ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 10 การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
2
ความเสี่ยงทางการเงิน
1.ความเสี่ยงตลาด (market risk) เป็นความเสี่ยงของการที่จะเสีย โดยราคาหรือการเปลี่ยนแปลงของราคา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกหรืออื่น ๆ 2. ความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) เป็นความเสี่ยงที่จะสูญเสีย อันเนื่องมาจากการไม่กระทำตามสัญญาของคู่สัญญาอีกฝั่ง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการเต็มใจและไม่เต็มใจที่จะไม่ทำ เช่น การผิดนัดชำระหนี้ 3. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (operational risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา อันเนื่องมาจากการปฏิบัติการที่ผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมที่มาจากทั้งคนหรือองค์กร หรือจากเหตุการณ์ภายนอก เช่น การทำสัญญาทางการเงินที่ผิดพลาด
4
แหล่งที่มาของความเสี่ยงทางการเงิน
1.ความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากสถานะของกิจการที่กระทบจากราคาตลาด ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาโภคภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญ 2.ความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากการกระทำของกิจการอื่นๆ ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น เช่น ผู้ขาย ลูกค้า คู่ค้าในธุรกรรมด้านอนุพันธ์ทางการเงิน เป็นต้น 3.ความเสี่ยงทางการเงินที่เป็นผลจากการกระทำภายในองค์กร ความล้มเหลวของการบริหารจัดการองค์กร โดยเฉพาะส่วนที่เกิดจากบุคลากร กระบวนการ และระบบงาน
5
ขั้นตอนของการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ขั้นที่1 การกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย ผู้บริหารจะต้องเริ่มต้นการดำเนินงานด้วยการวางแผนบริหารจัดการด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นลำดับแรก ประกอบด้วย นโยบาย กระบวนการวิธีปฏิบัติ กฎข้อบังคับ กลยุทธ์
6
ขั้นที่2 การสำรวจความเสี่ยง การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของกิจกรรมสำรวจความเสี่ยงจะทำให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่องานบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ขั้นที่3 การค้นหาและการระบุความเสี่ยง การค้นหาและการระบุความเสี่ยงออกมาจากข้อมูลที่รวบรวมมาอาจมีหลากหลาย ซึ่งควรพิจารณาลำดับความสำคัญของประเภทข้อมูลในเบื้องต้นก่อน เพราะข้อมูลบางประเภทมีความสำคัญน้อยอาจมีส่วนเกี่ยวข้องในบางเรื่องเท่านั้น
7
ขั้นที่4 การวิเคราะห์ความเสี่ยง เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เชื่อมโยงระหว่างการระบุความเสี่ยงกับการประเมินความเสี่ยง เทคนิคการวิเคราะห์ความเสี่ยงสามารถกระทำได้อย่างกว้างขวางแล้วแต่ประเภทของความเสี่ยงและชนิดเครื่องมือที่จะพิจารณานำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้น ขั้นที่5 การประเมินและการจัดลำดับความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวโยงกับกิจกรรมการค้นหาและระบุความเสี่ยงกับกิจกรรมการวิเคราะห์ความเสี่ยง คือ การนำผลลัพธ์มาทำการประเมินและจัดลำดับเพื่อทำให้ทราบถึงขนาดของความรุนแรง
8
อนุพันธ์การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
การบริหารความเสี่ยงทางการเงิน คือ การใช้ตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน เนื่องจากมูลค่าของสัญญาอนุพันธ์จะกำหนดจากราคาของสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้กำหนดจากตัวของมันเอง โดยตราสารอนุพันธ์ทางการเงินจะสามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาโภคภัณฑ์ และราคาหุ้นสามัญเป็นต้น
9
1.ลักษณะสำคัญของตราสารอนุพันธ์
1.1 ตราสารอนุพันธ์ เป็นการตกลงทำธุรกรรมซื้อขายกันล่วงหน้าระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ซื้อล่วงหน้า และผู้ขายล่วงหน้า 1.2 มูลค่าของตราสารอนุพันธ์ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการซื้อขายนั้น 1.3 ตราสารอนุพันธ์ มีการกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนในกาปฏิบัติตามภาระผูกพันหรือใช้สิทธิของคู่สัญญา 1.4 ตราสารอนุพันธ์ มีการกำหนดพันธะผูกพันหรือใช้สิทธิแก่คู่สัญญาในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิง
10
2.ประเภทตราสารอนุพันธ์
2.1 สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมายถึง ข้อตกลงหรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงที่จัดทำขึ้น ณ เวลาปัจจุบันระหว่างผู้ซื้อล่วงหน้าและผู้ขายล่วงหน้า แต่จะมีการส่งมอบ และชำระเงินจริงในอนาคต
11
2.1.1 สัญญาฟอร์เวิร์ด (Forward Contract) เป็นสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการที่จะรับและส่งมอบสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เงินตราต่างประเทศ ในราคาที่ระบุไว้ ( Exercise Price ) ณ วันสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด (Settlement Date of Delivery Date) ส่วนมากสัญญาฟอร์เวิร์ดนิยมใช้กับการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
12
2.1.2 สัญญาฟิวเจอร์ (Futures Contract) เป็นสัญญาข้อตกลงในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงในราคาที่กำหนด และมีการส่งมอบกันในอนาคต เป็นสัญญามีมาตรฐาน มีองค์กรรองรับเป็นตลาดที่เป็นทางการ ซึ่งต่างจากสัญญาฟอร์เวิร์ดที่ทำการซื้อขายแบบนอกตลาด โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าทางเกษตร สินค้าโภคภัณฑ์ และสินทรัพย์ทางการ
13
2.2 ตราสารสิทธิ คือ ตราสารที่มีการซื้อขายกันเป็นเครื่องมือทางการเงินในตลาด OTC ( Over the Counter ) ซึ่งเป็นการซื้อขายแบบไม่เป็นทางการ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาตลาดซื้อขายตราสารสิทธิและก่อให้เกิดสัญญาที่มีมาตรฐานและเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดมากขึ้น
14
2.3 สัญญาแลกเปลี่ยน คือ สัญญาระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย ในการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดระหว่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ โดยก่อให้เกิดภาระผูกพันที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามในการส่งมอบกระแสเงินสดระหว่างกัน ตามงวดที่กำหนดตลอดอายุของสัญญา สัญญาแลกเปลี่ยนนี้อาจเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินก็ได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
15
1.สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย คือ การทำสัญญาที่บุคคล 2 ฝ่ายตกลงจะแลกภาระดอกเบี้ยของกันและกันภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เป็นสัญญาแลกเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เป็นอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นดอกเบี้ยจ่ายหรือดอกเบี้ยรับก็ได้ โดยที่เงินต้นไม่เปลี่ยนแปลง 2. สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน คือ สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงแลกเปลี่ยน กระแสเงินสดระหว่างกัน ทั้งส่วนที่เกิดจากดอกเบี้ยและเงินต้น จากสกุลเงินหนึ่งเป็นอีกสกุลเงินหนึ่ง
17
นางสาว ณัชรีพร ชัยวิเชียร 58127318010
สมาชิกในกลุ่ม นางสาว ณัชรีพร ชัยวิเชียร นางสาว มณฑิรา ศรีสังข์ นางสาววิมพ์วิภา ระวังนาม นางสาวนุชจรินทร์ แก้วกัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.