ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMyrtle Shepherd ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (Indicators of Good Governance)
ดร.ปกครอง มณีโรจน์
2
หัวข้อบรรยาย 1. วิวัฒนาการของธรรมาภิบาล 2. องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
3. United Nations Development Programme (UNDP) 4. งานศึกษาเกี่ยวกับธรรมาภิบาล 5. ธรรมาภิบาลในประเทศไทยและต่างประเทศ 6. ธรรมาภิบาลในประเทศไทย 7. กรอบตัวชี้วัดธรรมาภิบาล 8. เปรียบเทียบการแบ่งองค์ประกอบธรรมาภิบาลขององค์กรต่าง ๆ 9. กลไกในการสร้างธรรมาภิบาล 10. การสร้างตัวชี้วัดธรรมาภิบาล 11.สรุป
3
วิวัฒนาการของธรรมาภิบาล
อภิบาล เป็นแนวคิดการปกครองที่มีมาแต่โบราณกาล นับแต่สมัย เพลโต (Plato) และ อริสโตเติล (Aristotle) รูปแบบอภิบาลที่ดีเกิดขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อค้นหา รูปแบบการปกครองที่สามารถนำประเทศไปสู่การปกครองแบบ ประชาธิปไตยตะวันตกของประเทศที่เพิ่งได้รับการปลดปล่อยจาก อาณานิคม ในช่วงต้น พ.ศ ธนาคารโลก (World Bank) และ กองทุน นานาชาติ ได้เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนและพัฒนาแนวคิด เกี่ยวกับการปกครองที่ดี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “Good Governance” หรือ “ธรรมาภิบาล”
4
วิวัฒนาการของธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล เป็นแนวคิดที่ใช้ในสาขารัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ โดยเป็น คำที่อยู่รวมกับ กลุ่มคำประชาธิปไตย ประชาสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน ธรรมาภิบาลกับคำเรียกใช้ ธรรมาภิบาล ธรรมรัฐ สุประศาสนการ ธรรมราษฎร์ การกำกับดูแลที่ดี ประชารัฐ รัฐาภิบาล การปกครองที่ดี การบริหารกิจการ บ้านเมืองและสังคมที่ดี Good Governance
5
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ (ยกเลิกแล้ว) หลักสำคัญของธรร มาภิบาล 6 หลัก คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลัก ความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า กระทรวงมหาดไทย มี 11 องค์-ประกอบคือ 1 การมีส่วนร่วม 2 ความยั่งยืน 3 สิ่งที่ชอบธรรม 4 ความโปร่งใส 5 ความเป็นธรรมและความเสมอภาค 6 ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ 7 ความเสมอภาคทางเพศ 8 ความอดทนอดกลั้น 9 หลักนิติธรรม 10 ความรับผิดชอบ และ 11 การเป็นผู้กำกับดูแล
6
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
1. การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นการมีส่วนร่วมของทั้งประชาชนและ เจ้าหน้าที่รัฐในการบริหารงาน เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มและพลังการทำงานที่สอด ประสานกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายในการให้บริการประชาชน 2. ความยั่งยืน (Sustainability) มีการบริหารงานที่อยู่บนหลักการของความ สมดุลทั้งในเมืองและชนบท ระบบนิเวศ และทรัพยากรธรรมชาติ 3. ประชาชนมีความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรม (Legitimacy) และให้การยอมรับ (Acceptance)การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานสอดคล้องกับความต้องการของ ประชาชน ประชาชนพร้อมที่จะยอมสูญเสียประโยชน์ส่วนตนไปเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
7
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
4. มีความโปร่งใส (Transparency) ข้อมูลต่าง ๆ ต้องตรงกับข้อเท็จจริงของการ ดำเนินการและสามารถตรวจสอบได้ มีการดำเนินการที่เปิดเผยชัดเจนและเป็นไป ตามที่กำหนดไว้ 5. ส่งเสริมความเป็นธรรม (Equity) และความเสมอภาค (Equality) มีการ กระจายการพัฒนาอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ และมีระบบการรับ เรื่องราวร้องทุกข์ที่ชัดเจน 6. มีความสามารถที่จะพัฒนาทรัพยากรและวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดีเจ้าหน้าที่ของทุกหน่วยงานจะต้องได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ และมีการกำหนดขั้นตอนการ ดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้ทุกหน่วยงานยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน
8
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
7. ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ (Promoting Gender Balance) เปิดโอกาสให้สตรีทั้งในเมืองและชนบทเข้ามามีส่วนร่วมในการ พัฒนาชุมชนและสังคมในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เข้ามามี ส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นมากขึ้น 8. การอดทนอดกลั้น (Tolerance) และ การยอมรับ (Acceptance) ต่อทัศนะที่หลากหลาย(Diverse Perspectives) รวมทั้งต้องยุติข้อ ขัดแย้งด้วยเหตุผล หาจุดร่วมที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันได้ 9. การดำเนินการตามหลักนิติธรรม (Operating by Rule of Law) พัฒนา ปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความทันสมัยและ เป็นธรรม
9
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
10. ความรับผิดชอบ (Accountability) เจ้าหน้าที่จะต้องมีความ รับผิดชอบต่อประชาชนความพึงพอใจของประชาชนต่อการ ปฏิบัติงานจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินความสำเร็จของ หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ 11. การเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) แทนการควบคุม โอนงาน บางอย่างไปให้องค์กรท้องถิ่นซึ่งใกล้ชิดกับประชาชนที่สุด หรือ งานบางอย่างก็ต้องแปรรูปให้เอกชนดำเนินการแทน
10
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หลักการสำคัญ 6 ประการคือ หลักนิติธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ ความคุ้มค่า การมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม องค์ประกอบของสำนักงาน ก.พ. เน้นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และการให้บริการของรัฐ
11
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
หลักนิติธรรม กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีความเป็นธรรม สามารถปกป้องคนดี และลงโทษคนไม่ดีได้ มีการปฏิรูปกฎหมายอย่างสม่ำเสมอให้เหมาะกับสภาพการณ์ที่ เปลี่ยนไป การดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ และได้รับการยอมรับจากประชาชน ประชาชนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ของตนเอง เข้าใจกฏเกณฑ์ ต่าง ๆ และมีส่วนร่วมในกรณีต่าง ๆ
12
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
หลักความโปร่งใส การสำรวจความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการของรัฐและเจ้าหน้าที่ของ ส่วนราชการ จำนวนเรื่องกล่าวหา ร้องเรียน หรือสอบสวนเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจของส่วนราชการมีความชัดเจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนราชการมีตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมและเปิดเผยต่อ สาธารณะ
13
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
หลักความรับผิดชอบ การได้รับการยอมรับและความพอใจจากผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง การบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ของงานที่ปฏิบัติ คุณภาพของงานทั้งด้านปริมาณ ความถูกต้อง ครบถ้วน รวมทั้งจำนวนความ ผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และจำนวนการร้องเรียนหรือการกล่าวหาที่ ได้รับ หลักความคุ้มค่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
14
องค์ประกอบของธรรมาภิบาล
