งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม
ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2 สมชาย หิรัญกิตติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้กำหนด
สมชาย หิรัญกิตติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้กำหนด เกณฑ์ของอุตสาหกรรมขนาดเล็กคือ ธุรกิจที่มีเงินลงทุน ไม่เกิน 10 ล้านบาท จำนวนคนงานไม่เกิน 50 คน ใช้น้ำน้อย ไม่มีมลภาวะและน้ำเสีย

3 วิชัย โถสุวรรณจินดา บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ.อ.ย.)
วิชัย โถสุวรรณจินดา บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บ.อ.ย.) ได้กำหนดเกณฑ์อุตสาหกรรมขนาดย่อมจาก เงินทุนจดทะเบียน หรือสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 50 ล้านบาท

4 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
กำหนดเป็นกฎกระทรวงอุตสาหกรรม 11 กันยายน 2545 ประเภทกิจการ การจ้างงาน มูลค่าสินทรัพย์ถาวร ผลิตสินค้า ไม่เกิน 50 คน ไม่เกิน 50 ล้านบาท ค้าส่ง ไม่เกิน 25 คน ค้าปลีก ไม่เกิน 15 คน ไม่เกิน 30 ล้านบาท ให้บริการ

5 สมาคมบริหารธุรกิจขนาดย่อม ในประเทศ USA
พิจารณาจำนวนยอดขาย หรือจำนวนพนักงานเป็นเกณฑ์ ดังนี้  ค้าปลีกและให้บริการ มียอดขายไม่เกิน 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี  ค้าส่ง มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 500 คน  การผลิต มีจำนวนพนักงานไม่เกิน 500 คน  ขนส่งและคลังสินค้า มียอดขายไม่เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี  ก่อสร้าง มียอดขายไม่เกิน 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 3 ปี  การเกษตร มียอดขายไม่เกิน 1 แสนเหรียญสหรัฐ/ปี

6 ฮัทเทน (Hatten) เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่เจ้าของ
มีอิสระในการบริหารงานด้วย ตนเอง มีพนักงานไม่เกิน 100 คน

7 ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจขนาดเล็ก
สรุปได้ว่า ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุนไม่มาก มีปริมาณยอดขายน้อย สินทรัพย์ของกิจการมีจำกัด มีอิสระในการ บริหารงานและการเงินด้วยตัวของเจ้าของ

8 ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม
 ปริมาณของยอดขายมีน้อย  ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจสามารถใช้ฝีมือที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่  บริการที่ให้แก่ลูกค้านั้นเป็นการส่วนตัว  ความสะดวกสบาย  สามารถปรับตัวเข้ากับความต้องการของท้องถิ่นได้ดี

9 ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม (ต่อ)
 แรงจูงใจสูง  มีความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจ  ใช้เงินลงทุนน้อย  เครื่องจักรเครื่องมือใช้เทคโนโลยีไม่สูง  ตลาดมีอยู่ทั่วไปในภูมิภาค

10 คณะกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ (อเมริกา)
มีลักษณะอย่างน้อยที่สุด 2 ประการ จาก 4 ประการ ดังนี้  การบริหารงานเป็นไปอย่างอิสระ  เงินทุนในการดำเนินงานค่อนข้างจำกัด การดำเนินงานอยู่ในเขตพื้นที่ท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น  มีขนาดเล็กไม่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมส่วนรวม

11 ประเภทของธุรกิจขนาดย่อม
 ธุรกิจการผลิต หรืออุตสาหกรรม  ธุรกิจการจำหน่าย (ปลีก + ส่ง) หรือพาณิชยกรรม  ธุรกิจให้บริการ

12 องค์ประกอบของธุรกิจขนาดย่อม
 คน  เงิน  เครื่องมือเครื่องจักร  วัตถุดิบ  การจัดการ  การตลาด  ขวัญและกำลังใจ

13 คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
มีบุคลิกภาพส่วนบุคคลที่ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าและมีความรู้เกี่ยวกับ ลูกค้าดี มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อแหล่งชุมชนที่กิจการตั้งอยู่ มีจรรยาบรรณทางธุรกิจและรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ เต็มใจในการดำเนินงานตามกฎระเบียบของกิจการ

