ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMoris Moore ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การส่งเสริมสุขภาพ การสร้างพลังใจ และวางแผนชีวิต และสิทธิ
รายชื่อกลุ่ม การส่งเสริมสุขภาพ การสร้างพลังใจ และวางแผนชีวิต และสิทธิ 1 คุณกานต์ธิรา ธนูสา 2 คุณสิริลักษณ์ จันเทร์มะ 4 คุณปัญจมาพร สาตจีนพงษ์ 5 คุณไปส์ 6 คุณพจนาถ ปัญญากรณ์ 7 คุณวิจักษณา หุตานนท์ 8 คุณวราภรณ์ อภิทนาพงศ์ 9 คุณฉวีวรรณ คล้ายนาค 10 คุณกัณหา
2
การส่งเสริมสุขภาพ ด้วยหลัก 5 อ.
เรื่องที่ 7. การส่งเสริมสุขภาพ (ด้านหน้า) การส่งเสริมสุขภาพ ด้วยหลัก 5 อ. 1 อาหารครบ 5 หมู่ สุก สด ใหม่ สะอาด 2 อากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทสะดวก 3 อารมณ์ดี ไม่เครียด ไม่หมกมุ่น 4 ออกกำลังกาย พอเหมาะกับสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ 5 อนามัยส่วนบุคคล สู่คุณภาพชีวิตที่ดี
3
เรื่องที่ 7. การส่งเสริมสุขภาพ (ด้านหลัง1)
เรื่องที่ 7. การส่งเสริมสุขภาพ (ด้านหลัง1) อ1 กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละหมู่ให้หลากหลาย และกินให้ครบทุกมื้ออย่างสม่ำเสมอ ควรกินอาหารที่สุก สด ใหม่ สะอาด รวมทั้งใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อทานอาหารร่วมกับผู้อื่น อ 2 ควรจัดบ้านเรือน สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก สะอาด และถูกสุขอนามัย อ 3 อารมณ์ดี หาวิธีคลายกังวลโดยการปรับเปลี่ยนความคิด มีสติ รู้ทันความคิดตนเอง ผ่อนคลายความเครียด รักษาความสำคัญที่ดีกับคนใกล้ชิด ระบายความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นกับคนที่ช่วยเราได้กับคนที่เก็บความลับได้ อ 4 ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ได้ตามสมรรถภาพร่างกาย ควรออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกาย และแต่ละครั้งใช้เวลา 20 – 30 นาที อ 5 อนามัยส่วนบุคคลและอนามัยด้านอื่นๆ
4
เรื่องที่ 7 การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลและอนามัยด้านอื่นๆ (ด้านหลัง2)
อาบน้ำ แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ดูแลความสะอาดอวัยวะเพศ - อวัยวะเพศชายทำความสะอาดภายนอก รูดหนังหุ้มปลายให้เปิดออกแล้วทำความสะอาด ซับให้แห้ง - อวัยวะเพศหญิง ทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง การทิ้งผ้าอนามัยต้องห่อมิดชิด และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีละ 1 ครั้ง 3. สังเกตและเฝ้าระวังอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น เชื้อราในช่องปาก ผิวหนัง ผม เล็บ เป็นต้น 4. พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อยวันละ 6-8 ชม. 5. งดสารเสพติด บุหรี่ สุรา ของมึนเมา ชา กาแฟ 6. ป้องกันทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ทุกช่องทาง 7. วางแผนมีบุตร ร่วมกับครอบครัว และปรึกษาทีมผู้ดูแล
5
หัวข้อที่ 5 การสร้างพลังใจและการวางแผนชีวิต ด้านหน้า 1
การรับรู้ และการยอมรับการติดเชื้อ HIV การเสริมสร้างความหวัง ของผู้มีเชื้อ HIV การเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม (ใส่ รูปผู้ติดเชื้อเปิดเผยตัวที่ใช้ทำ poster ของ สอวพ )
6
การสร้างพลังใจและการวางแผนชีวิต ด้านหลัง 1
ใบงาน 1. ค้นหา สำรวจ ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ตัวตน ของผู้มีเชื้อเอชไอวี 2. การให้ความหมายของชีวิต (Meaning of life) 3. สำรวจแรงจูงใจ 4. วางแผนชีวิต การสร้างพลังใจและการวางแผนชีวิต ด้านหลัง 1 1. การรับรู้และการยอมรับ การติดเชื้อเอชไอวี 1.1 สำรวจ/ ประเมิน ปฏิกิริยาด้านจิตใจ ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี 1.2 ส่งเสริมการยอมรับ และเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง รวมทั้ง ติดตาม ภาวะที่ต้องการความช่วยเหลือ ได้แก่ เสียใจ ซึมเศร้า ปฏิเสธ ความจริง ทำร้ายตนเอง ( suicide) ยอมรับความจริง 1.3 การปรับเปลี่ยนมุมมอง การดึงศักยภาพ และคุณค่าในตัวเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มีต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม 1.4 ประสาน ส่งต่อให้การช่วยเหลือด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ 2. การเสริมสร้างความหวังของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยเพื่อช่วยเพื่อน โดยหาแนวทางสร้างความหวังให้กับตนเอง อย่างมีเป้าหมาย 3. การเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ดึงจุดเด่น จุดดี ของผู้ป่วยเอชไอวี เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ เห็นศักยภาพ และมีคุณค่าในตนเอง เช่น เป็นพ่อที่ดี ลูกที่ดี หัวหน้าครอบครัวที่ดี เป็นต้น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของชีวิต 4 การสนับสนุนทางสังคม ให้ข้อมูลข่าวสาร เอกสารแผ่นพับ รายละเอียด องค์กร หน่วยงานต่างๆ เบอร์ โทรศัพท์ เช่น พมจ. อปท. องค์กรสาธารณะประโยชน์ อื่นๆ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยเอชไอวี จัดเตรียมเอกสาร หลักฐาน ได้อย่างครบถ้วน Tip Box : วิธีการสร้างกำลังใจ 1. รักตัวเองให้เป็น 2. มีความภูมิใจในตัวเอง 3. มองด้านดีของชีวิต 4. เวลาที่ท้อแท้ให้รื้อกล่องความสุข 5.ใช้ธรรมะประดับใจ
