งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

1. ชื่อวิชา  PPA 1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "1. ชื่อวิชา  PPA 1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 1. ชื่อวิชา  PPA 1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้  ความหมาย แนวคิด และขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์ วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว ผู้เรียน) 1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ความหมาย ความสำคัญ และสถานภาพ ของรัฐประศาสนศาสตร์ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายขอบข่ายและลักษณะวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้ ภาพรวมของเนื้อหา/คำอธิบายหัวข้อที่สอนประจำสัปดาห์นี้ รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง การดำเนินงานของภาครัฐหรือระบบราชการ เพื่อให้เป็นไป ตามนโยบายของรัฐหรือรัฐบาลที่วางไว้เป็นกิจกรรหรือการดำเนินงานของทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการที่จะทำให้นโยบายแห่งรัฐบรรลุผลสำเร็จ รัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ มีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับ สาขาวิชาอื่นๆเช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา มนุษยศาสตร์ จึงทำ ให้สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary)

2 2. การบริหารราชการแผ่นดิน 3. การบริหารรัฐกิจ 4. การบริหารจัดการภาครัฐ
“รัฐประศาสนศาสตร์” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Public Administration” ภาษาไทยแปลได้หลายคำ 1. สาธารณบริหารศาสตร์ 2. การบริหารราชการแผ่นดิน 3. การบริหารรัฐกิจ 4. การบริหารจัดการภาครัฐ 5. การบริหารงานสาธารณะ

3 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
เริ่มขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ช่วงปี 1887 ขณะนั้นประเทศสหรัฐประสบปัญหาภายในมากมาย ทั้งปัญหาสังคม ยาเสพติด การแบ่งแยกเผ่าพันธุ์ การคอร์รัปชัน เป็นต้น นักวิชาการหัวสมัยใหม่(the progressives) เริ่มศึกษาการบริหารรัฐบาล และความพยายามปฏิรูปการทำงานของรัฐบาลสหรัฐ นักรัฐประศาสนศาสตร์ส่วนใหญ่ถือกันว่าจุดกำเนิดของสาขาวิชาเริ่มเมื่อปี ค.ศ จากข้อเขียนของ Woodrow Wilson อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ เรื่อง “The Study of Administration”

4 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
Leonard D. White ให้ความเห็นว่า การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ต้องสัมพันธ์กับทฤษฎีการเมืองในเรื่องต่างๆ เช่น ความยุติธรรม เสรีภาพ การเชื่อฟังและบทบาทของรัฐ ผลคือทำให้ประเด็นของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันจึงวนเวียนอยู่กับเรื่อง การทำงานให้มีประสิทธิภาพ ความสอดคล้องกับค่านิยมประชาธิปไตย (democratic values) ได้แก่ ค่านิยมเรื่องปัจเจกชนนิยม (individualism) ความเสมอภาค (equality) และเสรีภาพหรืออิสรภาพ (liberty or freedom)

5 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
Nicholas Henry : “รัฐประศาสนศาสตร์ต่างจากรัฐศาสตร์ตรงที่เน้นโครงสร้างและพฤติกรรมของราชการ และมีระเบียบวิธีวิทยาของตัวเอง รัฐประศาสนศาสตร์ต่างจากศาสตร์การบริหารตรงการใช้เทคนิคประเมินผลกับองค์การไม่แสวงหากำไร

6 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
Dwight Waldo : หมายถึง “กระบวนการบริหารภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย การกระทำที่มีผลต่อความตั้งใจหรือความปรารถนาของรัฐบาล จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง เป็นงานของรัฐบาล เกี่ยวข้องกับการทำตามกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตีความโดยศาล โดยผ่านกระบวนการจัดองค์การและการจัดการ”

7 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
Felix & Lloyd Nigro : หมายถึง “การบริหารภาครัฐ ที่มีลักษณะสำคัญคือ (1) เป็นความร่วมมือของกลุ่มคนที่อยู่ในภาครัฐ (2) ครอบคลุมสาขา 3 สาขา ได้แก่ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนความสัมพันธ์ของสาขาที่กล่าว (3) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง (4) มีความแตกต่างจากแนวทางที่สำคัญๆ จากการบริหารเอกชน และ (5) เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนและบุคคลจำนวนมาก”

8 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
Felix & Lloyd Nigro : หมายถึง “การบริหารภาครัฐ ที่มีลักษณะสำคัญคือ (1) เป็นความร่วมมือของกลุ่มคนที่อยู่ในภาครัฐ (2) ครอบคลุมสาขา 3 สาขา ได้แก่ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตลอดจนความสัมพันธ์ของสาขาที่กล่าว (3) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง (4) มีความแตกต่างจากแนวทางที่สำคัญๆ จากการบริหารเอกชน และ เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนและบุคคลจำนวนมาก”

9 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
ปฐม มณีโรจน์: .ให้ความหมายไว้ 2 ความหมาย คือ หมายถึง กิจกรรมการบริหารงานสาธารณะ ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งการบริหารราชการและการบริหารรัฐวิสาหกิจ หมายถึง สาขาของวิชาการบริหารที่เรียกว่า “รัฐประศาสนศาสตร์”

10 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
ติน ปรัชญพฤทธิ์ : หมายถึง สาขาวิชาและ/หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ สำหรับการการใช้แยกได้ดังนี้ ภาษาอังกฤษ Public Administration หมายถึง สาขาวิชาการบริหารงานภาครัฐบาล public administration หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการบริหารงานภาครัฐ ภาษาไทย คำว่า รัฐประศาสนศาสตร์มักจะหมายถึง สาขาวิชาการบริหารงานของรัฐ การบริหารรัฐกิจ จะหมายถึงกิจกรรมหรือกระบวนการเกี่ยวกับการบริหารงาน ของรัฐ

11 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
วินิต ทรงประทุม: รัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) หมายถึงการศึกษา การบริหารราชการ และการกระทำ หรือกิจกรรมการบริหารราชการ เพราะทั้งการศึกษาและการกระทำทางด้านการบริหารราชการนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สร้อยตระกูล อรรถมานะ: ใช้คำว่า “สาธารณบริหารศาสตร์” แทนคำว่า รัฐประศาสนศาสตร์ หมายถึง การบริหารงานสาธารณะในลักษณะที่เป็นสาขาวิชา โดยคำว่า Public Administration และใช้คำว่า “การบริหารสาธารณกิจ” ซึ่งหมายถึงการบริหารสาธารณะในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมของการบริหารงานที่เป็นสาธารณะ โดยคำว่า “public administration” แทนคำว่าการบริหารรัฐกิจ การบริหารราชการ หรือการบริหารราชการแผ่นดิน

12 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
โดยสรุป รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration) มี 2 ความหมายคือ ความหมายแรก คือ การบริหารงานภาครัฐ การบริหารรัฐกิจ การบริหารราชการแผ่นดินหรือการบริหารราชการ ความหมายที่ 2 วิชาความรู้ กิจกรรมหรือการบริหารของรัฐ ที่เกี่ยวข้องงานหรือกิจการสาธารณะ หรือการให้บริการสาธารณะ (public services)ที่หน่วยงานของรัฐ และ/หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการในทุกระดับ ทั้งในบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติ

13 ความเป็นมาของรัฐประศาสนศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐประศาสนศาสตร์กับสาขาวิชาอื่นๆ ดังนี้ - สาขาวิชารัฐศาสตร์ - สาขาวิชาสังคมวิทยา - สาขาวิชามานุษยวิทยา - สาขาวิชาจิตวิทยา - สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ - สาขาวิชาปรัชญาและตรรกวิทยา - สาขาวิชาประวัติศาสตร์ - สาขาวิชานิติศาสตร์ - สาขาวิชาอื่นๆ (สหวิทยาการ)

