งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจนครบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจนครบาล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจนครบาล
( ศอ.ปส.น. )

2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล
รองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจตรีอิทธิพล พิริยะภิญโญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

3 ชนิดยาที่พบว่ามีการแพร่ระบาด ของการใช้ยาในทางที่ผิด
ลำดับ ชื่อการค้า ชื่อสามัญ ใช้บรรเทาอาการ ลักษณะ 1 Procodyl Promethazine [hydrochloride] แพ้ต่างๆ น้ำเชื่อม 2 Tramadol Tramadol [hydrochloride] ปวดปานกลาง/รุนแรง แคปซูล 3 Dextropac Dextromethorphan ไอ เม็ดสีเหลือง 4 Dimetapp Brompheniramine [maleate] Phenylephrine [hydrochloride] คัดจมูกหรือแพ้ 5 Asiatapp 6 Ceza syrup Cetirizine [hydrochloride] สำรวจเมื่อ 30 กันยายน 2556 กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

4 ชนิดยาที่พบว่ามีการแพร่ระบาด ของการใช้ยาในทางที่ผิด
ยาแก้แพ้ยี่ห้อโพโคดิล (procodyl®syrup) ประกอบด้วยตัวยาสำคัญคือ promethazine hydrochloride มีข้อบ่งใช้คือ บรรเทาอาการแพ้ ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะมีฤทธิ์ทำให้ง่วงมาก จึงอาจนำมาใช้ช่วยให้นอนหลับ ใช้ป้องกันอาการคลื่นไส้ ยาในกลุ่มนี้อาจกดการหายใจ และทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวลดลง ลักษณะเป็นยาน้ำเชื่อมใส สีน้ำตาล รสหวาน ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด บรรจุขนาด 100 ซีซี ขนาดรับประทาน 5 มก./5 มล จัดเป็นยาอันตราย ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 “ยาอันตราย” หมายถึง ยาที่ต้องขายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันภายใต้การควบคุมของเภสัชกรผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลการจัดจำหน่าย โดย “ยาอันตราย” ที่จำหน่ายในร้านขายยา ต้องจำหน่ายทั้งแผงหรือทั้งขวด โดยไม่แบ่งออกมาจากภาชนะบรรจุเดิม มีข้อควรระวังคือ ต้องใช้ยาในปริมาณและในวิธีการบริโภคตามที่ระบุไว้บนฉลากยา หรือตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

5 ชนิดยาที่พบว่ามีการแพร่ระบาด ของการใช้ยาในทางที่ผิด
ยาทรามาดอล (Tramadol hydrochloride) จัดเป็นยาอันตรายมีสรรพคุณสำหรับรักษาอาการปวดระดับปานกลาง ถึงระดับรุนแรงรุนแรง โดยมีทั้งแบบฉีดและแบบกิน มีประสิทธิภาพในการบรรเทาปวดได้ดีเทียบเท่ามอร์ฟีนสำหรับอาการปวดระดับต่ำถึง ปานกลาง จะใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรงเท่านั้นเพราะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูงโดยจะมี อาการคลื่นไส้อาเจียนมึนงงเหงื่อออก คัน และท้องผูก อาจพบว่ามีอาการซึมได้บ้าง การได้รับยาเกินขนาด จะทำให้เกิดภาวะอื่นๆ ตามมา เช่นรูม่านตาหด ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ชักและระบบหายใจทำงานช้าลงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และพบว่ามีอาการขาดยา เช่นมีระบบประสาทตื่นตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้คล้ายกับกินยากระตุ้นประสาท กล้ามเนื้อหดเกร็งขาสั่นต้องเคลื่นไหวตลอดเวลามีความวิตกกังวล ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้มึนงง จัดเป็นยาอันตราย ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

6 ชนิดยาที่พบว่ามีการแพร่ระบาด ของการใช้ยาในทางที่ผิด
ยาเด็กซ์โต (dexto) มีชื่อสามัญทางยาว่า dextromethorphan เป็นยาลดอาการไอที่แพทย์นิยมสั่งให้ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด และมีอาการไอร่วมด้วย dextromethorphan ในปริมาณที่แพทย์สั่งจ่าย จัดเป็นยาที่มีความปลอดภัย สามารถกดอาการไออย่างได้ผล และมีผลข้างเคียงน้อย แต่ถ้าได้รับยาในปริมาณสูง สามารถก่อให้เกิดอาการเคลิ้มเป็นสุขได้ แต่ผู้ที่ใช้ในทางที่ผิด มักใช้ในปริมาณที่สูง โดยมักใช้มากกว่า 360 มก. ซึ่งจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน จัดเป็นยาอันตราย ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ. 2510 พิษเฉียบพลันจากการได้รับ dextromethorphan เกินขนาด ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ง่วงงุน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน พูดไม่ชัด ม่านตาขยาย เคลิบเคลิ้ม หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะไม่ออก มึนงง ประสาทหลอน กระวนกระวาย สั่น ชัก ปวดศีรษะ เซลสมองถูกทำลายถาวร หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

