งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 1/27 หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา

2 วิชาวัสดุและโลหะวิทยา
( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 2/27 จุดประสงค์ 1. นักศึกษาสามารถบอกความหมายของการตรวจสอบโครงสร้างของโลหะได้ถูกต้อง 2. นักศึกษาสามารถบอกลักษณะโครงสร้างจุลภาคและมหภาคของโลหะได้ถูกต้อง 3. นักศึกษาสามารถปฏิบัติการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค และมหภาคของโลหะได้อย่างถูกต้อง

3 สาระสำคัญ 2. การตรวจสอบโครงสร้างมหภาค 3. การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 3/27 สาระสำคัญ 1. โครงสร้างจุลภาคและมหภาค 2. การตรวจสอบโครงสร้างมหภาค 3. การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค

4 การตรวจสอบโครงสร้างของโลหะ
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างของโลหะ แผ่นที่ 4/27 การตรวจสอบโครงสร้างของโลหะ การตรวจสอบโครงสร้างของโลหะ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กำลังขยายสูง ๆ เพื่อศึกษาโครงสร้างที่ละเอียดเรียกว่า โครงสร้างจุลภาค ส่วนที่ต้องการศึกษา เมื่อตรวจสอบลักษณะด้วยสายตา เรียกว่า โครงสร้างมหภาค

5 แสดงโครงสร้างมหภาค และโครงสร้างจุลภาค
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างของโลหะ แผ่นที่ 5/27 แสดงโครงสร้างมหภาค และโครงสร้างจุลภาค

6 การตรวจสอบโครงสร้างมหภาค
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 6/27 การตรวจสอบโครงสร้างมหภาค การตรวจสอบโครงสร้างมหภาคนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการตรวจสอบความบกพร่องของโลหะชนิดต่าง ๆ เช่นการแตกร้าว หรือ ตรวจสอบดูหน้าตัดที่ผ่านการดึงจนขาดออกจากกันอีกทั้งยังสามารถตรวจสอบดูรูพรุนภายในของชิ้นงานได้อีกด้วย การตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วย ตาเปล่าหรือใช้กล้องขยายที่มีกำลังขยายได้ไม่เกิน 50 เท่า

7 ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 7/27 ลำอิเล็กตรอน แอโนด เลนส์รวมแสง (แม่เหล็ก) วัสดุที่ต้องดู เลนส์ใกล้วัตถุ (แม่เหล็ก) เลนส์ระหว่างกลาง เลนส์ใกล้ตา (แม่เหล็ก) จอเรืองแสง ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

8 การเตรียมชิ้นงานเพื่อตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 8/27 การเตรียมชิ้นงานเพื่อตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ขัดผิวชิ้นงานด้วยกระดาษทรายเบอร์หยาบจนถึงเบอร์ละเอียด ขัดมันด้วยผงขัด หรือด้วยไฟฟ้า (อิเล็กโตรไลติก) ทำความสะอาดผิวงานที่ขัดเรียบร้อยแล้ว ทาน้ำยาลอกภาพ (Replication Liquid) บนผิวงาน นำแผ่นพลาสติกปิดทับบนน้ำยา และใช้นิ้วกดให้แน่น รอจนน้ำยาแห้งแล้วจึงค่อยแกะ Replica ออก นำ Replica ไปยึดไว้กับแผ่นรองและนำไปตรวจสอบต่อไป

9 การตรวจสอบโครงสร้างมหภาค (Study of Macrostructure)
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 9/27 การตรวจสอบโครงสร้างมหภาค (Study of Macrostructure) การตรวจสอบโครงสร้างมหภาคเป็นการศึกษาโครงสร้างที่สามารถมองด้วยตาเปล่า หรือขยายได้ไม่เกิน 50 เท่า โดยที่ผิวของชิ้นงานที่ต้องการศึกษาไม่จำเป็นต้องเตรียมเป็นอย่างดีเหมือนการศึกษาโครงสร้างจุลภาค ก็ได้ การตรวจสอบแบบนี้จะใช้ตรวจสอบรูพรุน รอยร้าว การแยกชั้นการตรวจสอบคุณภาพของรอยเชื่อม และผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปในขณะเย็น ในการวิเคราะห์ของรอยแตกในลักษณะต่าง ๆ เช่น จากการทดสอบแรงดึง การตีกระแทก หรือเกิดจากการเสียหายที่เกิดขึ้น โดยการใช้เลนส์ขยายส่องดูลักษณะของรอยแตกหักเป็นรอยแตกเปราะ รอยแตกเหนียว หรือตำหนิของวัสดุ เช่น ขี้ตะกรันฝังใน วิธีการศึกษาโครงสร้างมหภาคมี

