ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Knowledge Management (การจัดการองค์ความรู้)
อาจารย์สุรินทร์ทิพ ศักดิ์ภูวดล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา
2
แบบฝึกหัด จากความรู้ทางการตลาด สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ต้องการเพิ่มจำนวน นิสิต และ เพิ่มการเข้าถึงนักเรียน นิสิตใน Class คิดว่าต้องทำอย่างไร ให้นิสิตเขียนองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญามาคนละ 1 ข้อ
3
การนำ KM ไปสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญ
เปิด Video Amezon Alexa IBM WATSON
4
เนื้อหา องค์ความรู้ (Knowledge)
ชนิดขององค์ความรู้ (Types of Knowledge) การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System) วงจรการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Cycle) หัวหน้าส่วนจัดการองค์ความรู้ (Chief Knowledge Officer) การพัฒนาระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Development) แนวทางปฏิบัติ เทคโนโลยี และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบจัดการองค์ความรู้ ความสำเร็จของระบบจัดการองค์ความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
5
ข้อมูล สารสนเทศ องค์ความรู้ และปัญญา (Data, Information, Knowledge and Wisdom)
คือ สารสนเทศที่ถูกคัดเลือกเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยประสบการณ์ในการเลือกสารสนเทศมาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม องค์ความรู้บางส่วนได้จากการผลการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วได้ กฏ หรือ รูปแบบ ต่างๆ ที่ช่วยในการตัดสินใจ หรือแก้ปัญหา Wisdom Correct use of Knowledge Knowledge Collection of all Information Information Process & Transform Data
6
องค์ความรู้ (Knowledge)
ข้อมูล (Data) คือ การรวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่มีการประมวลผลแต่อย่างใด เช่น ข้อมูลเวลาทำงานของพนักงาน ข้อมูลรายละเอียด ของใบเสร็จ สารสนเทศ (Information) คือ การรวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บ ประมวลผล และจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย สะดวกและง่ายในการทำความเข้าใจแ ละสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เช่น สารสนเทศของสรุปยอดรวมจำนวนวันที่พนักงานแต่ละคนมาทำงานในแต่ละเดือน รายงานสรุปการขาย องค์ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น องค์ความรู้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ในการเรียนรู้ที่จะนำสารสนเทศมาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งขึ้นกับการฝึกฝน และมุมมองในการเลือกสารสนเทศไปใช้ บางลักษณะขององค์ความรู้สามารถสร้างรูปแบบการแก้ปัญหา กฏในการแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจได้ ปัญญา (Wisdom) เป็นปัญญาที่เกิดจาก การรวบรวมประสบการณ์ และการประยุกต์องค์ความรู้ เพื่อที่จะนำมาแก้ปัญหา และตัดสินใจ
7
สารสนเทศที่เกี่ยวข้องและ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้
องค์ความรู้ Data Process Information สารสนเทศที่เกี่ยวข้องและ นำไปใช้ประโยชน์ได้ Knowledge สารสนเทศที่เกี่ยวข้องและนำไปใช้ประโยชน์ได้
8
ชนิดขององค์ความรู้ (Type of Knowledge)
จำแนกตามลักษณะที่ประกอบขึ้นเป็นระบบจัดการองค์ความรู้ จำแนกตามความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ จำแนกตามประโยชน์ในการใช้งานขององค์ความรู้ จำแนกตามลักษณะขององค์ความรู้
9
จำแนกตามลักษณะที่ประกอบขึ้นเป็นระบบจัดการองค์ความรู้
