งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเคลื่อนไหวของพืช นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเคลื่อนไหวของพืช นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเคลื่อนไหวของพืช นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ

2 การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเติบโต (Growth movement)
การเคลื่อนไหวของพืช การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเติบโต (Growth movement) 1. การเคลื่อนไหวอัตโนวัติ (Autonomic growth movement)  เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเติบโตโดยอิทธิพลของสิ่งเร้าภายในเท่านั้น  สิ่งเร้าภายนอกไม่มีอิทธิพลใดๆ มี 2 ประเภท คือ 1.1 นิวเทชัน (Nutation)  การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการเติบโต โดยการที่ปลายยอดโยกไปมาเนื่องจากลำต้น 2 ด้านเติบโตไม่เท่ากัน  การสั่นปลายยอดโยกไปมาของพืชตระกูลถั่ว

3 เช่น :- 1.2 เซอร์คัมนิวเทชัน (Circumnutation)
คล้ายนิวเทชันแต่มีการบิดงอของพืชอย่างถาวร โดยไม่ต้องมีวัตถุให้บิดพันรอบ เช่น :-  การม้วนงอของมือเกาะตำลึงและฟักทองในอากาศ  การบิดงอขอเถาวัลที่ห้อยลงมาจากกิ่งไม้

4 2. การเคลื่อนเนื่องจากสิ่งเร้า หรือการเคลื่อนไหวพาราโทนิก (Stimulus หรือ Paratonic movement)
 เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากอิทธิพลของสิ่งเร้าภายนอก เช่น แสง อุณหภูมิ สารเคมี แรงดึงดูดโลก  จำแนกเป็น 2 ประเภท ตามทิศทางการตอบสนองต่อสิ่งเร้า คือ 2.1 ทรอปิซึม (Tropism)  เป็นการเคลื่อนไหวที่พืชเติบโตตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก  โดยทิศทางการตอบสนองสัมพันธ์กับสิ่งเร้า โดยการเจริญเข้าหาสิ่งเร้า (Positive) หรือหนีสิ่งเร้า (Negative)

5 ปลายยอดเจริญเข้าหาแสงเป็น Positive phototropism
แบบของทรอปิซึม ชนิดสิ่งเร้า แบบของทรอปิซึม ตัวอย่าง แสง Phototropism ปลายยอดเจริญเข้าหาแสงเป็น Positive phototropism ปลายรากเจริญหนีแสงเป็น Negative phototropism แรงดึงดูดโลก Geotropism ปลายยอดเจริญหนีแรงดูดโลกเป็น Negative geotropism ปลายรากเจริญเข้าหาแรงดึงดูดโลกเป็น Positive geotropism

6 สารเคมี น้ำ สิ่งสัมผัส
ชนิดสิ่งเร้า แบบของทรอปิซึม ตัวอย่าง สารเคมี Chemotropism ปลายยอดเจริญหนีสารเคมีเป็น Negative chemotropism ปลายรากและหลอดละอองเรณูเจริญเข้าหาสารเคมี Positive chemotropism น้ำ Hydrotropism ปลายยอดเจริญหนีน้ำ Negative hydrotropism ปลายรากเจริญเข้าหาน้ำเป็น Positive hydrotropism สิ่งสัมผัส Thingmotropism ต้นบวบ ต้นถั่วฝักยาว เจริญพันรอบหลัก

7 Phototropism  ที่ปลายยอดจะสร้างฮอร์โมนออกซิน (Auxin) ได้มากที่สุดและจะแพร่จากปลายยอดสู่โคนต้นเรียก Basipetal movement  ถ้าให้แสงแก่ปลายยอดหรือปลายรากด้านใดด้านหนึ่ง ออกซินจะเคลื่อนที่หนีแสง โดยเคลื่อนที่จากด้านที่มีแสงมากไปสู่ด้านไม่มีแสง ดังนั้นด้านไม่มีแสงจะมีออกซินสะสมมาก  ออกซินเข้มข้นสูงที่ปลายยอดจะกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ทำให้ปลายยอดเจริญเข้าหาแสง (Positive phototropism)  ส่วนออกซินเข้มข้นสูงที่ปลายรากกลับยับยั้งการเติบโตของเซลล์ทำให้ปลายรากเจริญหนีแสง (Negative phototropism) หมายเหตุ การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเติบโตของพืช จะไม่มีย้อนกลับ (Inreversible)

8 การหุบและการบานของกลีบดอก
2.2 การเคลื่อนไหวนาสติก (Nastic movement) กลุ่มเซลล์ด้านนอก กลุ่มเซลล์ด้านใน ก. ข. การหุบและการบานของกลีบดอก ก. การหุบ ข. การบาน

9 การคลี่บานของกลีบเกลี้ยงและกลีบดอกของกุหลาบ มะลิ จำปี เป็นต้น
 การเคลื่อนไหวนาสติกเป็นการเคลื่อนไหวที่พืชตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกโดยทิศทางการตอบสนองไม่สัมพันธ์กับทิศทางสิ่งเร้า กล่าวคือ ไม่มีการเจริญเข้าหาหรือหนีสิ่งเร้า เช่น :- การคลี่บานของกลีบเกลี้ยงและกลีบดอกของกุหลาบ มะลิ จำปี เป็นต้น  การหุบของกลีบดอกเกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านนอกเติบโตมากกว่าด้านใน ส่วนการบานของกลีบดอกเกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านในเติบโตมากกว่าด้านนอก


ดาวน์โหลด ppt การเคลื่อนไหวของพืช นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google