ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดี
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตน เป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ครูอธิบายเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดี ตามผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดี มี 2 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 4 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตน เป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย เวลา 2 ชั่วโมง สถานภาพของพลเมืองดี บทบาทของพลเมืองดี หน้าที่ของพลเมืองดี สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี
2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดี
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดี 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ซึ่งสามารถ print ได้จาก CD คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ตอนที่ 3 เอกสาร/ความรู้เสริมสำหรับครู กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (การทำแบบทดสอบใน PowerPoint อาจใช้เวลามาก ครูควร print ให้นักเรียนทำ แล้วจึงใช้ PowerPoint ตรวจคำตอบ)
3
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใดเป็นวิถีประชาธิปไตย ก การมีความสันโดษ ข การเคารพซึ่งกันและกัน ค การทำงานต่าง ๆ ด้วยตนเอง ง ถูกทุกข้อ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ข้อ 1 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะวิถีประชาธิปไตยจะต้องมีการร่วมมือ ประสานประโยชน์ และแบ่งปันกัน การสันโดษไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมตามที่กล่าวมานี้ จึงไม่ใช่วิถีประชาธิปไตย ข ถูกต้อง เพราะวิถีประชาธิปไตย คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ซึ่งประกอบด้วย การเคารพซึ่งกันและกัน การร่วมมือประสานประโยชน์ และแบ่งปันกัน และการเชื่อในปัญญา การเคารพซึ่งกันและกันจึงเป็นวิถีประชาธิปไตยประการหนึ่ง ค ไม่ถูกต้อง เพราะวิถีประชาธิปไตยจะต้องมีการร่วมมือ ประสานประโยชน์ และแบ่งปันกัน การทำงานต่าง ๆ ด้วยตนเองไม่ได้ทำให้เกิดความร่วมมือและประสานประโยชน์ระหว่างกัน จึงไม่ใช่วิถีประชาธิปไตย ง ไม่ถูกต้อง เพราะคำตอบข้อ ข ถูกเพียงข้อเดียว อธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะวิถีประชาธิปไตย คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ซึ่งประกอบด้วย การเคารพซึ่งกันและกัน การร่วมมือประสานประโยชน์ และแบ่งปันกัน และการเชื่อในปัญญา การเคารพซึ่งกันและกันจึงเป็นวิถีประชาธิปไตยประการหนึ่ง
4
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
2. ผู้ที่มีสถานภาพเป็นพลเมืองไทยจะมีหน้าที่อย่างไร ก รับราชการทหาร ข ลงสมัครรับเลือกตั้ง ค รับการศึกษาจนจบระดับอุดมศึกษา ง ช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ข้อ 2 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 2 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่ดังนี้ 1. พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอางระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย 3. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 4. รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. บุคคลที่เป็นข้าราชการหรือบุคลากรฝ่ายรัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล การรับราชการทหารจึงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพลเมืองไทย ข ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น ส่วนการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นเพียงสิทธิไม่ใช่หน้าที่ ค ไม่ถูกต้อง เพราะแม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่รับการศึกษาอบรม แต่กฎหมายการศึกษาก็กำหนดให้คนไทยทุกคนต้องรับการศึกษาภาคบังคับจนจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่ใช่จนถึงระดับอุดมศึกษา ดังนั้นการรับการศึกษาจนจบระดับอุดมศึกษาจึงไม่ใช่หน้าที่ของพลเมืองของไทย ง ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ ไม่ใช่ช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส อธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่ เช่น รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รับราชการทหาร เสียภาษีอากร รับการศึกษาอบรม
5
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
3. บทบาททางสังคมมีประโยชน์อย่างไร ก เป็นองค์ประกอบในการจัดระเบียบสังคม ข ทำให้ประเทศพัฒนาไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ค ช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น ง ช่วยให้สมาชิกในสังคมมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ข้อ 3 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 3 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะบทบาททางสังคมก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในสังคมตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ บทบาททางสังคมถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดระเบียบสังคม เนื่องจากหากปราศจากการกำหนดบทบาททางสังคม รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมจะขาดระเบียบและปราศจากทิศทางที่แน่นอน สมาชิกจะเกิดความสับสนเมื่อจะต้องติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ ข ไม่ถูกต้อง เพราะการที่จะทำให้ประเทศพัฒนาไปสู่สังคมอุตสาหกรรมจะต้องมีการส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่สมาชิกของสังคม และจะต้องส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น บทบาททางสังคมจึงไม่ได้ทำให้ประเทศพัฒนาไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ค ไม่ถูกต้อง เพราะการที่บุคคลใดจะมีฐานะดีขึ้นบุคคลนั้นต้องมีความขยันหมั่นเพียร ประหยัด รู้จักเก็บหอมรอมริบ การปฏิบัติตามบทบาททางสังคมเพียงอย่างเดียวจึงไม่ได้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติตามมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น ง ไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่จะทำให้สมาชิกในสังคมมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน คือ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะบทบาททางสังคมก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในสังคมตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ บทบาททางสังคมถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดระเบียบสังคม เนื่องจากหากปราศจากการกำหนดบทบาททางสังคม รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมจะขาดระเบียบและปราศจากทิศทางที่แน่นอน สมาชิกจะเกิดความสับสนเมื่อจะต้องติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