Descriptive Knowledge คือ ความรู้เชิงพรรณา อธิบายเป็นประโยค เป็นสารสนเทศจาก อดีต ปัจจุบัน และอนาคต หรือสมมติฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อใช้ตัดสินใจว่าต้องเรียนรู้อะไรบ้าง (Knowing What) Procedural Knowledge คือ องค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการนำองค์ความรู้ไปแก้ไขปัญหา เพื่อให้สามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ (Knowing How) Reasoning Knowledge คือ องค์ความรู้ที่ใช้วัดผลว่าการนำสารสนเทศต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ปัญหานั้นถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด (Knowing Why) Presentation Knowledge คือ องค์ความรู้เพื่อใช้ในการสื่อสาร และนำเสนอ Linguistic Knowledge คือ องค์ความรู้ที่ใช้ในการแปรความหมายขององค์ความรู้ Assimilative Knowledge คือ องค์ความรู้ที่ใช้ในการบำรุงรักษาฐานองค์ความรู้ โดยการปรับปรุงองค์ความรู้ที่มีอยู่
10
จำแนกตามความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
Base Knowledge คือ องค์ความรู้ที่มีความสำคัญมากสำหรับองค์กร ใช้ในการวางแผนระยะสั้นเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ Trivial Knowledge คือ องค์ความรู้ที่มีความสำคัญไม่มาก (องค์ความรู้เบ็ดเตล็ด) ไม่มีผลกระทบต่อองค์กร
11
จำแนกตามประโยชน์ในการใช้งานขององค์ความรู้
องค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ (Knowledge of Methods) เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างถนน องค์ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือ (Knowledge of Equipment and Tools) เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือขุดเจาะน้ำมัน องค์ความรู้เชิงสถิต (Static Knowledge) คือ องค์ความรู้ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ทฤษฎีและกฎต่าง ๆ เช่น กฎแรงโน้มถ่วงของโลก องค์ความรู้เชิงกล (Dynamic Knowledge) คือ องค์ความรู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า องค์ความรู้เชิงประกาศ (Declarative Knowledge) คือองค์ความรู้จากการประกาศ หรือกำหนดขึ้น เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร องค์ความรู้เชิงระเบียบวิธี (Procedural Knowledge) คือ องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการประมวลผลโปรแกรม องค์ความรู้ฮิวริสติค (Heuristic Knowledge) คือ องค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมาก เกิดจากการลองผิดลองถูก (Trial and Error) ของผู้แก้ปัญหา
12
จำแนกตามลักษณะขององค์ความรู้
องค์ความรู้ที่ไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) หรือภูมิปัญญา เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้สึก มุมมอง ไหวพริบ ความเชี่ยวชาญ ทักษะ และความเข้าใจของแต่ละบุคคล เป็นองค์ความรู้ที่ไม่มีรูปแบบแน่นอน ไม่มีความชัดเจน ยากต่อการเขียนอธิบาย เช่น การใช้ประสบการณ์ทำนายฝนตกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป อธิบายการขี่จักรยาน หรือทำเค้กให้นุ่มอร่อย บางครั้งยากต่อการสอนเป็นขั้นตอนเป็นต้น องค์ความรู้ที่มีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) เป็นองค์ความรู้ที่สามารถเขียนอธิบายออกมาได้ชัดเจน มักอยู่ในรูปนโยบาย หรือ รายงาน
13
การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management)
องค์ความรู้ เป็นสินทรัพย์ที่มีค่าอย่างหนึ่ง ที่องค์กรในปัจจุบันต้องการครอบครองไว้ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ และองค์ความรู้ด้านปฏิบัติงานทั้งหมดทางด้านธุรกิจ ในการทำงานนั้น บางบริษัทจะให้พนักงานบันทึกองค์ความรู้ไว้ในเอกสาร เมื่อพนักงานลาออก องค์ความรู้ยังอยู่กับบริษัท ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึง ความหมาย และความสำคัญของการจัดการองค์ความรู้
14
ความหมายของการจัดการองค์ความรู้
