งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality : COQ)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality : COQ)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality : COQ)
อาจารย์ วรันลักษณ์ ภักดิ์ใจดี

2 ความหมาย 1. ต้นทุนการป้องกัน (prevention costs)
ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality : COQ) คือ ผลรวมของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยองค์กรในการป้องกันการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพบกพร่อง ต้นทุนคุณภาพที่สำคัญอยู่ 3 ประเภท คือ 1. ต้นทุนการป้องกัน (prevention costs) 2. ต้นทุนการประเมินคุณภาพ (appraisal costs) 3. ต้นทุนความเสียหาย (failure costs)

3 ต้นทุนคุณภาพสามารถอธิบายได้ในลักษณะของ PAF Model
Prevention Appraisal Failure External Internal

4 ต้นทุนป้อง (Prevention costs)
จากภาพ ต้นทุนป้อง (Prevention costs) จะมีค่าใช้จ่ายในการวางแผนที่เกิดขึ้นโดยองค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อบกพร่องใดเกิดขึ้นในขั้นตอนของกระบวนการ เช่น การออกแบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต และการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการ ต้นทุนป้องกันที่เกิดขึ้นก็เพื่อลดการตรวจสอบ เช่นเดียวกับต้นทุนการประเมินคุณภาพ (appraisal costs) ซึ่งจะต้องคำนึงถึงการนำการจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM) มาใช้ การนำ TQM มาใช้ถือเป็นต้นทุนการป้องกัน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนป้องได้รวมถึงการศึกษาและการฝึกอบรมพนักงาน ความมุ่งมั่นในการปรับปรุงกระบวนการ การควบคุมกระบวนการ การทำวิจัยตลาด คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ การทดสอบตลาด การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การสอบวัดเครื่องมือ การตรวจสอบ (audit) พนักงานฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) เป็นต้น

5 ต้นทุนการประเมินคุณภาพ (Appraisal costs)
ต้นทุนการประเมินคุณภาพ เกิดขึ้นจากการตรวจสอบหรือประเมินสินค้าหรือบริการในขั้นตอนต่างๆ ในระหว่างการผลิตหรือการส่งมอบ ต้นทุนนี้เกิดขึ้นเนื่องจากขาดความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเนื่องมาจากวัตถุดิบที่รับเข้ามาหรือกระบวนการ เช่น ต้องมีการตรวจสอบ (inspected) วัตถุดิบที่รับเข้ามา เนื่องจากฝ่ายรับวัตถุดิบ (receiver) ไม่มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่รับเข้ามา การเข้าตรวจในระหว่างกระบวนการการผลิตหลายครั้งเนื่องจากคุณภาพของกระบวนการการผลิตมีความน่าสงสัย ดังนั้น องค์กรควรปรับปรุงคุณภาพในหมู่ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ จะทำให้ต้นทุนการตรวจสอบสามารถลดลงได้ ต้นทุนการประเมินคุณภาพรวมถึง การตรวจสอบวัตถุดิบนำเข้า การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ภายใน การประเมินซัพพลายเออร์และการตรวจสอบซัพพลายเออร์ การตรวจสอบระหว่างกระบวนการผลิต และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย

6 ต้นทุนความเสียหาย (failure costs)
เกิดขึ้นโดยองค์กรเอง เนื่องจากผลิตภัณฑ์หรือบริการไม่ตรงกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และผลิตภัณฑ์นั้นต้องนำกลับมาทำซ้ำ ต้นทุนความเสียหายมีสาเหตุมาจากความเสียหายขององค์กรในการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มีความบกพร่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีความบกพร่องนำไปสู่การสูญเสียชื่อเสียงขององค์กรและความจงรักภักดีของลูกค้า ถ้าลูกค้า 1 คนไม่พึงพอใจในสินค้าและบริการขององค์กรก็จะบอกต่ออีก 100 คน ทำให้สูญเสียลูกค้า ในปัจจุบันรวมถึงลูกค้าในอนาคต มีผลต่อภาพลักษณ์สินค้า (brand image) และนำไปสู่การสูญเสียความตั้งใจซื้อและความจงรักภักดีของลูกค้า หากผลิตภัณฑ์ที่มีความบกพร่องไม่ได้รับการแก้ไข และคุณภาพผลิตภัณฑ์ยังไม่ได้ปรับปรุง บริษัทต้องปิดกิจการในที่สุด