6
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
4. ใครใช้เสรีภาพไม่ถูกต้อง ก มานะร่วมชุมนุมปิดถนนประท้วงรัฐบาล ข อารีย์วิจารณ์การทำงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล ค มานพลงคะแนนเลือกตั้งในช่องไม่ลงคะแนน ง พิมพิศย้ายบ้านไปอยู่ใกล้บ้านดาราที่ตนชื่นชอบ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ข้อ 4 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 4 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะแม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้คนไทยมีเสรีภาพที่จะชุมนุมกันด้วยความสงบและปราศจากอาวุธได้ แต่จะต้องคำนึงว่า การชุมนุมนั้นต้องไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วย การปิดถนนเป็นการทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเกิดความเดือดร้อน ถือเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น จึงเป็นการใช้เสรีภาพที่ไม่ถูกต้อง ข ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้คนไทยมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การวิจารณ์การทำงานที่ผิดพลาดของรัฐบาลจึงเป็นการใช้เสรีภาพที่ถูกต้อง ค ไม่ถูกต้อง เพราะการที่มานพลงคะแนนเลือกตั้งในช่องไม่ลงคะแนนเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ เนื่องจากหากเราเห็นว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนไม่ใช่คนที่เหมาะสมที่จะเข้ามาเป็นตัวแทนของปวงชน เราสามารถลงคะแนนในช่องไม่ลงคะแนนได้ การลงคะแนนเลือกตั้งในช่องไม่ลงคะแนนจึงเป็นการใช้เสรีภาพที่ถูกต้อง ง ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้คนไทยมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร การย้ายบ้านไปอยู่ใกล้บ้านดาราที่ตนชื่นชอบจึงเป็นการใช้เสรีภาพที่ถูกต้อง อธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะแม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้คนไทยมีเสรีภาพที่จะชุมนุมกันด้วยความสงบและปราศจากอาวุธได้ แต่จะต้องคำนึงว่า การชุมนุมนั้นต้องไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วย การปิดถนนเป็นการทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเกิดความเดือดร้อน ถือเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น จึงเป็นการใช้เสรีภาพที่ไม่ถูกต้อง
7
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
5. ข้อใดเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของพลเมืองไทย ก รับราชการครู ข รับการศึกษาอบรม ค ลงสมัครรับเลือกตั้ง ง ขยายอาณาเขตประเทศ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบความรู้ก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.2 ข้อ 5 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 5 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่รับราชการทหาร ไม่ใช่รับราชการครู ข ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองของไทยมีหน้าที่ดังนี้ 1. พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย 3. ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 4. รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. บุคคลที่เป็นข้าราชการหรือบุคลากรฝ่ายรัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล การรับการศึกษาอบรมจึงเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพลเมืองไทย ค ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ใช่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ง ไม่ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่ป้องกันประเทศ ไม่ใช่ขยายอาณาเขตประเทศ อธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้พลเมืองไทยมีหน้าที่ เช่น รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รับราชการทหาร เสียภาษีอากร รับการศึกษาอบรม
8
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
6. คนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องเห็นว่าอะไรสำคัญที่สุด ก สิทธิและเสรีภาพ ข ผู้นำหรือผู้ปกครอง ค ผลประโยชน์ของตนเอง ง ผลประโยชน์ของพวกพ้อง 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.2 ข้อ 6 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 6 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะสังคมประชาธิปไตยถือว่า สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น พลเมืองทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติตามสิทธิและเสรีภาพของตนเองโดยไม่ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ข ไม่ถูกต้อง เพราะสังคมประชาธิปไตยถือว่าประชาธิปไตย คือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ดังนั้น คนในสังคมประชาธิปไตยจะต้องเห็นว่าประชาชนสำคัญที่สุด ไม่ใช่ผู้นำหรือผู้ปกครอง ค ไม่ถูกต้อง เพราะในสังคมประชาธิปไตยจะถือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของตนเอง ง ไม่ถูกต้อง เพราะในสังคมประชาธิปไตยจะถือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของพวกพ้อง อธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะสังคมประชาธิปไตยถือว่า สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น พลเมืองทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติตามสิทธิและเสรีภาพของตนเองโดยไม่ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
9
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
7. หากต้องการมีสถานภาพเป็นผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เราต้องปฏิบัติตนเป็นคนลักษณะใด ก เห็นแก่ตัว ข เห็นแก่ส่วนรวม ค เห็นแก่พวกพ้อง ง เห็นแก่ชื่อเสียงและเงินทอง 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ข้อ 7 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 7 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะหากต้องการมีสถานภาพเป็นผู้นำชุมชนเราต้องเห็นแก่ส่วนรวม ไม่ใช่เห็นแก่ตัว เพราะการเห็นแก่ตัวเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับส่วนรวม ข ถูกต้อง เพราะหากต้องการมีสถานภาพเป็นผู้นำชุมชนเราต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนี้จะต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา ค ไม่ถูกต้อง เพราะหากต้องการมีสถานภาพเป็นผู้นำชุมชนเราต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เห็นแก่พวกพ้อง เนื่องจากหากเราเห็นแก่พวกพ้องก็จะมุ่งสร้างประโยชน์แก่พวกพ้องจนส่งผลเสียหายต่อส่วนรวมได้ ง ไม่ถูกต้อง เพราะหากต้องการมีสถานภาพเป็นผู้นำชุมชนเราต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เห็นแก่ชื่อเสียงและเงินทอง เนื่องจากจะทำให้เรามุ่งแต่จะสร้างชื่อเสียงและเงินทองแก่ตนเอง จนอาจจะสร้างความเสียหายแก่ส่วนรวมได้ อธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะหากต้องการมีสถานภาพเป็นผู้นำชุมชนเราต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนี้จะต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา
10
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
8. ใครมีบุคลิกภาพประชาธิปไตย ก นัยชอบทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน ๆ ข ฝนมักจะให้ผู้อื่นทำงานแทนตนเอง ค ก้อยมักตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกของตนเอง ง ถูกทุกข้อ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบความรู้ก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ข้อ 8 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 8 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะผู้ที่มีบุคลิกภาพประชาธิปไตย คือ ผู้ที่มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น ร่วมแสดงความคิดเห็น ดำรงชีวิตและพึ่งตนเอง และมีการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น นัยชอบทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน ๆ นัยจึงเป็นคนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตย ข ไม่ถูกต้อง เพราะผู้มีบุคลิกภาพประชาธิปไตยจะต้องดำรงชีวิตและพึ่งตนเอง ไม่ใช่พึ่งบุคคลอื่นให้ทำงานแทนตนเอง ค ไม่ถูกต้อง เพราะผู้มีบุคลิกภาพประชาธิปไตยจะต้องรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น ไม่ใช่มักตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกของตนเอง ง ไม่ถูกต้อง เพราะคำตอบข้อ ก ถูกเพียงข้อเดียว อธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะผู้ที่มีบุคลิกภาพประชาธิปไตย คือ ผู้ที่มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น ร่วมแสดงความคิดเห็น ดำรงชีวิตและพึ่งตนเอง และมีการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น นัยชอบทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน ๆ นัยจึงเป็นคนมีบุคลิกภาพประชาธิปไตย
11
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
9. ข้อใดไม่ใช่วิธีการปลูกฝังและกล่อมเกลาให้เด็กปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ก ให้เด็กช่วยทำงานบ้าน ข ปล่อยให้เด็กตัดสินใจโดยลำพัง ค เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็น ง บังคับให้เด็กปฏิบัติตามกฎระเบียบของครอบครัว 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ข้อ 9 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 9 เฉลย ก ไม่ถูกต้อง เพราะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ ผู้ที่มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น ร่วมแสดงความคิดเห็น ดำรงชีวิตและพึ่งตนเอง ปฏิบัติตามกฎระเบียบและกฎหมาย และมีการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น การให้เด็กช่วยทำงานบ้านเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักรับผิดชอบ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของส่วนรวม และรู้จักทำงานร่วมกับบุคคลอื่น จึงเป็นการปลูกฝังและกล่อมเกลาให้เด็กปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ข ถูกต้อง เพราะการปล่อยให้เด็กตัดสินใจตามลำพังอาจจะทำให้เด็กตัดสินใจผิดพลาดได้ หากเราจะให้เด็กฝึกตัดสินใจ พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรดูแลหรือคอยให้คำแนะนำเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายแก่ตัวเด็ก การปล่อยให้เด็กตัดสินใจโดยลำพังจึงไม่ใช่วิธีการปลูกฝังและกล่อมเกลาให้เด็กปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ค ไม่ถูกต้อง เพราะการเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความคิดเห็นเป็นวิธีการส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดและเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของส่วนรวม จึงเป็นวิธีการปลูกฝังและกล่อมเกลาให้เด็กปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ง ไม่ถูกต้อง เพราะการบังคับให้เด็กปฏิบัติตามกฎระเบียบของครอบครัวเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฏิบัติตนตามกฎระเบียบและกฎหมาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง อธิบาย: ข ถูกต้อง เพราะการปล่อยให้เด็กตัดสินใจตามลำพังอาจจะทำให้เด็กตัดสินใจผิดพลาดได้ หากเราจะให้เด็กฝึกตัดสินใจ พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรดูแลหรือคอยให้คำแนะนำเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายแก่ตัวเด็ก การปล่อยให้เด็กตัดสินใจโดยลำพังจึงไม่ใช่วิธีการปลูกฝังและกล่อมเกลาให้เด็กปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
12
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
10. รัฐสามารถส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้อย่างไร ก ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชน ข ดำเนินการให้รัฐมีผู้นำที่มาจากชนชั้นนำในสังคม ค กล่อมเกลาแนวคิดสังคมนิยมแก่ประชาชนภายในประเทศตน ง ควบคุมมิให้พลเมืองที่ไม่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตยเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ข้อ 10 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 10 เฉลย ก ถูกต้อง เพราะการให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนเป็นหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ข ไม่ถูกต้อง เพราะในระบอบประชาธิปไตย รัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นจะต้องดำเนินการให้รัฐเปิดโอกาสให้คนทุกชนชั้นมีโอกาสทำหน้าที่เป็นผู้นำได้อย่างเท่าเทียมกัน ค ไม่ถูกต้อง เพราะแนวคิดสังคมนิยมเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากแนวคิดประชาธิปไตย การกล่อมเกลาแนวคิดสังคมนิยมแก่ประชาชนในประเทศของตนจึงไม่ใช่การส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ง ไม่ถูกต้อง เพราะการส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยจะต้องส่งเสริมให้พลเมืองทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง จะต้องไม่มีการกีดกันพลเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง หากพลเมืองกลุ่มใดที่ไม่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตยก็จะต้องส่งเสริมและเผยแพร่เรื่องประชาธิปไตยแก่คนกลุ่มนั้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตย อธิบาย: ก ถูกต้อง เพราะการให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนเป็นหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย
13
พลเมืองดี ตามวิถีประชาธิปไตย
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดี ตามวิถีประชาธิปไตย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย เวลา 2 ชั่วโมง 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1.3 บทบาทของพลเมืองดี 1.4 สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด เวลา 2 ชั่วโมง
14
ระหว่างที่อยู่ในครอบครัวกับอยู่ในโรงเรียน
เมื่ออยู่ในครอบครัวเราจะต้องปฏิบัติตามสถานภาพและบทบาทในครอบครัวของเรา เช่น เรามีสถานภาพเป็นลูก ก็ต้องปฏิบัติตามบทบาทของลูก เช่น เคารพ เชื่อฟัง และกตัญญูต่อพ่อแม่ หรือหากมีสถานภาพเป็นพี่หรือน้องก็ต้องปฏิบัติตามบทบาทของพี่หรือน้อง เช่น รักและสามัคคี เชื่อฟังพี่ ดูแลเอาใจใส่น้อง เมื่ออยู่ในโรงเรียนเรามีสถานภาพเป็นนักเรียน ก็ต้องปฏิบัติตามบทบาทนักเรียน เช่น ตั้งใจเรียน ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน เคารพเชื่อฟังครู การที่เราต้องปฏิบัติดังที่กล่าวมานี้ เนื่องจากเราเป็นพลเมืองของไทย จึงต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี โดยต้องปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้สังคมมีระเบียบเรียบร้อย เพราะทุกคนต่างก็ปฏิบัติ ตามบทบาทหน้าที่ของตน ระหว่างที่อยู่ในครอบครัวกับอยู่ในโรงเรียน นักเรียนต้องปฏิบัติตนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะอะไร 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายหรือตอบคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในโรงเรียนกับในครอบครัวว่า ระหว่างที่อยู่ในครอบครัวกับอยู่ในโรงเรียน นักเรียนต้องปฏิบัติตนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพราะอะไร 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ แนวคำตอบ : เมื่ออยู่ในครอบครัวเราจะต้องปฏิบัติตามสถานภาพและบทบาทในครอบครัวของเรา เช่น เรามีสถานภาพเป็นลูก ก็ต้องปฏิบัติตามบทบาทของลูก เช่น เคารพ เชื่อฟัง และกตัญญูต่อพ่อแม่ หรือหากมีสถานภาพเป็นพี่หรือน้องก็ต้องปฏิบัติตามบทบาทของพี่หรือน้อง เช่น รักและสามัคคี เชื่อฟังพี่ ดูแลเอาใจใส่น้อง เมื่ออยู่ในโรงเรียนเรามีสถานภาพเป็นนักเรียน ก็ต้องปฏิบัติตามบทบาทนักเรียน เช่น ตั้งใจเรียน ปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน เคารพเชื่อฟังครู การที่เราต้องปฏิบัติดังที่กล่าวมานี้ เนื่องจากเราเป็นพลเมืองของไทย จึงต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี โดยต้องปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้สังคมมีระเบียบเรียบร้อย เพราะทุกคนต่างก็ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน จากหนังสือคู่มือการสอน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
15
นักเรียนตัวอย่าง 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1) ครูให้นักเรียนดูภาพนักเรียนตัวอย่าง แล้วอธิบายว่า การอยู่ในโรงเรียนจะต้องปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิและเสรีภาพ และหน้าที่ของนักเรียนที่ดี ดังนั้นเมื่อเราอยู่ในสังคมประชาธิปไตย เราก็ต้องปฏิบัติตามบทบาทของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย และเมื่อปฏิบัติแล้วจะก่อให้เกิดผลดีแก่ตนเองและสังคม เช่น ได้รับการยกย่องว่าเป็นพลเมืองดี 2) ครูสรุปเพื่อเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน
16
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย พลเมือง หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ เพราะเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองให้มีสัญชาติของประเทศตามกฎหมาย วิถีประชาธิปไตย หมายถึง การอยู่ร่วมกัน การปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ ทั้งกายและวาจา ไม่ก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น เคารพกฎเกณฑ์ของสังคมร่วมกันรับผิดชอบและทำประโยชน์เพื่อความผาสุกของส่วนรวม ตลอดจนการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาทั้งมวล 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเกี่ยวกับความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–6 คน แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 3) หลังจากที่ทุกกลุ่มอภิปรายจบแล้ว ครูให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถาม โดยครูคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ 4) เมื่อนำเสนอผลงานครบทุกกลุ่มแล้ว ครูสรุป แล้วให้นักเรียนบันทึกข้อสรุปลงในสมุด
17
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย นักเรียนคิดว่าประชาธิปไตยตามแบบของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นอย่างไร? 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่อเข้าสู่คำถามเกี่ยวกับรูปแบบของประชาธิปไตย ว่า นักเรียนคิดว่าประชาธิปไตยตามแบบของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นอย่างไร
18
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) แบ่งประชาธิปไตยออกเป็น 2 แบบ 1. แบบการปกครอง 2. แบบวิถีชีวิต เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง 1. การเคารพซึ่งกันและกัน 2. การร่วมมือ ประสานประโยชน์ และแบ่งปันกัน 3. การเชื่อในปัญญา 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเกี่ยวกับรูปแบบของประชาธิปไตย จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
19
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1. แบบการปกครอง ลักษณะการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ถือว่าเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเกี่ยวกับรูปแบบของประชาธิปไตย จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2. แบบวิถีชีวิต เป็นไปในรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ มี 3 ประการ คือ
20