การจัดการองค์ความรู้และทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร เพื่อจะได้นำองค์ความรู้นั้นไปพัฒนาความสามารถในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด มีประสิทธิภาพและคุณค่ามากขึ้น กระบวนการที่จะช่วยให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง เพื่อให้บุคคลอื่น สามารถใช้ประโยชน์องค์ความรู้นั้นได้ กระบวนการที่ช่วยให้องค์กรสามารถค้นพบ จัดการ เผยแพร่ และถ่ายโอนสารสนเทศและความเชี่ยวชาญที่สำคัญ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา การเรียนรู้ การวางแผนกลยุทธ์และการตัดสินใจได้
15
ความสำคัญของการจัดการองค์ความรู้
ถ้าการเรียนรู้ขององค์กรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มีความหมายโดยนัยว่าองค์กรนั้นมีองค์ความรู้ และประสบการณ์สะสมเพิ่มมากขึ้น สามารถเรียกได้ว่า “องค์ความรู้เป็นสินทรัพย์ (Knowledge Assets) ชนิดหนึ่ง” โดยทั่วไปทรัพย์สินย่อมมีวันใช้หมดหรือเสื่อมค่าไปในที่สุด แต่สินทรัพย์ที่เป็นความรู้ เมื่อยิ่งใช้งานยิ่งมีค่ามากขึ้น จากประสบการณ์ที่สั่งสมลงไป การแก้ปัญหาในปัจจุบัน สามารถสะสมความรู้ และประสบการณ์เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในอนาคตได้ ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ควรหันมาให้ความสำคัญของการจัดการองค์ความรู้ให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการลงทุน ระบบจัดการองค์ความรู้ ที่จะช่วยให้สามารถจัดการกับองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามการลงทุนทุกโครงการย่อมหวังผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่จะได้รับ ก่อนการลงทุนองค์กรจึงควรมีการศึกษาถึงระบบการจัดการดังกล่าวอย่างถี่ถ้วน อีกทั้งควรกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรเห็นความสำคัญในส่วนนี้ด้วย อันจะทำให้ได้รับความร่วมมือในการแบ่งปันองค์ความรู้ซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี
16
ระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System) (1/3)
กระบวนการในการแปลงองค์ความรู้แบบมีโครงสร้างให้เป็น องค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้างอาจทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ Explicit Knowledge Tacit Knowledge กระบวนการแปลงองค์ความรู้ที่ไม่มีโครงสร้าง ให้เป็นองค์ความรู้ที่มีโครงสร้าง นโยบาย การตัดสินใจ กลยุทธ์ แผนงาน สารสนเทศ ฯลฯ ความชำนาญ ประสบการณ์ ความคิด วัฒนธรรมขององค์กร ฯลฯ การบริหารงานและความ สามารถที่แท้จริงขององค์กร รูปแสดงความสัมพันธ์ของการบริหารงาน กับ Tacit และ Explicit Knowledge
17
ระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System) (2/3)
กระบวนการใจการรวบรวม จำแนก เลือก และทำการเผยแพร่ข้อมูลที่มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำขององค์กร (Organization Memory) ในรูปแบบที่ไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) มาแปลงเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) ซึ่งจะช่วยในการแก้ปัญหา การวางกลยุทธ์ และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการทำงานแบบ Dynamic Learning ซึ่งจะทำการจำแนกองค์ความรู้แล้วสร้างให้อยู่ในรูปที่เป็นมาตรฐานเพื่อส่งต่อไปยังผู้ใช้
18
แนวคิดในการสร้างระบบจัดการองค์ความรู้
มีการแบ่งปันความรู้และการฝึกฝนที่ดีเยี่ยม ให้พนักงานซึมซับความรับผิดชอบในการแบ่งปันองค์ความรู้ เน้นองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ผลักดันให้มีการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ระบบต้องสามารถติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญได้ ทำการสร้างและค้นหาฐานข้อมูลลูกค้า ทำความเข้าใจและทำการวัดค่าขององค์ความรู้ที่ได้ ให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ทางปัญญา
19
ระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System) (3/3)
