไทยทำด้วยไม้ไผ่ที่เป็นสีสวยงามใช้กาบกล้วยพันและย่างไฟ น้ำในกาบกล้วยจะเข้าไปในเนื้อไม้ไผ่ จากนั้นนำมาขัดตกแต่งเป็นลวดลายสวยงาม ขลุ่ยมี 7 รูเรียงกัน เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงต่าง ๆ ทางปากเป่าอุดด้วยไม้ปาดหน้าเล็กน้อย ใช้เป่าร่วมในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ หรือจะเล่นเดี่ยวก็ได้ แต่เดิมนั้นขลุ่ยมีขนาดเดียว เมื่อเข้ามาเล่นผสมวงกับดนตรีจึงมีคนคิดขึ้น 4 ขนาด เรียกชื่อต่างกันดังนี้ 1.1 ขลุ่ยหลิบ เป็นขลุ่ยขนาดเล็กที่สุด มีเสียงสูง ยาวประมาณ 30 ซม. หรือ 12 นิ้ว ใช้ในการบรรเลงในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายเครื่องคู่ และวงเครื่องสายปี่ชวา เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องนำ (เช่นเดียวกับระนาดเอกและซอด้วง) ในวงมโหรีและวงเครื่องสายเครื่องคู่ และใช้เป็นเครื่องตาม (เช่นเดียวกับซออู้)ในวงเครื่องสายปี่ชวาเมื่อปิดนิ้วหมดทุกนิ้ว เป่าแล้วจะได้เสียง "ฟา" สูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 4 เสียง
32
1.2 ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดกลาง ระดับเสียงกลางๆ ไม่สูงไม่ต่ำเกินไป มีเสียงมาตราใช้เทียบเสียงดนตรีไทย ยาวประมาณ ซม. เป็นขลุ่ยที่มีผู้นิยมเล่นมากที่สุด นอกจากจะเป่าเพื่อความบันเทิงและความรื่นรมย์เฉพาะตัวแล้ว ขลุ่ยเพียงออยังเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตาม (เช่นเดียวกับระนาดทุ้ม และซออู้) ตามประเพณีนิยมในวงเครื่องสาย และวงมโหรี 1.3 ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยชนิดนี้มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 1 เสียง ยาวประมาณ 40 ซม. ใช้เล่นร่วมกับวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีฝรั่งมาร่วมด้วย เช่น เครื่องสายผสมไวโอลิน 1.4 ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ความยาวประมาณ 23 นิ้ว มีระดับเสียงต่ำสุดและเป็นขลุ่ยที่มีเสียงต่ำที่สุดคือต่ำกว่าเสียงโดต่ำของขลุ่ยเพียงออ 2-3 เสียง และมีลักษณะพิเศษที่ต่างจากขลุ่ยเพียงออ และขลุ่ยหลีบ คือมีรูที่ทำให้เกิดเสียง 6 รู เมื่อปิดนิ้วทุกนิ้ว เป่าแล้วจะได้เสียง "ซอล" ต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียงนิยมใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
34
เปรียบเทียบขนาดของขลุ่ย
35
2. ปี่ เห็นจะเป็นเครื่องดนตรีของไทยแท้ และเป็นเครื่องเป่าของชาวไทย เรารู้จักประดิษฐ์ขึ้นมาใช้แต่ก่อนเก่า เพราะวิธีการเป่าและลักษณะการเจารู ไม่เหมือนหรือซ้ำแบบกับเครื่องเป่าของชาติใด ๆ ที่เรียกว่า “ปี่” ก็คงเรียกตามเสียงที่ได้ยิน ตามปกติทำด้วยไม้แก่นหรือไม้จริง เช่น ไม้ชิงชัน และไม้พยุงกลึงให้รูปป้านหัวป้านท้าย และตรงกลางป่องเจาะภายในกลวงตลอด และทางหัวที่ใช้ลิ้นเป็นรูเล็กทางปลายรูใหญ่ ตอนหัวและตอนท้ายเขาเอาชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกข้างละครึ่งเซนติเมตร เรียกว่า “ทวน” ทางหัวเรียกว่า “ทวนบน” และทางท้ายเรียกว่า “ทวนล่าง” ตอนกลางนั้น เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงเรียงลงมาตามข้างเลาปี่ 6 รู คือ รูตอนบนเจาะรูเรียงลงมา 4 รู แล้วเว้นช่วงเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตอนกลางเลาตรงกลางป่องกลางมักกลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ 14 คู่ เว้นระยะพองาม ลิ้นทำด้วยใบตาลซ้อน 4 ขั้น ผูกติดกับท่อลมเล็ก ๆ เรียกว่า “กำพวด” ทำด้วยทองเหลืองหรือเงิน ปี่ของไทยที่มีนั้นแบ่งออกได้ 3 ขนาด 2.1 ปี่นอก ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 31 ซม. กว้าง 3.5 ซม. 2.2 ปี่กลาง ขนาดกลาง ยาวประมาณ 31 ซม. กว้าง 4 ซม. 2.3 ปี่ใน ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ซม. กว้าง 4.5 ซม.