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 2. แบบวิถีชีวิต 1) การเคารพซึ่งกันและกัน การเคารพในสิทธิและเสรีภาพซึ่งกันและกัน 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเกี่ยวกับรูปแบบของประชาธิปไตย (แบบวิถีชีวิต) จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด การเคารพในความคิดและการกระทำของผู้อื่น การแสดงความคิดเห็น การกระทำที่ไม่ล่วงเกินผู้อื่น
21
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 2. แบบวิถีชีวิต 2) การร่วมมือ ประสานประโยชน์ และแบ่งปันกัน การอาสารับทำงานตามความสามารถ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเกี่ยวกับรูปแบบของประชาธิปไตย (แบบวิถีชีวิต) จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด การร่วมมือกันทำตามอัตภาพ การประสานงานกัน การทำตามมติของส่วนรวมที่ได้วางแผนกัน
22
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 2. แบบวิถีชีวิต 3) การเชื่อในปัญญา การทำงานหรือกิจกรรมใด ๆ ด้วยความรอบคอบ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเกี่ยวกับรูปแบบของประชาธิปไตย (แบบวิถีชีวิต) จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำงานหรือทำกิจกรรม ประชาธิปไตยในลักษณะวิถีชีวิตมีความสำคัญกว่าแบบการปกครอง เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ของคนในสังคม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสมาชิกของสังคมมากกว่าแบบการปกครอง
23
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย หมายถึง ประชาชนที่อยู่ร่วมกันและปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ไม่ก้าวก่ายสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม มีความรับผิดชอบ ใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาและทำประโยชน์แก่สังคม 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายความหมายพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
24
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
ให้นักเรียนร่วมกันเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย แล้วสรุปลงในสมุดบันทึก 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.1 ความหมายของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกกำหนดภาระงานให้นักเรียนปฏิบัติ โดยการให้นักเรียนร่วมกันเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย แล้วสรุปลงในสมุดบันทึก 2) แนวคำตอบ : แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยสามารถทำได้ ดังนี้ 1) เคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2) ร่วมเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ทุกครั้งที่มีโอกาส 3) ร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม 4) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง 5) มีเหตุผล 6) เคารพในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น 7) คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน จากหนังสือคู่มือการสอน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
25
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.2 สถานภาพของพลเมืองดี สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลที่ได้มาจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มหรือสังคม เพื่อใช้ติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทุกคนจะมีหลายสถานภาพขึ้นอยู่กับบทบาทของตนเอง ซึ่งแตกต่างออกไปตามกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายความหมายของ สถานภาพ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด พี่ชาย ทหาร หลานสาว นักเรียน นักร้อง
26
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี
1. ประเภทของสถานภาพ 1. สถานภาพโดยกำเนิด 2. สถานภาพที่ได้มาภายหลัง 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายประเภทของสถานภาพ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด เชื้อชาติ สัญชาติ เกิดจากความสามารถของบุคคล เช่น ครู นักเรียน วิศวกร แพทย์ เป็นต้น เพศ เกิดขึ้นจากการเป็นสมาชิกในครอบครัว เช่น บุตร พี่ น้อง
27
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1. สถานภาพโดยกำเนิด (ascribed status)
1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1. ประเภทของสถานภาพ เป็นสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกได้รับโดยกำเนิด ที่สำคัญได้แก่ 1. สถานภาพโดยกำเนิด (ascribed status) 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายประเภทของสถานภาพ (สถานภาพโดยกำเนิด) จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด เชื้อชาติ สัญชาติ
28
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1. สถานภาพโดยกำเนิด (ascribed status)
1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1. ประเภทของสถานภาพ เป็นสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกได้รับโดยกำเนิด ที่สำคัญๆ ได้แก่ 1. สถานภาพโดยกำเนิด (ascribed status) ผู้ชาย พ่อ แม่ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายประเภทของสถานภาพ (สถานภาพโดยกำเนิด) จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด พี่ ผู้หญิง น้อง สถานภาพที่เกิดจากเพศ สถานภาพที่เกิดขึ้นจากการเป็นสมาชิกของครอบครัว
29
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี
1. ประเภทของสถานภาพ 2. สถานภาพที่ได้มาภายหลัง (achieved status) สถานภาพทางสังคมที่ได้มาตามความสามารถ เช่น สถานภาพที่ได้จากการศึกษา ครู 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายประเภทของสถานภาพ (สถานภาพที่ได้มาภายหลัง) จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด นักเรียน
30
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี
1. ประเภทของสถานภาพ 2. สถานภาพที่ได้มาภายหลัง (achieved status) สถานภาพที่ได้จากการประกอบอาชีพ เช่น 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายประเภทของสถานภาพ (สถานภาพที่ได้มาภายหลัง) จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด แพทย์ ลูกจ้าง วิศวกร
31
รับจ้างพักในห้องเช่า
เรื่องน่ารู้ รับจ้างพักในห้องเช่า อาชีพรับจ้างพักในห้องเช่า เป็นอาชีพที่มีอยู่จริงในประเทศญี่ปุ่น แต่จะเป็นห้องที่เกิดคดีฆาตกรรมหรือมีคนฆ่าตัวตาย หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการชันสูตรศพ เก็บหลักฐานจนครบ และทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องเข้าไปอยู่อาศัยในห้องนั้นเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อพิสูจน์ว่าห้องนี้ไม่มีวิญญาณอยู่ เจ้าของแมนชันหรือบริษัทนายหน้าให้เช่าบ้านจะได้เอาห้องนี้ไปปล่อยเช่าต่อไป 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี เรื่องน่ารู้-ครูสามารถเล่าเรื่องเสริมความรู้ให้กับนักเรียนนอกเหนือจากความรู้ในบทเรียน และบอกแหล่งความรู้เพิ่มเติมกระตุ้นการเรียนรู้นอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่กว้างขวาง ที่มา :
