ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 4 การผลิตแบบลีน ( Lean Production )
2
ความหมายของการผลิตแบบ “ลีน”
ความหมายของการผลิตแบบ “ลีน” ระบบการผลิตแบบลีน ( Lean Product ) เป็นการกำจัดความสูญเปล่าในการผลิตโดยการลดหรือจำกัดจำนวนซัพพลายเออร์ ลูกค้า และความผันแปรภายใน (Verma and boyer, 2008: 449) การผลิตแบบลีน คือปรัชญาการบริหารการดำเนินงานและการปฏิบัติการ โดยเน้นการกำจัดความสูญเปล่าในการผลิต โดยการรักษาระดับของสินค้าคงคลัง ให้มีในปริมาณที่น้อย ใช้พนักงานน้อย ใช้พื้นที่ไม่มาก ลดจำนวนซัพพลายเออร์ และลดความผันแปรภายใน
3
การขจัดความสูญเปล่า ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีนั้นเป็นการค้ำจุนระบบการผลิตแบบลีนให้เป็นจริงขึ้นมาโดยระบบการผลิตแบบลีน เป็นการพัฒนามาจากระบบการผลิตของโตโยต้า โดยพื้นฐานระบบของโตโยต้านั้นเป็นการผลิตในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ ผลิตตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นการผลิตแบบลีน เป็นการกำจัดความสูญเปล่าในการผลิตโดยการลดหรือจำกัดจำนวนซัพพลายเออร์ ลูกค้า รวมถึงความผันแปรภายใน ตามแนวคิดของการผลิตแบบโตโยต้า TPS ประเภทของความสูญเปล่า ในระบบการผลิตนั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 3 MUs หรือ 3M ซึ่งได้ถูกแบ่งออกเป็น 3กลุ่มใหญ่ ๆ
4
1. Muda คือ ความสูญเปล่า และเป็นกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่าอันก่อให้เกิดสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณค่า 2. Mura คือ ความสูญเปล่าประเภทที่ 2 พบในระบบการผลิตปัจจุบัน ซึ่งก็คือความไม่สม่ำเสมอของกระบวนการผลิต 3. Muri คือ ความสูญเปล่าประเภทนี้เป็นผลมาจากภาระงานที่มากเกินไป หรือสภาวะที่เกินกำลัง ความสูญเปล่าประเภทนี้สามารถลดได้โดยการกำหนดงานที่เป็นมาตรฐานของกระบวนการผลิตให้ดีกว่าเดิม
5
ความสูญเปล่า 7 ประการ ความสูญเปล่าจากการผลิตไม่สามารถขจัดออกไปได้หมด แต่สามารถลดให้ เหลือน้อยลงที่สุดได้ โดยโรงงานโตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่นรายใหญ่ได้กำหนดความสูญเปล่าไว้ 7ประการ ซึ่งสามารถพบได้โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป
6
1. ความสูญเปล่าจากการผลิตของเสีย Product defect
สินค้าหรือชิ้นส่วนประกอบที่ผลิตออกมาไม่ตรงกับข้อกำหนดผลิตภัณฑ์จะถูกเรียกว่าของเสียจากการผลิต scrap ของเสียรวมถึงชิ้นส่วนหรือสินค้าที่ชำรุดสินค้าที่บกพร่องด้วยการจัดการของเสียจากการผลิตก่อให้เกิดงานที่ไม่มีคุณค่า การคุ้มครองความปลอดภัยและก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเหตุของการเกิดของเสียที่อยู่ในกระบวนการผลิต เช่น อาการ รากเหง้าของปัญหา ลูกค้าคืนของ การจัดการที่ไม่เหมาะสม ลูกค้าสูญเสียความเชื่อมั่น การฝึกอบรมไม่เพียงพอ การส่งมอบสินค้าผิดพลาด ไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้า
7
2. ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินความจำเป็น Overproduction waste