14 ข้อได้เปรียบของการประกอบธุรกิจขนาดย่อม
 มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการบริหารงาน  มีความใกล้ชิดกับลูกค้า  มีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจและตั้งใจดำเนินงานที่ตนถนัด  เหมาะกับธุรกิจประเภทผลิตสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย  เหมาะกับธุรกิจที่มีขนาดของตลาดจำนวนจำกัด

15 ข้อได้เปรียบของการประกอบธุรกิจขนาดย่อม (ต่อ)
 เหมาะกับธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงความนิยมไปตามสมัยนิยม  เหมาะกับธุรกิจการให้บริการที่ต้องใช้ความสามารถส่วนตัว  เหมาะกับผู้บริโภคเฉพาะแต่ละชุมชนหรือภาคต่าง ๆ  ใช้เงินลงทุนน้อย จัดตั้งได้ง่าย  มีประสิทธิภาพในการบริหารงานเพราะมีความใกล้ชิดกับ พนักงาน  รัฐบาลให้การสนับสนุน

16 ข้อเสียเปรียบของการประกอบธุรกิจขนาดย่อม
เงินทุน หรือการระดมเงินทุนทำได้ยาก ไม่สามารถรักษาพนักงานที่มีความสามารถได้ ผู้บริหารขาดประสบการณ์ในการบริหารจัดการ การจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ เช่น คน เวลา เงินทุน ลูกค้า ฯลฯ ไม่สามารถผลิตสินค้าที่ผูกขาด เพราะขาดเงินทุน แรงงาน ความรู้ ผู้บริหารจะบริหารงานทุกด้านของกิจการ ทำให้ไม่มีเวลาในบางเรื่อง ขาดเงินทุนและอุปกรณ์ด้านการค้นคว้าวิจัยทางธุรกิจด้านต่าง ๆ มีความเสี่ยงและต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่

17 ความแตกต่างระหว่างธุรกิจขนาดย่อมกับขนาดใหญ่
1. เจ้าของดำเนินงานเอง 2. ดำเนินกิจการภายในท้องถิ่น 3. จัดองค์การแบบง่าย ๆ 4. เป็นกิจการเจ้าของคนเดียว 5. เจ้าของกับพนักงานมีความใกล้ชิด 6. เสี่ยงต่อความล้มเหลวมาก 7. เจ้าของทำงานหลายหน้าที่ ธุรกิจขนาดใหญ่ 1. จ้างมืออาชีพเป็นผู้จัดการ 2. ดำเนินกิจการครอบคลุมทั่วประเทศ 3. การจัดองค์การมีความซับซ้อน 4. เป็นบริษัทจำกัด / บ.มหาชน จำกัด 5. เจ้าของไม่ใกล้ชิดกับพนักงาน 6. เสี่ยงต่อความล้มเหลวน้อย 7. แบ่งงานกันทำตามความถนัด

18 ปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจขนาดย่อม
 ความรู้ ความสามารถด้านการตลาด  ขาดแคลนเงินทุน  การรับรู้ข่าวสารข้อมูล  ด้านแรงงาน มีการเข้า-ออกงานสูง  ด้านเทคโนโลยีการผลิต + ความรู้พื้นฐาน  ขาดการบริหารงานที่เป็นระบบ  การเข้าถึงการส่งเสริมของรัฐ  การให้บริการส่งเสริมพัฒนาองค์กรจากภาครัฐ+เอกชน

19 บทบาทของธุรกิจขนาดย่อมต่อระบบเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
 การสร้างงานใหม่  การสร้างนวัตกรรม  กระตุ้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจ  สนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ * หน้าที่การจัดจำหน่าย * หน้าที่ในการขายปัจจัยการผลิต  ผลิตสินค้า / บริการ อย่างมีประสิทธิภาพ

20 แนวโน้มของธุรกิจขนาดย่อม
 จำนวนประชากรของประเทศสูงขึ้น  ส่วนราชการให้การสนับสนุน  ประชาชนมีการศึกษา และฝึกอบรม มากขึ้น  ผู้บริโภคชอบผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจง  การบริการที่รวดเร็ว  สนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่  การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ความยืดหยุ่น

21 จบบทที่ 1 แล้วจ้า ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจขนาดย่อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google