14 กรอบในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
1) แนวคิด ความหมาย และขอบเขต เป็นการศึกษาว่าการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารภาครัฐหรือ รัฐประศาสนศาสตร์ และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์มีความหมายอย่างไร และมีขอบเขตหรือมีเนื้อหาสาระครอบคลุมเรื่องใดบ้าง 2) ความสำคัญและความจำเป็น เป็นการศึกษาหัวข้อหรือเรื่องที่นำมาศึกษา ว่า มีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรถึงได้เลือกนำมาศึกษา และหลังจากศึกษาแล้วได้รับประโยชน์อย่างไร โดยประโยชน์นั้นอาจจัดแบ่งเป็นประโยชน์ในทางวิชาการ และประโยชน์ในทางปฏิบัติ หรืออาจจัดแบ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคคล หน่วยงาน และประชาชนก็ได้ 3) ความเป็นมา เป็นการศึกษาว่าการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ มีความเป็นมาหรือที่มา มีวิวัฒนาการหรือพัฒนาการอย่างไร

15 กรอบในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
4) กระบวนการบริหาร เป็นการศึกษากระบวนการการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ เป็นอย่างไร เช่น กระบวนการวางแผน กระบวนการกระบวนนโยบายสาธารณะ กระบวนการงบประมาณ กระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5) ข้อดีและข้อเสีย เป็นการศึกษาว่าการบริหารงานของหน่วยงาน ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารภาครัฐหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร 6) การประยุกต์ เป็นการศึกษาถึงการนำการบริหารงานในแขนงอื่น เช่น การบริหารธุรกิจ การบริหารการเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มาประยุกต์ใช้กับการบริหารภาครัฐ

16 กรอบในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
7) ปัจจัยที่มีส่วนทำให้แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ประสบผลสำเร็จ เป็นการศึกษาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนทำให้การบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารภาครัฐหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ประสบผลสำเร็จ ปัจจัยนั้นอาจจัดแบ่งเป็น 3 ปัจจัย (3 M ได้แก่ Man Money Management) หรือจัดแบ่งเป็นปัจจัยด้านวัตถุและปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านการเมือง เป็นต้น 8) ความสัมพันธ์ การสนับสนุน หรือการคัดค้านแนวคิดหรือทฤษฎีอื่น เป็นการศึกษาว่าการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารภาครัฐหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์มีความสัมพันธ์ สนับสนุน หรือคัดค้านแนวคิดหรือทฤษฎีอื่น เช่น แนวคิดทาง รัฐศาสตร์ แนวคิดการกระจายอำนาจ แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในหน่วยงานหรือไม่ อย่างไร

17 กรอบในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
9) สภาพแวดล้อม เป็นการศึกษาว่าสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์ ส่งผลกระทบ หรือมีส่วนในการกำหนดการบริหารงานของหน่วยงานของภาครัฐมากน้อยเพียงใด เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี 10) ปัญหาอุปสรรค เป็นการศึกษาว่าหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารภาครัฐหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร รวมตลอดถึงแนวทางแก้ไขปัญหา หรือมีข้อเสนอแนะอย่างไร เมื่อนำไปปรับใช้ในหน่วยงาน 11) การพัฒนา เป็นการศึกษาว่าการพัฒนาหรือปรับปรุงหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารภาครัฐหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการบริหารของหน่วยงาน การพัฒนาหน่วยงาน เช่น พัฒนาที่โครงสร้างใหญ่และโครงสร้างย่อย หรือการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานทั้งด้านวัตถุ เช่น ประสิทธิภาพหรือขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการและด้านจิตใจ เช่น จิตสำนึกหรือจิตวิญญาณในการปฏิบัติราชการ

18 กรอบในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
12) แนวโน้ม เป็นการศึกษาแนวโน้มของการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารภาครัฐหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ว่าจะเป็นไปในทิศทางใดหรืออย่างไร ทั้งนี้ เป็นการศึกษาในลักษณะของการพยากรณ์หรือคาดการณ์ล่วงหน้า 13) การเปรียบเทียบ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริหารภาครัฐหรือรัฐประศาสนศาสตร์ และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่อยู่ภายในประเทศ หรือเปรียบเทียบกับต่างประเทศ

19 สถานภาพของรัฐประศาสนศาสตร์
นักวิชาการมีทัศนะเกี่ยวกับสถานภาพของรัฐประศาสนศาตร์ 3 สถานะ คือ รัฐประศาสนศาสตร์ คือ ศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ คือศิลป์ รัฐประศาสนศาสตร์ คือศาสตร์ และศิลป์ รัฐประศาสตร์ ไม่เป็นทั้งศาสตร์ และไม่เป็นทั้งศิลป์