ความสูญเปล่าชนิดนี้เกิดจากความล้มเหลวในการวางแผนการผลิต โดยโรงงานได้ผลิตสินค้าด้วยกำลังการผลิตสูงสุด ซึ่งเงินลงทุนจะจมอยู่กับสินค้าที่ขายไม่ออก เช่น อาการ รากเหง้าของปัญหา สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ ใช้พื้นที่มากเกินจำเป็น นำระบบอัตโนมัติไปใช้ในทางที่ผิด การไหลของวัตถุดิบไม่สมดุล การตั้งค่ากระบวนการที่ยาวนาน
8
3. ความสูญเปล่าจากการรอคอย Waste due to waiting
งานระหว่างทำ work in Process เป็นตัวสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพขององค์กรผลิตภัณฑ์ที่ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แต่ต้องรอชิ้นส่วนสำคัญที่สั่งซื้อจากต่างประเทศประกอบเข้าด้วยกันทำให้ไม่สามารถนำส่งผลิตภัณฑ์ได้ หรือสินค้าที่ต้องรอคิวเนื่องจากเครื่องจักรอุปกรณ์ไม่ว่าง เช่น อาการ รากเหง้าของปัญหา การนำทรัพยากรมาใช้ ภาระงานที่ไม่สมดุล ลดผลิตภาพ การซ่อมบำรุงไม่ตรงตามแผน เพิ่มการลงทุน การใช้เวลาติดตั้งยาวนาน
9
4. ความสูญเปล่าจากสินค้าคงคลังจำนวนหนึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการผลิต
เนื่องจากก่อให้เกิดความราบรื่นในกระบวนการผลิต การมีสินค้าคลังในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นก่อให้เกิดความสูญเปล่า เนื่องจากสินค้าคงคลังเหล่านี้ต้องการพื้นที่จัดเก็บขนาดสินค้าขนาดใหญ่และต้องการดูแลรักษา เช่น อาการ รากเหง้าของปัญหา ระบบการติดตามที่ซับซ้อน การจัดการที่ไม่เหมาะสม พื้นที่จัดเก็บมีขนาดเล็ก ระบบการจัดการไม่เพียงพอ สินค้ามีขนาดใหญ่ การจัดการที่ไม่เหมาะสม
10
5. ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนย้ายและขนย้ายที่ไม่จำเป็น
ความสูญเปล่าชนิดนี้เกิดจากการรอคอยมีผลให้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ลดลง เนื่องจากการเคลื่อนย้ายภายในสถานที่ผลิต คลังสินค้า ละร้านค้าปลีก เช่น อาการ รากเหง้าของปัญหา การจัดการอุปกรณ์เป็นพิเศษ การวางวัตถุดิบผิดที่ พนักงานที่มากเกินไป การจัดตารางการผลิตที่ไม่สมดุล ใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้าขนาดใหญ่ กระบวนการที่ไม่มีความสมดุล
11
6. ความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ Inefficient process
เครื่องจักรควรจำทำการบำรุงรักษาให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีการซ่อมบำรุงรักษาเพื่อขจัดความสูญเปล่าจากกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น อาการ รากเหง้าของปัญหา อุปกรณ์ขนาดใหญ่ อนุมัติซ้ำซ้อนและการตรวจสอบ ระยะเวลานำส่งที่ยาวนาน ขาดการติดต่อสื่อสาร การลดผลิตภาพ ไม่ได้กำหนดลูกค้าเอาไว้ก่อน
12
7. ความสูญเปล่าที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่จำเป็น
วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบที่ไม่จำเป็นภายในสายการผลิต เนื่องจากการวางแผนผังโรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ การออกแบบงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการออกแบบกระบวนการที่ไม่เพิ่มคุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ อาการ รากเหง้าของปัญหา การลดผลิตภาพ ผิดหลักการวางแผนผัง การรอคน เครื่องจักร การออกแบบเครื่องจักรกระบวนการที่ไม่ดี การเดินระยะทางไกล วิธีการทำงานไม่เป็นมาตรฐาน