หลักการมีส่วนร่วม ความสัมฤทธิ์ผลของโครงการต่าง ๆ รวมถึงการประหยัดงบประมาณ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ได้รับผลกระทบ จำนวนผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหรือจำนวนข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นของประชาชนใน หลักคุณธรรม การดำเนินการเรื่องต่าง ๆ รวมถึงคุณภาพของการเข้ามามีส่วนร่วมการร้องเรียนหรือร้องทุกข์ ในการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในและนอกองค์กรลดลง คุณภาพชีวิตของคนในสังคมดีขึ้น มีการบริการจัดการและใช้ทรัพยากรในชาติอย่างเกิด ประโยชน์สูงสุด สังคมมีเสถียรภาพ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขด้วยความมีระเบียบวินัย
15
United Nations Development Programme (UNDP)
1. การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) ประชาชนทั้งชายและหญิงมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่าง เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมโดยตรงหรือทางอ้อมโดย ผ่านสถาบันต่าง ๆ ที่มีอำนาจอันชอบธรรม (legitimate intermediate institution) 2. กฎหมายที่ยุติธรรม (Rule of Law) การปกครองประเทศจะใช้ กฎหมายเป็นบรรทัดฐานและทุกคนเคารพกฎหมาย โดยที่กรอบ ของกฎหมายที่ใช้ในประเทศต้องมีความยุติธรรมและถูกบังคับใช้ กับคนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
16
United Nations Development Programme (UNDP)
3. ความเปิดเผยโปร่งใส (Transparency) กระบวนการทำงาน กฎเกณฑ์กติกาต่าง ๆ มีความเปิดเผยตรงไปตรงมา ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในสังคมสามารถถ่ายโอนได้อย่างเป็นอิสระ (free flow ofinformation) ประชาชนสามารถเข้าถึงและรับทราบข้อมูลหรือ ข่าวสารสาธารณะของทางราชการได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ 4. การมีฉันทานุมัติร่วมในสังคม (Consensus Orientation) การ ตัดสินใจดำเนินนโยบายใด ๆของภาครัฐ ต้องมีการประสานความ ต้องการหรือผลประโยชน์ที่แตกต่างของกลุ่มคนในสังคม ให้เกิดเป็น ความเห็นร่วมกัน (broad consensus) บนพื้นฐานของสิ่งที่เป็น ประโยชน์สูงสุดแก่สังคมโดยรวม
17
United Nations Development Programme (UNDP)
5. กลไกการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) กระบวนการเข้าสู่ อำนาจทางการเมืองมีความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม เช่น การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีคุณภาพการมีคณะรัฐมนตรีที่ ปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม การมีระบบราชการที่สุจริตโปร่งใส ตรวจสอบได้การมีกระบวนการเปิดเผยทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมือง การมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำ หน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่รัฐที่ร่ำรวยผิดปกติ 6. ความเสมอภาค (Equity) ประชาชนทุกคนมีความสามารถอย่างเท่าเทียม กันในการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ ในสังคม เช่น โอกาสพัฒนาหรือมีความเป็นอยู่ ที่ดี โดยรัฐเป็นผู้จัดสรรสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงบริการโดยเท่าเทียมกัน
18
United Nations Development Programme (UNDP)
7. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Effectiveness and Efficiency) กระบวนการ และสถาบันต่าง ๆ เช่น รัฐสามารถจัดสรร ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่าและ เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมโดยรวม รวมถึงการทำงาน ที่รวดเร็ว มีคุณภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 8. พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Accountability) การตัดสินใจใด ๆ ของ ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนต้องกระทำโดยมีพันธะความรับผิดชอบใน สิ่งที่ตนเองกระทำต่อสาธารณชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานนั้น โดย คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ส่วนรวมเป็นหลักและมีจิตใจเสียสละเห็นคุณค่า สังคมที่ตนเองสังกัดอยู่ 9. การมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Vision) การที่ผู้นำและประชาชนใน ประเทศมีวิสัยทัศน์ในการสร้างธรรมาภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