32
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี
1. ประเภทของสถานภาพ 2. สถานภาพที่ได้มาภายหลัง (achieved status) สถานภาพในครอบครัว เช่น สามีและภรรยา เป็นต้น 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายประเภทของสถานภาพ (สถานภาพที่ได้มาภายหลัง) จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด สามี ภรรยา
33
บุตรเขยหรือบุตรสะใภ้เป็นสถานภาพประเภทใด เพราะอะไร
Let’s think สถานภาพที่ได้มาภายหลัง เนื่องจากได้มาหลังจากการแต่งงาน นักเรียนคิดว่า บุตรเขยหรือบุตรสะใภ้เป็นสถานภาพประเภทใด เพราะอะไร 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกคำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ว่า นักเรียนคิดว่า บุตรเขยหรือบุตรสะใภ้เป็นสถานภาพประเภทใด เพราะอะไร 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ แนวคำตอบ: สถานภาพที่ได้มาภายหลัง เนื่องจากได้มาหลังจากการแต่งงาน จากหนังสือคู่มือการสอน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
34
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี
2. ผลที่เกิดจากสถานภาพทางสังคม 1) ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ 2) ทำให้มีเกียรติตามสถานภาพที่ดำรงอยู่ เช่น บิดามารดา มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูบุตร เช่น สถานภาพของแพทย์ ย่อมได้รับเกียรติว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการรักษาผู้ป่วย 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายผลที่เกิดจากสถานภาพทางสังคม จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
35
คุณแม่ที่มีลูกมากที่สุดในโลก
เรื่องน่ารู้ คุณแม่ที่มีลูกมากที่สุดในโลก หญิงชาวรัสเซียให้กำเนิดบุตรมากถึง 69 คน จากการคลอด 27 ครั้งในเวลา 40 ปี (ระหว่างปี 1725 ถึง 1765) 1. ลูกแฝดสอง จำนวน 16 ครั้ง (32 คน) 2. ลูกแฝดสาม จำนวน 7 ครั้ง (21 คน ) 3. ลูกแฝดสี่ จำนวน 4 ครั้ง (16 คน) โดยทุกครั้งจะเป็นลูกแฝดและมีชีวิตทุกคน 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี เรื่องน่ารู้-ครูสามารถเล่าเรื่องเสริมความรู้ให้กับนักเรียนนอกเหนือจากความรู้ในบทเรียน และบอกแหล่งความรู้เพิ่มเติมกระตุ้นการเรียนรู้นอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่กว้างขวาง ที่มา :
36
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3–5 คน ร่วมกันอภิปรายในหัวข้อ “ปัจจุบันนักเรียนมีสถานภาพอะไรบ้าง และต้องปฏิบัติตามสถานภาพนั้นอย่างไร” แล้วบันทึกผลการอภิปรายลงในสมุดบันทึก 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.2 สถานภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกกำหนดภาระงานให้นักเรียนปฏิบัติ โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3–5 คน ร่วมกันอภิปรายในหัวข้อ “ปัจจุบันนักเรียนมีสถานภาพอะไรบ้าง และต้องปฏิบัติตามสถานภาพนั้นอย่างไร” แล้วบันทึกผลการอภิปรายลงในสมุดบันทึก แนวคำตอบ : 1. ลูก สิ่งที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ กตัญญูกตเวที เป็นเด็กดี ไม่ทำให้พ่อแม่เดือดร้อน 2. พี่หรือน้อง สิ่งที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ รักและสามัคคีกับพี่หรือน้อง ดูแลเอาใจใส่น้อง เคารพและเชื่อฟังพี่ 3. นักเรียน สิ่งที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ ตั้งใจเรียน เคารพและเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์ สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน 4. เพื่อน สิ่งที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ รักและสามัคคีกัน ดูและเอาใจใส่เพื่อน แนะนำและตักเตือนเพื่อนเมื่อเพื่อนประพฤติตนไม่ดี จากหนังสือคู่มือการสอน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
37
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.3 บทบาทของพลเมืองดี บทบาท หมายถึง แนวประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสมตามสถานภาพของตน สถานภาพ บทบาท บ่งบอกว่าคือใครในสังคม เป็นกำหนดว่าบุคคลควรปฏิบัติตนอย่างไร เมื่ออยู่ในสถานภาพนั้น ๆ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.3 บทบาทของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายความหมายของคำว่า บทบาท 2) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพและบทบาท จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด เมื่อเกิด สถานภาพ บทบาท จึงเกิด
38
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.3 บทบาทของพลเมืองดี บทบาทของ 2 คนนี้ คือ “ตั้งใจเรียน” สถานภาพของ 2 คนนี้ คือ “นักเรียน” 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.3 บทบาทของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพและบทบาท จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
39
นักเรียนคิดว่าหากปราศจาก การกำหนดบทบาททางสังคม
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.3 บทบาทของพลเมืองดี นักเรียนคิดว่าหากปราศจาก การกำหนดบทบาททางสังคม จะส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.3 บทบาทของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่อเข้าสู่คำถามเกี่ยวกับความสำคัญของบทบาททางสังคมเพื่อให้นักเรียนช่วยกันตอบว่า นักเรียนคิดว่าหากปราศจากการกำหนดบทบาททางสังคมจะส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ แนวคำตอบ : สมาชิกในสังคมจะปฏิบัติตนไม่เหมาะสมตามสถานภาพของตน สังคมจะขาดระเบียบและปราศจากทิศทางที่แน่นอน สมาชิกจะเกิดความสับสนเมื่อต้องติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด สมาชิกในสังคมจะปฏิบัติตนไม่เหมาะสมตามสถานภาพของตน สังคมจะขาดระเบียบและปราศจากทิศทางที่แน่นอน สมาชิกจะเกิดความสับสนเมื่อต้องติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ
40
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.3 บทบาทของพลเมืองดี บทบาท เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดระเบียบสังคม ทำให้สมาชิกในสังคมรู้จักหน้าที่ของตนเอง ดังนั้นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยจะต้องปฏิบัติตามบทบาทของสถานภาพตน 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.3 บทบาทของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาและความสำคัญเกี่ยวกับบทบาทของพลเมืองดี จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด สถานภาพเป็น “ลูก” ต้องปฏิบัติตามบทบาท ได้แก่ เป็นคนดี เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ มีความกตัญญูกตเวที ช่วยแบ่งเบาภาระการงานของพ่อแม่ เป็นต้น