20 กลุ่มนักวิชาการที่มองว่าเป็นศาสตร์ และศิลป์
สมพงศ์ เกษมสิน : อธิบายว่า รัฐประศาสนศาสตร์ คือการบริหารที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อนำเอาทรัพยากรการบริหารมาประกอบการตามกระบวนการบริหารให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ผุสดี สัตยมานะ : การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเป็นความรู้ เกิดจากการสังเกตการณ์ และจากสิ่งที่เป็นความจริง ซึ่งบุคคลผู้ปฏิบัติจนชำนาญ มีความแน่นอนเชื่อถือได้ และนำความจริงมาจัดระเบียบ เพื่อให้มีการศึกษาถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ จนสามารถทำนายพฤติกรรมและการบริหารงานได้ ศิลป์ หมายถึงลักษณะอันยืดหยุ่น ของการสร้างสรรค์ ในการบริหารที่นำไปสู่ ความสำเร็จ ไม่สามารถกำหนดได้ตายตัวเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันได้ยาก เพราะ ขาดระบบอันเป็นระเบียบ

21 นักวิชาการที่มองว่าไม่ใช่ทั้งศาสตร์และศิลป์
อุทัย เลาหวิเชียร : ขาดเอกลักษณ์ลักษณะวิชาไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์และไม่ได้เป็นศิลป์ และไม่ได้มีสถานะเป็นวิชาชีพ ไม่ใช่สาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์และไม่ใช่สาขาหนึ่งของรัฐศาสตร์ แต่เป็นจุดสนใจในการศึกษา เป็นสหวิทยาการ เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ และเป็นกึ่งวิชาชีพ สิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา : ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ศิลป์ มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ ประกอบด้วยองค์ความรู้ที่กระจัดกระจาย โดยรวบรวมจากหลายสาขาวิชา สุดแต่ให้ความสนใจในเรื่องใด หรือมีพื้นความรู้มาอย่างไร

22 สรุปสถานภาพของรัฐประศาสนศาสตร์
- สถานภาพรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นได้ทั้งศาสตร์ และศิลป์และไม่เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทัศนะ และจุดสนใจในการศึกษาของนักวิชาการแต่ละท่าน อย่างไรก็ตาม ความเป็นศาสตร์และศิลป์มิได้มีความขัดแย้งระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายต่างเกื้อกูลก่อให้เกิดประโยชน์แก่กันละกัน คือทฤษฎี แนวความคิด หรือหลักการจะเป็นแนวทางการปฏิบัติในโลกของความเป็นจริง (นิรนัย) และในทางกลับกันนักวิชาการก็จะสร้างทฤษฎีหรือแนวความคิดต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลจากโลกความเป็นจริงมาปรับปรุงแก้ไขทฤษฎีหรือแนวคิดที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (อุปนัย)

23 การบริหารงานภาครัฐกับการบริหารธุรกิจ
มีทั้งความสอดคล้องและความแตกต่าง ความสอดคล้องในความหมายของคำที่ใช้ Administration จะใช้ในภาษาไทยว่า การบริหาร Management จะใช้ในภาษาไทยว่า การจัดการ คำทั้งสองนี้ได้มีผู้ให้ความหมายใน 3 แนวทางด้วยกัน คือ 1) การบริหาร เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและการจัดการ เป็นการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2) การจัดการ เป็นความหมายทั่วไปโดยรวมการบริหารเข้าไปด้วย แนวทางนี้มองว่าการจัดการเป็นกระบวนการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการดำเนินการขององค์การธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนการบริหารเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ 3) การบริหารและการจัดการ มีความหมายไม่แตกต่างกัน แต่นิยมใช้ต่างกัน คือ การจัดการจะใช้ในบริษัทเอกชน ส่วนการบริหารใช้ในองค์การของรัฐบาล