13
เครื่องมือและเทคนิคของระบบการผลิตแบบลีน
1.การผลิตแบบดึง เป็นกระบวนการผลิตที่ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นตัวผลักดันการวางแผนการผลิตในกระบวนการดึง. 2.ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี เป็นการออกแบบระบบการจัดการสินค้าคงคลังโดยการจัดซื้อหรือผลิตในสิ่งที่ลูกค้าต้องการด้วยจำนวนที่ถูกต้อง และส่งมอบวัตถุดิบหรือสินสินค้านั้นให้ทันเวลา 3.กลยุทธ์การผลิตเป็นชุดขนาดเล็ก จำนวนของสินค้าที่ถูกผลิตขึ้นมา ซึ่งชุดการผลิตขนาดเล็กนั้นจะมีประโยชน์ในด้านการลดจำนวนของสินค้าคงคลังมากกกว่าผลิตสินค้าแบบชุดการผลิตเป็นชุดขนาดใหญ่หรือการผลิตแบบเป็นล็อตๆ
14
4.กลยุทธ์รักษาความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์
ระบบการผลิตแบบลีนนั้นควรที่จะต้องดำเนินการด้วยระยะเวลานำสิ่งที่สั่น และระดับสินค้าคงคลังต่ำ บริษัทจึงจำเป็นต้องทำการรักษาความสัมพันธ์ซัพพลายเออร์ 5.การควบคุมภาพเชิงสถิติ คือการควบคุมซึ่งจะช่วยทำให้มั่นใจในคุณภาพการผลิตและความรวดเร็วในการการปฏิบัติการมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้สินค้าหรือบริการมีความบกพร่องได้ 6.การควบคุมคุณภาพด้วยสายตา โดยมีเป้าหมายในการทำให้สถานะการผลิตมองเห็นได้ชัดเจนและสามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างต่อเนื่องด้วยการใช้บอร์ดประกาศข่าว 7.ระบบการป้องกันผิดพลาด เป็นกลไกการป้องกันไม่ให้ทำงานผิดพลาด ผลิตผิดพลาด ไม่ให้สินค้าเกิดความบกพร่องและผลิตสินค้าไม่ครบจำนวน
15
8.คุณภาพ ณ แหล่งผลิต การทำงานในระบบการผลิตแบบลีนคุณภาพต้องอยู่ในระดับสูงจะไม่มีสินค้าคงคลังเพื่อเป็นสินค้ากันชน จะไม่มีการผลิตที่ไม่มีคุณภาพและการผลิตซ้ำหรือปฏิเสธสินค้า 9.คัมบัง เป็นการ์ดบรรจุข้อมูลทั้งหมดที่ต้องเกี่ยวกับงานที่ใช้ในการผลิตสินค้าในแต่ละสายการผลิตตามแต่ละเส้นทางเป็นส่วนจำเป็นในแต่ละกระบวนการย่อย 10.Jidok การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันข่อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิตหรือเครื่องจักร 11.ไคเซน คือกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในการผลิตสินและบริการ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความคาดหวังของลูกค้าซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของการผลิตแบบทันเวลาพอดี
16
13.การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม
12.ผังสายธารแห่งคุณค่า เป็นเครื่องมือในการระบุเปอร์เซ็นต์ของระยะเวลานำส่งทั้งหมดเพื่อเพิ่มคุณค่าใช้เป็นเครื่องมือช่วย ฝ่ายบิการ วิศวกร ฝ่ายผลิต ผู้จัดการตารางผลิต ซัพพลายเออร์ และลูกค้า 13.การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม การหยุดเดินของเครื่องจักรโดยไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าสามารถเกิดขึ้นได้ ดั้งนั้น ในระบบการผลิตแบบลีน อุปกรณ์การผลิตทั้งหมดและกระบวนการการปฏิบัติการจะสามมารถเชื่อถือได้ 14.