ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
โดย งานบริหารบุคลากรและค่าตอบแทน
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ หลังเกษียณอายุราชการ/อายุงาน สำหรับข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างประจำ โดย งานบริหารบุคลากรและค่าตอบแทน
2
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
พนักงานมหาวิทยาลัย/พนักงานมหาวิทยาลัย(ชื่อส่วนงาน) ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 1. เงินชดเชย (การยื่นแบบชำระภาษีเงินได้ประจำปี ควรแยกเงินชดเชยที่ได้รับไปไว้ในใบแนบ ภ.ง.ด.90 (เป็นกรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ) ซึ่งจะทำเสียภาษีน้อยลง) ระยะเวลาการทำงาน จำนวนเงินชดเชย ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้เงิน 1 เท่า ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้เงิน 3 เท่า ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้เงิน 6 เท่า ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้เงิน 8 เท่า ทำงานครบ 10 ปี ขึ้นไป ได้เงิน 10 เท่า
3
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสช.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้รับคืนเฉพาะผู้สมัครสมาชิกฯ ดังนี้ (1) เงินสะสม คือ เงินที่จ่ายเข้ากองทุนฯ ร้อยละ 3-15 ของเงินเดือน (2) เงินสมทบ คือ เงินที่รัฐจ่ายสมทบร้อยละ 3 ของเงินเดือน (3) ผลประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุน เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะโอนเข้าบัญชีธนาคารที่สมาชิกแจ้งไว้ ***ใบสรุปรายละเอียดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษี ติดต่อรับได้ที่ตึกศรีสังวาลย์ (เล็ก) ชั้น 4 ในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ***
4
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสช.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้รับคืนเฉพาะผู้สมัครสมาชิกฯ ดังนี้ (1) เงินสะสม คือ เงินที่จ่ายเข้ากองทุนฯ ร้อยละ 3-15 ของเงินเดือน (2) เงินสมทบ คือ เงินที่รัฐจ่ายสมทบร้อยละ 3 ของเงินเดือน (3) ผลประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุน เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะโอนเข้าบัญชีธนาคารที่สมาชิกแจ้งไว้ ***ใบสรุปรายละเอียดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อใช้ในการลดหย่อนภาษี ติดต่อรับได้ที่ตึกศรีสังวาลย์ (เล็ก) ชั้น 4 ในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ***
5
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสช.) ต่อ อายุเกิน 55 ปี เป็นสมาชิกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป อายุเกิน 55 ปี เป็นสมาชิกไม่ถึง5 ปี 1. สมาชิกไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1. คงเงินไว้เพื่อนับอายุสมาชิกต่อไป ให้ครบ 5 ปี เพื่อไม่ให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2. สามารถสร้างผลกำไรไปเรื่อยๆ หากสมาชิกยังไม่รีบใช้เงิน 3. การคงเงินเป็นการออมเงินอย่างหนึ่ง เพื่อมีใช้จ่ายในตอนที่จำเป็น ซึ่งได้ผลประโยชน์มากกว่าการไปฝากออมทรัพย์ แต่การคงเงิน เมื่อให้ธนาคารดูแล ต้องจ่ายค่าดูแล คือค่าธรรมเนียมปีละ 500 บาท (จ่ายเมื่อขอถอนเงินออก)
6
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสช.) ต่อ **หากสมาชิกอายุสมาชิกกองทุนไม่ครบ 5 ปี และถอนเงินกองทุน จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นไปตามเงื่อนไขธนาคาร** หมายเหตุ** หากสมาชิกไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมในการคงเงิน ให้ลาออกจากกองทุนและขอโอนย้ายไปเป็นRMF จะสามารถนับอายุสมาชิกต่อให้ โดยติดต่อ บลจ. ทหารไทย เพื่อฟังคำแนะนำและเงื่อนไขกองทุน โทร. 1725
7
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ข้าราชการ ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 1. บำเหน็จ / บำนาญ ผู้เกษียณอายุราชการ มีสิทธิเลือกรับเงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญ อย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น 2. บำเหน็จดำรงชีพ 3. เงิน กบข. (กรณีเป็นสมาชิก) 4. บำเหน็จตกทอด 5. เงินช่วยพิเศษกรณีถึงแก่ความตาย
8
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ข้าราชการ ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 1. บำเหน็จ-บำนาญ วิธีการคำนวณ กรณีไม่เป็นสมาชิก กบข. เวลาราชการ (ปี) x เงินเดือนเดือนสุดท้าย (ณ วันที่ 30ก.ย.) 50 (เศษของปีตั้งแต่ 6เดือนขึ้นไป นับเป็น 1ปี) กรณีเป็นสมาชิก กบข.* เวลาราชการ (ปี) x เงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย (เศษของปีใช้ทศนิยมสี่ตำแหน่ง) *บำนาญจะได้รับไม่เกิน 70%ของเงินเดือนเฉลี่ย 60เดือนสุดท้าย