37
3. ปี่อ้อ เป็นปี่โบราณชนิดหนึ่งของไทย ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกปล้องเดียว ไม่มีข้อ ยาวประมาณ 24 ซม. แต่ก่อนใช้บรรเลงในวงเครื่องสาย ต่อมาใช้ขลุ่ยเพียงออ และขลุ่ยหลิบแทน 4. ปี่ซอ ทำด้วยไม้รวก มีหลายขนาด ชุดหนึ่งมี 3 เล่ม 5 เล่ม หรือ 7 เล่ม (เรียก เล่ม ไม่ใช่ เลา) ลักษณะการเล่น แยกออกตามทำนองเพลง เช่น ก. ทำนองเพลงเชียงใหม่ มีซึงดีดประกอบ ข. ทำนองเพลงเงี้ยว ใช้ปี่ซอขนาดเล็ก 3 เล่ม รวมกับซึง ค. ทำนองเพลงจ้อย เพลงประเภทนี้เป็นเพลงรำพันรัก สำหรับใช้แอ่วสาว นิยมเล่นในตอนกลางคืน ง. ใช้กับทำนองพระลอ ประกอบเรื่องพระลอโดยเฉพาะ จ. ทำนองเพลงพม่า ซึ่งมีสร้อยว่าเซเลเมา
39
5. ปี่ไฉน มี 2 ท่อน แยกออกจากกันท่อนบนมี 7 รู เรียกเลาปี่ ท่อนล่างเรียกลำโพง แต่เดิมใช้ในการใดยังไม่ทราบ สันนิษฐานว่าใช้ในการประโคมคู่กับแตรสังข์ เช่น เวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกในพระราชพิธี 6. ปี่ชวา มี 2 ท่อน เหมือนปี่ไฉน แต่ขนาดยาวกว่า ใช้ในขบวนพยุหยาตรา นอกจากนั้นใช้เล่นคู่กับกลองแขกประกอบการเล่นกระบี่ กระบอง มวยไทย 7. ปี่มอญ เป็นปี่ 2 ท่อนเหมือนปี่ไฉนและปี่ชวา แต่ขนาดใหญ่กว่าใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญโดยเฉพาะ 8. แคน เป็นเครื่องเป่า นิยมเล่นกันมาแต่โบราณ นำมาเรียงลำดับ ผูกติดกันเป็นแถว แถวละ 7-8 ลำ แคน เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวไทยอีสาน ใช้เป่าประกอบในการเล่นพื้นเมืองที่เรียกว่า “หมอลำ”
41
9. แตร เป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องเป่าที่ทำด้วยโลหะทั่ว ๆ ไปมี 2 ชนิด
9.1 แตรงอน มีลักษณะงอนบานปลาย ไทยได้แบบอย่างมาจากอินเดีย ใช้บรรเลงร่วมกับแตรสังข์ ในงานพระราชพิธีเกียรติยศ 9.2 แตรฝรั่ง มีลักษณะปากบานคล้ายลำโพง ใช้ร่วมกับแตรงอนและสังข์ ใช้ในพระราชพิธี เหตุที่ไทยเรียกว่าแตร เพราะเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยิน 10. สังข์ เป็นหอยทะเลชนิดหนึ่ง เปลือกขรุขระ ต้องเอามาขัดให้เรียบเกลี้ยงเสียก่อน แล้วเจาะก้นหอยให้ทะลุเป็นรูเป่า เครื่องเป่าชนิดนี้ไม่มีลิ้น ต้องเป่าด้วยริมฝีปาก ไทยเราได้แบบอย่างมาจากอินเดีย การใช้เครื่องเป่าชนิดนี้ถือเป็นของขลังและศักดิ์สิทธิ์ ใช้เฉพาะในงานที่มีเกียรติสูงศักดิ์เท่านั้น
44
Jaw’s Harps
46
พัฒนาการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด
เครื่องสายมีกะโหลกเสียง ใช้นิ้วมือ หรือไม้ดีดให้สายสั่นสะเทือนเกิดเสียง เป็นเครื่องดนตรีประเภทหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นในภาคตะวันออกก่อน แล้วฝรั่งนำไปสร้างเป็นเครื่องสายชนิดต่าง ๆ เช่น Lute, Rebec และ Mandolin เป็นต้น
48
