ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยBathsheba Shaw ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ประชุมโครงการเตรียมการรองรับการประกาศ ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย แก่ผู้ที่พ้นจากราชการ วันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ สโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต เขต หลักสี่ กทม.
2
ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดย พ.ต.อ.บรรจง วิสาสะ รอง ผบก.วน.
3
ยกเลิกมาตรา ๙๔
4
บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม
ยกเลิก มาตรา ๙๔ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกสอบสวนในกรณีการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือมีกรณีที่ถูกชี้มูลความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้แล้ว แม้ต่อมาข้าราชการตำรวจผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้วก็ให้ทำการสอบสวนต่อไปได้ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันออกจากราชการ การดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้เสมือนว่า ผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ เว้นแต่กรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยที่จะต้องลงโทษภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม หรือกักขัง ก็ให้งดโทษนั้นเสีย
5
ม.๙๔ (เดิม) ๑ ปี ๓๖๐ วัน วันออกจากราชการ ตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง ม.๙๔ (เดิม) วันออกจากราชการ ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ๑ ปี คณะกรรมการ ทำการสอบสวน ไม่สามารถดำเนินการสอบสวนต่อไปได้ (กฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ ๒๔๐/๒๕๕๕) สอบสวนให้แล้วเสร็จ ๓๖๐ วัน ผู้บังคับบัญชารับสำนวน พิจารณาสั่งการ กลับคืนสู่ฐานะเดิม จนกว่าการพิจารณาสั่งการจะเสร็จสิ้นและมีคำสั่ง ไม่มีระยะ เวลาบังคับ ม.๘๗ วรรคสอง ๒๔๐+๖๐+๖๐ วัน
6
ม.๙๔ (เดิม) ๓๐ วัน ข้าราชการตำรวจกระทำผิดวินัย วันออกจากราชการ
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมความเห็น วันออกจากราชการ ๓๐ วัน การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา วันได้รับแจ้งมติของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการพิจารณา สั่งลงโทษ
7
มาตรา ๙๔ (ใหม่) ภาพรวม
8
บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม
มาตรา ๙๔ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วรรคแรก “ข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้น กระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของ ผู้นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของ ทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการทางวินัย และ สั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้อง สั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ”
9
บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม
มาตรา ๙๔ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วรรคสอง “ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหา คดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการตำรวจผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการ ทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดำเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่ บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้ เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดำเนินการ สอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่ วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สำหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา ๘๗ วรรคสาม จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ”
10
บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม
มาตรา ๙๔ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วรรคสาม “ ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการ ดำเนินการทางวินัย มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือ วรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจ ดำเนินการทางวินัยดำเนินการทางวินัยให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา ถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี”
11
บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม
มาตรา ๙๔ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... วรรคสี่ “การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวน พิจารณาปรากฎว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ” วรรคห้า “ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการตำรวจซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ ไว้ก่อนตามมาตรา ๙๕”
12
องค์ประกอบ มาตรา ๙๔ (ใหม่)
13
มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (แก้ไขใหม่)
