งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วัตถุประสงค์ หลักการบัญชีทางด้านผู้รับฝากขาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วัตถุประสงค์ หลักการบัญชีทางด้านผู้รับฝากขาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วัตถุประสงค์ หลักการบัญชีทางด้านผู้รับฝากขาย
หลักการบัญชีทางด้านผู้ฝากขาย การบันทึกรายการฝากขายแยกต่างหากจากการขายปกติ การบันทึกรายการฝากขายรวมกับการขายปกติ รายงานกำไรจากการฝากขาย

2 การฝากขาย คือ การที่เจ้าของสินค้า ซึ่งเรียกว่า ผู้ฝากขาย (Consignor) ส่งสินค้าไปยัง ผู้รับฝากขาย (Consignee) เพื่อให้ช่วยทำหน้าที่ขายสินค้าแทน โดยความเสี่ยงและกรรมสิทธิ ในสินค้านั้นยังคงเป็นของผู้ฝากขายจนกว่าผู้รับฝากขายจะขาย สินค้าที่รับฝากขายไปให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ฝากขายจึงจะบันทึกเป็นรายการ ขายได้ อย่างไรก็ตามสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ ฝากขาย โดยปกติผู้ฝากขายจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งจำนวน และเมื่อ ผู้รับฝากขายขายสินค้าได้ ก็มักจะได้รับค่าตอบแทนในรูปของ รายได้ค่านายหน้า

3 การบัญชีเกี่ยวกับการฝากขาย
การบันทึกบัญชีทั้งทางด้านผู้ฝากขายและผู้รับฝากขาย แบ่งเป็น 2 วิธีได้แก่ การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ โดยจะแยกวิธีการบันทึกบัญชีทางด้านผู้ฝากขายและผู้รับ ฝากขาย ออกจากกันในแต่ละวิธี

4 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
การบันทึกบัญชีวิธีนี้ ผู้รับฝากขาย จะต้องเปิด บัญชีรับฝากขาย ขึ้นมาเพื่อ ใช้บันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรับฝากขายทั้งสิ้น และผู้รับ ฝากขายมี หน้าที่ล้างบัญชีรับฝากขายออกทั้งจำนวน ณ วันสิ้นงวด ซึ่งยอด คงเหลือ ของบัญชีรับฝากขายดังกล่าวจะแสดงให้เห็นสถานะของผู้รับฝาก ขายต่อผู้ ฝากขาย ว่าจะต้องรับเงิน หรือคืนเงินให้แก่กันเท่าไหร่อย่างไร

5 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
ขั้นตอนการบันทึกบัญชีมีดังนี้ 1. เมื่อรับสินค้าฝากขายมากจากผู้ฝากขาย ไม่ต้องบันทึกบัญชี เพียงแต่บันทึกความทรงจำ (Memo) ที่ เกี่ยวกับสินค้าที่รับฝากขายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับ ฝากขาย ดังกล่าว

6 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
2. การจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฝากขาย - ถ้าผู้รับฝากขายจ่ายเงินสด(ค่าใช้จ่ายที่ผู้ฝากขายตกลงว่าจะรับผิดชอบ) เดบิต รับฝากขาย- ชื่อผู้ฝากขาย xx เครดิต เงินสด xx - ถ้าผู้รับฝากขายจ่ายเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายที่ผู้ฝากขายตกลงว่าจะรับผิดชอบใน ค่าใช้จ่ายนั้นเอง แต่ผู้รับฝากขายได้บันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของผู้รับฝากขาย ไปแล้ว ให้ล้างค่าใช้จ่ายดังกล่าวออกจากบัญชีผู้รับฝากขาย โดย เดบิต รับฝากขาย – ชื่อผู้ฝากขาย xx เครดิต ค่าใช้จ่าย xx

7 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
3. เมื่อผู้รับฝากขายขายสินค้าได้ เดบิต เงินสด หรือ ลูกหนี้ xx เครดิต รับฝากขาย – ชื่อผู้ฝากขาย xx (ผู้รับฝากขายไม่บันทึกเป็นรายได้ขาย แต่จะรับรู้เป็นรายได้ค่านายหน้า ผู้ที่จะ รับรู้รายได้ขายคือผู้ฝากขาย เพราะกรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของผู้ฝากขาย) 4. การบันทึกรายได้ค่านายหน้า เดบิต รับฝากขาย – ชื่อผู้ฝากขาย xx เครดิต รายได้ค่านายหน้า xx