9
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ข้าราชการ ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 2. บำเหน็จดำรงชีพ เงินบำเหน็จดำรงชีพคือ เงินที่รัฐจ่ายให้แก่ข้าราชการที่พ้นจากราชการและเลือกรับบำนาญเท่านั้น จำนวนเงิน 15 เท่า ของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อผู้รับบำนาญมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ ในส่วนที่เกิน 200,000 บาท ได้อีกครั้ง แต่เมื่อรวมกับครั้งแรกต้องไม่เกิน 400,000บาท
10
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ข้าราชการ ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 3. เงิน กบข. (กรณีเป็นสมาชิก) (1) เงินประเดิม คือ เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกที่ เลือกรับบำนาญ และรับราชการอยู่ก่อน วันที่ 27มีนาคม 2540 (2) เงินสะสม คือ เงินที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนฯ ร้อยละ 3 ของเงินเดือนเป็นประจำ ทุกเดือน (3) เงินสมทบ คือ เงินที่รัฐจ่ายสมทบให้แก่สมาชิกที่สะสมเงิน ร้อยละ 3 ของเงินเดือน เป็นประจำทุกเดือน (4) เงินชดเชย คือ เงินที่จ่ายให้แก่สมาชิกที่เลือกรับบำนาญร้อยละ 2ของเงินเดือน (5) ผลประโยชน์ตอบแทน ของเงินดังกล่าว
11
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ข้าราชการ ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 3. เงิน กบข. (กรณีเป็นสมาชิก) ทางเลือกในการรับเงิน กบข.คืน (1) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับทั้งจำนวน (2) ขอโอนเงินที่มีสิทธิได้รับไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกจากงานหรือการชราภาพ (3) ขอฝากเงินทั้งจำนวนที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อทั้งจำนวน (4) ขอทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับ (5) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือทยอยขอรับ กบข. หรือโทรศัพท์ สายด่วน 1179
12
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ข้าราชการ ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 4. บำเหน็จตกทอด เงินบำเหน็จตกทอด คือ เงินที่รัฐจ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคล ซึ่งผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้ โดยจ่ายให้ครั้งเดียวเมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย “จำนวนเงิน 30 เท่าของเงินบำนาญ หักด้วยเงินบำเหน็จดำรงชีพ” การจ่ายเงินบำเหน็จตกทอด 1. จ่ายให้แก่ทายาทตามกฎหมายที่มีชีวิตอยู่ ดังนี้-บุตรได้รับสองส่วน กรณีมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไป ได้รับสามส่วน-สามีหรือภรรยา ได้รับหนึ่งส่วน-บิดา/มารดา ได้รับหนึ่งส่วน 2. กรณีไม่มีทายาทตามกฎหมาย ให้จ่ายให้บุคคลที่ผู้ตายแสดงเจตนาไว้ 3. กรณีไม่มีทายาทตามกฎหมายและไม่ได้แสดงเจตนาไว้ ให้สิทธิในการรับบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง (ตาม พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 48-50)
13
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ข้าราชการ ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 5. เงินช่วยพิเศษกรณีถึงแก่ความตาย ข้าราชการบำนาญผู้ใดถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของบำนาญ ที่ข้าราชการบำนาญผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนที่ถึงแก่ความตาย ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญ และเงินตามอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ หมวด 4 มาตรา 23
14
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 2. การลดหย่อนค่ารักษาพยาบาล (เฉพาะส่วนเกินสิทธิ) การลดหย่อนส่วนเกินสิทธิ (ค่าห้อง/ค่าอาหาร) ประเภท ระยะเวลาปฏิบัติงาน ส่วนลด(ร้อยละ) 1.อดีตข้าราชการ/อดีตพนักงาน ปฏิบัติงานเกิน 20 ปี ปฏิบัติงานเกิน 10 ปี ปฏิบัติงานไม่เกิน 10 ปี 60% (ตนเอง) 50% (ตนเอง) 30% (ตนเอง) มหาวิทยาลัย ที่เคยปฏิบัติงาน ในคณะฯ มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ปีขึ้นไป 2. อดีตลูกจ้างประจำเงินงบฯ / อดีตลูกจ้างประจำเงินนอกงบฯ ที่เกษียณอายุงานตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2560 เป็นต้นไป
15
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้ส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ที่ หน่วยงาน ต้นสังกัดโดยมีสิทธิเก็บไว้ 1 ชั้นสูงสุดของแต่ละสาย (สายช้างเผือกและสายมงกุฎ) แต่เมื่อผู้เกษียณฯ ถึงแก่ความตาย ทายาทจะต้องส่งคืนทั้งหมด ภายหลังจากเสร็จพิธีศพแล้ว หากสูญหายหรือไม่ส่งคืนทายาทจะต้องชดใช้เงินตามราคาที่ทางราชการกำหนด ดังนั้น หากไม่ประสงค์เก็บไว้สามารถส่งคืนทั้งหมดได้ทันที