วิวัฒนาการ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ แนวคิดพื้นฐาน คลังองค์ความรู้ (Knowledge Repository) หน้าที่ของระบบจัดการองค์ความรู้
20
วิวัฒนาการ ยุคแรก : ปากต่อปาก ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
ยุคที่ 2 : มีการประดิษฐ์ตัวอักษร ตำรา หนังสือ ยุคที่ 3 : ยุคอุตสาหกรรม มีการใช้งานระบบอัตโนมัติ ยุคที่ 4 : ยุคการสื่อสาร โทรคมนาคม และเครือข่าย
21
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ (1/2)
เป้าหมายของระบบจัดการองค์ความรู้คือ การปรับปรุงความสามารถในการจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้ สร้างคลังเก็บองค์ความรู้ ปรับปรุงการเข้าถึงองค์ความรู้ ทำให้สามารถใช้งานองค์ความรู้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น จัดการกับองค์ความรู้เสมือนเป็นทรัพย์ประเภทหนึ่ง
22
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ (2/2)
หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของระบบจัดการองค์ความรู้ คือ การนำสินทรัพย์ที่เรียกว่าองค์ความรู้มาเปลี่ยนให้เป็นผลตอบแทนที่สามารจับต้องได้ขององค์กร โดยจะมีการเตรียมการดังนี้ เปลี่ยนรูปแบบขององค์ความรู้เพื่อเพิ่มผลของขั้นตอนปฏิบัติงานทางธุรกิจให้ดีขึ้น วางกลยุทธ์ด้านองค์ความรู้เพื่อเร่งการพัฒนาและการสร้างสรรในองค์กร สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทั้งองค์กร ใช้องค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ
23
ระบบจัดการองค์ความรู้เป็นกระบวนการที่ถูกออกแบบมาเพื่อ
สามารถสร้างองค์ความรู้ได้โดยผ่านการเรียนรู้ ให้องค์ความรู้ต้องเป็นสิ่งที่จับต้องและสามารถอธิบายได้ สามารถทำการแบ่งปันและสื่อสารแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้อื่นได้ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ สามารถนำเอาองค์ความรู้ไปใช้ และนำองค์ความรู้เก่ากลับมาใช้ได้ สามารถรับองค์ความรู้ใหม่ได้
24
แนวคิดพื้นฐาน แนวคิดของระบบจัดการองค์ความรู้มาจากการเรียนรู้ขององค์กร (Organization Learning) และความทรงจำขององค์กร (Organization Memory) โดยสมาชิกในองค์กรต้องทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดความรู้ให้แก่กัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ ส่งผลให้ความรู้เปลี่ยนรูปแบบและส่งต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ต่อไป
25
คลังองค์ความรู้ (Knowledge Repository)
องค์ความรู้จากภายนอกองค์กร เช่น องค์ความรู้เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งจำเป็นต้องมีการอธิบายและแปลความหมายที่ชัดเจน องค์ความรู้แบบเป็นทางการภายในองค์กร เช่น การทำรายงานการวิจัย การนำเสนอ วัตถุดิบทางการตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้แบบมีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) และมีบางส่วนที่ไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) องค์ความรู้แบบไม่เป็นทางการภายในองค์กร เช่น ฐานข้อมูลการอภิปราย ข้อมูลการบริการลูกค้า และข้อมูลที่เก็บสารสนเทศที่มีการสอบถามกันซึ่งกันและกันของบุคลากร (Tacit Knowledge) เนื่องจากความรู้นั้นได้ใส่ความรู้สึกนึกคิดลงไปด้วย คำบางคำไม่มีความหมายที่ชัดเจน ทำให้ผู้ฟังต้องตีความเอง
26
หน้าที่ของระบบจัดการองค์ความรู้
การรวบรวมประสบการณ์ การเรียนรู้ มุมมอง แนวคิด ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ระบบจัดการองค์ความรู้ วัฒนธรรมขององค์กร โครงสร้างระบบ สารสนเทศขององค์กร รูปแสดงการผสมผสานการทำงานขององค์ประกอบขององค์กรผ่านระบบจัดการองค์ความรู้
27
หน้าที่ของระบบจัดการองค์ความรู้