19
งานศึกษาเกี่ยวกับธรรมาภิบาล
1. แนวคิดธรรมาภิบาลและธรรมาภิบาลในภาครัฐ 2. ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน 3. ธรรมาภิบาลในภาคเอกชน 4. การปราบปรามคอร์รัปชั่น 5. ธรรมาภิบาลกับการพัฒนาเศรษฐกิจ 6. ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน 7. ธรรมาภิบาลเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม 8. หลักธรรมาภิบาลและหลักพระพุทธศาสนา 9. ธรรมาภิบาลกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
20
ธรรมาภิบาลในประเทศไทยและต่างประเทศ
ธรรมาภิบาลและการปฏิรูปองค์กรของรัฐในสหรัฐอเมริกา เริ่มปฏิรูปการบริหารภาครัฐครั้ง แรกช่วงปี พ.ศ ซึ่งอยู่ในสมัยของประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของทีมบริหาร ในสมัยของประธานาธิบดี Clinton (พ.ศ ) สหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้ง National PerformanceReview (NPR) -เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและ ประสิทธิผลขององค์กรของรัฐโดย 1) ให้ความสำคัญผู้มาใช้บริการหรือลูกค้าเป็นอันดับแรก 2) ลดความซับซ้อนและขั้นตอนการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ 3) สร้างความร่วมมือของพนักงานและทีมงาน(empowerment) 4) การลดความรุ่มร่ามของกฎระเบียบ
21
ธรรมาภิบาลในประเทศไทยและต่างประเทศ
ธรรมาภิบาลในประเทศฟิลิปปินส์ โดยจัดตั้งโครงการ Philippine Quality Award (PQA ) ในปี พ.ศ มาเป็นเครื่องมือนำไปสู่หลักธรรมาภิบาลของประเทศ ธรรมาภิบาลในประเทศอินโดนีเซีย การปราบปราม คอร์รัปชั่นในอินโดนีเซีย ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ และด้วยความช่วยเหลือและทุนสนับสนุนจาก นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นของ Asian Development Bank (ADB) ในปี พ.ศ. 2541
22
หลักธรรมาภิบาล ในประเทศไทย
GG&NPM 25/01/58 หลักธรรมาภิบาล ในประเทศไทย ดร เพ่ง บัวหอม
23
๒. หลักคุณธรรม ๑. หลักนิติธรรม ๔. หลักการมีส่วนร่วม ๖. หลักความคุ้มค่า
GG&NPM 25/01/58 ๑. หลักนิติธรรม ๒. หลักคุณธรรม ๔. หลักการมีส่วนร่วม ๕. หลักความรับผิดชอบ ๖. หลักความคุ้มค่า ดร เพ่ง บัวหอม
24
ภาพรวมการจัดการบริหารองค์กรที่ใช้หลักธรรมาภิบาล
GG&NPM 25/01/58 ภาพรวมการจัดการบริหารองค์กรที่ใช้หลักธรรมาภิบาล หลัก นิติธรรม หลัก ความคุ้มค่า งานด้าน ต่างๆ หลัก คุณธรรม งานด้าน ต่างๆ เป้าหมายของ องค์กร งานด้าน ต่างๆ งานด้าน ต่างๆ ความโปร่งใส หลัก ความรับผิดชอบ หลัก หลัก การมีส่วนร่วม ดร เพ่ง บัวหอม
25
ธรรมาภิบาลในประเทศไทย
ขณะนั้น (พ.ศ. 2523) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้นำ ระบบการทำแผนอัตรากำลัง 3 ปีมาใช้ เพื่อให้ส่วนราชการได้มองอนาคตใน งานที่รับผิดชอบ การปรับปรุงโครงสร้างและการจัดระบบงานให้ดีขึ้นให้มี ความคล่องตัวและลดความซ้ำซ้อน พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐบาลได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2532 นายชวน หลีกภัย ในช่วงปี พ.ศ รัฐบาลพยายามจำกัดการเพิ่ม จำนวนข้าราชการ และมีการส่งเสริมให้ข้าราชการเข้าร่วมโครงการเกษียณ ก่อนกำหนด ธรรมาภิบาลกับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540 หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา
26
ธรรมาภิบาลในประเทศไทย
หลักธรรมาภิบาลในองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หลักนิติธรรม การจัดทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับข้อบังคับต่าง ๆ ที่จะ มีผลบังคับใช้กับชุมชน ความโปร่งใส การจัดตั้งหน่วยการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความโปร่งใสของสมาชิก อบต. ความรับผิดชอบ การจัดทำข้อบังคับงบประมาณได้ครอบคลุม ปัญหาและกลุ่มเป้าหมายหรือไม่สมาชิก อบต. ขาดประชุมไม่เกิน ร้อยละ 20การจัดสรรงบประมาณตำบลมากกว่า 70% ของงบ พัฒนาให้แก่โครงการในแผนพัฒนาตำบล
