งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจวินิจฉัยชนิด และการนับเชื้อมาลาเรีย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจวินิจฉัยชนิด และการนับเชื้อมาลาเรีย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจวินิจฉัยชนิด และการนับเชื้อมาลาเรีย
นางกันยารัตน์ เหล่าเสถียรกิจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

2 ความสำคัญในการตรวจวินิจฉัยมาลาเรีย
การควบคุมไข้มาลาเรียได้กำหนดให้ผลการตรวจวินิจฉัยฟิล์มเลือดเป็นสิ่งบ่งชี้การเป็นหรือการยืนยันผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียจึงมีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจให้การบำบัดรักษา การแสดงสถานการณ์ไข้มาลาเรียและการควบคุมป้องกันโรค การควบคุมคุณภาพมาตรฐานการตรวจฟิล์มเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์ ประกอบด้วย การควบคุมมาตรฐานเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

3 วิธีการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
กล้องจุลทรรศน์ ชุดตรวจอย่างรวดเร็ว (Rapid Diagnostic Test หรือ RDT) วิธีทางชีวโมเลกุล เช่น PCR , LAMP

4 การตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยกล้องจุลทรรศน์
วิธีการ เตรียมฟิล์มเลือด ชนิดฟิล์มหนาและบาง (Thick and Thin Blood Smear) การตรวจฟิล์มหนาและบาง (Thick and Thin Blood Smear) เป็นวิธีมาตรฐาน

5 15. กล้องจุลทรรศน์ ที่มีกำลังขยาย 100 เท่า
วัสดุ อุปกรณ์ 1. กระจกสไลด์ ใช้ชนิดมีแถบฝ้า 2. เข็มเจาะเลือด (Blood Lancet) 3. สำลีสะอาด % แอลกอฮอล์ 5. ถุงมือยางชนิดไม่มีแป้ง 6. เมทานอล (Analytical Grade) 7. บัฟเฟอร์ pH สียิมซ่า(Giemsa stain) 9. น้ำสะอาด หลอดหยด 11. ถาดย้อมสี กระบอกตวงขนาด 10 ml 13. นาฬิกาจับเวลา 4. ที่ตากสไลด์ 15. กล้องจุลทรรศน์ ที่มีกำลังขยาย 100 เท่า

6 ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเลือดและส่งตรวจ
1. ก่อนเจาะเลือดผู้ป่วย ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ประกอบด้วยเข็มเจาะเลือด สำลี 70%แอลกอฮอล์ กระจกสไลด์สำหรับทำฟิล์มเลือด พร้อมทั้งให้ทำการเขียนสไลด์ระบุ รายละเอียดผู้ป่วย เช่น รหัสผู้ป่วย วันที่เข้ารับการรักษา วันที่ติดตามการรับประทานยา เป็นต้น 2. เจาะเลือดจากปลายนิ้วผู้ป่วย ส่วนใหญ่เลือกนิ้วนางหรือนิ้วกลางมือที่ผู้ป่วยไม่ถนัด ทำความสะอาดนิ้วมือด้วยสำลีชุบชุบแอลกอฮอล์ 70% รอให้แอลกอฮอล์แห้งแล้วจึงเจาะเลือด โดยใช้เข็มเจาะเลือดชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช็ดเลือดหยดแรกทิ้ง หยดเลือดบนกระจกสไลด์ 3 หยด สำหรับทำฟิล์มเลือดหนา (Thick Blood Smear) และ 1 หยด สำหรับทำฟิล์มเลือดบาง (Thin Blood Smear) 3. ไถทำฟิล์มเลือดบาง โดยวางสไลด์ไถเอียงทำมุมประมาณ 45 องศา และใช้สไลด์ไถเกลี่ย เลือดทำฟิล์มหนา โดยการวนเป็นวงกลมในทิศทางเดียวกันไม่ย้อนไปมา ให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

7

8 ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเลือดและส่งตรวจ
4. วางสไลด์ไว้ที่อุณหภูมิห้อง รอจนแห้งสนิท 5. เก็บสไลด์ในกล่องเก็บสไลด์ ถ้าไม่มีกล่องเก็บสไลด์ ให้ห่อสไลด์ด้วยทิชชู แล้วใส่ซองพลาสติก 6. นำสไลด์ส่งตรวจที่มาลาเรียคลินิกที่อยู่ใกล้ พร้อมรายละเอียดของเจ้าของเลือด 7. มาลาเรียคลินิก นำสไลด์ไปย้อมสี อ่านผลด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าพบเชื้อ ต้องแยกชนิดเชื้อ ระยะของเชื้อ และนับจำนวนเชื้อมาลาเรีย

9 การย้อมสีฟิล์มเลือด ตรึงผนังเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เป็นฟิล์มบางด้วย เมทานอล (Methanol) ก่อนที่จะย้อม โดยจุ่มเฉพาะส่วนที่เป็นฟิล์มบางในเมทานอล นานประมาณ 5 นาที และระวังอย่าให้เมทานอล ถูกส่วนที่เป็นฟิล์มหนา 2. การย้อมสไลด์ด้วยสีจิมซ่าเพื่อการตรวจวินิจฉัยจะใช้สีจิมซ่า 10% ย้อมนาน 10 นาที โดยเทสีลงใน Copplin Jar ประมาณท่วมแผ่นสไลด์ที่จะย้อม หรือถ้าสไลด์มีน้อยสามารถใช้วิธีเทให้ท่วมสไลด์ฟิล์มเลือดในแนวระนาบได้ 3. เมื่อครบ 10 นาที ให้ล้างสไลด์ด้วยน้ำสะอาด โดยเอียงไสลด์ให้ฟิล์มบางอยู่ด้านบนแล้วเทน้ำเบาๆไล่สีออกจนหมด 4. ใช้ทิชชูซับที่ขอบปลายสไลด์ รอจนแห้ง จึงตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

10

11 ฟิล์มหนา ฟิล์มบาง

12 พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม

13 ลักษณะของเชื้อมาลาเรีย
ring form -ลักษณะของเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อ (Infected Red Blood Cell Morphology) มีความแตกต่างกัน ระยะโทรโฟรซอยต์ (Trophozoite stage) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ Early trophozoite ,Growing trophozoite ระยะไชซอนต์ (Schizont stage) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ Immature schizont/ Young schizont , Mature schizont ระยะแกรมีโตไซต์ (Gametocyte stage) Micro gametocyte (เพศผู้) Macro gametocyte (เพศเมีย)

14 การตรวจหาเชื้อมาลาเรียด้วยชุดตรวจอย่างรวดเร็ว (Rapid Diagnostic Test หรือ RDT)
สะดวก รู้ผลเร็ว ไม่ต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะ ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว


ดาวน์โหลด ppt การตรวจวินิจฉัยชนิด และการนับเชื้อมาลาเรีย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google