10 วิธีการศึกษาโครงสร้างมหภาคมี 2 วิธี ได้แก่
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 10/27 วิธีการศึกษาโครงสร้างมหภาคมี 2 วิธี ได้แก่ การไม่ใช้สารกัด การใช้สารกัด

11 วิธีการใช้สารกัดผิวของชิ้นงานเพื่อดูโครงสร้าง แบ่งออกได้หลายวิธีดังนี้
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 11/27 วิธีการใช้สารกัดผิวของชิ้นงานเพื่อดูโครงสร้าง แบ่งออกได้หลายวิธีดังนี้ วิธีของแอดเลอร์ (Adler – Etching) วิธีของไฟร์ (Fry – Etchig) วิธีของโลห์ริก (Rohrig – Etching) วิธีของตุกเกอร์ (Tucker – Etching) วิธีของโอเบอร์ฮอฟเฟอร์ (Oberrhoffer – Etching)

12 การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค (Study of Microstructure)
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 12/27 การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค (Study of Microstructure) เลือกและตัดตัวอย่างชิ้นงาน (Sampling and Sectioning) การยึดและหมายงาน (Mounting and Marking) เพื่อให้จับชิ้นงานได้ง่ายขึ้นขณะทำงาน เพื่อให้ชิ้นงานมีขนาดที่เหมาะสมกับกล้องตรวจสอบ เพื่อให้ทำเครื่องหมายหรือหมายเลขของชิ้นงานได้ การขัดกระดาษทราย (Grinding) การขัดมัน (Polishing) การกัดผิวงาน (Etching)

13 เลือกและตัดตัวอย่างชิ้นงาน (Sampling and Sectioning)
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 13/27 เลือกและตัดตัวอย่างชิ้นงาน (Sampling and Sectioning) เป็นการเลือกชิ้นงานที่จะทดสอบให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ อาจจะต้องมีการตัดในลักษณะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ถ้าเป็นชิ้นงานขนาดใหญ่ อาจใช้แก๊สตัดก่อน เพื่อให้มีขนาดใหญ่ไม่มากนัก จากนั้น จึงใช้เลื่อยกลตัดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามต้องการ การตัดด้วยแก๊ส หรือเลื่อยต้องระวังอิทธิพลของความร้อน อาจจะทำให้มีผลต่อโครงสร้างของชิ้นงานได้ อาจแก้ไขได้โดยใช้ล้อบางและใช้สารหล่อเย็น ล้อตัดแข็ง จะเหมาะกับวัสดุอ่อน ล้อตัดอ่อนจะเหมาะกับวัสดุแข็ง และล้อตัดที่เป็นซิลิกอนคาร์ไบด์ จะมีความแข็งปานกลาง จะใช้งานทั่วไป วิธีการตัดชิ้นงานต่าง ๆ

14 การยึดและหมายงาน (Mounting and Marking)
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 14/27 การยึดและหมายงาน (Mounting and Marking) เป็นการนำตัวอย่างชิ้นงาน (Specimen) ที่มีขนาดบางหรือเล็ก ซึ่งได้จากการตัดซึ่งไม่สามารถทำงานได้สะดวกไปยึด หรือตรึง (Mounting) ในพลาสติกบางชนิด พร้อมกับหมายงานเพื่อนำไปเตรียมการตรวจสอบโครงสร้างต่อไป ซึ่งวัตถุประสงค์ของการยึดชิ้นงานก็เพื่อ เพื่อให้จับชิ้นงานได้ง่ายขึ้นขณะทำงาน เพื่อให้ชิ้นงานมีขนาดที่เหมาะสมกับกล้องตรวจสอบ เพื่อให้ทำเครื่องหมายหรือหมายเลขของชิ้นงานได้