27
ธรรมาภิบาลในประเทศไทย
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพิจารณาการใช้งบประมาณกับผลงานที่ได้ว่า คุ้มกับเงินที่ได้ใช้จ่ายไปหรือไม่ การมีส่วนร่วม ฝ่ายบริหาร อบต. ได้ใช้กลไกประชาพิจารณ์ในการตัดสินใจใน เรื่องสำคัญ ๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนตำบลหรือไม่ เมื่อมีข้อขัดแย้ง ระหว่างเจ้าหน้าที่ของ อบต. และประชาชน ได้มีการจัดเวทีเพื่อไต่สวนสาธารณะ ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร อบต. ควรจัดให้มีการลงประชามติของประชาชนใน โครงการที่ไม่สามารถหาฉันทามติได้การให้ประชาชนเข้าร่วมฟังการประชุมของ สภา อบต. ได้ ซึ่งมีการระบุไว้ในบันทึกของมหาดไทยถึง อบต.ของประชาชน การให้ประชาชนมีส่วนในการวางแผนและจัดทำแผนพัฒนาตำบลเพื่อทำข้อบังคับ งบประมาณประจำปีของ อบต. โดยนำแผนที่จัดทำแล้วมาทำประชาพิจารณ์ตาม หนังสือสั่งการของมหาดไทยปี พ.ศ.2541 กรอบคุณธรรม คณะผู้บริหาร อบต. ถูกฟ้องร้องหรือร้องเรียนเรื่องทุจริตหรือไม่ มีการให้บริการประชาชนอย่างเสมอภาคหรือไม่ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีต้อง จัดเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 80%
28
กรอบตัวชี้วัดธรรมาภิบาล
ความชอบธรรม (Legitimacy) หมายรวมถึง หลักนิติธรรม (Rule of Law) และ ความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรม (Independence of Judiciary) ตัวชี้วัด การยึดถือหลักและปฎิบัติตามแนวของกฎหมายอย่างถูกต้อง และรัดกุม การป้องกันและปราบปรามการใช้เงินไปในทางมิชอบ กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีความเป็นธรรม สามารถปกป้องคนดีและลงโทษคนไม่ดีได้ การดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมเและ ได้รับการยอมรับจากประชาชน ผลการชี้วัด จำนวนคดีที่มีการจับตัวผู้ต้องหาผิดตัวมาดำเนินคดี จำนวนคดีที่มีการร้องขอให้ตรวจสอบเรื่องการฟอกเงิน อัตราส่วนของจำนวนคดีที่เกิดขึ้นต่อจำนวนคดีที่มีการดำเนินคดีจนถึงที่สุด ผลการสำรวจความพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานของตุลาการ
29
กรอบตัวชี้วัดธรรมาภิบาล
หลักความชอบธรรม กรอบตัวชี้วัดธรรมาภิบาล ตัวชี้วัด ตัวอย่างตัวชี้วัด ประชาชนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ ของตนเอง เข้าใจกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และมีส่วน ร่วมในกรณีต่าง ๆ โอกาสและสิทธิทางการศึกษา จำนวนผู้ค้าสินค้าและบริการ วาระการดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองและการบริหาร สิทธิทางการเมือง ทัศนคติในเรื่องบทบาทและความสำคัญของประชาชนในสังคม จำนวนและที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ/เอกชนในภูมิภาค จำนวนนักศึกษาที่มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สัดส่วนผู้จบการศึกษาภาคบังคับ จำนวนห้องสมุดประชาชน อัตราการรู้หนังสือของประชาชน ราคาสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับคุณภาพ การผูกขาดในการขายสินค้าและบริการ โอกาสในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ วาระการทำงานที่ชัดเจนของผู้บริหารระดับต่าง ๆ การแสดงออกถึงการมีเสรีภาพของประชาชน
30
ความโปร่งใส
31
ความรับผิดชอบและการตรวจสอบได้ (Accountability) การตัดสินใจใด ๆ ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต้องกระทำโดยมีพันธะความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองกระทำกับสาธารณชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
32
ความรับผิดชอบและการตรวจสอบได้
33
ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) กระบวนการและสถาบันของรัฐสามารถจัดสรรและใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมโดยรวมรวมถึงการทำงานที่รวดเร็ว มีคุณภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