24 การบริหารงานภาคเอกชน
ความแตกต่างกันรัฐประศาสนศาสตร์ และการบริหารเอกชน การบริหารงานภาครัฐ การบริหารงานภาคเอกชน 1. เป้าหมายให้บริการ และความพึงพอใจแก่ประชาชน 1. เป้าหมาย เพื่อผลกำไรขององค์กร 2. ทุน คืองบประมาณจากภาษีและค่าธรรมเนียม 2. ทุนเป็นทุนส่วนตัว หรือของ ผู้ถือหุ้น 3. การทำงาน มีกฎระเบียบและขั้นตอน มากล่าช้า 3. การทำงานที่รวดเร็ว เน้นประสิทธิภาพ และกำไร 4. นโยบาย มาจากฝ่ายการเมือง 4. นโยบาย มาจากคณะกรรมการบริหารบริษัท 5. การบริหารต้องทำอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่ประเทศยังคงอยู่ 5. หยุดการบริหารได้ หากล้มเลิกกิจการ

25 ขอบข่ายวิชารัฐประศาสนศาสตร์
หมายถึง กรอบความคิดและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชารัฐประศาสนศาสตร์ อุทัย เลาหวิเชียร : การเมืองและนโยบายสาธารณะ ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหาร นโยบายสาธารณะ ค่านิยม ทฤษฎีองค์การ หลักเหตุผล พฤติกรรมของคน ระบบเปิด เทคนิคการบริหาร

26 3.การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา ศึกษา
วรเดช จันทรศร : รปศ. มีความครอบคลุมถึงพัฒนาการของกลุ่มวิชา 5 กลุ่ม คือ 1. วิทยาการจัดการ คือการนำความรู้ทางวิทยาศาตร์มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ และควบคุมการทำงานที่เป็นระบบ เพื่อประสิทธิภาพ เช่น OR, PPBS, TQM , Network Analysis เป็นต้น 2. พฤติกรรมองค์การ คือศึกษาทฤษฎีองค์การ และพฤติกรรมมนุษย์ ที่มีผลต่อการทำงานของระบบราชการ โดยมีตัวปน 4 ตัว ได้แก่ บุคคล ระบบสังคมองค์การ องค์การอรูปนัย และสภาพแวดล้อม 3.การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา ศึกษา 1. การศึกษาระบบราชการในแต่ละสภาพแวดล้อม 2. ศึกษาระบบทั่วไป โดยสนใจโครงสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมมากว่าสนใจในตัวระบบบริหาร 3.การบริหารการพัฒนา ได้รับความสนใจในทางรปศ.ในปัจจุบันมากกว่าการบริหารเปรียบเทียบ มุ่งเน้นการเป็นพลวัตรของสังคม

27 4.การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ศึกษากระบวนการวิเคราะห์นโยบายโดยครอบคลุม 4 ด้าน
1. การกำหนดนโยบาย มี 2 แนวทาง หลักเหตุผล และแบบส่วนเพิ่ม 2. การนำนโยบายไปปฏิบัติ 3. การประเมินผลนโยบาย 4. การวิเคราะห์ผลสะท้อนกลับของนโยบาย 5. .ทางเลือกสาธารณะ ศึกษาเกี่ยวกับการนำหลักเศรษฐศาสตร์หรือ ความรู้ด้านพฤติกรรมตลาด มาอธิบายพฤติกรรมการตัดสินใจที่จะเกอดขึ้นในภาครัฐ ครอบคลุม 3 ประเด็น คือ 5.1.พฤติกรรมกลุ่มผลประโยชน์ รวมทั้งสาเหตุหรือแรงจูงใจที่ทำให้ บุคคลเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ 5.2.พฤติกรรมของหน่วยงานในการให้บริการสาธารณะ และผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล 5.3.การแสวงหาวิธีการบริหาร หรือโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการสาธารณะ

28 วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์
การศึกษาวิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ มีนักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาและได้อธิบายไว้แตกต่างกัน เช่น 1.พิทยา บวรรัตนา เสนอว่า รปศ.มีวิวัฒนการมาแล้ว 4 สมัยที่สำคัญได้แก่ 1. สมัยดั้งเดิม (ค.ศ ) ซึ่งแนวคิดทฤษฎีจะเป็นการศึกษาเรื่อง การบริหารแยกออกจากการเมือง ระบบราชการ วิทยาศาสตร์การจัการ และหลักการบริหาร 2. สมัยทฤษฎีท้าทาย (คศ ) แนวคิดทฤษฎีจะศึกษาเรื่อง การบริหารคือการเมือง ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ มนุษยสัมพันธ์และศาสตร์การบริหาร 3. สมัยวิกฤติการณืเอกลักษณ์ครั้งที่ 2 (ค.ศ ) จะศึกษาแนวความคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ 4. สมัยรปศ.สมัยใหม่ (1970-ปัจจุบัน) ศึกษาเรื่องนโยบายสาธารณะ ทางเลือกสาธารณะ การออกแบบองค์การสมัยใหม่ การวิจัย เป็นต้น

29 วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ (2)
2. Nicholas Henry ได้จำแนก Paradigm ของรัฐประศาสนศาสตร์ออกเป็น 5 พาราไดม์ หรือ 5 กระบวนทัศน์ ดังนี้ พาราไดม์ที่ 1 : รัฐประศาสนศาสตร์ยุค “การแยกการบริหารกับการเมืองออกจากกัน” ( ) นักวิชาการ 2 ท่าน คือ Frank J. Goodsnow และ Woodrow Wilson ได้มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การเมืองและการบริหารเป็นคนละส่วนกัน คือ การเมืองมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ส่วนการบริหารมีหน้าที่ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ

30 พาราไดม์ที่ 2 : รัฐประศาสนศาสตร์ยุค “หลักของการบริหาร” (1927-1937)
เป็นยุคเฟื่องฟูที่สุดของการยอมรับวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นผลมาจากผลงานของ Luther Gulick & Lyndall Urwick ในหนังสือชื่อ Paper on the Science of Administration ซึ่งทั้งสองท่านได้เสนอแนวคิด การจัดการในเชิงบริหารงานของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ที่เรียกว่า POSDCoRB โดย - P-Planning = การวางแผน - O-Organizing = การจัดองค์การ - S-Staffing = การบริหารงานบุคคล - D-Directing = การสั่งการ - Co-Coordinating = การประสานงาน - R-Reporting = การรายงานผล - B-Budgeting = การงบประมาณ

31 พาราไดม์ที่ 3 : รัฐประศาสนศาสตร์ คือ รัฐศาสตร์ (1950-1970)
เป็นยุคที่ผู้ศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นเสมือนพลเมืองขั้นสองในคณะรัฐศาสตร์ โดยเชื่อว่ารัฐประศาสนศาสตร์กับรัฐศาสตร์ เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่สามารถแยกจากกันได้ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ ก็คือรัฐศาสตร์นั้นเอง และในช่วงนี้ก็มีความพยายามในการกำหนดความคิดระหว่าง รัฐประศาสนศาสตร์กับรัฐศาสตร์ขึ้นใหม่ แต่ก็ไม่เป็นผล

32 พาราไดม์ที่ 4 : รัฐประศาสนศาสตร์
คือวิทยาการบริหารจัดการ ( ) เป็นยุคตกต่ำของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วงยุคต้น 1950 สาเหตุมาจากการขาดเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ทำให้นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ ต้องหาทางเลือกใหม่ โดยการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ในแง่ วิทยาการบริหาร ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ - ทฤษฎีองค์การ คือ ศึกษาพฤติกรรมของคนในองค์การ การดำเนินงานในองค์การ การตัดสินใจ เป็นต้น - วิทยาการจัดการ คือ ศึกษาสถิติ การวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น

33 พาราไดม์ที่ 5 : รัฐประศาสนศาสตร์ คือ รัฐประศาสนศาสตร์
(1970-ปัจจุบัน) เป็นยุคฟื้นฟูวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยให้ความสนใจในสหวิทยาการต่างๆ โดยการสังเคราะห์ความรู้ในด้านพฤติกรรมศาสตร์ หรือพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อนำไปสู่การสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตในชุมชน ความสัมพันธ์ทางการบริหารระหว่างองค์การของรัฐกับเอกชน และการอยู่ร่วมกันของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสังคม อีกทั้งความเกี่ยวข้องเรื่องนโยบายศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การเมือง การกำหนด วิเคราะห์ วัดผล นโยบายสาธารณะ