15 การขัดกระดาษทราย (Grinding)
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 15/27 การขัดกระดาษทราย (Grinding) การขัดกระดาษทรายจะเริ่มขัดตั้งแต่กระดาษทรายเบอร์หยาบ (180) และเปลี่ยนเบอร์ที่ละเอียดขึ้นไปตามลำดับ เช่น เบอร์ 220, 240, 320, 400, 600, 1000 และ 1200 การขัดให้ขัดไปในทิศทางเดียวกัน จนกระทั่งเปลี่ยนเบอร์กระดาษทรายใหม่ จึงเปลี่ยนทิศทางโดยให้ตั้งฉากกับทิศทางเดิมและควรมีน้ำหล่อเย็นเสมอ เพื่อระบายความร้อน และช่วยพัดเอาเศษโลหะจากการขัดออกไป การขัดอาจจะวางกระดาษทรายน้ำบนกระจกแล้วขัดด้วยมือ ใช้เครื่องมือขัดแบบจานหมุนแล้วจับด้วยมือ หรือ การขัดแบบอัตโนมัติ

16 การขัดกระดาษทราย (Grinding)
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 16/27 การขัดกระดาษทราย (Grinding)

17 การขัดมัน (Polishing)
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 17/27 การขัดมัน (Polishing) หลังจากการขัดกระดาษทรายแล้ว จะนำชิ้นงานมาขัดบนผ้าสักหลาด เพื่อขัดรอยที่เกิดจากการขัดกระดาษทรายออกให้หมด ซึ่งผ้าสักหลาดจะยึดอยู่บนจานหมุนขับด้วยมอเตอร์ ความเร็วรอบประมาณ 300 รอบต่อนาที สารที่ใช้การขัดประกอบด้วยน้ำยาหล่อลื่น (เป็นส่วนผสมของน้ำ 400 ซีซี. น้ำสบู่เหลว 10 ซีซี. น้ำมันซูลูเบิล (Syluble) 10 ซีซี. ถ้าชิ้นงานเป็นเหล็กแข็งจะใช้ปาสเตสกากเพชร (Diamond Pastes) ที่มีขนาดเม็ด ¼ m หยดลงบนสักหลาดก่อน ลักษณะผิวชิ้นงานก่อนการขัดผิว

18 การขัดมัน (Polishing) แสดงผิวชิ้นงานก่อนการขัดผิวมัน
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 18/27 การขัดมัน (Polishing) แสดงผิวชิ้นงานก่อนการขัดผิวมัน

19 การกัดผิวงาน (Etching)
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 19/27 การกัดผิวงาน (Etching) หลังจากขัดผิวมันบนผ้าสักหลาดเรียบร้อยแล้วนำชิ้นงานมาล้างทำความสะอาดด้วยเอทิลหรือเมทิลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 96 % แล้วเป่าด้วยลมร้อนให้ชิ้นงานแห้ง จากนั้นนำชิ้นงานมาทำการกัดผิวด้วยกรด ซึ่งกรดจะกัดผิวงานเป็นสองลักษณะ กรดกัดตำแหน่งของเม็ดเกรน โดยกัดขอบเม็ดเกรนให้เป็นร่อง ดังนั้นลำแสง ที่ฉายตกกระทบลงในร่องจะเกิดเป็นเงาดำ (ไม่สะท้อนกลับ) เป็นเส้นขอบเกรนให้เห็นปรากฏในช่องตามองลักษณะการกัด

20 แสดงกรดกัดตำแหน่งของเกรน
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 20/27 แสดงกรดกัดตำแหน่งของเกรน

21 วิชาวัสดุและโลหะวิทยา
( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 21/27 กรดกัดตำแหน่งผิวหน้าเม็ดเกรน โดยการทำให้เกิดสีต่างกันในเม็ดเกรนต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากสารที่นำมาใช้กัดผิว จะทำให้เกิดชั้นออกไซด์ขึ้น และเป็นไปได้ทุกเม็ดเกรน จะถูกทำให้เกิดความหยาบ จึงมีผลทำให้การสะท้อนของแสงแตกต่างกัน