7 พบว่ามีการใช้ ในกลุ่มนักเรียน ในสถานศึกษา 60 แห่ง ในพื้นที่ 50 เขต
สถิติการใช้ยาของกลุ่มนักเรียนในสถานศึกษา พบว่ามีการใช้ ในกลุ่มนักเรียน ในสถานศึกษา 60 แห่ง ในพื้นที่ 50 เขต กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

8 ลักษณะการใช้ยาในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชน
การใช้ยาแก้ปวด Tramadol เป็นตัวยาหลัก Tramadol 50 มก. : แค็ปซูล 16 – 22 ออนซ์ 1 – 5 แค็ปซูล 1 ขวด กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

9 ลักษณะการใช้ยาในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชน
การใช้ยาแก้ปวด Tramadol เป็นตัวยาหลัก Tramadol 50 มก. : แค็ปซูล Procodyl 100 ซีซี. : ขวด 16 – 22 ออนซ์ 10 – 30 แค็ปซูล 1 – 3 ฝา 1 ขวด กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

10 ลักษณะการใช้ยาในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชน
การใช้ยาแก้ปวด Tramadol เป็นตัวยาหลัก ยาแก้แพ้ 100 ซีซี. : ขวด Tramadol 50 มก. : แค็ปซูล 16 – 22 ออนซ์ 10 – 30 แค็ปซูล 1 ขวด 1 – 3 ฝา กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

11 ลักษณะการใช้ยาในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชน
การใช้ยาแก้แพ้ Procodyl เป็นตัวยาหลัก Procodyl 100 ซีซี. : ขวด ยาแก้ไอ 50 มก. : เม็ด 16 – 22 ออนซ์ 1 – 3 ฝา 5 – 10 เม็ด 1 ขวด กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

12 ยาแก้ไอ/โซแลม 50 มก. : เม็ด
ลักษณะการใช้ยาในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชน การใช้ยาแก้แพ้ Procodyl เป็นตัวยาหลัก Procodyl 100 ซีซี. : ขวด ยาแก้ไอ/โซแลม 50 มก. : เม็ด 16 – 22 ออนซ์ 1 – 3 ฝา 5 – 10 เม็ด 1 ขวด กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

13 ลักษณะการใช้ยาในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชน
การใช้ยาแก้ไอ Dextro เป็นตัวยาหลัก ยาแก้ไอ 50 มก. : เม็ด 16 – 22 ออนซ์ 10 – 30 เม็ด 1 ขวด กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

14 ลักษณะการใช้ยาในทางที่ผิดของเด็กและเยาวชน
การใช้ยาแก้แพ้เป็นตัวยาหลัก 100 ซีซี. : ขวด 16 – 22 ออนซ์ 1 ขวด น้ำกระท่อม 1 – 3 ฝา กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

15 กลไกการออกฤทธิ์เมื่อมีการนำยามาใช้ร่วมกัน
ตัวออกฤทธิ์หลักคือ Tramadol ออกฤทธิ์กดประสาท ยาแก้ไอ/ยาแก้แพ้ ออกฤทธิ์กดประสาท 2.1 เสริมฤทธิ์ Tramadol ทำให้ง่วง มึนงง เคลิบเคลิ้ม 2.2 แต่งกลิ่น รสชาติ เพราะมีส่วนผสมของน้ำเชื่อม มีรสหวาน มีกลิ่นผลไม้ 3. เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน/น้ำกระท่อม ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท 3.1 ต้านอาการง่วงซึมทำให้เกิดอาการครึ่งหลับครึ่งตื่น ทำให้สนุกสนานได้นานขึ้น 3.2 ความเป็นกรด/ด่างของเครื่องดื่ม ทำปฏิกิริยาให้ Tramadol แตกตัวละลายได้เร็วขึ้น การผสมกับ Procodyl ให้ผลต่างจากการใช้กับยาแก้ไอ/ยาแก้แพ้อื่นๆ เนื่องจาก Procodyl มีคุณสมบัติแก้อาเจียนซึ่งจะต้านอาการข้างเคียงจากการกิน Tramamdol ในปริมาณมากๆ การผสมกับยาแก้ไอ/ยาแก้แพ้ ที่มีฤทธิ์กดประสาทเหมือนกัน ผลที่เกิดขึ้นคืออาการหลับ ตัวยาที่จะส่งผลต่อผู้ใช้ คือ Tramadol ถ้าใช้ในปริมาณมาก/เกินขนาf อาจเกิดอาการชัก หัวใจหยุดเต้น ถึงขั้นเสียชีวิตได้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

