งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น

2 สมาชิก นายกองทัพ ปรีเดช 5/1 1ก นายธนัตถ์ ไวเจริญ 5/1 2ก
นายกองทัพ ปรีเดช /1 1ก นายธนัตถ์ ไวเจริญ /1 2ก นายณัฐวุฒิ พ่วงภู่ /1 2ข นายภาณุพงศ์ จตุพรลาภ /1 3ข

3 ลำต้น ลำต้นเป็นโครงสร้างของพืชที่เจริญถัดขึ้นมาจากราก ลำต้นมีข้อปล้อง บริเวณข้อจะมีใบ ที่ซอกใบมีตา ลำต้นทำหน้าที่ชูกิ่ง ใบ ดอก ผล และทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ธาตุอาหาร และ น้ำ เป็นอวัยวะของพืชที่ส่วนใหญ่จะเจริญขึ้นเหนือดิน เจริญมาจากส่วนที่เรียกว่า Hypocotyl ของเมล็ด ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ ข้อ (Node) ส่วนใหญ่มักมีตา (Bud) ซึ่งจะเจริญ ไปเป็น กิ่ง ใบ หรือดอก ต่อไป และ ปล้อง (Internode) ซึ่งอยู่ระหว่างข้อ โดยในพืชใบเลี้ยง เดี่ยวจะเห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ในพืชใบเลี้ยงคู่ เห็นข้อและปล้องชัดเจนในขณะที่เป็นต้น อ่อนหรือกิ่งอ่อน แต่เมื่อเจริญเติบโตและมี Cork มาหุ้ม ทำให้เห็นข้อและปล้องไม่ชัดเจน

4 1.เนื้อเยื่อบริเวณปลายยอด
เมื่อตัดตามยาวผ่านกลางส่วนปลายยอด แล้วนำไปศึกษาลักษณะเนื้อเยื่อโดยใช้กล้อง จุลทรรศน์กำลังขยายต่างๆ จะเห็นเซลล์มีลักษณะขนาด รูปร่าง และการเรียงตัวเป็นบริเวณ ต่างๆ ดังนี้ เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem) เป็นบริเวณปลายสุดของลำต้น เซลล์ บริเวณนี้จะแบ่งตัวอยู่ตลอดเวลา

5 2.โครงสร้างภายในลำต้น 2.1 ลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ เมื่อตัดลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ที่ยังอ่อนอยู่ตามขวาง แล้วนำมาศึกษาจะพบลักษณะการเรียงตัว ของลำต้นและรากคล้ายกันและลำต้นมีการเรียงตัว ดังนี้ 1) เอพิเดอร์มิส ( Epidermis ) อยู่ชั้นนอกสุด ปกติเป็นเซลล์เรียงตัวชั้นเดียว ไม่มี คลอโรฟิลล์ อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นขน หนาม หรือเซลล์คุม ( Guard Cell ) ผิวด้านนอกของ เอพิ- ดอร์มิสมักมีสารพวกคิวทิน เคลือบอยู่เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ 2) คอร์เทกซ์ ( Cortex ) มีอาณาเขตแคบกว่าในรากเซลล์ ส่วนนี้ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ พาเรงคิมาเรียงตัวกันหลายชั้น เซลล์พวกนี้มักมีสีเขียวและสังเคราะห์ด้วยแสงได้ด้วย นอกจากนี้ยัง ช่วยสะสมน้ำและอาหารให้แก่พืช เซลล์ชั้นคอร์เทกซ์ที่อยู่ติดกับเอพิเดอร์มิสเป็นเซลล์เล็กๆ 2-3 แถว คือ เซลล์พวกคอลเลงคิมา และมีเซลล์สเกลอเรงคิมาแทรกอยู่ช่วยให้ลำต้นแข็งแรงขึ้น การ แตกกิ่งของพืชจะแตกในชั้นนี้เรียกว่า “ เอกโซจีนัสบรานชิ่ง ( Exogenous branching )” ซึ่ง แตกต่างจากรากซึ่งเป็นเอนโดจีนัสบรานชิ่ง ชั้นในของคอร์เทกซ์คือ เอนโดเดอร์มิสเป็นเซลล์เรียง ตัวชั้นเดียวในลำต้น พืชส่วนใหญ่มักเห็นชั้นเอนโดเดอร์มิสได้ไม่ชัดเจนหรือไม่เห็นเลยซึ่งแตกต่าง จากรากซึ่งมีและเห็นชัดเจน เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการหลั่งสาร ( Secretory Cell ) เช่น เรซิน(Resin ) น้ายาง ( Latex ) ก็อยู่ในชั้นนี้

6 3) สตีล ( Stele ) ในลำต้นฃั้นสองของสตีลจะแคบมากและแบ่งออกจากชั้นของคอร์ เทกซ์ได้ไม่ชัดเจนนัก และแตกต่างจากในราก ประกอบด้วย 3.1 มัดท่อลำเลียง อยู่เป็นกลุ่มๆ ด้านในเป็นไซเลม ด้านนอกเป็นโฟลเอ็มเรียงตัวใน แนวรัศมีเดียวกัน 3.2 วาสคิวลาร์เรย์ เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่อยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียง เชื่อมต่อ ระหว่างคอร์เทกซ์และพิธ 3.3 พิธ อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ทำหน้าที่ สะสมแป้งหรือสารต่างๆ เช่น ผลึกแทนนิน ( Tannin ) พิธที่แทรกอยู่ในมัดท่อลำเลียงจะดูดคล้าย รัศมี เรียกว่า พิธเรย์ ( Pith Ray ) ทำหน้าที่สะสมอาหาร ช่วยลำเลียงน้ำ เกลือแร่ และอาหารไป ทางด้านข้างของลำต้น

