งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภาษาในวรรณคดี ผู้สอน : อาจารย์การัณยภาส สัมดี.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภาษาในวรรณคดี ผู้สอน : อาจารย์การัณยภาส สัมดี."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภาษาในวรรณคดี ผู้สอน : อาจารย์การัณยภาส สัมดี

2 การประพันธ์คือการเรียงร้อยถ้อยคำ
วรรณคดีและวรรณกรรมเป็นงานศิลปะเช่นเดียวกับจิตรกรรมประติมากรรม คีตกรรม และนาฏกรรม จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างจินตภาพแก่ผู้อ่านหรือผู้ฟังให้ได้รับสารที่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะต้องการสื่อสารเหล่านี้จะทำให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ (ความสำเริงอารมณ์) และแง่คิดจรรโลงใจ

3 โวหารภาพพจน์ อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์
คือการใช้ถ้อยคำเพื่อให้เกิดจินตนาการแก่ผู้อ่านโดยการเรียบเรียงถ้อยคำด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดภาพในใจของผู้อ่าน อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ ปฏิพากษ์ บุคคลวัต สัทพจน์ สัญลักษณ์

4 อุปมา คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายว่า “เหมือน” เช่นเสมือน ดุจ ดั่ง เปรียบ ประหนึ่ง เสมอ ปาน เพียง ราว เทียบ เทียม ฯลฯ “ไม่คลาดเคลื่อนเหมือนองค์พระทรงเดช แต่ดวงเนตรแดงดูดังสุรีย์ฉาย ทรงกําลังดังพระยาคชาพลาย มีเขี้ยวคล้ายชนนีมีศักดา”

5 อุปลักษณ์ อันเทวัญนั้นคือมัจจุราช จะหมายมาดเอาชีวิตริศยา
คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง คำที่ใช้เปรียบเทียบได้แก่คำว่า “เป็น” “คือ” ตัวอย่างเช่น อันเทวัญนั้นคือมัจจุราช จะหมายมาดเอาชีวิตริศยา แล้วเสแสร้งแกล้งทำบีบน้ำตา อนิจจาใจหายเจียวสายใจ (พระอภัยมณี)

6 อธิพจน์ หรือ อติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริง เช่น
คือ การกล่าวเกินจริง เช่น - ร้อนจนตับจะแตกอยู่แล้ว - หิวจนไส้แทบขาด - ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน - เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม

7 ปฏิพากย์ คือ การใช้คำตรงกันข้ามมาประกอบเป็นข้อความเข้าด้วยกัน เช่น
คือ การใช้คำตรงกันข้ามมาประกอบเป็นข้อความเข้าด้วยกัน เช่น จากความชั่วสู่ความดีที่เป็นสุข จากร้อนรุกเร้ารบเป็นสบศานติ์ เมื่อสู่ความเป็นพระชนะมาร เพื่อวัยวารสู่สันติตราบนิรันดร์

8 บุคคลวัต, บุคลาธิษฐาน - แล้วดอกไม้ก็ยิ้มรับกับตะวัน
คือ การสมมติสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีอารมณ์ ความรู้สึก หรือกิริยาเหมือนมนุษย์ เช่น - แล้วดอกไม้ก็ยิ้มรับกับตะวัน - ทะเลไม่เคยหลับใหล - ฝากสายฝนไปกระซิบสั่งคนรักฉันที

9 สัทพจน์ เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต (พระอภัยมณี)
คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต (พระอภัยมณี)

10 สัญลักษณ์ สีขาว แทนความบริสุทธิ์ สีดำ แทนความชั่วร้าย
คือ การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เกิดภาพทางความหมายที่ชัดเจน เช่น สีขาว แทนความบริสุทธิ์ สีดำ แทนความชั่วร้าย กา เป็นสัญลักษณ์ของคนชั้นต่ำ หงส์ เป็นสัญลักษณ์ของคนชั้นสูง ดอกฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของนางชั้นผู้สูงศักดิ์ ดอกหญ้า เป็นสัญลักษณ์ของหญิงต่ำศักดิ์

11 ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร?
แล้วชี้หน้าด่าอึงหึงนางเงือก  ทำซบเสือกสอพลออีตอแหล   เห็นผัวรักยักคอทำท้อแท้  พ่อกับแม่เข้าไปอยู่ในท้อง   ทำปั้นเจ๋อเย่อหยิ่งมาชิงผัว ระวังตัวให้ดีอีจองหอง   พลางเข่นเขี้ยวเคี้ยวกรามคำรามร้อง  เสียงกึกก้องโกลาลูกตาโพลง (สุนทรภู่) ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร?