Externalization คือ หน้าที่ในการจัดรูปแบบขององค์ความรู้ภายนอกองค์กร และมีการจัดการให้สามารถค้นหาองค์ความรู้ที่คล้ายคลึงกันได้ Internalization คือ หน้าที่ในการจำแนกองค์ความรู้ที่มีโครงสร้าง (Explicit Knowledge) ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้ใช้ แล้วทำการจับคู่ ปัญหา สถานการณ์ หรือจุดที่น่าสนใจ เข้ากับองค์ความรู้ที่ผ่านการ Externalization มาแล้ว Intermediation คือ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการจัดหาแหล่งองค์ความรู้ที่ดีที่สุด ให้กับผู้ค้นหาองค์ความรู้ โดยอาศัยประสบการณ์และความสนใจของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล โดยเกี่ยวข้องกับ Groupware, Intranets และ Workflow Cognition คือ การรับรู้ หน้าที่ในการประยุกต์การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการ 3 อย่างข้างต้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่กระทำได้ยาก เนื่องจากกระบวนการรับรู้ที่จะจำแนกว่าองค์ความรู้ที่ต้องการอยู่ที่ใด และมีการใช้งานอย่างไร ซึ่งยังมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการสนับสนุนการทำงานดังกล่าวน้อยมาก
28
ระบบจัดการองค์ความรู้จะต้องสัมฤทธิ์ผลในด่านต่างๆต่อไปนี้
1. การสร้างวัตนธรรมองค์ความรู้ (Creating a Knowledge Culture) คือจะต้องสามารถสร้างความเชื่อถือในวัฒนธรรมองค์ความรู้ของบุคลากรในองค์กรได้ 2. การได้มาซึ่งความรู้ (Capturing Knowledge) ระบบจัดการองค์ความรู้จะต้องสามารถค้นหา หรือนำองค์ความรู้มาใช้ในกิจกรรมต่างๆได้อย่างตรงประเด็น กิจกรรมดังกล่าว เช่น การสร้างข้อมูลและสารสนเทศ การตัดสินใจ การสร้างนโยบาย 3. การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Generation) การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้ตัดสินใจ เพื่อความได้เปรียบคู่แข่งขัน
29
ระบบจัดการองค์ความรู้จะต้องสัมฤทธิ์ผลในด่านต่างๆต่อไปนี้
4. การสร้างความชัดเจนให้กับองค์ความรู้ (Knowledge Explication) การทำให้องค์ความรู้มีความชัดเจนขึ้น เพื่อให้บุคคลอื่นสามารถนำไปใช้งานได้ 5. การแบ่งปันและนำองค์ความรู้กลับมาใช้ใหม่ (Knowledge Sharing and Reuse) 6. การฟื้นฟูองค์ความรู้ (Knowledge Renewal) การนำองค์ความรู้มาปรับเปลี่ยนเนื้อความใหม่ เพื่อให้สามารถนำไปใช้กับงานในลักษณะอื่นได้
30
วงจรการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Cycle) (1/3)
กำหนดรูปแบบองค์ความรู้ 2 ปรับปรุงองค์ความรู้ 3 สร้างองค์ความรู้ 1 จัดเก็บองค์ความรู้ 4 เผยแพร่องค์ความรู้ 6 จัดการองค์ความรู้ 5 รูปแสดงวงจรการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Cycle)
31
วงจรการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Cycle) (2/3)
การสร้างองค์ความรู้ (Create Knowledge) เป็นขั้นตอนคล้ายกับการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ที่ได้อาจมาจากภายในหรือภายนอกองค์กร กำหนดรูปแบบองค์ความรู้ (Capture Knowledge) เป็นขั้นตอนในการจำแนกองค์ความรู้ใหม่ๆ ตามประโยชน์ขององค์ความรู้ และนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม การปรับปรุงองค์ความรู้ (Refine Knowledge) เป็นขั้นตอนการปรับปรุงองค์ความรู้ ให้มีโครงสร้าง และความหมายชัดเจนขึ้น (Explicit Knowledge) สามารถนำไปใช้งานได้
32
วงจรการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Cycle) (2/3)
การจัดเก็บองค์ความรู้ (Store Knowledge) เป็นขั้นตอนการจัดเก็บองค์ความรู้ไว้ในคลังองค์ความรู้ เพื่อการนำไปใช้งานของบุคลากรในองค์กรต่อไป การจัดการองค์ความรู้ (Manage Knowledge) เป็น ขั้นตอนในการทบทวน ตรวจสอบความสัมพันธ์และความถูกต้องขององค์ความรู้ และจัดเก็บองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบัน การเผยแพร่องค์ความรู้ (Disseminate Knowledge) เป็นขั้นตอนการเผยแพร่องค์ความรู้ไปยังผู้ใช้ในองค์กร ในทุกที่ และทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