8 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
5.สรุปยอดคงเหลือบัญชีรับฝากขาย และทำรายงานการขายส่งให้ผู้ฝาก ขาย กรณีที่ยอดคงเหลือบัญชีรับฝากขายอยู่ทางด้านเดบิต ให้บันทึกการรับคืนเงินจากผู้ฝากขาย โดยล้างบัญชีรับฝากขายออกด้านเครดิต ดังนี้ (นั่นคือ ผู้รับฝากขายเป็นเจ้าหนี้ผู้ฝากขาย) เดบิต เงินสด xx เครดิต รับฝากขาย – ชื่อผู้ฝากขาย xx กรณีที่ยอดคงเหลือบัญชีรับฝากขายอยู่ทางด้านเครดิต ให้บันทึกการคืนเงินให้ผู้ฝากขาย โดย ล้างบัญชีฝากขายออกทางด้านเดบิต ดั้งนี้ (นั่นคือ ผู้รับฝากขายเป็นลูกหนี้ผู้ฝากขาย) เดบิต รับฝากขาย- ชื่อผู้ฝากขาย xx เครดิต เงินสด xx

9 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
การบันทึกบัญชีทางด้านผู้ฝากขาย สามารถแบ่งการบันทึกได้ 2 วิธี ตามวิธีการ บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ นั่นคือ การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) โดยผู้ฝากขาย จะทำการเปิดบัญชี ฝากขาย เพื่อใช้บันทึกรายการต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสินค้าที่การฝากขาย ซึ่งสามารถเปิดบัญชีฝากขายแยกตามผู้รับ ฝาก ขายแต่ละราย และมีการคุมยอดบัญชีฝากขาย รวมทั้งหมดเพื่อออกงบการเงิน ต่อไป

10 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขาย เดบิต ฝากขาย xx เครดิต สินค้า (ราคาทุน)-Perpetual Inv. xx สินค้าส่งไปฝากขาย (ราคาทุน)- Periodic Inv. xx

11 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าฝากขาย เดบิต ฝากขาย xx เครดิต เงินสด xx - กรณีที่ผู้รับฝากขายได้บันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของผู้รับฝากขาย ไปแล้ว เครดิต ค่าใช้จ่าย xx

12 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
3. ได้รับรายงานการขายและหลักฐานการส่งเงินจากผู้รับ ฝากขาย เดบิต เงินสด (กรณีผู้รับฝากขายส่งเงินให้แล้ว) xx ลูกหนี้ – ผู้รับฝากขาย (กรณีที่ผู้รับฝากขายยังไม่ได้ส่งเงินมาให้)xx ฝากขาย (สำหรับค่าใช้จ่ายที่ควรรวมเป็นราคาทุนของสินค้า) xx ค่าใช้จ่าย (ระบุ) – ฝากขาย xx เครดิต ขายโดยการฝากขาย xx

13 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
4. บันทึกต้นทุนสินค้าที่ส่งไปฝากขาย รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับ สินค้าฝาก ขาย (ตามสัดส่วนที่ผู้รับฝากขาย ขายสินค้าได้จริง) เดบิต ต้นทุนสินค้าฝากขาย xx ค่าใช้จ่ายในการฝากขาย xx เครดิต ฝากขาย xx โดยจะบันทึกรายการสำหรับกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกสินค้าคงเหลือทั้ง แบบต่อเนื่อง และแบบสิ้นงวด ทั้ง 2 วิธี

14 การบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
5. ปิดบัญชีสิ้นงวด ทำการปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฝากขาย ทั้งหมดเข้า บัญชีกำไร/ขาดทุนจากการฝากขาย นอกจากนั้นสำหรับกิจการที่บันทึกสินค้าแบบสิ้นงวด จะต้องทำการ ปิด บัญชีสินค้าส่งไปฝากขายทั้งจำนวน เข้าบัญชีกำไรขาดทุน