เครื่องสายที่ใช้ดีดเรียกตามบาลีและสันสกฤตว่า “พิณ” แต่เดิมเชื่อว่า กะโหลก คงทำด้วยเปลือกผลน้ำเต้า ต่อมาได้วิวัฒนาการทั้งขนาดและรูปร่างจึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ได้แก่ พิณน้ำเต้า, พิณเพี้ยะ, กระจับปี่, ซึง และจะเข้ 1. พิณน้ำเต้า เป็นพิณสายเดียว ทำจากลูกน้ำเต้า แต่ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นพิณหลายสาย โดยปกติการเล่นพิณน้ำเต้า ผู้เล่นจะไม่สวมเสื้อ ใช้ดีดประสานการขับร้อง 2. พิณเพี้ยะ มีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่ประดิษฐ์ให้มีสายเพิ่มขึ้นเป็น 2 หรือ 4 สาย มีใช้ในท้องถิ่นทางภาคเหนือ ผู้เล่นนิยมดีดคลอไปกับการขับร้อง
49
พิณน้ำเต้า
50
พิณเพี้ยะ
51
3. กระจับปี่ คือพิณชนิดหนึ่ง มี 4 สาย เหตุที่เรียกว่ากระจับปี่เพราะว่าเสียงที่เรียกนั้นเพี้ยนมาจากคำว่า “กัจฉปิ” ซึ่งเป็นภาษาชวา และเพี้ยนมาอีกต่อหนึ่งจากคำว่า “กัจฉปะ” เป็นภาษาบาลี แปลว่า “เต่า” กระจับปี่มีเสียงเบา และมีน้ำหนักมากเพราะทำด้วยไม้แก่น จึงไม่นิยมเล่นกัน และในที่สุดกระจับปี่ก็หายไปจากวงดนตรีไทย 4. ซึง เป็นเครื่องดนตรีที่มี 4 สาย เช่นเดียวกับกระจับปี่ แต่ขนาดเล็กกว่ามาก เป็นเครื่องดนตรีที่ชาวไทยทางภาคเหนือเล่นกันตามปกติ ใช้บรรเลงร่วมกับปี่ซอ และบางครั้งใช้ดีดเดี่ยว
53
ซึง
54
5. จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ได้ดัดแปลงแก้ไขวิวัฒนาการมาจากพิณ โดยได้ประดิษฐ์ให้นั่งดีดได้สะดวกและไพเราะยิ่งขึ้น โดยเหตุที่แต่เดิมนั้นตัวพิณทำรูปร่างเหมือนจระเข้ จึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้เพียงสั้น ๆ ว่า “จะเข้” จะเข้มี 3 สาย สายหนึ่งทำด้วยทองเหลือง อีกสองสายทำด้วยเอ็น ไม้ดีดทำด้วยงาหรือกระดูกสัตว์ มีลักษณะกลม ปลายแหลม ไทยรู้จักดนตรีจะเข้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่นำมาบรรเลงร่วมกับเครื่องสายไทยและมโหรีในสมัยรัชกาลที่ 2
57
เครื่องดีดในยุคแรกๆ ของเพื่อนบ้านเรานั้น จะเป็นเครื่องดนตรีที่เรียบง่าย มีไม่กี่สาย เช่น ดุริยธนู (Musical Bow) Musical Bow
58
Musical Bow
59
พัฒนาการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี
เครื่องสายอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงด้วยคันชักสีเข้ากับสาย เกิดขึ้นหลังเครื่องดีด เราเรียกเครื่องสายประเภทนี้ด้วยคำไทยว่า “ซอ” แม้แต่เครื่องสีของฝรั่งที่เรานำเอามาใช้ตอนหลังนี้เราก็เรียกว่า “ซอ” เช่นกัน ซอที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด คือ ซอสามสาย ซออู้และซอด้วง
60
1.ซอสามสาย เป็นซอที่คนไทยนิยมเล่นกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดนูนเป็นกระพุ้ง เป็นดนตรีที่เล่นยากและนิยมกันว่าเสียงไพเราะ ใช้สีประสานเข้ากับเสียงร้องเพลงไทยได้เป็นอย่างดี และนิยมคลอกับการขับร้องคู่กับกระจับปี่ในวงเครื่องสายและวงมโหรี
61
2. ซออู้ เป็นซอ 2 สาย มีเสียงทุ้ม กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว ใช้บรรเลงร่วมวงเครื่องสายและเครื่องมโหรี เริ่มมีใช้ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
63
3. ซอด้วง เป็นซอ 2 สาย กะโหลกซอแต่เดิมทำด้วยไม้ไผ่ ต่อมาจึงนิยมใช้ไม้จริง มีเสียงดังและแหลมใช้บรรเลงร่วมวงเครื่องสายและวงมโหรีคู่กับซออู้ ตลอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
64