33
หัวหน้าส่วนจัดการองค์ความรู้ (Chief Knowledge Officer: CKO)
การใช้องค์ความรู้ทำให้เกิดความพยายามสร้างวัฒนธรรม (Culture) ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยการทำงานในองค์กร โดยอาศัยการสนับสนุนและมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับสูง การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Development) ในหลายองค์กรจะมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จัดการองค์ความรู้ (Knowledge Officer) และมีหัวหน้าทีมคือ “หัวหน้าส่วนจัดการองค์ความรู้” (Chief Knowledge Officer: CKO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่เพิ่มสินทรัพย์ที่เรียกว่าองค์ความรู้ขององค์กร ออกแบบและสร้างกลยุทธ์ในการจัดการองค์ความรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งภายในและนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการใช้งานองค์ความรู้ในองค์กรอย่างเต็มที่
34
การพัฒนาระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Development) (1/2)
สิ่งแรกในการการวางกลยุทธ์ขององค์ความรู้ คือ ต้องทำเพื่อพัฒนามุมมองเกี่ยวกับการแข่งขัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีการนำกลยุทธ์การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร (SWOT=Strengths, Weakness, Opportunities and Threats Analysis) มาใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ความรู้และการสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ทำให้เห็นความสำคัญของกลยุทธ์ด้านการจัดการองค์ความรู้ และทำการจำแนกองค์ความรู้ที่สำคัญขององค์กร
35
การพัฒนาระบบจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management Development) (2/2)
ขั้นตอนการพัฒนาระบบจัดการองค์ความรู้ แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ค้นหาปัญหา เตรียมการเปลี่ยนแปลง จัดตั้งทีมงาน กำหนดองค์ความรู้ สร้างกลไกการตอบสนอง กำหนดกรอบแนวคิด :ระบุโครงสร้างพื้นฐานระบบประกอบด้วย คลังองค์ความรู้ กระบวนการจัดหาและจัดเก็บองค์ความรู้ การสืบค้น และ จัดการเนื้อหาขององค์ความรู้ ผสมผสานระบบสารสนเทศที่มีอยู่แล้วในองค์กร
36
แนวทางปฏิบัติ เทคโนโลยี และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบจัดการองค์ความรู้
การผสมผสานการทำงานระหว่างเครื่องมือและเทคโนโลยี เพื่อที่จะทำให้การจัดการองค์ความรู้นั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดขององค์ความรู้ที่องค์กรต้องการ การเข้าถึง และการแบ่งปัน ลักษณะการทำงานอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้โครงการพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ประสบความสำเร็จได้ คือ การใช้คำที่ง่ายต่อการอ่านและทำความเข้าใจ
37
ส่วนประกอบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบจัดการองค์ความรู้
เครือข่ายการสื่อสาร เครื่องมือสนับสนุนการทำงานร่วมกันในองค์กร เช่น Lotus Notes, Group Systems การประชุมผ่านกล้องวิดีโอ ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ A.I. Tools การสืบค้นสารสนเทศ ระบบปฏิบัติการ เครื่องเมือในการจัดทำคลังข้อมูลและเหมืองข้อมูล เครื่องมือวิเคราะห์การสร้างองค์ความรู้ เครื่องมือจัดการเนื้อหาบนเว็บ ฐานข้อมูล ตัวแทนปัญญา (Intelligent Agent) ซอฟต์แวร์ในการพัฒนาองค์ความรู้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการองค์ความรู้ เช่น (SolutionBuilder, Dataware, KnowledgeX และ Decision Suite)
38
ความสำเร็จของการพัฒนาระบบจัดการองค์ความรู้
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ เหตุผลในการวัดความสำเร็จ สาเหตุของความล้มเหลว
39
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ โครงการพื้นฐานภายในองค์กร มาตรฐาน