34 วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์(ต่อ)
3.สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์ เสนอว่าวิวัฒนการ รปศ. 3 ยุคที่สำคัญได้แก่ 3. ยุคตั้งแต่ คศ1970-ปัจจุบัน เกิดเหตุการณ์รุนแรงในสหรัฐ เช่นสงครามเวียดนาม การแบ่งแยกสีผิว ทำให้เกิดความท้าทายองค์ความรู้ของรปศ. มีนักวิชากรบางกลุ่มมองว่า ทฤษฎีต่างๆที่ผ่านมามีความเป็นวิชาการมากเกินไปนำไปใช้ไม่ได้ จึงเกิดขบวนการด้านความคิดใหม่ที่เรียกว่า ยุคหลังพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งมีสาระสำคัญ 4 ประการ ให้ความสนใจเรื่องที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ให้ความสำคัญกับค่านิยมที่ถูกต้อง ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคทางสังคม รู้จักริเริ่มเปลี่ยนแปลง

35 วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในไทย
สมัยรัชกาลที่ 5 – ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มจากรัชกาลที่ 5 จัดตั้งกระทรวงทบวง กรม แทน เวียง วัง คลัง นา ปรับปรุงระบบภาษี ยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร มาใช้การจัดเก็บเอง ปรับปรุงกฎหมายประมวลกฎหมายอาญา แทนกฎหมายตราสามดวง จัดบริการสาธารณะ เช่นรถไฟ ไฟฟ้า โทรศัพท์ ยกเลิกระบบทาส และใช้การเกณฑ์ทหารแทน

36 วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในไทย
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาเข้ามาวางแผนพัฒนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ไทย และนำระบบการราชการแบบอเมรามาแทนยุโรป เช่น การวางแผนรายสาขา การจัดทำงบประมาณ ใช้โครงสร้างระบบราชการขนาดใหญ่ แต่ยังมีระบบอุปถัมป์ หลัง 14 ตุลาคม กระแสประชาธิปไตยรุนแรง ระบบราชการแบบดั้งเคิมที่เน้น การผูกขาดอำนาจ เริ่มสั่นคลอน ประชาชนเริ่มตรวจสอบภาครัฐมากขึ้น และมีส่วนร่วมมากขึ้น หลังวิกฤติเศรษฐกิจ ปี IMF เข้ามาและยื่นเงื่อนไขให้ปฏิรูประบบราชการไทย แก้ไขกฎระเบียบ ลดขนาดองค์กร เน้นความโปร่งใส พตท.ทักษิน ชินวัตร นำระบบการบริหารเอกชนมาใช้ในภาครัฐ ปฏิรูประบบราชการ ลดขนาดองค์กร การบริหารแบบบูรณาการ เช่น ผู้ว่าซีอีโอ , นโยบายประชานิยม เป็นต้น หลังปฏิวัติ 19 ก.ย คมช.มีอำนาจ ระบบราชการมีความเข้มแข็งอีกครั้ง และมีการขยายขอบเขตอำนาจ ภารกิจมากขึ้น โดยเฉพาะกองทัพ และมหาดไทย เช่น ระบอบ อมาตยาธิปไตย, ตุลาการภิวัฒน์, ทหารของพระราชา เป็นต้น

37 แนวโน้มวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในอนาคตของไทย
การศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในอนาคต จะมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์ของการทำงานของข้าราชการ ที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ระบบราชการมีความคล่องตัว มีความสามารถและมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน ดังนี้ เน้นการให้บริการแก่ประชาชน One stop service ลดขนาดองค์การ การกระจายอำนาจ local government ลดความเป็นกฎระเบียบ ปฏิรูปกฎหมาย แปรรูปกิจการของภาครัฐ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ประเมินผลระบบเปิด ประเมินแบบ 360 องศา เน้นการมีส่วนร่วม ประชาพิจารณ์ ประชามติ ประชาคม

38 จบการบรรยาย


ดาวน์โหลด ppt 1. ชื่อวิชา  PPA 1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google