7 ประเภทของต้นทุนคุณภาพ
1. ต้นทุนการป้องกัน (prevention costs) 2. ต้นทุนการประเมินคุณภาพ (appraisal costs) 3. ต้นทุนความเสียหายภายใน (internal failure costs) 4. ต้นทุนความเสียหายภายนอก (external failure costs)

8 ต้นทุนการป้องกัน คือ ต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อป้องกันเหตุอันที่จะทำให้ระดับคุณภาพของสินค้าและบริการไม่ได้ตามที่กำหนด 1.1 ต้นทุนในการวางแผนคุณภาพ ได้แก่ เงินเดือนในการจ้างกลุ่มวางแผนควบคุมคุณภาพและทีมแก้ไขปัญหา การพัฒนากระบวนการการทำงานใหม่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และการศึกษาความไว้วางใจในตัวผลิตภัณฑ์ 1.2 ต้นทุนในการควบคุมระบบการทำงาน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์กระบวนการผลิต และแผนการปรับปรุงกระบวนการควบคุมการผลิต 1.3 ต้นทุนในการฝึกอบรมและการจัดการทั่วไป รวมถึงโปรแกรมการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ค่าใช้จ่ายทีมงานในการฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

9 2. ต้นทุนการประเมินคุณภาพ (appraisal costs) เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าหรือบริการที่ผลิตออกมาจะได้คุณภาพตามที่กำหนดตามมาตรฐาน ได้แก่ 2.1 ต้นทุนการตรวจสอบ เป็นต้นทุนในการตรวจสอบวัตถุดิบนำเข้า งานระหว่างทำ (work in process) และสินค้าสำเร็จรูป รวมไปถึงต้นทุนอุปกรณ์และเงินเดือนด้วย 2.2 ต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องมือ เนื่องมาจากการวัด (calibration) และการซ่อมเครื่องมือวัดต่างๆ 2.3 ต้นทุนการวัดและการควบคุม รวมไปถึงเวลาที่คนงานได้ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพในการวัด

10 3. ต้นทุนความเสียหายภายใน (internal failure costs) ต้นทุนความเสียหายภายใน คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อสินค้าหรือบริการนั้นได้ถูกผลิตออกมาเรียบร้อยแล้วและไม่เป็นไปตามข้อกำหนด แต่บริษัทสามารถพบก่อนที่สินค้าจะสู่มือผู้บริโภค ได้แก่ 3.1 ต้นทุนการจำกัดทิ้งและการทำใหม่ รวมไปถึงวัตถุดิบ แรงงาน และค่าดำเนินงาน 3.2 ต้นทุนในการแก้ไข เกิดขึ้นจากการใช้เวลาในการค้นหาสาเหตุของความเสียหายและการแก้ไขปัญหาในการผลิต 3.3 ความเสียหายของกระบวนการ เช่น การไม่ได้วางแผนในการหยุดเครื่องจักรในการผลิต การไม่ได้วางแผนในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

11 4. ต้นทุนความเสียหายภายนอก (external failure costs) ค่าใช้จ่ายเมื่อผลิตสินค้าที่บกพร่อง ออกมาแล้วและสินค้านั้นสามารถเล็ดลอดการตรวจสอบจนถึงมือลูกค้าแล้วก่อให้เกิดความเสียหาย คิดเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กร ได้แก่ 4.1 ต้นทุนในการรับข้อร้องเรียนของลูกค้าและการคืนสินค้า รวมถึงการทำใหม่เมื่อมีการนำสินค้ามาส่งคืน การยกเลิกคำสั่งซื้อ และการขนส่งสินค้า premium 4.2 ต้นทุนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์และการรับประกันคุณภาพ รวมไปถึงต้นทุนในการซ่อมแซม หรือรับเปลี่ยนสินค้า 4.3 ต้นทุนอันเป็นหนี้สินจากสินค้า เป็นผลมาจากการปฏิบัติตามกฎหมาย เนื่องมาจากการทำข้อตกลง