34
ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
35
การมีส่วนร่วม (Participation
36
การมีส่วนร่วม (Participation
37
เปรียบเทียบการแบ่งองค์ประกอบธรรมาภิบาลขององค์กรต่าง ๆ
สำนักนายกรัฐมนตรี/ก.พ. กระทรวงมหาดไทย UNDP หลักนิติธรรม การดำเนินการตามหลักนิติธรรม กฎหมายที่ยุติธรรม กลไกการเมืองที่ชอบธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส มีความโปร่งใส ความเปิดเผยโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของประชาชน หลักความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบ พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม หลักความคุ้มค่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความยั่งยืน ส่งเสริมความเป็นธรรมและความเสมอภาค ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ ความเสมอภาค มีความสามารถที่จะพัฒนาทรัพยากรและวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองและสังคมที่ดี การอดทนอดกลั้นและการยอมรับ ประชาชนมีความรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรมและให้การยอมรับ การเป็นผู้กำกับดูแล การมีฉันทานุมัติร่วมทางสังคม การมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์
38
ธรรมาภิบาล อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. ธรรมาภิบาลอำนาจนิยม เป็นการมองธรรมาภิบาลของฝ่าย ราชการ ได้แก่กองทัพ ฝ่ายปกครอง และกลุ่มราชการ กลุ่มนี้มอง ว่ารัฐเป็นเจ้าของธรรมาภิบาล อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่สถาบันซึ่งเป็น กลไกของรัฐ ดังนั้นการสร้างธรรมาภิบาลคือการใช้รัฐธรรมนูญเป็นกลไกสร้าง การบริหารบ้านเมืองที่ดี มีการปฏิรูประบบราชการ ลดจำนวน ข้าราชการ สร้างความโปร่งในในการบริหารราชการ จัดระบบ ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบ
39
ธรรมาภิบาล อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
2. ธรรมาภิบาลเสรีนิยม เป็นแนวคิดของกลุ่มธุรกิจ นักจัดการด้าน ธุรกิจที่ต้องการจะเห็นการเปิดเสรีทาง เศรษฐกิจ มีสังคมที่ประนีประนอมในการขจัดความขัดแย้ง ไม่ใช้ ความรุนแรงในการแก้ปัญหา โดยกฎเกณฑ์ของ สังคมต้องได้รับการเคารพ ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ อำนาจรัฐ การทำงานของรัฐต้องมีความโปร่งใส และรับผิดชอบ
40
ธรรมาภิบาล อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
3. ธรรมาภิบาลชุมชนนิยม เป็นแนวทางที่สนับสนุนการกระจาย อำนาจ สร้างความเข้มแข็งให้ภาค ประชาสังคม และประชาชน ให้สามารถตรวจสอบรัฐและเอกชน ได้ กลุ่มนี้จะเน้นความร่วมมือของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ในภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม ทั้งในระดับชาติ และระดับ ชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งพิจารณาธรรมาภิบาลสัมพันธ์กับ ประชาธิปไตย
41
กลไกในการสร้างธรรมาภิบาล
1. สังคมต้องสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้อง ทันการณ์ และ ครบสมบูรณ์ 2. สังคมต้องมีความโปร่งใส 3. สังคมต้องสร้างกลไกความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ 4. สังคมต้องมีสื่อที่เป็นอิสระ และ 5. สังคมต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
42
การสร้างตัวชี้วัดธรรมาภิบาล
1. ต้องมีความเหมาะสมกับลักษณะงานของแต่ละหน่วยงาน 2. ต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้ และมีความโปร่งใสในตัวชี้วัดเอง 3. ต้องมีคุณภาพและความแม่นยำของตัวชี้วัดและกรอบตัวชี้วัด 4. ต้องมีข้อมูลที่สนับสนุนการได้มาซึ่งตัวชี้วัด 5. ต้องสามารถระบุผลที่จะได้รับจากตัวชี้วัดได้อย่างชัดเจน
43
คณะกรรมการสร้างตัวชี้วัดธรรมาภิบาล
GG&NPM 25/01/58 คณะกรรมการสร้างตัวชี้วัดธรรมาภิบาล ดร เพ่ง บัวหอม
44
ปัญหาและข้อจำกัด ลักษณะวัฒนธรรมประชาธิปไตย