7 การเจริญเติบโตขั้นที่สอง (Secondary Growth) ของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้ เกิดจาก Vascular Cambium ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) โดยแทรกระหว่างกลุ่มของ Xylem และ Phloem (Xylem สร้างเข้าข้างใน Phloem สร้างออกข้างนอก ) มีผลให้ขนาดของลำ ต้นโตขึ้น ซึ่งในแต่ละปีการสร้าง Xylem และ Phloem ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแร่ธาตุ โดยในฤดูฝน Xylem ว้าง สีจาง ฤดูแล้ง Xylem เห็นเป็นแถบแคบๆ สีเข้ม ทำให้เนื้อไม้มีสีที่ต่างกัน เป็นวงชัดเจน เรียกว่า วงปี (Annual ring)

8

9 2.โครงสร้างภายในลำต้น 2.2 ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตขั้นต้น ( Primary Growth ) เท่านั้น มีชั้น ต่างๆเช่นเดียวกับพืชใบเลี้ยงคู่ต่างกันที่มัดท่อลำเลียงรวมกันเป็นกลุ่มๆประกอบด้วยเซลล์ค่อนข้าง กลมขนาดใหญ่ 2 เซลล์ ซึ่งได้แก่ไซเลมและเซลล์เล็กๆ ด้านบนคือโฟลเอ็ม ส่วนทางด้านล่างของ ไซเลมเป็นช่องกลมๆ เช่นกันคือช่องอากาศมัดท่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีบันเดิลชีท ( Bundle Sheath ) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพวกพาเรงคิมาที่มีแป้งสะสมหรืออาจเป็นเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมา มาหุ้มล้อมรอบเอาไว้ กลุ่มของมัดท่อลำเลียงจะกระจายทุกส่วนของลำต้น แต่มักอยู่รอบนอกมากว่า รอบในและมัดท่อลำเลียงไม่มีเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างหรือแคมเบียมคั่นอยู่ พืชพวกนี้จึงเจริญเติบโต ด้านข้างจำกัด แต่มักจะสูงขึ้นได้มาก เนื่องจากพืชใบเลี้ยเดี่ยวมีเนื้อเยื่อเจริญบริเวณข้อทำให้ปล้อง ยืดยาวขึ้น ในพืชบางชนิดส่วนของพืชจะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่กลางลำต้น เรียกว่า “ ช่องพิธ ( Pith Cavity ) ” เช่น ในลำต้นของไผ่ หญ้า เป็นต้น ในพืชพวกหมากผู้หมากเมีย และจันทน์ผา จะมีมัดท่อลำเลียงคล้ายพืชใบเลี้ยงคู่และมีแคมเบีย มด้วยทำให้เจริญเติบโดทางด้านข้างได้และยังสามารถสร้างคอร์กขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น

10

11 3.หน้าที่และชนิดของลำต้น
3.1หน้าที่หลักของลำต้น คือ 1) นำน้ำ แร่ธาตุ และอาหารส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ ของลำต้น 2) ช่วยพยุงกิ่งก้านสาขา ชูใบให้กางออกรับแสงแดดให้มากที่สุด 3.2หน้าที่พิเศษของลำต้น คือ สะสมอาหาร โดยลำต้นสะสมอาหารแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ - แง่ง หรือเหง้า (Rhizome) เช่น ขิง ขมิ้น ว่าน กล้วย เป็นต้น - หัวเทียม (Tuber) เช่น มันฝรั่ง หญ้าแห้วหมู เป็นต้น - หัวแท้ (Corm) เป็นลำต้นตั้งตรง มีข้อปล้องชัดเจน เช่น เผือก เป็นต้น -หัวกลีบ (Bulb) ลำต้นตั้งตรง มีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้น สะสมอาหารในใบเกล็ด เช่น หัวหอม กระเทียม เป็นต้น

12 2. สังเคราะห์ด้วยแสง เป็นลำต้นที่มีคลอโรพลาสต์ เช่น กระบองเพชร พยาไร้ใบ 3.ใช้ในการขยายพันธุ์ เช่น การตอนกิ่ง การปักชำ และไหล (Runner/Stolon) ซึ่งพบใน บัวบก สตรอเบอรี่ เป็นต้น 4. ช่วยในการคายน้ำ โดยส่วนของลำต้นที่เป็นช่องเปิด เรียกว่า Lenticel 5. ลำต้นเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ เช่น - มือเกาะ (Tendril) เพื่อพยุงลำต้นและชูใบ เช่น ตำลึง องุ่น เป็นต้น - ลำต้นทอดไปตามผิวดินหรือเหนือน้ำ (Climbing) เช่นผักบุ้ง ผักกระเฉด เป็นต้น - ลำต้นเลื้อยพันหลัก (Twining) เช่น เถาวัลย์ อัญชัน เป็นต้น - ลำต้นเปลี่ยนเป็นหนาม (Thorn) เป็นต้น เช่น เฟื่องฟ้า มะกรูด เป็นต้น

13 อ้างอิง http://watchawan.blogspot.com/2010/05/blog-post_15.html


ดาวน์โหลด ppt โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google