12 การลดต้นทุนแห่งคุณภาพ
การลดต้นทุนแห่งคุณภาพสามารถทำได้ ดังนี้ 1. การลดต้นทุนการป้องกัน (prevention costs) ทุกๆ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการเพื่อป้องกันเหตุอันที่จะทำให้ระดับคุณภาพของสินค้าหรือบริการไม่ได้ตามที่กำหนด จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเปล่าระหว่างกระบวนการผลิต ผู้บริหารต้องอุทิศเวลาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ระบบคุณภาพ ต้องจัดเตรียมทำคู่มือในการควบคุมคุณภาพและกำหนดขั้นตอนการดำเนินการไว้เรียบร้อยแล้ว ระบบเอกสารที่มีคุณภาพควรมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ในที่นี้ ต้นทุนการป้องกัน หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันเหตุอันที่จะทำให้ระดับคุณภาพของสินค้าและบริการไม่ได้ตามที่กำหนด บริษัทไม่ควรลังเลที่จะปรับปรุงกระบวนการทำงานและลดความสูญเปล่าจากการทำงานลงด้วย

13 2. การลดต้นทุนประเมินคุณภาพ (appraisal costs) ในการตรวจสอบ (inspection) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการประเมินผู้จำหน่ายรายใหม่ กระบวนการทำงานใหม่ๆ หรือสายการผลิตใหม่ การตรวจสอบต้องอาศัยข้อมูลหลายๆ อย่างประกอบกัน ข้อมูลเหล่านั้นควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์กรในการลดต้นทุนในอนาคต และควรเสาะหาวิธีการลดต้นทุนในการตรวจสอบให้เพิ่มมากขึ้นและควรส่งเสริมซัพพลายเออร์ให้รักษาระดับการทำงาน พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพในการดำเนินงานของเขาเพิ่มมากขึ้น การตรวจสอบคุณภาพที่ดี ควรจะลดต้นทุนกระบวนการผลิตที่มีการอิ่มตัวลงด้วย

14 3. การลดต้นทุนความเสียหายภายใน (internal failure costs) การผลิต การส่งมอบสินค้าที่มีตำหนิ หรือการบริการที่มีความบกพร่อง ถือว่าเป็นการสูญเปล่าทั้งสิ้น การควบคุมคุณภาพควรทำตั้งแต่ครั้งแรกและทำสม่ำเสมอทุกๆ ครั้ง เพื่อจะได้ไม่ต้องปฏิเสธสินค้าและบริการที่ไม่ผ่านมาตรฐานตั้งแต่แรก ทำให้กระบวนการการผลิตได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น สินค้าที่มีปัญหาไม่ผ่านมาตรฐานควรมีการระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและหาทางขจัดปัญหาทิ้ง หากระบบการผลิตมีการกำหนดตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานแล้ว ระดับความเชื่อมั่นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพควรที่จะสูงขึ้น ดังนั้น การมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพควรที่จะกำหนดระบบการควบคุมกระบวนการผลิต โดยการนำระบบการควบคุมกระบวนการแบบอัตโนมัติมาใช้ควบคุมผลผลิตเพื่อไม่ให้มีของเสีย (scrap) และงานทำซ้ำ (rework) เป็นจำนวนมาก งานทำซ้ำจะลดคุณค่าของสินค้าลงไป จะไปเพิ่มความยุ่งยากในการทำงานและเพิ่มของเสียในการผลิตมากขึ้น เป็นปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเป็นต้นทุนค่าเก็บรักษาสินค้ามากขึ้น ดังนั้น ระบบการดำเนินงานจึงควรที่จะลดงานที่ทำซ้ำและของเสียตามหลักของ TQM

15 4. ต้นทุนแฝง มีต้นทุนมากมายในการผลิตที่ไม่สามารถระบุหรือจำแนกแจกแจงออกมาได้ สิ่งเหล่านี้ถือ เป็นต้นทุนแฝง หมายรวมถึงต้นทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ต้นทุนเรื่องสินค้าเสียชื่อเสียง และต้นทุนเรื่องความไม่พึงพอใจของลูกค้า ต้นทุนเหล่านี้ จะมีผลกระทบกับธุรกิจโดยตรง ซึ่งต้นทุนแฝงนี้จะขจัดไปได้ด้วยการกำจัดต้นทุนความเสียหายภายนอก (external failure costs) ออกไปนั่นเอง