12 กวีโวหารเป็นศิลปะการเรียงร้อยถ้อยคำ
เสาวรจนี นารีปราโมทย์ กวีโวหาร หมายถึง ถ้อยคำสำนวน และชั้นเชิงในการแต่งคำประพันธ์ของกวี มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพทางอารมณ์แก่ผู้อ่าน ผู้ฟัง กวีโบราณกล่าวถึงโวหารซึ่งเป็นกระบวนการประพันธ์ไว้ ๔ ประเภท คือ พิโรธวาทัง สัลลาปังคพิสัย

13 รจนี = ประพันธ์ (compose)
เสาวรจนี เสาว = งาม (beautiful) รจนี = ประพันธ์ (compose) ๑. เสาวรจนี (บทชมความงาม) คือ การเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่งอาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง

14 ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง
พงศ์กษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม  ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป (พระอภัยมณี : สุนทรภู่)

15 ปราโมทย์ = ความบันเทิงใจ (happiness)
นารีปราโมทย์ นารี = ผู้หญิง (women) ปราโมทย์ = ความบันเทิงใจ (happiness) ๒. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยวพาราสี โอ้โลม) คือการกล่าวข้อความแสดงความรัก ทั้งที่เป็นการพบกันในระยะแรกๆ และในโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย

16 ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง เจ้าเป็นถ้ำไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่ครอง จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป (สุนทรภู่)

17 วาทัง = วาทะ คำพูด (words)
พิโรธวาทัง พิโรธ = โกรธ (angry) วาทัง = วาทะ คำพูด (words) ๓. พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ) คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่น้อยไปจนมาก จึงเริ่มตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง

18 รูปงามนามเพราะน้อยไปหรือ ใจไม่ซื่อสมศักดิ์เท่าเส้นผม
แต่ใจสัตว์มันยังมีที่นิยม สมาคมก็แต่ถึงฤดูมัน มึงนี่ถ่อยยิ่งกว่าถ่อยอีท้ายเมือง จะเอาเรื่องไม่ได้สักสิ่งสรรพ์ละโมบมากตัณหาตาเป็นมัน สักร้อยพันให้มึงไม่ถึงใจ (สุนทรภู่ : ขุนช้างขุนแผน)

19 บทตัดพ้อที่แสดงทั้งอารมณ์รักและแค้นของ อังคาร กัลยาณพงศ์ จากบทกวี เสียเจ้า
เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย จะเจ็บจำไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ หากเจ้าอุบัติบนสรวงสวรรค์ ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้ สูเป็นไฟ เราเป็นไม้ ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ (อังคาร กัลยาณพงศ์)

20 สัลล = ความโศกเศร้า (heartache)
สัลลาปังคพิสัย สัลลาป = การพูดจา (parlance) พิสัย = ความสามารถ (ability) ๔. สัลลาปังคพิสัย (บทโศก) คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก

21 ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด นึกถึงบาทบพิตอดิศร
โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น (สุนทรภู่)

22

23 ในการแต่งคำประพันธ์ กวีนิยมดำเนินตามหลักฉันทลักษณ์อย่าง
เคร่งครัด เมื่อคำบางคำมีปัญหาเรื่องเสียง กวีก็มักจะแต่งรูปแปลงเสียง เพื่อให้ได้คำที่ไพเราะแต่คงความหมายเดิมไว้ “กวีโบราณนิยมแต่งรูปแปลงเสียงคำเพื่อให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในฉันทลักษณ์ เช่น การใช้ คำโทโทษ คำเอกโทษในการแต่งโคลงและร่าย แต่คำ เอกโทษจะใช้น้อยกว่าคำโทโทษ เพราะสามารถใช้ คำตายแทนได้นั่นเอง”


ดาวน์โหลด ppt ภาษาในวรรณคดี ผู้สอน : อาจารย์การัณยภาส สัมดี.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google