15 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
ขั้นตอนการบันทึกบัญชีมีดังนี้ 1. เมื่อรับสินค้าฝากขายมากจากผู้ฝากขาย ไม่ต้องบันทึกบัญชี เพียงแต่บันทึกความทรงจำ (Memo) ที่ เกี่ยวกับสินค้าที่รับฝากขายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับฝากขาย ดังกล่าว

16 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
2. การจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฝากขาย - ถ้าผู้รับฝากขายจ่ายเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายที่ผู้ฝากขายตกลงว่าจะ รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้บันทึกผู้ฝากขายเป็นลูกหนี้ของกิจการ เดบิต ชื่อผู้ฝากขาย xx เครดิต เงินสด xx ถ้าผู้รับฝากขายต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายนั้น ๆ เอง เดบิต ค่าใช้จ่าย xx เครดิต เงินสด xx

17 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
3. เมื่อผู้รับฝากขายขายสินค้าได้ เดบิต เงินสด หรือ ลูกหนี้ xx เครดิต ขาย xx 4. การบันทึกต้นทุนขาย เดบิต ต้นทุนขาย xx เครดิต ชื่อผู้ฝากขาย xx (โดยต้นทุนขายคำนวณจาก ยอดขายหลังหักรายได้ค่านายหน้าแล้ว)

18 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้รับฝากขาย
5. สรุปยอดคงเหลือบัญชีรับฝากขาย และทำรายงานการ ขายส่งให้ผู้ฝากขาย กรณีที่ยอดคงเหลือบัญชี-ชื่อผู้ฝากขายอยู่ทางด้านเดบิต เดบิต เงินสด xx เครดิต ชื่อผู้ฝากขาย xx กรณีที่ยอดคงเหลือบัญชี-ชื่อผู้ฝากขายอยู่ทางด้านเครดิต เดบิต ชื่อผู้ฝากขาย xx เครดิต เงินสด xx

19 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
การบันทึกบัญชีทางด้านผู้ฝากขาย สามารถแบ่งการบันทึกได้ 2 วิธี ตาม วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ นั่นคือ การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) ผู้ฝากขายยังคงต้องทำการเปิดบัญชี ฝากขาย เพื่อใช้บันทึกรายการต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสินค้าที่การฝากขาย เช่นเดียวกับการบันทึกบัญชีฝากขาย สินค้า แยกกับการขายสินค้าปกติ

20 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
เมื่อส่งสินค้าไปให้ผู้รับฝากขาย เดบิต ฝากขาย xx เครดิต สินค้า (ราคาทุน)-Perpetual Inv. xx สินค้าส่งไปฝากขาย (ราคาทุน)- Periodic Inv. xx 2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าฝากขายจะบันทึกเป็น ค่าใช้จ่ายปกติของกิจการ โดย เดบิต ค่าใช้จ่าย xx เครดิต เงินสด xx

21 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
3. ได้รับรายงานการขายและหลักฐานการส่งเงินจากผู้รับฝากขาย ให้บันทึกการขายรวมทั้งค่าใช้จ่ายเหมือนการขายโดยปกติของ กิจการ เดบิต เงินสด (กรณีผู้รับฝากขายส่งเงินให้แล้ว) xx ลูกหนี้ – ผู้รับฝากขาย (กรณีที่ผู้รับฝากขายยังไม่ได้ส่งเงินมาให้)xx ค่าใช้จ่าย (ระบุ) xx เครดิต ขาย xx

22 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
4. บันทึกต้นทุนสินค้าที่ส่งไปฝากขาย (ตามสัดส่วนที่ผู้รับฝากขาย ขายสินค้าได้จริง) เฉพาะกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกสินค้า แบบต่อเนื่อง เดบิต ต้นทุนขาย xx เครดิต ฝากขาย-ชื่อผู้รับฝากขาย xx 5. ปรับปรุงค่าใช้จ่ายสำหรับสัดส่วนของสินค้าที่ยังขายไม่หมด เดบิต ค่าใช้จ่ายในการฝากขายรอตัดบัญชี xx เครดิต ค่าใช้จ่าย(ระบุ) xx นอกจากนั้นสำหรับกิจการที่บันทึกสินค้าแบบสิ้นงวด จะต้องทำการปิดบัญชีสินค้า ส่งไปฝากขายทั้งจำนวน เข้าบัญชีกำไรขาดทุน