มีองค์ประกอบ ดังนี้ ข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย เช่น เกษียณ, ลาออก, ถูกลงโทษปลดออก/ไล่ออก ด้วยมูลกรณีอื่น (ไม่รวมกรณีถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน) ๑. มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ ก่อนออกจากราชการ - ต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น/ ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ - ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตำรวจผู้นั้นเป็นผู้กล่าวหาเอง - กล่าวหาว่า “ขณะรับราชการได้กระทำหรือละเว้นการกระทำการใดอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง”
14
มาตรา ๙๔ วรรคหนึ่ง (แก้ไขใหม่)
มีองค์ประกอบ ดังนี้ ๒. มีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า - ในขณะรับราชการได้กระทำความผิดอาญาอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำ โดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ (รวมถึงประมาทในหน้าที่ราชการ) ผล ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยมีอำนาจดำเนินการสืบสวนหรือพิจารณาดำเนินการ ทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออก จากราชการ กรอบระยะเวลา - เริ่มต้น ไม่มี ทั้งนี้ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยทันที มาตรา ๘๐ วรรคสาม - สิ้นสุด ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
15
ม.๙๔ วรรคหนึ่ง (ใหม่) ๓ ปี มีกรณี ๑. ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ
- ต่อผู้บังคับบัญชา - ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของ ทางราชการ - ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้กล่าวหาเอง ๒. ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา ข้าราชการตำรวจ กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง วันออกจากราชการ ๓ ปี การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา ไม่สามารถดำเนินการ ทางวินัยได้อีกต่อไป (มติ คกก.กฤษฎีกา คณะที่ ๒) ดำเนินการทางวินัยทันที ม.๘๐ สอบสวนพิจารณา สั่งลงโทษ
16
มาตรา ๙๔ วรรคสอง (แก้ไขใหม่)
มีองค์ประกอบ ดังนี้ กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา หลังจากที่ข้าราชการตำรวจผู้ใดออกจากราชการแล้ว ผล สามารถดำเนินการทางวินัยได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ กรอบระยะเวลา ๑. ความผิดทั่วไป - เริ่มต้น เริ่มดำเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ - สิ้นสุด ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
17
ความผิดทั่วไป ม.๙๔ วรรคสอง (ใหม่) ๓ ปี ๑ ปี วันออกจากราชการ
มีกรณี ๑. ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ - ต่อผู้บังคับบัญชา - ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ - ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้กล่าวหาเอง ๒. ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา ข้าราชการตำรวจ กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ๓ ปี ๑ ปี ไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้อีกต่อไป การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา เริ่มสอบสวน (ตั้งคณะกรรมการ) สั่งลงโทษ
18
มาตรา ๙๔ วรรคสอง (แก้ไขใหม่)
มีองค์ประกอบ ดังนี้ กรอบระยะเวลา ๒. ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง - เริ่มต้น ไม่มี - สิ้นสุด ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
19
ความผิดปรากฎชัดแจ้ง ม.๙๔ วรรคสอง (ใหม่) ๓ ปี วันออกจากราชการ
มีกรณี ๑. ถูกกล่าวหาเป็นหนังสือ - ต่อผู้บังคับบัญชา - ต่อผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ - ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้กล่าวหาเอง ๒. ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญา ข้าราชการตำรวจ กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ๓ ปี ไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้อีกต่อไป การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา สั่งลงโทษ
20
มาตรา ๙๔ วรรคสาม (แก้ไขใหม่)
มีองค์ประกอบ ดังนี้ ๑. - ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุด - องค์กรพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย (อ.ก.ตร.อุทธรณ์) มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ - องค์กรตรวจสอบรายงานการทางวินัย (อ.ก.ตร.วินัย) มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ ๒. ให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดำเนินการ ทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผล ให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยดำเนินการแก้ไข กรอบระยะเวลา - เริ่มต้น ไม่มี - สิ้นสุด ภายในสองปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือมีคำวินิจฉัยถึงที่สุด หรือมีมติ แล้วแต่กรณี
21
ม.๙๔ วรรคสาม (ใหม่) ๒ ปี วันออกจากราชการ
ศาลปกครอง มีคำพิพากษาถึงที่สุด อ.ก.ตร.อุทธรณ์ มีคำวินิจฉัย อ.ก.ตร.วินัย หรือมีมติ คำสั่งลงโทษ ทางวินัย ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ๒ ปี เพิกถอนคำสั่งลงโทษเพราะเหตุกระบวนการดำเนินการทางวินัย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รายงาน ก.ตร. การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา ดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ
22
มาตรา ๙๔ วรรคสี่ (แก้ไขใหม่)