กลุ่มเทคโนโลยีและการผลิตแบบเซลลูลาร์ จะตรงกันข้ามกับการวางแผนกระบวนการซึ่งได้วางอุปกรณ์เดียวกันไว้ด้วยกันในแผนกหรือวางแผนผังตามผลิตภัณฑ์ 15. การทำให้เข้าใจง่ายขึ้น(และการทำงานที่เป็นมาตรฐาน( คือ การลดระยะเวลานำส่งและความผันแปรของกระบวนการ การทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ได้มุ่งเน้นไปที่การขจัดกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่าในกระบวนการ ส่วนงานที่เป็นมาตรฐานมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนงานด้วยเอกสารขั้นตอนในกระบวนการที่ชัดเจน
17
ประโยชน์ในการนำระบบการผลิตแบบลีนมาใช้
การนำระบบการผลิตแบบลีนมาใช้มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ สินค้าคงคลังลดลง การปรับปรุงคุณภาพดีขึ้น ต้นทุนการผลิตต่ำลง พื้นที่การใช้งานลดลง ผลิตภาพเพิ่มขึ้น ความยืดหยุ่นในการผลิตเพิ่มขึ้น 7) ระยะเวลานำส่งลดลง 8) ความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ดีขึ้น 9) การจัดตารางการผลิตง่ายขึ้นและควบคุมกิจกรรมง่ายขึ้น 10) กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 11) การใช้ทรัพยากรมนุษย์ดีขึ้น 12) ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายขึ้น
18
การนำระบบลีนมาใช้ในห่วงโซ่อุปทาน
ผู้จัดการได้ขยายแนวคิดของลีนไปสู่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม การนำวิธีการแบบลีนมาสู่วิธีการแบบลีนในห่วงโซ่อุปทานนั้นสามารถผสมผสานประโยชน์และปัญหาเข้าด้วยกัน ในสภาวะที่มั่นคงแน่นอน ลีนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทานได้ โดยการลดระยะเวลานำส่ง บริษัทจำนวนมากได้นำเทคนิคลีนไปใช้งานร่วมกับซัพพลายเออร์และลูกค้า วิธีการแบบลีนในห่วงโซ่อุปทาน ได้มุ่งมั่นในการขจัดความต้องการสินค้าคงคลัง ระยะเวลานำส่ง และสินค้ากันชน ซึ่งจะประสบความสำเร็จได้หากซัพพลายเออร์และลูกค้าทำงานร่วมกันในฐานะพันธมิตรในระบบการผลิตนับเป็นบทบาทที่สำคัญที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน พันธมิตรจะต้องทำงานร่วมกันในการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ซัพพลายเออร์ สามารถมองเห็นถึงลูกค้าได้อย่างชัดเจน และมองเห็นการผลิตได้อย่างชัดเจน
19
การใช้หลักการผลิตแบบลีนในห่วงโซ่อุปทานต้องมีเงื่อนไข ดังนี้
ซื้อเพื่อให้เกิดต้นทุนรวมต่ำสุด รักษาระยะห่างระหว่างพันธมิตรระยะสั้น ลดจำนวนซัพพลายเออร์ลง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น การแก้ไขจะเน้นไปที่อาการและกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ในการทำงานกับซัพพลายเออร์ไม่ควรต่อต้าน แต่บริษัทจะแข็งกับซัพพลายเออร์ที่อ่อนแอที่สุด
20
ลีนในงานบริการ คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าระบบการผลิตแบบลีนเป็นการลดสินค้าคงคลังในระบบการผลิตโดยไม่ได้พิจารณาถึงระบบการบริการ อย่างไรก็ตาม ระบบการผลิตแบบลีน ประกอบด้วยการรักษาระดับสินค้าคงคลังให้ต่ำลง การกำจัดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต การปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ตอบสนองต่อความต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์และบริการสามารถจัดเตรียมได้อย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนต่ำสุด