7
หัวข้อที่ 6) สิทธิและสิทธิประโยชน์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ด้านหน้า)
หัวข้อที่ 6) สิทธิและสิทธิประโยชน์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ด้านหน้า) สิทธิการรักษาและสิทธิมนุษยชน (รูปภาพที่มีรูปแพทย์ พยาบาล คนไข้ เป็นรูปการ์ตูน) 1.1 สิทธิด้านการรักษา ประกอบด้วย สิทธิหลักประกันสุขภาพ สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการข้าราชการ และ สิทธิแรงงานข้ามชาติ 1.2 สิทธิมนุษยชน ควรคำนึงถึง การรักษาความลับ การยอมรับฟังข้อคิดเห็น / ไม่ตัดสิน ความเท่าเทียมกันทางเพศ / ตระหนักในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ การไม่เลือกปฏิบัติ และทำให้รู้สึกแตกต่าง (Stigma discrimination) รวมทั้ง สิทธิในการศึกษา ประกอบอาชีพ 2. หน้าที่ บทบาทหน้าที่ของผู้ป่วย HIV/AIDS Tip Box : สิทธิการรักษา “ผู้มีเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ทุกคนสามารถได้รับการดูแลตั้งแต่การตรวจจนถึงการรักษาตามสิทธิ์ประกันสุขภาพของแต่ละคน” “ ผู้มีเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสาร บริการทางการแพทย์และสังคม และสามารถตัดสินใจเลือกรับบริการได้ด้วยตนเอง” “ผู้มีเชื้อเอชไอวีได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การรักษาความลับ ความเป็นส่วนตัว รวมทั้งการทำงานและการประกอบอาชีพ” “ผู้มีเชื้อเอชไอวีมีสิทธิในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง โดยมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อตนเองและผู้อื่น” “ย้ายสิทธิเปลี่ยนสิทธิ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบก่อนทุกครั้ง”
8
หัวข้อที่ 6) สิทธิ (ด้านหลัง)
หัวข้อที่ 6) สิทธิ (ด้านหลัง) สิทธิการรักษา: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ใช้สิทธิการรักษาตามระบบประกันสุขภาพที่ตนเองมี ณ ปัจจุบัน ตามชุดสิทธิประโยชน์ 1. การให้บริการปรึกษาและคัดกรองหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจ ปีละ 2 ครั้ง 2. การคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีในทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี 3. การรักษาด้วยยาต้านไวรัสในเด็กและผู้ใหญ่ 4. การรักษาไขมันในเลือดสูงอันเนื่องมาจากการรับประทานยาต้านไวรัส 5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อติดตามการรักษาและการตรวจพื้นฐานต่างๆ กรณีไม่ได้รับทราบข้อมูลหรือต้องการหารายละเอียดเพิ่มเติมสามารถโทรสายด่วน สปสช สำนักงานประสังคม กลุ่มประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว , หรือ แจ้งกลุ่มงานเวชกรมสังคม หรืองานประกันสุขภาพของโรงพยาบาล สิทธิมนุษยชน สิทธิการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ภายใต้รัฐธรรมนูญ สิทธิการทำงานและการประกอบอาชีพไม่บังคับตรวจเอชไอวี และไม่นำผลการตรวจมาเป็นเหตุผลในการเลิกจ้าง และนายจ้างควรส่งเสริมให้ผู้มีเชื้อมีโอกาสก้าวหน้า อยู่ร่วมกันได้ในสถานที่ทำงาน โดยมีมาตรการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงาน (แนวปฏิบัติแห่งชาติด้วยการบริหารจัดการดูแลป้องกันเอดส์แห่งชาติ) >> ดูชื่อหนังสืออีกครั้ง
9
หัวข้อที่ 6 สิทธิการรักษา (ด้านหลัง)
หัวข้อที่ 6 สิทธิการรักษา (ด้านหลัง) บทบาทหน้าที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 1. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีหน้าที่ในการให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นจริง และครบถ้วน แก่ผู้ดูแลด้านสุขภาพในกระบวนการรักษาพยาบาล 2. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีหน้าที่แจ้งสิทธิการรักษาพร้อมหลักฐานที่ตนมี ให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องทราบ 3. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีหน้าที่รับทราบทำความเข้าใจ ข้อมูล ข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ว่าการแพทย์ ไม่สามารถให้การรักษาให้หายได้ทุกโรค /ทุกสภาวะ เพราะว่าการรักษาพยาบาลทุกชนิดมีโอกาสะเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ได้ Tip Box กรณีเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ให้ปฏิบัติตามแนวของแพทยสภา (ปี 57)โรงพยาบาล สถานพยาบาลสุขภาพ ควรมีใบยินยอมเพื่อให้ผู้ป่วยลงนาม กรณีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ต้องการเริ่มยาต้านไวรัสรักษา ควรให้ผู้ป่วยลงนาม กรณีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ต้องการยุติการรักษาและปฏิเสธการรักษา ควรให้ผู้ป่วยลงนามยุติการรักษา
10
Lay out สิทธิ (อย่าลืมเปลี่ยน wording จาก bank เป็น โรงพยาบาล และ เปลี่ยน ตัวอักษรตรงเสื้อคนสีฟ้า ด้วยค่ะ)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.