1. การยึดมั่นในสิทธิเสรีภาพ - คนไทยส่วนใหญ่ยึดมั่นสิทธิ เสรีภาพของตนเอง คาดหวังให้คนอื่นต้องมีหน้าที่ต่อตน 2. การเคารพความเสมอภาค - คนไทยมักจะเรียกร้องความ เสมอภาคเมื่อตนต้องการเสมอกับผู้อื่น แต่ถ้าหากว่าตนอยู่ ในสถานะที่ดีกว่ามักจะมองว่าเป็นบุญที่ทำมา ส่วนคนที่ สถานะด้อยกว่ามองกันว่าเป็น กรรมเก่า
45
ปัญหาและข้อจำกัด 3. ความเชื่อในหลักนิติธรรมหรือกฎหมาย - กฎหมายจะ ศักดิ์สิทธิ์เมื่อบังคับใช้กับผู้อื่น แต่ถ้าบังคับใช้กับตน มักจะมี การพิจารณามองหาความสัมพันธ์พิเศษกับผู้บังคับใช้ กฎหมายเพื่อการผ่อนปรนเป็นกรณีพิเศษ เช่น การ คอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อคนอื่นเป็นผู้กระทำ แต่ตนเอง อาจจะกระทำเมื่อได้รับผลตอบแทนส่วนตัวที่คุ้มค่า เป็นต้น 4. การรับฟังเสียงผู้อื่น – การรับฟังเสียงส่วนใหญ่มักจะใช้ เมื่อต้องการเสียงสนับสนุน แต่มักจะมองข้ามเรื่องการเคารพ เสียงส่วนน้อย
46
ปัญหาและข้อจำกัด ระบบอุปถัมภ์
สังคมไทยอาจจะได้รับอิทธิพลของระบบอุปถัมภ์ที่คนไทยมักจะถูก อบรมสั่งสอนให้รู้จักคุ้นเคยกับคำว่า “ผู้ใหญ่กับผู้น้อย” ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ทำให้ค่านิยม “กตัญญูกตเวที” ดังนั้น ระบบอุปถัมภ์จึงไม่เอื้อต่อหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะหลัก ความเท่าเทียม และความเสมอภาค เจ้านายกับลูกน้อง ผู้ใหญ่กับ ผู้น้อย
47
สรุป 1. แม้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะบัญญัติ หลักธรรมาภิบาลไว้ก็ตาม แต่ยังมีกฎหมายประกอบ ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่ยังต้องมีการแก้ไขให้สอดคล้อง ต้องกัน ดังนั้นประชาชนจึงต้องติดตาม มีส่วนร่วมใน โครงสร้างและกระบวนการแก้ไขและจัดทำกฎหมาย เพื่อให้หลักธรรมาภิบาลได้กลายเป็นสาระสำคัญของ กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง
48
สรุป 2. ธรรมาภิบาลจะเกิดขึ้นได้หากมีความร่วมมือที่พร้อม เพรียงกันของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ภาค ประชาชนอาจอยู่ในรูปของปัจเจกชน กลุ่มองค์กรพัฒนา หรือกลุ่มประชาสังคม เมื่อภาครัฐต้องการให้องค์กรของรัฐนำหลักธรรมาภิบาลไป ใช้ให้เป็นผลในทางปฏิบัติ รัฐบาลอาจทำได้ด้วยการกำหนด เป็นนโยบายจัดสรรงบประมาณสนับสนุน และประเมินผล การดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ
49
สรุป 3. ในส่วนของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องพยายาม หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้บุคลากรคิดหรือเข้าใจว่า ธรรมาภิบาล เป็นการลดจำนวนคนทำงานลง แต่ให้มีการมองว่าเป็นการ พัฒนาคุณภาพและศักยภาพของบุคลากรให้ทำงานให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ต้องมีการสร้างค่านิยมใหม่ใน ลักษณะของ “ไทยร่วมสร้างไทย” เพราะเชื่อกันว่าในที่สุดแล้วหลักธรรมาภิบาล และตัวชี้วัด เป็นความจำเป็นที่มาช่วยให้การบริหารการจัดการดีขึ้นและ ประเมินได้ชัดเจน
50
สรุป 4. การเรียนรู้ประสบการณ์การใช้ธรรมาภิบาลจาก ต่างประเทศเป็นสิ่งดี ให้มีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับ บริบทของสังคมไทย แต่ต้องคงหลักการสำคัญ ทบทวนตัวชี้วัดที่มีอยู่ และสร้างตัวชี้วัดที่เหมาะสม ขึ้นมาใหม่ 5. นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อการ จัดสร้างตัวชี้วัด ออกแบบระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ ของธรรมาภิบาลขึ้นใหม่
51
สรุป 6. จัดโครงสร้างของคณะทำงานการสร้างตัวชี้วัดธรร มาภิบาลให้มีความกะทัดรัด คล่องตัวในการทำงาน ประกอบด้วยทรัพยากรบุคคลหลากหลายที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และมีความชำนาญ เพื่อ ผลักดันให้มีการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ให้มีผล ในทางนโยบาย และภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง 7. แล้ว พวกเราหละ จะสร้างจิตสำนึกดี มีธรรมาภิ บาล ได้อย่างไร ลองเขียนมาสัก 1 หน้ากระดาษ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.