41
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.3 บทบาทของพลเมืองดี บทบาท เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดระเบียบสังคม ทำให้สมาชิกในสังคมรู้จักหน้าที่ของตนเอง ดังนั้นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยจะต้องปฏิบัติตามบทบาทของสถานภาพตน 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.3 บทบาทของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของพลเมืองดี จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด สถานภาพเป็น “พลเมืองไทย” ต้องปฏิบัติตามบทบาท ได้แก่ ปฏิบัติตนเป็นคนดี เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย มีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น
42
Let’s think นักเรียนคิดว่าตนเองปฏิบัติตนตามบทบาทของพลเมืองดีได้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ อย่างไร ครบถ้วน เนื่องจากปฏิบัติตนเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ มีความรับผิดชอบ ตั้งใจเรียน เคารพเชื่อฟังครูอาจารย์ ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ และระเบียบของสังคม 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.3 บทบาทของพลเมืองดี 1) ครูคลิกคำถามเพื่อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ว่า นักเรียนคิดว่าตนเองปฏิบัติตนตามบทบาทของพลเมืองดีได้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ อย่างไร 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ แนวคำตอบ: ครบถ้วน เนื่องจากปฏิบัติตนเป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ มีความรับผิดชอบ ตั้งใจเรียน เคารพเชื่อฟังครูอาจารย์ ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ และระเบียบของสังคม จากหนังสือคู่มือการสอน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
43
พ่อและแม่ มีบทบาทร่วมกันในการดูแลลูก
กิจกรรม ครอบครัว สถานภาพ สถานภาพ 1. ภรรยา 1. สามี 2. แม่ 2. พ่อ บทบาท บทบาท 1) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม โดยเติมสถานภาพและบทบาทของสมาชิกในครอบครัวลงในกรอบให้ถูกต้อง 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ 1. ดูแลสามี 1. ดูแลภรรยา 2. ดูแลและอบรม พ่อและแม่ มีบทบาทร่วมกันในการดูแลลูก 2. ดูแลและอบรม สั่งสอนลูก ๆ ให้เป็น สั่งสอนลูก ๆ ให้เป็น คนดีของสังคม คนดีของสังคม
44
กิจกรรม ครอบครัว สถานภาพ สถานภาพ 1. ลูก 1. ลูก 2. พี่ชาย 2. น้องสาว บทบาท บทบาท 1) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม โดยเติมสถานภาพและบทบาทของสมาชิกในครอบครัวลงในกรอบให้ถูกต้อง 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ 1. เชื่อฟังพ่อแม่ 1. เชื่อฟังพ่อแม่ เป็นคนดีของสังคม เป็นคนดีของสังคม 2. ช่วยพ่อแม่ดูแล 2. เชื่อฟังและเป็น น้องสาว เป็นตัวอย่าง น้องที่ดีของพี่ชาย ที่ดีของน้องสาว
45
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.4 สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้การรับรองและคุ้มครอง เช่น บุคคลมีสิทธิในเคหสถานของตนเอง มีสิทธิในทรัพย์สินของตน เป็นต้น เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระของบุคคลที่สามารถทำอะไรก็ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ เป็นต้น 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.4 สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเรื่อง สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด หัวใจและรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ
46
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.4 สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี
สังคมที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยถือว่า สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ดังนั้นพลเมืองที่ดีตามวิถีประชาธิปไตยจึงต้องเป็นผู้ที่เคารพและมีจิตสำนึกในสิทธิและเสรีภาพ และพร้อมที่จะรักษาสิทธิและเสรีภาพของตนเอง เช่น 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.4 สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเรื่อง สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
47
นักเรียนเคยใช้สิทธิและเสรีภาพที่ตนเองมีหรือไม่ อย่างไร
Let’s think นักเรียนเคยใช้สิทธิและเสรีภาพที่ตนเองมีหรือไม่ อย่างไร เคย เช่น เรียนในสาขาที่ชอบ เสนอความคิดเห็นในโรงเรียน แสดงความคิดเห็นในชุมชน 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.4 สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี 1) ครูคลิกคำถามเพื่อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของพลเมืองดีว่า นักเรียนเคยใช้สิทธิและเสรีภาพที่ตนเองมีหรือไม่ อย่างไร 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ แนวคำตอบ : เคย เช่น เรียนในสาขาที่ชอบ เสนอความคิดเห็นในโรงเรียน แสดงความคิดเห็นในชุมชน จากหนังสือคู่มือการสอน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
48
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยมีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ 1. หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 1) หน้าที่พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
49
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยมีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ 1. หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) หน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย
50
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 3) หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยมีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ 1. หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 3) หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
51
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยมีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ 1. หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 4) หน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
52