16 โมเดลต้นทุนคุณภาพในภาวะที่ดีที่สุดของจูราน
เมื่อระดับคุณภาพเพิ่มขึ้น จำนวนของเสียในการผลิตสินค้าหรือบริการจะลดลง ต้นทุนของความไม่สอดคล้องกันในเรื่องของคุณภาพ (Non-conformance)หรือต้นทุนความเสียหาย (failure costs) จะลดลงตามระดับของการปรับปรุงคุณภาพ ส่วนระดับการปรับปรุงคุณภาพจะเพิ่มต่อเมื่อต้นทุนในเรื่องสอดคล้องกันของคุณภาพ (ต้นทุนการป้องกันและต้นทุนการประเมินคุณภาพ) เพิ่มขึ้น จากภาพแสดงเรื่องคุณภาพ 100% ของต้นทุนคุณภาพรวมซึ่งเป็นต้นทุนที่อยู่ในภาวะที่ดีที่สุด จะแสดงการเพิ่มของเสียจากการผลิตลงไปด้วย

17 คุณภาพในภาวะที่ดีที่สุดกับของเสียเป็นศูนย์
ณ ระดับต้นทุนรวมต่ำสุด เงินจะถูกใช้ในในเรื่องของความสอดคล้องในด้านคุณภาพภายใต้เส้นภาวะที่ดีที่สุดของคุณภาพ (optimum) ที่อยู่เส้นล่างสุด ผลตอบแทนจะสูง ส่วนเส้นที่อยู่เหนือขึ้นไป ผลตอบแทนจะต่ำ โดยเส้นภาวะที่ดีที่สุดของคุณภาพจะเกิดขึ้น ณ ระดับคุณภาพ (q)< 100% ต้นทุนคุณภาพต่ำที่สุดเกิดขึ้น ณ ระดับคุณภาพ 100% แนวคิดนี้ คือ ระดับคุณภาพซิกซ์ซิกมา (Six Sigma) เข้าใกล้ 100%

18 การวิเคราะห์ต้นทุนความเสียหายภายนอก
จัดลำดับความสำคัญจะต้องกระทำดังต่อไปนี้ 1) ปรับปรุงคุณภาพเหล็ก 2) ขจัดความเสียหายจากหลอดอิเล็กตรอน 3) ประเมินการแก้ไขอัตราความเสียหายจากฟิวส์และการวิเคราะห์อัตราความเสียหายจากฟิวส์ หากเสียหายทั้งหมดถูกจำกัดออกไป ต้นทุนความเสียหายจะลดลง 10%

19 การวิเคราะห์ต้นทุนความเสียหายภายใน
สาเหตุของต้นทุนความเสียหายภายในได้ถูกนำมาวิเคราะห์และพล็อตด้วยแผนภูมิพาเรโต A หมายถึง การใส่ส่วนประกอบผิด B หมายถึง ของเสียจากเหล็ก และ C หมายถึง สาเหตุอื่นๆ ต้นทุนความเสียหายภายใน คือ การใส่ชิ้นส่วนประกอบที่ผิด กระบวนการผลิตได้ถูกศึกษาและค้นพบแนวทางปฏิบัติในสายการประกอบ จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง ซึ่งพนักงานในสายการผลิตจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมการวิเคราะห์ต้นทุนความเสียหายภายนอก มุ่งเน้นไปที่ปัญหาในกระบวนการผลิตเหล็ก ข้อกำหนดของการศึกษา คือ การลดของเสียอันเนื่องมาจากเหล็กมีคุณภาพไม่ดี สาเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งเป็นผลกำไรต่อองค์กร

20 การวิเคราะห์ต้นทุนคุณภาพ (COQ) มีประโยชน์
1. ขจัดปัญหาด้านคุณภาพในองค์กรซึ่งนำไปสู่การสร้างเป้าหมายขององค์กรในการปรับปรุงคุณภาพ 2. ลดต้นทุนในการปรับปรุง 3. ปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า 4. แสดงผลลัพธ์ในการจูงใจพนักงานให้มีการปรับปรุงกระบวนการ

21 คำถามท้ายบท จงอธิบายความหมายของต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality : COQ)
ต้นทุนการประเมินคุณภาพ (appraisal costs) เกิดขึ้นจากสาเหตุใด การลดต้นทุนความเสียหายภายใน (internal failure costs) สามารถทำได้โดยวิธีใด ต้นทุนแฝงสามารถขจัดออกไปด้วยวิธีใด การวิเคราะห์สาเหตุของต้นทุนความเสียหายภายในสามารถวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติใด


ดาวน์โหลด ppt ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality : COQ)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google