16
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 1. บำเหน็จปกติ/ บำเหน็จรายเดือน 1. บำเหน็จปกติ เงินบำเหน็จปกติ คือ เงินที่รัฐจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำที่พ้นจากราชการเพียง ครั้งเดียว 2. บำเหน็จรายเดือน เงินบำเหน็จรายเดือน คือ เงินที่รัฐจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำที่พ้นจากราชการเป็นรายเดือน จนถึงแก่ความตาย โดยลูกจ้างที่มีสิทธิเลือกรับเงินบำเหน็จรายเดือนต้องมีอายุงานตั้งแต่ยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ขึ้นไป 3. กสจ.(กรณีเป็นสมาชิกฯ)
17
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ 2. โอนย้ายสิทธิประกันสุขภาพ (30 บาท) การให้สิทธิผู้เกษียณอายุงานประเภทการจ้าง ดังนี้ - พนักงานมหาวิทยาลัย พม. /พศ. - ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณแผ่นดิน - ลูกจ้างประจำเงินเงินรายได้คณะฯ สำหรับตนเองและญาติสายตรงเลือกใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าโรงพยาบาลศิริราชได้โดยความสมัครใจ ภายในวันที่เกษียณ หรือ ไม่เกินระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันเกษียณอายุงาน หมายเหตุ ทำผ่านระบบ e-doc ติดต่อสนง.ภาควิชา/ หน่วยงาน
18
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ สมาชิก ชพค./ ชพส. สมาชิก ชพค./ชพส. แสดงความประสงค์หักค่าสมาชิกผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย โดยกรอกแบบฟอร์มแสดงความประสงค์ พร้อมทั้งประทับตราและลายเซ็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย เอกสารประกอบคือ 1. สำเนาหน้าบัญชี 1 ฉบับ 2. สำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ **พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง**
19
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ บัตรประจำตัวผู้เกษียณฯ สำหรับผู้เกษียณอายุงานทุกประเภทการจ้าง เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อกับโรงพยาบาล และรับส่วนลดสำหรับร้านค้าสวัสดิการและร้านค้าในโรงพยาบาล ติดต่อรับบัตรได้ที่ตึกศรีสังวาลย์ (เล็ก) ชั้น 4 เมื่อปฏิบัติงานวันสุดท้าย
20
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ เงินกองทุนเกษียณอายุของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ม.มหิดล ระยะเวลาการเป็นสมาชิก เงินกองทุนที่จะได้รับ หมายเหตุ 10 ปีขึ้นไป – 15 ปี 8,000 บาท 15 ปีขึ้นไป – 20 ปี 12,000 บาท 20 ปีขึ้นไป – 25 ปี 16,000 บาท 25 ปีขึ้นไป– 30 ปี 22,000 บาท 30 ปีขึ้นไป – 35 ปี 28,000 บาท 35 ปีขึ้นไป 35,000 บาท สมาชิกผู้เกษียณฯ ให้ยื่นคำร้องก่อนวันเกษียณฯ ภายในเดือน หรือภายใน 60 วัน หลังจากวันเกษียณ
21
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ประเภทสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ (ต่อ) สวัสดิการเกื้อกูลสมาชิกอาวุโส สหกรณ์ออมทรัพย์ ม.มหิดล ระยะเวลาการเป็นสมาชิก เงินกองทุนที่จะได้รับ หมายเหตุ 20 ปีขึ้นไป – 25 ปี 15,000 บาท 25 ปีขึ้นไป – 30 ปี 20,000 บาท 30 ปีขึ้นไป – 35 ปี 25,000 บาท 35 ปีขึ้นไป 30,000 บาท สมาชิกยื่นความประสงค์ขอรับเงินได้ตั้งแต่วันที่อายุครบ 65 ปี 70 ปี 75 ปี 85 ปี และ 90 ปี ติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยมหิดล จำกัด โทร ,
22
ตัวอย่าง การกรอกเอกสาร เงินชดเชย (พม./พศ.)
23
ตัวอย่าง การกรอกเอกสาร (ข้าราชการ)
24
(ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ)
ตัวอย่าง การกรอกเอกสาร (ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ)
25
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท)
ตัวอย่าง การกรอกเอกสาร ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท)
26
ตัวอย่าง การกรอกเอกสาร
(ช.พ.ค.)
27
ตัวอย่าง การกรอกเอกสาร
(กสช.)
28
สำหรับ ข้าราชการ และลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ จะแจ้งวัน เวลา ในการชี้แจงการกรอกเอกสารภายหลัง
29
ชั้น 4 ขั้นตอนการส่งเอกสาร
จัดทำผ่านระบบ e-doc พร้อมนำเอกสารฉบับจริงมาส่งที่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ตึกศรีสังวาลย์(เล็ก) ชั้น 4 เริ่มส่งเอกสารได้ตั้งแต่ วันที่ 8 กรกฎาคม 2562
30
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
บำเหน็จ-บำนาญ/ เงินชดเชย (คุณสมพิศ) โทร.98865 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสช.) (คุณจุฑาทิพย์) โทร.97421 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (คุณกมลรัตน์) โทร.98865 ค่ารักษาพยาบาล (คุณสุดธิดา/คุณยุรี) โทร.98785 ช.พ.ค./ช.พ.ส. (คุณปวิตรา) โทร.98785 บัตรประจำตัวผู้เกษียณ (คุณสุพิเชษฐ์) โทร.97180
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.