23 การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติ - ด้านผู้ฝากขาย
6. สำหรับกิจการที่บันทึกสินค้าแบบสิ้นงวด จะต้องทำการปิด บัญชีสินค้าส่งไปฝากขาย โดยสำหรับสินค้าส่วนที่ขายได้ ให้ปิดเข้า บัญชีฝากขาย แต่สินค้าส่วนที่ยังไม่สามารถขายได้ให้ปิดเข้าบัญชี กำไรขาดทุน 7. ปิดบัญชีสิ้นงวด โดยทำการปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไร/ขาดทุน ตามปกติของกิจการ

24 การส่งคืนสินค้าฝากขาย
กรณีมีการส่งสินค้าฝากขายคืนให้ผู้ฝากขาย ในกรณีที่สินค้าที่ส่งไปฝากขายไม่สามารถขายได้ โดยอาจ เป็นการชำรุดเสียหาย หรือสินค้าล้าสมัย การบันทึกบัญชีของ ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถทำได้ดังนี้

25 การส่งคืนสินค้าฝากขาย
ด้านผู้รับฝากขาย ทั้งกรณีกาการบันทึกการฝากขายแยกจากการขายสินค้าปกติและ การบันทึกการฝากขายรวมกับการขายสินค้าปกติไม่ต้องทำการ บันทึกบัญชีใด ๆ แต่ให้ทำการบันทึกความทรงจำเช่นเดียวกับที่ทำ เมื่อได้รับฝากสินค้าเข้ามา เพื่อลดยอดสินค้ารับฝากขายในกิจการ ผู้รับฝากขาย

26 การส่งคืนสินค้าฝากขาย
ด้านผู้ฝากขาย มีขั้นตอนการบันทึกบัญชีดังนี้ บันทึกรับสินค้าคืน โดยกลับรายการบัญชีที่เคยบันทึกเมื่อส่งสินค้า ไปฝากขายตัดยอดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฝากขาย เป็น ค่าใช้จ่ายในการฝากขายสำหรับงวดที่มีการรับสินค้าคืน

27 การแสดงรายการในงบการเงิน
การแสดงรายการในงบดุล ด้านผู้ฝากขาย จะแสดงสินค้าฝากขายที่ยังไม่สามารถขายได้เป็ ส่วนหนึ่งของสินค้าคงเหลือในงบดุล ด้านผู้รับฝากขาย จะแสดงยอดบัญชีรับฝากขายที่ยังคงค้างอยู่ใน งบดุล โดยอาจแสดงในหมวดบัญชี “สินทรัพย์หมุนเวียน” กรณีที่ยอด คงเหลืออยู่ทางด้านเดบิต หรือแสดงในหมวด “หนี้สินหมุนเวียน” กรณีที่ ยอดคงเหลืออยู่ทางด้านเครดิต

28 การแสดงรายการในงบการเงิน
การแสดงรายการในงบกำไรขาดทุน กิจการสามารถแสดงรายการในงบกำไรขาดทุนโดยแสดงยอดรายได้และ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แยกส่วนการขายโดยปกติ และการขายโดยการฝากขายให้ เห็นโดยชัดเจน และทำการรวมยอดทั้งหมดของกิจการอีกทีหนึ่ง ดังนี้

29 การแสดงรายการในงบการเงิน
งบกำไรขาดทุน (บางส่วน) ขายโดยการฝากขาย ขายปกติ รวม ขาย xx xx xx หัก ต้นทุนขาย xx xx xx กำไรขั้นต้น xx xx xx หัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร xx xx xx กำไรสุทธิ xx xx xx อย่างไรก็ตามกิจการสามารถแสดงเฉพาะ กำไร/ขาดทุนจากการฝากขาย ในงบกำไรขาดทุนได้ โดยจะไม่เห็นรายละเอียดรายได้และ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฝากขายแต่อย่างใด


ดาวน์โหลด ppt วัตถุประสงค์ หลักการบัญชีทางด้านผู้รับฝากขาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google