เครื่องสายประเภทสี นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเครื่องสายที่คนรู้จักอีกชนิดหนึ่ง คือ สะล้อ 4. สะล้อ เป็นเครื่องสายดนตรีทางภาคเหนือ มีสายทำด้วยลวด 2 สาย มีลูกบิด 2 อัน เจาะรูเสียบทแยงเข้าไปในคันทวน ใช้เล่นผสมกับซึง และปี่ซอ ประกอบบทขับร้องเพลงพื้นเมือง
66
การจำแนกประเภทเครื่องดนตรีของแต่ละชาติ
ดนตรีไทย ได้จำแนกเครื่องดนตรีออกตามลักษณะการบรรเลง โดยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ 1.เครื่องดีด 2. เครื่องสี 3. เครื่องตี และ 4. เครื่องเป่า ดนตรีจีน ได้จำแนกเครื่องดนตรีออกตามวัสดุที่นำมาสร้างเครื่องดนตรี แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1.ทำด้วยหิน เช่น ระฆังหิน (Stone Shime) 2. ทำด้วยโลหะ เช่น ฆ้อง, ระฆัง (Bell,Gong) 3. ทำด้วยไหม เช่น สายซอเอ้อหู (Er-hu) 4. ทำด้วยไม้ไผ่ เช่น ขลุ่ยติ้ (Ti) 5. ทำด้วยไม้ เช่น กรับจีนแบบต่าง ๆ 6. ทำด้วยหนัง เช่น กลองชนิดต่าง ๆ 7. ทำด้วยน้ำเต้า เช่น แคนจีน (Cheng) 8. ทำด้วยดิน เช่น ขลุ่ยดินเผาที่เรียกว่า ชุน (Hsun) ดนตรีตะวันตก ได้จำแนกเครื่องดนตรีออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. เครื่องลมไม้ (Woodwind) 2. เครื่องลมทองเหลือง (Brass) 3. เครื่องกระทบ (Percussion) 4. เครื่องสาย (String Instrument)
67
ดนตรีอินเดีย ได้จำแนกเครื่องดนตรีไว้ในคัมภีร์สังคีตรัตนากร แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. ตะตะ คือ เครื่องดนตรีประเภทมีสาย 2. สุษิระ คือ เครื่องดนตรีประเภทเป่า 3. อะวะนัทธะ คือ เครื่องดนตรีที่หุ้มด้วยหนังหรือกลองต่าง ๆ 4. ฆะนะ คือ เครื่องดนตรีประเภทตีหรือประเภทกระทบ การจำแนกเครื่องดนตรีของแต่ละชาตินั้น เป็นการจำแนกที่ไม่เด็ดขาดลงไป เพราะยังมีเครื่องดนตรีบางอย่างที่สามารถจะจัดเข้าได้ในประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นจึงมีผู้คิดจำแนกในระบบใหม่ ซึ่งสะดวกแก่การอ้างอิง เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้ไปทั่วโลก นั้นก็คือการจำแนกในระบบของเคอร์ซาคส์ (Curt Sachs) ซึ่งเป็นนักมานุษยดุริยางควิทยา ชาวเยอรมัน เขาจัดระบบการจำแนกเครื่องดนตรีโดยอาศัยแหล่งกำเนิดของเสียงเป็นสำคัญ เพราะเสียงย่อมเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ทำให้เกิดเป็นคลื่นเสียงที่โสตประสาทสามารถรับและได้ยิน ระบบนี้จำแนกออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ และแต่ละประเภทยังจำแนกเป็นประเภทย่อย ๆ ออกไปตามรูปร่างลักษณะอีกด้วย
68
การจำแนกประเภทเครื่องดนตรีระบบ Hornbostel-Sachs Classification
การจำแนกประเภทของเครื่องดนตรีของแต่ละชาติไม่สามารถจำแนกได้ชัดเจน จึงมีนักมานุษยวิทยาชื่อ Curt Sachs ได้จัดหลักเกณฑ์การจำแนกเครื่องดนตรีออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ 1.Aerophones ตระกูลที่เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศ 2.Chordophones ตระกูลที่เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย 3.Idiophones ตระกูลที่เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของมวลวัตถุในตัวเอง 4. Membranophones ตระกูลที่เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นหนัง หลังจากที่มนุษย์มีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ จึงได้มีการจัดกลุ่มเครื่องดนตรีเพิ่มอีกหนึ่งกลุ่ม คือ Electrophones ตระกูลที่เสียงเกิดจากไฟฟ้า