21
บริษัทที่ใช้ระบบลีน มีลักษณะดีงต่อไปนี้
McDonald ต่างก็ใช้กลยุทธ์การแข่งขันด้วยความเร็วและจัดเตรียมผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการบริการด้วยต้นทุนต่ำสุดและการเพิ่มความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ บริษัทก่อสร้างได้ประสานการส่งมอบวัตถุดิบตามความต้องการแทนที่จะเก็บเป็นสต็อกวัตถุดิบไว้ที่หน้างาน พนักงานทำหน้าที่หลากหลายในห้างสรรพสินค้า โดยทำงานเกี่ยวกับการบันทึกงบกระแสเงินสด การเก็บเงิน สต็อกสินค้า การจัดแสดงสินค้าตัวอย่าง และการขาย ห้าง Walmartและ Food Lion รักษายอดขายด้วยกลยุทธ์ “ ถูกทุกวัน ” สถานีงานที่ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดได้ยินยอมให้เพิ่มจำนวนพนักงานในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด และลดจำนวนพนักงานลงในช่วงเวลาที่มีผู้มาใช้บริการน้อย ร้าน “ Dollars ” ใช้กลยุทธ์สินค้าราคาเดียวเพื่อง่ายต่อการนับจำนวนรายการสินค้าที่ลูกค้าซื้อเวลาชำระเงิน
22
ผังกระบวนการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการและขจัดความสูญเปล่าในงานบริการ
สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการดูแลรักษาพยาบาลมีความยืดหยุ่นในการเติมเต็มการดูแลรักษา การพิมพ์แบบทันเวลาพอดี ผลิตหนังสือตามปริมาณคำสั่งซื้อเฉพาะลูกค้ารายเดียว สามารถสั่งซื้อหนังสือจากร้านในราคาที่แข่งขันได้ ผู้ผลิตเลนส์สายตา น้ำยาล้างตา และการบริการซ่อมรถ สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อของลูกค้าได้ในเวลาอันสั้น ซูเปอร์มาร์เก็ตสามารถเติมสินค้าในชั้นวางสินค้าได้ทันทีที่ลูกค้าได้หยิบสินค้าออกไป ผู้ค้าปลีกวางจำหน่ายเสื้อผ้าใหม่ทุกปีในปรืมาณที่น้อย
23
ตัวอย่างการนำลีนมาใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ลีนในธุรกิจค้าปลีก (Lean Retailing) ลีนธุรกิจค้าปลีกคล้ายกับระบบการผลิตลีน ซึ่งจะต้องผลิตในปริมาณที่ไม่มาก สั่งบ่อยครั้ง และเติมสต็อกสินค้าอย่างรวดเร็ว ลีนในธนาคาร (Lean Banking) ธนาคารอเมริกา ธนาคารซิตี้แบงค์ ได้นำระบบลีนมาใช้ โดยอุตสาหกรรมธนาคารและการประกันภัยได้นำเทคนิคลีนมาใช้กับกระบวนการที่ทำซ้ำ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและเงิน การให้บริการที่ง่ายขึ้นโดยการออกแบบบริการแบบมอดูล (Module) ลีนในธุรกิจรักษาพยาบาล (Lean Healthcare) แนวคิดของลีนได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมธุรกิจรักษาพยาบาล เป็นการลดต้นทุนในธุรกิจรักษาพยาบาล โดยส่วนใหญ่เครื่องมือคุณภาพที่นิยมใช้ลีนโรงพยาบาลคือ ผังการไหล , ระบบป้องกันความผิดพลาด , ไคเซน
24
รายชื่อสมาชิก นาย พิทวัส ชะนะพจน์ 58127325020
นาย พิทวัส ชะนะพจน์ นาย กฤตเมธ สนิทกลาง นาย จิรายุทธ ศรียศพงษ์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.