22 วิชาวัสดุและโลหะวิทยา
( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 22/27 แสดงรูปร่างเกล็ดกราไฟต์แบ่งเป็นแบบ (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ)ตามลักษณะการเรียงตัว ซึ่งแบบ (ก) (ข) (ค) จะแข็งกว่าแบบ (ง) และ (จ)

23 วิชาวัสดุและโลหะวิทยา
( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 23/27 น้ำยากัดผิวงาน ชิ้นงานที่ผ่านการขัดผิวมัน ล้างด้วยแอลกอฮอล์ และเป่าแห้งแล้วนำไปจุ่มในสารละลาย ซึ่งเป็นกรดเจือจาง ใช้เวลาประมาณ 10 วินาที ถ้าเป็นชิ้นงานเหล็กกล้า จะใช้ 1 ml ถึง 2 ml. กรดดินประสิว (HNO3) ความหนาแน่น ml เอทิลแอลกอฮอล์เข้มข้น 96 % โดยใส่กรดลงในแอลกอฮอล์ จะได้สารละลาย ไนทอล (Nital) หลังจากนำชิ้นงานจุ่มในสารละลายแล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด เป่าด้วยลมร้อนให้แห้งสนิท หลังจากนั้นนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นโครงสร้างพื้นฐานเป็นเฟอร์ไรท์ + เพิร์ลไลท์

24 หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์แบบที่ใช้ลำแสงจากหลอดไฟ
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 24/27 หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์แบบที่ใช้ลำแสงจากหลอดไฟ

25 ลักษณะลำแสงสะท้อนกลับไปยังเลนส์ขยายทำให้เกิดภาพโครงสร้างของชิ้นตรวจ
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 25/27 ลักษณะลำแสงสะท้อนกลับไปยังเลนส์ขยายทำให้เกิดภาพโครงสร้างของชิ้นตรวจ

26 การตรวจสอบโครงสร้างด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีขั้นตอนดังนี้
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 26/27 การตรวจสอบโครงสร้างด้วยกล้องจุลทรรศน์ มีขั้นตอนดังนี้ (ก) วางชิ้นตรวจสอบบนที่วางของกล้องจุลทรรศน์ (ข) เปิดสวิตซ์และปรับความเข้มของแสงตามต้องการ (ค) ปรับระยะชัดเจนของภาพ (Focus) (ง) เมื่อได้ภาพชัดเจนแล้วก็อาจจะมีการถ่ายภาพไว้ในกรณีที่กล้องจุลทรรศน์นั้นสามารถติดตั้งกล้องถ่ายภาพได้ (จ) เมื่อต้องการหยุดการทำงาน ให้ปิดสวิตช์และนำชิ้นตรวจสอบออกจากที่วาง ควรระวังไม่ให้ชิ้นตรวจสอบกระทบกับเลนส์วัตถุ เพราะอาจจะทำให้เลนส์นั้นมีรอยเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การมองภาพไม่ชัดเจน

27 ภาพโครงสร้างจุลภาคของโลหะ
วิชาวัสดุและโลหะวิทยา ( ) สื่อประกอบการสอน หน่วยที่ 9 การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา แผ่นที่ 27/27 ภาพโครงสร้างจุลภาคของโลหะ โครงสร้างเฟอร์ไรต์ (ขยาย 100 เท่า) โครงสร้างเพิร์ลไลต์ (ขยาย 50 เท่า) โครงสร้างซีเมนไทต์แบบตาข่าย (ขยาย 250 เท่า) โครงสร้างทรูสไตต์ (ขยาย 400 เท่า) โครงสร้างซีเมนไทต์ทรงกลม (ขยาย 500 เท่า) โครงสร้างซีเมนไทต์ทรงกลม (ขยาย 500 เท่า)


ดาวน์โหลด ppt การตรวจสอบโครงสร้างทางโลหะวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google