ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
อุบัติเหตุและทักษะการปฐมพยาบาล
2
อุบัติเหตุและทักษะการปฐมพยาบาล
อุบัติเหตุ ตรงกับคำว่า Accident หมายถึง เหตุที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดฝัน ทำให้เกิดการบาดเจ็บทุพพล และอาจถึงตายได้แม้บาง คนอาจเข้าใจตามความในนิยามข้างต้นว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันนั้น เป็นคราวเคราะห์ของผู้ประสบซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ความ เป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ในทางตรงกันข้ามอุบัติเหตุย่อมป้องกันได้และหลีกเลี่ยงได้หากไม่ประมาท จึงมีความสำคัญที่เราต้องมาศึกษา เพื่อหาทางป้องกันลดหย่อนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ การศึกษาอุบัติเหตุ การศึกษาอุบัติเหตุควรศึกษาเช่นเดียวกับโรคทุกชนิดคืออนุโลม "อุบัติเหตุ" ขึ้นเป็นโรคหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางสู่การแก้ไขและ หลีกเลี่ยง โดยทั่วไป การศึกษาโรคทุกชนิดควรมอง ๓ ด้านด้วยกัน คือ ๑. ผู้ที่เกิดโรค (host) ๒. สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (agent) ๓. สิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การเกิดโรค (environment) อุบัติเหตุเกี่ยวข้องกับหลัก ๓ ประการ เช่นเดียวกัน คือ ๑. ผู้รับอุบัติเหตุ ๒. สิ่งที่เป็นเหตุ ๓. เวลาและสถานที่เกิดเหตุ จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมี ๓ ด้านด้วยกัน เช่น บุคคลบางประเภทดูเหมือนว่าได้รับอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าบุคคล ทั่วไป ตัวการบางอย่างทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและบ่อย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมบางอย่างบางเวลาก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นต้น
3
ระบาดวิทยาของอุบัติเหตุ ในประเทศไทย จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขปีพ. ศ
ระบาดวิทยาของอุบัติเหตุ ในประเทศไทย จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขปีพ.ศ. ๒๔๙๐ อัตราตายของประชากรจากอุบัติเหตุ การเป็นพิษและพลวเหตุ (accidents, poisonings and violence) อยู่ในอันดับที่ ๔รองลงมาตามลำดับจากโรคไข้จับสั่น โรคท้องร่วง วัณโรค ระบบหายใจ และโรคปอดอักเสบ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ อัตราตายจากอุบัติเหตุ ยังคงเป็นอันดับที่ ๔ รองลงมาจาก โรคท้องร่วง โรคปอด อักเสบ วัณโรคระบบหายใจ และไข้จับสั่นตามลำดับ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ อัตราตายจากอุบัติเหตุ เลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับที่ ๓ รองมาจาก โรคท้องร่วง และวัณโรคระบบหายใจตามลำดับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา อัตราตายจากอุบัติเหตุ การเป็นพิษ และพลวเหตุ กลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ สูงกว่าอัตราตายจากโรคอื่นๆ ทุกประเภทสาเหตุมาจากการแพทย์ สาธารณสุขเจริญขึ้น ประชาชนเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อลดลงอย่างชัดเจน ความก้าวหน้าทางวัตถุและการเพิ่มของประชากร ทำให้อัตรา ตายจากอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้นและสูงสุดเป็นอันดับที่ ๑ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน การแบ่งประเภทของอุบัติเหตุ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ได้แก่ ๑. ตัวการหรืออุปกรณ์ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ยานยนต์ อาวุธปืน สารพิษ ไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ๒. ผลจากอุบัติเหตุ เช่น บาดแผลของผิวหนังศีรษะหรือสมองบาดเจ็บ กระดูกหัก แผลจากวัตถุระเบิดและกระสุนปืน แผล ลวก - ไหม้ ๓. สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การจราจร บ้าน โรงเรียน สถานที่ประกอบการ เช่น โรงงาน สถานที่ก่อสร้าง สนามกีฬา สนามรบ ๔. ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุที่เกิดแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน อุบัติเหตุในเด็ก คนงาน นักกีฬา คนชร
4
