ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis ควบคุมโรคพืช
1. แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1 2. แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24
2
1.ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1 ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้า สาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola
3
โรคใบจุด คะน้า เกิดได้ทุกส่วนของพืช
เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้าจน เก็บผลผลิต มีผลต่อการผลิตผักสด/ เมล็ดพันธุ์ ผลผลิตลดลง /ไม่ได้ คุณภาพ เกษตรกรใช้สารป้องกัน กำจัดเชื้อราสูง 3
4
ชีวภัณฑ์: Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1
ประโยชน์ : ผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis (Bs) เป็นผลิตภัณฑ์ผง Bs สายพันธุ์ 20W1 มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคใบจุดสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola ในพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น คะน้า และผักกาดขาวปลี
5
ชีวภัณฑ์ : Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1
วิธีการใช้และอัตราใช้ : ใช้ผลิตภัณฑ์ Bs อัตรา กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อเริ่ม พบการระบาดของโรค หลังจากนั้น พ่นอีกทุก 7 วัน เป็นจำนวน 3 ครั้ง
6
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2.ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24 ในการควบคุมโรคเหี่ยวสาเหตุจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
7
โรคเหี่ยวที่เกิดจาก แบคทีเรีย
โรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรียเป็นโรคที่สำคัญของพืชในตระกูลมะเขือได้แก่ มะเขือเทศ พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว มันฝรั่ง และพืชตระกูลขิงได้แก่ ขิง ปทุมมา ขมิ้น ไพล การป้องกันกำจัดโรคนี้ทำได้ยากเนื่องจากแบคทีเรียสาเหตุโรคสามารถมีชีวิตอยู่ในดินเป็นเวลานานและมีพืชอาศัยกว้าง ไม่มีสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรค การใช้ชีววิธีควบคุมโรคเหี่ยวมีความเป็นไปได้สูง และเป็นที่ยอมรับอย่างมาก การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่ช่วยลดปัญหาการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ไม่ถูกต้อง 7
8
โรคเหี่ยวในมะเขือเปราะ โรคเหี่ยวในมะเขือเทศ
9
โรคเหี่ยวในขิง โรคเหี่ยวในพริก
10
การตรวจสอบว่าเป็นโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย
ตัดโคนต้นเหนือราก นำไปแช่ในน้ำทิ้งไว้ 15 นาทีจะเห็นสายชองแบคทีเรียสีขาวไหลออกมา
11
ชีวภัณฑ์ : Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24
ประโยชน์ : ผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis (Bs) เป็นผลิตภัณฑ์ผง Bs สายพันธุ์ BS-DOA 24 มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวสาเหตุจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในพืชตระกูลมะเขือเช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาว มันฝรั่ง และ พืชตระกูลขิงได้แก่ ขิง ปทุมมา ขมิ้น ไพล
12
ชีวภัณฑ์ : Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 24
วิธีการใช้และอัตราใช้ : แช่หัวพันธุ์หรือเมล็ด : นำหัวพันธุ์หรือ เมล็ดแช่ในสารละลาย ชีวภัณฑ์BS สายพันธุ์ BS-DOA 24 จำนวน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก แปลงปลูก : หลังปลูกแล้วให้รดด้วย สารละลาย ชีวภัณฑ์BS สายพันธุ์ BS-DOA 24 อัตราส่วน 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วแปลงทุก 30 วันเพื่อ เป็นการป้องกันการเกิดโรคเหี่ยว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.