69
ประเภทของดนตรี ดนตรีมีหลายประเภทเช่นเดียวกับศิลปะอื่น ๆ แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ดนตรีพื้นบ้าน 2. ดนตรีแบบฉบับ และ 3. ดนตรีชนนิยม ดนตรีพื้นเมือง (Regional Music) คือ ดนตรีของผู้คนในอาณาบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งในวงกว้าง ไม่มีพรมแดนกำหนด และดนตรีชนิดนั้นเป็นที่เข้าใจซาบซึ้ง และรู้ความหมายซึ่งกันและกันเป็นอย่างดีระหว่างผู้คนในวัฒนธรรมนั้น ๆ บุคคลอื่นนอกวัฒนธรรม แม้จะสามารถซาบซึ้งกับดนตรีนั้นได้ แต่ก็ในระดับจำกัด ในกรณีเช่นนี้คำว่าดนตรีพื้นบ้าน (Folk Music) ก็น่าจะนำมาใช้เรียกดนตรีประจำถิ่นได้
70
ดนตรีแบบฉบับ (Classical Music) พระยาอนุมานราชธนกล่าวถึงคำว่าคลาสสิกไว้ในหนังสือการศึกษาดนตรีในแง่วรรณศิลป์ สรุปได้ว่า คลาสสิก มี 3 นัย คือ 1. หมายถึงศิลปะและวรรณคดีของกรีกและโรมันโบราณซึ่งได้เจริญถึงขั้นสูงสุด 2. ศิลปะและวรรณคดีที่ทำขึ้นหรือแต่งขึ้นตามแบบอย่างกรีกและโรมันโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นแบบครูและสามารถทำได้ดีถึงขั้น และ 3. ศิลปะและวรรณคดีไม่ว่าจะเป็นของชาติใดก็ตาม ที่มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขั้นที่จะถือเป็นแบบแผนได้ จากความหมายทั้ง 3 เราอาจตีความได้ว่าเมืองไทยเรานี้มีดนตรีที่ถือว่าเป็นแบบครู หรือแบบฉบับได้อย่างน้อยก็ 4 ประเภท คือ ดนตรีแบบฉบับของภาคกลาง เช่น ปี่พาทย์ เครื่องสาย มโหรี ดนตรีที่ถือเป็นแบบฉบับของล้านนา เช่น สะล้อ ซึง ปี่ ดนตรีที่ถือเป็นแบบฉบับของภาคอีสาน เช่น แคนลายน้อย ลายใหญ่ ลายสร้อย เป็นต้น และดนตรีที่ถือเป็นแบบฉบับของภาคใต้ เช่น มโนห์รา หนังตะลุง เป็นต้น
71
แต่โดยเหตุที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศอยู่ที่ภาคกลางมาช้านาน ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยามาเป็นเวลากว่า 5 ศตวรรษ รวมทั้งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ของประเทศ ดนตรีไทยภาคกลางจึงมีโอกาสพัฒนาก้าวหน้า มีการวางกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนให้ลึกซึ้งและสลับซับซ้อนมากกว่าภาคอื่น ๆ ดนตรีภาคกลางจึงได้กลายเป็นดนตรีประจำชาติในที่สุด (ดนตรีแบบฉบับ)
72