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ที่ได้รับอุบัติภัยหรือเจ็บป่วยกระทันหันโดยใช้เครื่องมือหรือ อุปกรณ์ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายน้อยลง ก่อนที่จะนำส่ง โรง พยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาพยาบาลต่อไป ความสำคัญของการปฐมพยาบาล ในท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลแพทย์หรือโรงพยาบาล การรู้เรื่องการปฐมพยาบาลมีความจำ เป็นมาก อุบัติภัยและการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีในระยะแรก จะช่วยลด การเสียชีวิตหรือความพิการทุพลภาพของผู้ป่วยลงได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาได้ และยังเป็น การเตรียมผู้ป่วยก่อนถึงมือแพทย์อีกด้วย ดังนั้นเราควรเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาล และสามารถปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นด้วย หลักทั่วไปของการปฐมพยาบาล ผู้ทำการปฐมพยาบาลจะต้องควบคุมสติของตนเองให้ได้ อย่าตื่นเต้นตกใจต่อเหตุการณ์ที่ได้พบเห็น และต้องตรวจดู อาการของ ผู้ป่วยเสียก่อนว่าได้รับอันตรายอะไรบ้าง ซึ่งเราจะสามารถทราบอาการของผู้ป่วย โดย 1.การสอบถามจากตัวผู้ป่วย 2.สอบถามจากผู้เห็นเหตุการณ์ 3.สังเกตจากสิ่งแวดล้อม 4.สังเกตจากอาการของผู้ป่วย
5
เมื่อต้องนำผู้บาดเจ็บออกจากที่เกิดเหตุ
ถ้าผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บพอเดินได้ คลานได้ ให้ช่วยประคองหรือพยุงออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ ถ้าผู้ป่วยช่วยตัวเองไม่ได้ แต่ไม่เจ็บต้นคอและหลัง อาจอุ้มหรือหามออกจากบริเวณที่เกิดเหตุอันตราย ประเมินสภาพผู้บาดเจ็บว่ารู้สึกตัว หายใจหรือไม่ กระดุกกระดิกหรือไม่ บาดเจ็บที่ไหนบ้าง ให้การปฐมพยาบาลตามอาการที่พบ รีบนำส่งโรงพยาบาล เมื่อสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย
6
สาเหตุของหัวใจหยุดเต้น หรือ หยุดหายใจ
1.จมน้ำ 2.ไฟฟ้าดูด 3.ลำลักควันไฟ 4.สาเหตุจากหัวใจ 5.ภูมิแพ้อย่างรุนแรง การช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR : Cardiopulmonary resuscitation ) หรือ การกู้ชีวิต หรือการกู้ชีพ หมายถึง การ ปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง
7
ประวัติและวิวัฒนาการของการช่วยฟื้นคืนชีพ
stephenson & et. นวดหัวใจแบบเปิด นวดหัวใจแบบเปิด Zoll & et. ใช้กระแสไฟแก้ไขภาวะ VF Safar & et. เสนอเทคนิคการเป่าปากช่วยหายใจ Kouwehowen & et. นวดหัวใจภายนอก ประชุม CPR conference 1,2,3, first nation conference on pediatric resuscitation AHA the first international guidelines conference on CPR & ECC
8
วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ
เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้ เพียงพอ คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับ เต้นใหม่แล้ว CPR เป็น การช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดและการหายใจกลับฟื้นคืนมา ในระยะที่หัวใจและการหายใจหยุดอย่าง กระทันหัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ และมี 9 ขั้นตอน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นจึงเรียงลำดับ A B C D E F G H I ดังนี้
9
การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ( Basic Cardiac Life Support : BCLS ) เป็น การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นเพื่อ ป้องกันไม่ให้มีการขาดเลือดและออกซิเจนไป เลี้ยงส่วนสำคัญของร่างกาย โดยเน้นหลักการช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ Airway : A, Breathing : B, Circulation : C การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ( Advanced Cardiac Life Support : ACLS ) เป็นการ CPR ที่ประกอบด้วย BCLS ร่วมกับ D : Drug and Fluid คือ การให้ยาเพื่อช่วยระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ ตลอดจนการให้สารน้ำทาง หลอดเลือดดำที่จำเป็น E : Endrotracheal tube และ Electrocardioglaphy และ Evaluation คือ การใช้ เครื่องมือที่ช่วยการหายใจและระบบไหลเวียน เช่น การให้ออกซิเจน การใส่ท่อช่วยหายใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG หรือ EKG เพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และติดตามภาวะผิดปกติของหัวใจ F : Fibrillation treatment คือการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นอย่างปกติ ( Defibrillation )
10
3. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นประคับประคองให้มีชีวิตยืนยาว ( Prolonged Cardiac Life Support : PCLS) เป็น การรักษาพยาบาลเพื่อพยุงให้กลับสู่ภาวะปกติ เฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิต ยืนยาวขึ้น ป้องกันความพิการและฟื้นฟูการทำงานของระบบต่าง ๆ ประกอบด้วย G : Gauging คือ กรประเมินสภาพผู้ป่วยและการช่วยกู้ชีวิต H : Human mentation คือ การป้องกันความพิการถาวรของสมองจากการขาดออกซิเจน I : Intensive care คือ การดูแลอย่างใกล้ชิด รักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อไป ณ หน่วยงานที่มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ เช่น ใน ICU , CCU
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.