ถ้าเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ข้าราชการตำรวจกระทำความผิดวินัย วันออกจากราชการ ภาคทัณฑ์ ตั้งคณะกรรมการ สอบสวน ทัณฑกรรม ผู้สั่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความผิด วินัยอย่างไม่ร้ายแรง งดโทษ คณะกรรมการสอบสวนแล้วเสร็จ เสนอผู้สั่งตั้ง กักยาม กักขัง ตัดเงินเดือน
23
เพิ่มเติม มาตรา ๙๔/๑
24
บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม
มาตรา ๙๔/๑ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... “ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการตำรวจผู้นั้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แล้วแต่กรณี การดำเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่าง ไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ”
25
มาตรา ๙๔/๑ วรรคแรก (แก้ไขใหม่)
มีองค์ประกอบ ดังนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. /คณะกรรมการ ป.ป.ท. มีมติชี้มูลความผิด ข้าราชการตำรวจผู้ใดซึ่งออกจากราชการแล้ว การดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา ๙๘ - พ.ร.บ.ว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา ๔๐, ๔๑ กล่าวคือ ผู้บังคับบัญชาต้องสั่งลงโทษให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่ได้รับแจ้งมติ และไม่อยู่ภายใต้กรอบระยะเวลา ๓ ปี ตามมาตรา ๙๔ ที่แก้ไขใหม่ ๔. ถ้าเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้งดโทษ
26
ม.๙๔/๑ (ใหม่) ๓๐ วัน วันออกจากราชการ
ข้าราชการตำรวจ กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง คณะกรรมการ ป.ป.ช. /ป.ป.ท. ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่ พร้อมความเห็น ๓๐ วัน การดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชา วันได้รับแจ้งมติของ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ พิจารณาสั่งลงโทษ
27
ยกเลิก มาตรา ๙๖ เดิม
28
บทกฎหมายที่มีการยกเลิก-เพิ่มเติม
มาตรา ๙๖ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ “ ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีที่อาจถูกสืบสวนหรือสอบสวนว่ามีการ กระทำผิดวินัยแต่ได้ออกจากราชการก่อนดำเนินการสืบสวนหรือสอบสวน หากภายหลังได้กลับเข้ารับราชการใหม่ภายในห้าปี ให้ผู้บังคับบัญชาหรือ ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๗๒ ดำเนินการสั่งให้มีการสืบสวนหรือสอบสวนต่อไป”
29
ข้อดีของ ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
30
เป็นการอุดช่องว่างของกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ป. ป. ช. หรือ ป
เป็นการอุดช่องว่างของกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ท. และทำให้ส่วนราชการ สามารถพิจารณาโทษแก่ข้าราชการที่ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ท. ชี้มูลความผิดได้ แม้ผู้นั้นจะพ้นจากราชการไป แล้วก็ตาม การกำหนดเงื่อนเวลาเริ่มต้นในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้พ้นจากราชการไปแล้วให้ยาวนานขึ้นกว่าเดิม ย่อมทำให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการทางวินัยและลงโทษผู้กระทำความผิดซึ่งพ้นจากราชการไปแล้ว อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระบบราชการไทยให้แก่ประชาชนและสังคม การกำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ที่พ้นจากราชการไปแล้ว นอกจากจะเป็นธรรมต่อ ผู้ถูกกล่าวหาในการเข้าถึงพยานหลักฐานสำหรับใช้ต่อสู้คดี และผู้ถูกกล่าวหาไม่ต้องรอคอยการดำเนินการ ที่ไม่มีระยะเวลาสิ้นสุดแล้ว ยังมีผลให้ส่วนราชการไม่ต้องรับภาระเกินจำเป็น ทั้งในแง่บุคลากรและงบประมาณ ที่จะต้องใช้ไปในการสอบสวนวินัยที่ยาวนานเกินสมควร
31
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากข้าราชการตำรวจ ตามร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ๑. แจ้งประกาศและให้แสดง ความคิดเห็นผ่าน Website ๒. ๓.
32
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากข้าราชการตำรวจ ตามร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... สำรวจความคิดเห็นโดยมอบหมายให้ บช. และ บก. ในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำรวจ ความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจในสังกัด
33
ท่านเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไข พ. ร. บ. ตำรวจแห่งชาติ พ. ศ
ท่านเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ มาตรา ๙๔ และมาตรา ๙๖ หรือไม่
34
ท่านเห็นด้วยในประเด็นที่มีการ แก้ไขตามร่าง พ. ร. บ
ท่านเห็นด้วยในประเด็นที่มีการ แก้ไขตามร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... หรือไม่
35
ผลของการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๙๔ และมาตรา ๙๔/๑ และยกเลิกมาตรา ๙๖
ผลของการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๙๔ และมาตรา ๙๔/๑ และยกเลิกมาตรา ๙๖
36
Q: ผลทางกฎหมายเมื่อร่าง พ. ร. บ
A : มีผลย้อนไปถึงข้าราชการที่ออกจากราชการไปก่อนวันที่ร่าง พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ และรวมไปถึงการดำเนินการทางวินัยที่ดำเนินการอยู่ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
37
Q: ใช้เกณฑ์อะไรในการกำหนดกรอบระยะเวลา ๓ ปี?