ดนตรีชนนิยมหรือดนตรีสมัยนิยม (Popular Music) ดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเช่นเดียวกับศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ เพียงแต่ความเปลี่ยนแปลงในสมัยโบราณเป็นอย่างช้า ๆ ไม่รวดเร็วเท่ายุคปัจจุบัน อิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทย พร้อมกับเทคโนโลยี ค่านิยมและแนวทางดำเนินชีวิตของคนไทยเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น เพลงไทยจึงถูกนำไปบรรเลงโดยแตรวง เช่นเดียวกับการนำออร์แกนและไวโอลินมาประสมวงเครื่องสายไทย ต่อมาเมื่อมีวงดนตรีแจ๊สเกิดขึ้น ก็ได้มีการประสมเครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากลเข้าด้วยกันเป็นแบบสังคีตสัมพันธ์ พัฒนาการของดนตรีไทยในแนวตะวันตกที่ต้องรสนิยมของคนไทยสมัยดำเนินตามแบบตะวันตกก็คือ เพลงไทยสากล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงลูกกรุง และลูกทุ่งต่อมา ดนตรีประเภทนี้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยแทนที่ดนตรีปี่พาทย์ ซึ่งยังคงรักษาหน้าที่ในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและอื่น ๆ ที่จำเป็น บทเพลงไทยที่เคยบรรเลงด้วยมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสายก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีชนนิยมไปในที่สุด
73
บทบาทและหน้าที่ของดนตรีในสังคม
ดนตรีแบบฉบับของไทยมีบทบาทหน้าที่ทางสังคมอย่างชัดเจน ทั้งสังคมในระดับราชสำนักและสังคมของคนธรรมดา สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ บทบาทหน้าที่ในพิธีกรรมทางศาสนา และบทบาทหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา บทบาทของดนตรีที่เกี่ยวกับศาสนา จำแนกเป็น 2 ชนิด 1. ดนตรีพิธีกรรม (Ritual Music) บทบาทหน้าที่ของดนตรีไทยในพุทธศาสนาแตกต่างจากบทบาทหน้าที่ของดนตรีตะวันตกในเชิงศาสนา ตรงที่ตะวันตกใช้ดนตรีโดยตรงในพิธีกรรม เช่น ร้องเพลงสวด และเล่นออร์แกนในโบสถ์ เป็นต้น แต่ดนตรีไทยใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมก็เพื่อให้พิธีกรรมนั้นมีผลทางใจสมบูรณ์ขึ้น เช่น การสวดเทศน์มหาชาติ จะมีดนตรีบรรเลงเฉพาะเพื่อประกอบการเทศน์ทั้ง 13 กัณฑ์
75
2. ดนตรีพิธีกรรมในราชสำนัก มักจะเกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ เช่น การบรรเลงด้วยวงขับไม้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่-ช้าลูกหลวง พระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตร และพระราชพิธีสมโภชพระยาช้างเผือก เป็นต้น บทบาทหน้าที่ของดนตรีชนิดนี้มีอยู่ในวงจำกัดและไม่ค่อยทราบกันแพร่หลายมากนัก
76
บทบาทหน้าที่ของดนตรีที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา จำแนกเป็น 2 ชนิด
1. ดนตรีเพื่อความบันเทิง (Theatrical Music) ได้แก่ การบรรเลงเพื่อความชื่นชมยินดีในเคหสถาน งานเลี้ยงและการแสดงบนเวที รวมทั้งการบรรเลงที่นำเสนอในรูปแบบใหม่ เช่น วีดีทัศน์ แผ่นเสียง ตลับเสียง เป็นต้น มีรูปแบบหลากหลาย และมีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง 2. ดนตรีสำหรับการแสดง (Entertainment Music) หมายถึง ดนตรีที่ใช้บรรเลงสำหรับมหรสพต่าง ๆ เช่น โขน ละคร วงดนตรีและบทเพลงจะแตกต่างกันตามมหรสพที่ใช้บรรเลง เช่น ปี่พาทย์ไม้แข็งสำหรับโขน ละครนอก ละครใน ละครพันทาง และบางกรณีอาจใช้ไม้นวมบ้าง วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์สำหรับละครดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.