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี พลเมืองในสังคมประชาธิปไตยมีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ 1. หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 5) บุคคลที่เป็นข้าราชการหรือบุคคลฝ่ายรัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล
53
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 2. หน้าที่ทางการเมือง 1) การศึกษาเรื่องการเมือง เช่น ติดตามข่าวสารทางการเมือง เพื่อให้ทราบความเป็นไปทางการเมือง 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ทางการเมือง จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) การให้ความร่วมมือกับรัฐบาล เช่น การแสดงความคิดเห็นที่มีผลต่อนโยบายของรัฐบาล ยอมรับและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเมื่อรัฐบาลให้ปฏิบัติหรือขอความร่วมมือให้ปฏิบัติ
54
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 2. หน้าที่ทางการเมือง การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างหนึ่ง 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่ทางการเมือง จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 3) การมีส่วนร่วมการเมือง ได้แก่ การออกเสียงเลือกตั้ง การออกเสียงประชามติ การทำประชาพิจารณ์ การรวมตัวกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์ การเข้าร่วมพรรคการเมือง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
55
จะเกิดอะไรขึ้น หากคนในสังคมไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
Let’s think จะเกิดอะไรขึ้น หากคนในสังคมไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง การตัดสินใจต่าง ๆ จะทำได้ยากขึ้น และอาจไม่ตรงตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ นอกจากนี้รูปแบบการปกครองในสังคมนั้นอาจมีลักษณะเป็นแบบเผด็จการ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกคำถามเพื่อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากคนในสังคมไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ แนวคำตอบ : การตัดสินใจต่างๆจะทำได้ยากขึ้น และอาจไม่ตรงตามความต้องการของคนส่วนใหญ่ นอกจากนี้รูปแบบการปกครองในสังคมนั้นอาจมีลักษณะเป็นแบบเผด็จการ จากหนังสือคู่มือการสอน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
56
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 3. หน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคม 1) การเคารพในสิทธิและเสรีภาพ โดยไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น รวมทั้งต้องมิให้ผู้อื่นมาละเมิดสิทธิและเสรีภาพของตนเองด้วย 2) การเคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่น 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคม จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด โดยการยอมรับในความคิดเห็น ของเสียงข้างมากและรับฟังเสียงข้างน้อย คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ ของผู้อื่นเสมอ
57
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 3. หน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคม 3) การสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคม โดยจะต้องนำวิธีการประชาธิปไตยมาใช้ทั้งในครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำงาน รวมถึงสถาบันทางสังคมอื่น เช่น 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูคลิกเพื่ออธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบทางสังคม จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด การให้โอกาสเพื่อนร่วมชั้น ได้แสดงความคิดเห็น และตัดสินใจเรื่องต่างๆ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ปฏิบัติต่อทุกคน อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
58
กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้
ให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบว่า “หากพลเมืองไทยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ จะเป็นอย่างไร” แล้วสรุปเป็นแผนที่ความคิด แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 1. การเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1.5 หน้าที่ของพลเมืองดี 1) ครูกำหนดภาระงานให้นักเรียนปฏิบัติ โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ แนวคำตอบ : 1. มีการฝ่าฝืนกฎระเบียบและกฎหมายเป็นจำนวนมาก 2. มีการแก่งแย่งปัจจัยต่างๆที่ใช้ในการดำรงชีพ 3. พลเมืองมีความเห็นแก่ตัว 4. บ้านเมืองจะสับสนวุ่นวาย จากหนังสือคู่มือการสอน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด
59
3. สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี
กิจกรรม 1. สถานภาพของพลเมืองดี 2. บทบาทของพลเมืองดี 3. สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองดี 4. หน้าที่ของพลเมืองดี ______ 1. ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน 3 ______ 2. บิดามารดาอบรมเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี 2 ______ 3. การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 4 1) ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม โดยนำหมายเลขหน้าข้อความที่กำหนดให้มาเติมลงในช่องว่างให้สัมพันธ์กัน 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ หมายเหตุ : 1) ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 สำรวจพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย (ข้อ 2) และสามารถดูเพิ่มเติมได้จากหนังสือแบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม. 2 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด 2) ครูให้นักเรียนตอบ แล้วคลิกเพื่อเฉลยคำตอบ ______ 4. วิศวกรได้รับเกียรติว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ 1 ______ 5. ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ 3 ______ 6. การเข้ารับราชการทหาร 4
60
สรุปความรู้ พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยจะต้องมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย ได้แก่ มีความเคารพซึ่งกันและกัน มีความเชื่อในปัญญา มีการแบ่งปัน ร่วมมือ และประสานงานกัน นอกจากนี้จะต้องปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งหน้าที่ของพลเมืองดีที่อยู่ในสังคมประชาธิปไตย สรุปความรู้เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย 1) ครูคลิกเพื่อแสดงข้อความสรุป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.