A : กำหนดเวลา ๓ ปี เป็นการกำหนดโดยพิจารณาจากสถิติและข้อมูลการดำเนินการทางวินัยที่ผ่านมาว่าผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยสามารถดำเนินการและสั่งลงโทษให้แล้วเสร็จไม่เกิน ๓ ปี เว้นแต่เป็นเรื่องที่มีผู้ถูกกล่าวหาจำนวนมาก หรือมีความสลับซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยก็สมควรเร่งรัดการดำเนินการและ สั่งลงโทษให้แล้วเสร็จโดยเร็วโดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดเวลา ๓ ปี
38
Q: หากผู้บังคับบัญชาไม่ดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายใน ๑ ปี หรือไม่สั่งลงโทษให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี จะมีผลเช่นไร? A : แยกเป็น ๒ กรณี ๑. ผลต่อบุคคลที่ถูกดำเนินการทางวินัย ไม่สามารถเอาผิดทางวินัยแก่ข้าราชการผู้นั้นได้อีก แต่ก็ยังคงมีความรับผิดในทางอาญาหรือทางแพ่งภายใต้เงื่อนไขเรื่องอายุความ ๒. ผลต่อผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัย/ผู้มีอำนาจลงโทษ (ผู้บังคับบัญชา) - หากมีผู้หนึ่งผู้ใดหยิบยกขึ้นร้องเรียนกล่าวหาก็สามารถดำเนินการทางวินัยได้ - หากไม่มีผู้ใดหยิบยกก็คงไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้ แต่ก็อาจมีความรับผิดทางอาญาตามมาตรา ๑๕๗ ได้
39
Q: อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การดำเนินการทางวินัยใช้เวลาเกินกว่า ๓ ปี คืออะไร?
A : อุปสรรคสำคัญ คือ การรอฟังผลคดีอาญา รวมถึงผลการชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. - หนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ สร ๐๙๐๕/ว๔ ลง ๑๘ มี.ค.๐๙ - หนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ สร ๐๙๐๕/ว๙ ลง ๖ ต.ค.๐๙ - คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๑๔๒/๒๕๔๙ “การดำเนินการทางวินัยไม่ต้องรอผลคดีอาญา และผลของคดีอาญาจะเป็นประการใดไม่ผูกมัดผู้ดำเนินการทางวินัยที่จะเห็นแตกต่างได้ หากได้กระทำไปโดยสุจริตและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว” - คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๗๗๓/๒๕๕๖ “ในการรับฟังพยานหลักฐานทางปกครองเป็นการดําเนินการคนละกระบวนการกับกระบวนการทางอาญาจึงไม่มีผลผูกพัน ที่จะต้องรอ ผลคดีอาญาให้ถึงที่สุดก่อนแต่อย่างใด”
40
Q: หากผู้บังคับบัญชาสั่งยุติเรื่องโดยไม่รอฟังผลคดีอาญา ภายหลังปรากฏว่ามีคำพิพากษาลงโทษ จะมีผลเช่นไร?
A : การดำเนินการทางวินัยไม่จำต้องรอฟังผลทางคดีอาญาแต่อย่างใด เพราะถึงแม้เรื่องนั้น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลจะมีความเห็นแตกต่างไป ผู้พิจารณาโทษทางวินัย ก็หาต้องรับผิดแต่อย่างใดไม่ (หนังสือ สำนักงาน ก.พ. ที่ สร ๐๙๐๕/ว๔ ลง ๑๘ มี.ค.๐๙ ) เนื่องจากโทษทางวินัยเป็นเพียงมาตรการทางการปกครองซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าโทษทางอาญา กระบวนการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการจึงมีความเข้มงวดน้อยกว่าการดำเนินคดีอาญา โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ. 849/2555 ) หากปรากฏภายหลังว่าข้าราชการผู้นั้นกระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก ผลของการได้รับโทษจำคุกเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งเป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ผู้บังคับบัญชาสามารถสั่งลงโทษปลดออกไล่ออกได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ. 67/2547)
41
Q: ทำไมออกจากราชการไปแล้วยังคงต้องมีความรับผิดทางวินัย?
A : โดยหลักคนที่ออกจากราชการไปแล้วไม่ควรถูกดำเนินการทางวินัย แต่เนื่องจากการกระทำความผิดวินัยบางกรณีเป็นเรื่องที่มีพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือก่อความเสียหายให้ทางราชการอย่างร้ายแรง หากมีการกระทำความผิดระหว่างรับราชการหรือถูกกล่าวหาก่อนออกจากราชการ ก็ควรถูกดำเนินการทางวินัย
42
Q: หากยกเลิกมาตรา ๙๖ ไปแล้ว หากข้าราชการตำรวจชิงลาออกก่อนถูกดำเนินการทางวินัย แล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่จะทำให้การดำเนินการทางวินัยมีช่องว่างหรือไม่ ? A : ไม่มีช่องว่าง เนื่องจากเมื่อข้าราชการตำรวจกลับเข้ารับราชการก็ย่อมมีสถานะเป็นข้าราชการที่สามารถถูกดำเนินการทางวินัยได้อยู่แล้ว ประกอบกับหลักเกณฑ์มาตรา ๙๔ ที่แก้ไขใหม่ ก็ทำให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจในการดำเนินการทางวินัยผู้นั้นเสมือนยังมิได้ออกจากราชการอีกด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.