งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ
น.พ.พรเพชร ปัญจปิยะกุล สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข

2 การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำ
ของกระทรวงสาธารณสุข

3 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินงานด้านการส่งเสริม ควบคุม ป้องกันโรค มาประมาณ ๗ ปี ปี ๒๕๕๔ -ทำ MOU ร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ในการป้องกัน ควบคุมโรคและ ภัยสุขภาพในเรือนจำ และจัดทำแนวทางปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในเรือนจำ ให้เรือนจำ ๑๔๔ แห่ง ใน ๗๖ จังหวัดใช้ดำเนินการ ปี ๒๕๕๗ - มีแผนการลงพื้นที่เพื่อติดตามการใช้แนวทางฯ ดังกล่าว เพื่อรับทราบผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรค - ทดลองนำร่องส่งเสริมการจัดบริการในเรือนจำ โดยใช้พื้นที่ของทัณฑสถานในจังหวัดปทุมธานี จำนวน ๓ แห่ง โดยจะมีการค้นหา Case TB และ HIVร่วมด้วย

4 กรมสุขภาพจิต ส่วนกลาง : มีสถาบันกัลยาราชนครินทร์ ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ โดยจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยด้านจิตเวชให้เรือนจำทุกแห่ง และมีแผนจะประเมินผลการดำเนินการในปี 2557 ส่วนภูมิภาค : เป็นบทบาทของโรงพยาบาลจิตเวชในพื้นที่ ดำเนินการให้บริการเชิงรุก ได้แก่ ตรวจสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยเฉพาะนักโทษประหาร การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว การป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การวางระบบและการป้องกันร่วมกับกรมราชทันต์ และการวางระบบการนิเทศ ติดตาม พัฒนาเทคโนโลยีและคู่มือผ่านกองบริการทางการแพทย์ กรมราชฑัณฑ์ วางระบบการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวช หากเกินขีดความสามารถของเรือนจำ แผนงาน ปี ๒๕๕๗ จะสานต่องานเดิมในด้านการส่งเสริมป้องกัน การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว เพื่อประเมินภาวะทางสุขภาพจิต และป้องกันการกระทำผิดซ้ำ

5 กองสนับสนุนบริการสุขภาพภาคประชาชน
กรมอนามัย ยังไม่มีแผนงานร่วมกับกรมราชทัณฑ์ แต่เคยร่วมเขียนคู่มือฯ ด้านการส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย กองสนับสนุนบริการสุขภาพภาคประชาชน เคยให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในเรือนจำ

6 ด้านสิทธิคุ้มครองแก่ผู้ต้องขัง
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: สปสช. ด้านสิทธิคุ้มครองแก่ผู้ต้องขัง 1. ใช้สิทธิเช่นเดียวกับประชาชนไทยทั่วไป แต่อาจขอย้ายหน่วยบริการไปยังพื้นที่ตั้งของเรือนจำ โดยให้ทางเรือนจำทำเรื่องขอย้ายให้ 2. ด้านการส่งเสริมป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้พิการ อยู่ในขอบเขตของกฎหมายกองทุนผู้พิการหรือกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ 3. ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์และวัณโรคซึ่งพบในผู้ต้องขังจำนวนมาก จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนวัณโรคและโรคเอดส์ฯ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลของกรมราชทัณฑ์เพียงแห่งเดียวที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการหลักกับ สปสช. หากมีการย้ายเรือนจำของผู้ต้องขังที่ป่วย ทางเรือนจำต้องทำเรื่องย้ายสถานบริการเดิมมายังสถานบริการใหม่ในเขตพื้นที่ให้บริการเรือนจำที่ย้ายไป

7 โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
ปัจจุบันมีความหลากหลายในการให้บริการผู้ป่วยในเรือนจำ เพราะยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เช่นตัวอย่างการให้บริการของรพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ มีการจัดระบบการบริหารจัดการการดูแลเรือนจำในพื้นที่เช่นเดียวกับการดูแล รพ.สต.ในเครือข่าย โดยให้การสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ

8 สรุป ๑. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการพัฒนาระบบบริการบริการสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสถานพยาบาลในสังกัดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ๒. สปสช. จะพิจารณาหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลสำหรับหน่วยพยาบาลของกรมราชทัณฑ์ การตรวจสอบสิทธิของผู้ต้องขังที่ป่วย รวมทั้งแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ต้องขังต่างชาติด้วย เพื่อทบทวนหลักเกณฑ์ที่มีข้อจำกัดในการจัดบริการ และให้มีความชัดเจนในเรื่องหลักประกันตามสิทธิ โดยขั้นตอนการดำเนินการขอให้กรมราชฑัณฑ์เสนอเรื่องต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยตรงต่อไป

9 แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ต้องขังในเรือนจำ
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะเน้นการบริหารจัดการให้เกิดระบบบริการของหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพื่อการดำเนินการในทิศทางเดียวกัน

10 การป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพในเรือนจำ การรักษาพยาบาล
ร่างแนวทางการดำเนินงานจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ ของกระทรวงสาธารณสุข หลักการโดยเน้น ๔ ด้าน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพในเรือนจำ การรักษาพยาบาล 4. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

11 ตัวอย่าง ร่างแนวทางการดำเนินงานจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำของกระทรวงสาธารณสุข
การบริหารจัดการหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ จัดตั้งกรรมการประสานงานระดับจังหวัด ประกอบด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นประธาน ผู้บัญชาการเรือนจำ สำนักงานประกันสุขภาพเขตที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในพื้นที่รับผิดชอบเรือนจำ องค์กรส่วนท้องถิ่น และบุคลากรอื่นที่เหมาะสม เพื่อกำหนดนโยบาย ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานและติดตามประเมินผล 2. วางแผนการส่งเสริมสนับสนุนโดยทีมบริการสุขภาพไปให้บริการสุขภาพเป็นระยะ

12 ตัวอย่าง ร่างแนวทางการดำเนินงานจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำของกระทรวงสาธารณสุข
การบริหารจัดการหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับ (ต่อ) 3. จัดระบบการให้บริการที่ OPD เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ต้องขัง 4. จัดระบบบริการการส่งต่อผู้ป่วยที่เหมาะสม 4. จัดระบบการรักษาและการให้คำปรึกษาแบบ Telemedicine 5. มีการติดตามประเมินผล อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

13 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt การจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google