16 มาตรการแก้ไขปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด กองบัญชาการตำรวจนครบาล
มาตรการด้านการป้องกัน ให้ทุก สน. กำชับข้าราชการตำรวจฝ่ายป้องกันปราบปราม และฝ่ายสืบสวน เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจพื้นที่ ไม่ให้มีสถานที่มั่วสุมของเยาวชนและเด็กนักเรียน หากพบมีการจับกุมมั่วสุม ให้ทำการตรวจสอบและแจ้งให้ผู้ปกครอง หรือสถานศึกษาต้นสังกัดทราบทันที มาตรการด้านการปราบปราม ให้ทุก สน. สืบสวนหาข้อมูลร้านขายยาที่มีพฤติกรรมลักลอบจำหน่ายยาให้เยาวชนและเด็กนักเรียนเพื่อนำใช้ในทางที่ผิด มาตรการด้านบูรณาการแก้ไขปัญหา ให้ทุก สน. เชิญเจ้าของหรือผู้ประกอบการร้านขายยาในพื้นที่รับผิดชอบประชุมเพื่อกำหนดแนวทางร่วมกันในการป้องกันแก้ไขปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดของเยาวชนและเด็กนักเรียน กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

17 การจับกุมร้านขายยาที่ลักลอบจำหน่ายยา ให้กับเยาวชนและเด็กนักเรียน
เมื่อวันที่ 23 เม.ย.58 สน.ร่มเกล้า ร่วมกับ กก.ดส., เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข (อย.) และเจ้าหน้าที่ทหาร ป.พัน.12 รอ. จับกุมร้านขายยาในพื้นที่ สน.ร่มเกล้า ร้านเลิศเภสัช 320/51 ถนนเคหะร่มเกล้า แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพ ความผิด ตาม พรบ.ยา พ.ศ ข้อหา ร่วมกันขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ (มาตรา 32 พรบ.ยา 2510) ปรับ 1,000 – 5,000 บาท ร่วมกันขายยาแผนปัจจุบันนอกเวลาทำการ (มาตรา 26(7) พรบ.ยา 2510) ปรับ 2,000 – 10,000 บาท ร่วมกันไม่จัดทำบัญชียาที่ซื้อและขายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (มาตรา 26(6) พรบ.ยา 2510) ปรับ 2,000 – 10,000 บาท ร่วมกันขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา (มาตรา72(4) พรบ.ยา 2510) จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 23 เม.ย.58 สน.ร่มเกล้า ร่วมกับ กก.ดส., เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข (อย.) และเจ้าหน้าที่ทหาร ป.พัน.12 รอ. จับกุมร้านขายยาในพื้นที่ สน.ร่มเกล้า ร้านบ้านคลังยา 79/114 ถนนเคหะร่มเกล้า แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพ ความผิด ตาม พรบ.ยา พ.ศ ข้อหา ขายยาอันตรายในระหว่างที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ (มาตรา 32 พรบ.ยา 2510) ปรับ 1,000 – 5,000 บาท ขายยาแผนปัจจุบันนอกเวลาทำการ (มาตรา 26(7) พรบ.ยา 2510) ปรับ 2,000 – 10,000 บาท ไม่จัดทำบัญชียาที่ซื้อและขายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (มาตรา 26(6) พรบ.ยา 2510) ปรับ 2,000 – 10,000 บาท ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา (มาตรา72(4) พรบ.ยา 2510) จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU

18 การจับกุมร้านขายยาที่ลักลอบจำหน่ายยา ให้กับเยาวชนและเด็กนักเรียน
เมื่อวันที่ 18 พ.ค.58 สน.ดอนเมือง ร่วมกับ กก.ดส.บช.น. ,เจ้าหน้าที่ ปปส. และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข(อย.) จับกุมร้านขายยาในพื้นที่ สน.ดอนเมือง ร้านบ้านยาสาวน้อย 7/13 ถนนเชิดวุฒกาศ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพ ข้อหา มีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 (อัลปราโซแลม) ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย (จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท) ขายยาไม่มีเลขที่ทะเบียนตำรับยา (จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท) ขายยาชุด (จำคุกไม่เกิดน 5 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท) ขายยาปัจจุบันนอกเวลาทำการ (ปรับ 2,000 – 10,000 บาท) ไม่จัดทำบัญชียาที่ซื้อและขายตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (ปรับ 2,000 – 10,000 บาท) เมื่อวันที่ 18 พ.ค.58 สน.ดอนเมือง ร่วมกับ, เจ้าหน้าที่ ปปส. และเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข (อย.) จับกุมร้านขายยาในพื้นที่ สน.ดอนเมือง ร้านบ้านยาสาวน้อย 11/135 ซ.ช่างอากาศอุทิศ ถ.เชิดวุฒกาศ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพ ข้อหา ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต (จำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท) กองบัญชาการตำรวจนครบาล METROPOLITAN POLICE BUREAU


ดาวน์โหลด ppt ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจนครบาล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google