การทำงาน สารสนเทศ มาตรฐาน การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ การสร้างความคุ้นเคยให้กับพนักงานในวัฒนธรรมองค์ความรู้ ตามวัตถุประสงค์ขององค์ความรู้ และการใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ ตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จ คือ การเพิ่มขึ้นของการใช้งาน และจำนวนขององค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้น และสามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถของบุคลากร ภายนอกองค์กร
40
เหตุผลในการวัดความสำเร็จ
เพื่อเป็นพื้นฐานในการประเมินค่าสินทรัพย์ใด ๆ ขององค์กร ทั้งด้านราคา และผลกำไรที่จะได้รับ เพื่อให้มีการดำเนินงาน หรือ การตัดสินใจที่ถูกต้อง และเน้นการบริหารให้ตรงจุดกับปัญหา เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในระบบจัดการองค์ความรู้
41
สาเหตุของความล้มเหลว
การไม่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ การให้ความสำคัญกับการจัดเก็บองค์ความรู้มากกว่าถ่ายทอดองค์ความรู้ การให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ที่มีโครงสร้างเท่านั้น ความล้มเหลวในการให้ความสำคัญกับการแบ่งปันองค์ความรู้ในองค์กรมากเกินไป มีการแบ่งปันสารสนเทศตลอดเวลา องค์ความรู้เปลี่ยนตลอดเวลา บุคลากรเกิดความสับสน ความล้มเหลวจากการจัดการองค์ความรู้ที่ไม่มีโครงสร้าง เนื่องจากผู้บริหารไม่เข้าใจ และให้ความสำคัญองค์ความรู้ชนิดนี้ การให้ความสนใจอดีตและปัจจุบันมากกว่าอนาคต การใช้เทคโนโลยีแทนที่การติดต่อโดยมนุษย์ ทำให้ไม่เกิดการวิเคราะห์และขาดในเรื่องความนึกคิด ให้ความสำคัญในการพยายามประเมินองค์ความรู้โดยตรงแทนที่จะประเมินผลลัพธ์
42
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
ความหมาย การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้ขององค์กร (Organization Learning) ความทรงจำขององค์กร (Organizational Memory) วัฒนธรรมขององค์กร (Organizational Culture)
43
องค์กรแห่งการเรียนรู้ : ความหมาย
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (The Learning Organization) หมายถึงความสามารถขององค์กรในการเรียนรู้ประสบการณ์จากอดีต เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงความสามารถในการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย 3 พื้นฐาน คือ การให้ความหมาย (Meaning) คือ การพิจารณาว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นจะมุ่งเน้นการเรียนรู้เรื่องใด การจัดการ (Management) คือ การพิจารณาว่าจะต้องทำอย่างไรให้องค์กรสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยดี การวัดผล (Measurement) คือ การประเมินอัตรา หรือวัดระดับการเรียนรู้
44
องค์กรแห่งการเรียนรู้ : ข้อดี
สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ มีการทดลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีการเรียนรู้จากการกระทำที่ดีที่สุดของบุคคลอื่น มีการส่งผ่านองค์ความรู้ไปยังส่วนต่าง ๆ ขององค์กรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ องค์กรแห่งการเรียนรู้ จะเกี่ยวข้องกับ “การเรียนรู้ขององค์กร” และ “ความทรงจำขององค์กร”
45
องค์กรแห่งการเรียนรู้ : การเรียนรู้
Passive Learning : การฝึกอบรม สัมมนา หรือ การอ่าน เป็นต้น Active Learning : การทดสอบ และวิเคราะห์คู่แข่งขันในตลาด Interactive Learning : เป็นการเรียนรู้แบบตัวต่อตัว มีถ่ายทอดองค์ความรู้แบบไม่มีโครงสร้าง (Tacit Knowledge) ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างองค์กร
46
องค์กรแห่งการเรียนรู้ : การเรียนรู้ขององค์กร
การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และทำความเข้าใจเพื่อที่จะดึงเอาจุดเด่นออกมาใช้งาน โดยที่ระบบจะประสบความสำเร็จได้นั้น เกิดจากการที่สมาชิกในองค์กร มีการแบ่งปัน ร่วมมือในการรับรู้และจดจำอย่างเป็นระบบ และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม มีความสำคัญอย่างมากในการเรียนรู้ขององค์กร ขั้นตอนการสร้างการเรียนรู้ขององค์กร มีดังนี้ การค้นหาองค์ความรู้ (Knowledge Acquisition) การแบ่งปันองค์ความรู้ (Knowledge Sharing) การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Knowledge Utilization)
47
องค์กรแห่งการเรียนรู้ : การเรียนรู้ขององค์กร
ทิศทางการเรียนรู้ 7 ทิศทาง Knowledge Source เป็นการเรียนรู้ถึงแหล่งองค์กรความรู้ต่าง ๆ ซึ่งอาจมาจากภายในหรือภายนอกองค์กรก็ได้ 2. Product-process Focus เป็นการเรียนรู้ที่เริ่มจากผลิตภัณฑ์ที่ได้ในแต่ละส่วนการทำงาน แล้วจึงนำไปปรับในการเรียนรู้เรื่องกระบวนการในการทำงานด้วยวิธีการทำงาน 3. Documentation Mode เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับข้องกับวิธีในการเก็บรักษาและดูแลองค์กรความรู้ในแบบต่าง ๆ เช่น อยู่ในรูปแบบเอกสาร อยู่ในรูประบบผู้เชี่ยวชาญ ในรูปของฐานข้อมูล ซึ่งจะมีทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ 4. Dissemination Mode เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับทิศทางในการเรียนรู้ โดยอาจเกิดในทิศทางจากล่างสู่บน หรือจากบนลงล่างก็ได้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นอาจมีโครงสร้างหรือไม่มีโครงสร้างก็ได้
48
องค์กรแห่งการเรียนรู้ : การเรียนรู้ขององค์กร
5. Learning Focus เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบมาตรฐานในการเรียนรู้ เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้ หรือวิธีในการเรียนรู้นั้น โดยการสร้างกฎหรือวิธีการในการเรียนรู้ขึ้นมา 6. Value Chain Focus เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความสามารถและการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัถุดิบ กระบวนการผลิต ตลอดจนการจัดส่งผลิตภัณฑ์ไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย 7. Skill Development Focus เป็นการเรียนรู้ในทิศทางของการพัฒนาทักษะของบุคลากรเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
49
องค์กรแห่งการเรียนรู้ : ความทรงจำขององค์กร
ความทรงจำขององค์กร คือ การบันทึก การแสดงค่า และแบ่งปันการเรียนรู้ขององค์กร ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ Individual Bin : แฟ้มและรายงานส่วนบุคคล Information Bin : ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) Culture Bin : การเผยแพร่สารสนเทศในรูป Tacit & Explicit Transformation Bin : การจัดเก็บกระบวนการทางธุรกิจที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง Structural Bin : การจัดเก็บสารสนเทศเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ Ecology Bin : ความทรงจำเกี่ยวกับโครงสร้างทางกายภาพ หรือสิ่งแวดล้อมขององค์กร
50
องค์กรแห่งการเรียนรู้ : วัฒนธรรมขององค์กร
การแบ่งปันองค์ความรู้ของบุคลากรในองค์กรเพื่อให้ทราบถึงธรรมเนียมในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีการเรียนรู้และจำที่ดีขึ้น ซึ่งตลอดเวลาที่องค์กรเปิดดำเนินการ บุคลากรจะมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันว่าสิ่งใดที่จะต้องทำและสิ่งใดไม่ต้องทำ ทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมหรือวิธีปฏิบัติสำหรับบุคลากรใหม่นั้นเอง ดังนั้น การเรียนรู้และความทรงจำขององค์กร จะขึ้นอยู่กับวิธีปฏิบัติที่มีอยู่แล้วขององค์กร เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยในการเรียนรู้มากที่สุด
52
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สอนวันที่ 4/03/2562
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สอนวันที่ 4/03/2562
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.