งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การรับสารด้วยการอ่าน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การรับสารด้วยการอ่าน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การรับสารด้วยการอ่าน

2 ความสำคัญ เป็นพฤติกรรมการรับสารที่สำคัญเทียบเท่าการฟัง
ผู้รู้ นักวิชาการ นักเขียน นำเสนอผลงานเป็นสิ่งตีพิมพ์มากขึ้น ความสามารถในการอ่านสำคัญและจำเป็นคุณภาพของสังคมปัจจุบัน UNESCOใช้ความสามารถในการรู้หนังสือของประชากรเป็นดัชนีวัดระดับการพัฒนาของประเทศนั้นๆ

3 การอ่านเอาเรื่อง ต้องการทราบเรื่องราวที่ผู้เขียนนำเสนอไว้
ต้องติดตามเรื่องให้ต่อเนื่องกันไป ต้องการทราบว่าใคร ทำอะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร

4 วานรกับนักเดินทาง ชายสองคนเดินทางไปด้วยกัน คนหนึ่งไม่เคยพูดจริง อีกคนหนึ่งไม่เคยพูดปด ในการเดินทางครั้งนั้น ทั้งสองมาถึงถิ่นที่อยู่ของวานร พญาวานรให้บริวารไปพาทั้งสองคนมาหาเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของตน จึงจัดพิธีต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ พญาวานรถามว่า “ท่านมีความคิดเห็นเช่นไร ในฐานะที่เราเป็นราชาผู้หนึ่ง” นักเดินทางผู้พูดปดตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ ใครๆก็เห็นว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้สง่างามทั้งนั้น” พญาวานรถามต่อไปว่า “แล้วท่านเห็นบริวารเราเป็นอย่างไรบ้าง” นักเดินทางตอบว่า “บริวารของพระองค์ล้วนสูงศักดิ์คู่ควรแก่พระองค์ทุกประการ” พญาวานรพอใจ จึงมอบของรางวัลอันสวยงามให้

5 นักเดินทางผู้ไม่เคยพูดปดนึกในใจว่า “เพื่อนร่วมเดินทางของเราได้รางวัลสวยงามเพราะพูดปดแท้ๆ เราคงไดรางวัลยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก” ดังนั้นเมื่อพญาวานรหันมาถามความเห็นจึงตอบไปว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านเป็นวานรที่ดีมาก ส่วนบริวารของท่านล้วนแต่เป็นวานรที่ดีด้วย” พญาวานรได้ยินดังนั้นก็โกรธมาก สั่งให้ลากตัวชายผู้นั้นไปให้พ้น และแล้วชายผู้น่าสงสารก็ถูกตะปบด้วยเล็บอันแหลมคมจนถึงแกความตาย นักศึกษาตอบได้ไหมว่า ใคร ไปทำอะไร ที่ไหน กับใคร แล้วผลที่ได้รับเป็นอย่างไร

6 การอ่านวิเคราะห์ ต้องอาศัยการใช้ความคิดในการอ่านเอาเรื่อง( ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร อย่างไร ) ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วเป็นอย่างไรหรือน่าจะเป็นอย่างไรต่อไป

7 การอ่านตีความ ต้องใช้ความคิดในระดับสูงขึ้นไป
เมื่อวิเคราะห์แล้วต้องพิจารณาว่า สาระที่สำคัญที่สุดคืออะไร สาระนั้น อาจคือความตั้งใจหรือเจตนาสั่งสอน เตือนสติ ชี้ให้เห็นความเป็นจริงของชีวิต กระตุ้นให้ประกอบการงาน ห้ามหรือปรามไม่ให้กระทำ ยั่วล้อ เยาะเย้ยหรือสบประมาท บางครั้งอาจสรุปสาระสำคัญไว้ตอนท้ายเช่น นิทาน

8 หลักการอ่านออกเสียงอย่างภาษาพูด
ออกเสียงให้ถูกอักขรวิธี โดยเฉพาะคำควบกล้ำและ ร ล ว ออกเสียงให้ดังชัดเจน ออกเสียงไม่เร็วหรือช้าเกินไป ออกเสียงให้ถูกจังหวะวรรคตอน วางท่าทางในการอ่านให้ถูกต้อง ไม่ว่านั่งหรือยืนอ่านจะต้องให้ตัวตรง จับและพลิกหนังสือให้ถูกวิธีโดยจับทั้งสองมือและพลิกด้วยมือขวา มีสมาธิในการอ่าน พยายามทำความเข้าใจตามเรื่องไปด้วย

9 หลักทั่วไปในการอ่านในใจ
วงศัพท์ รู้ความหมายที่แท้ของถ้อยคำที่อ่านก็จะสามารถเข้าใจเรื่อง ที่อ่านได้ดีและรวดเร็ว ช่วงสายตา การอ่านที่ดีควรอ่านเป็นกลุ่มคำไม่ใช่อ่านทีละคำ และเลื่อนช่วงสายตาไปข้างหน้าได้เร็วเพียงใดก็สามารถอ่านได้เร็วเพียงนั้น การเคลื่อนไหวริมฝีปาก การอ่านในใจที่ถูกต้องไม่ควรเคลื่อนริมฝีปากในขณะอ่าน ระยะสายตา การอ่านหนังสือที่อยู่พอเหมาะแก่ระยะสายตา คือ ระยะ ๑๕ นิ้ว ความมุ่งหมาย การอ่านแต่ละครั้งควรตั้งความมุ่งหมายให้ชัดแจ้งในใจ ว่าต้องการรู้อะไร ตั้งคำถามจากบทหรือตอน

10 การจับใจความสำคัญ ข้อความหนึ่งย่อหน้ามีใจความสำคัญเพียงประการเดียว ใจความสำคัญนี้ปรากฏอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ประโยคใจความสำคัญ” ใส่วนข้อความประโยคอื่นๆ เป็นเพียงพลความ คือ ทำหน้าที่ประกอบประโยคใจความสำคัญนั้นๆ

11 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน

12 ความหมายของการอ่าน ความหมายของการอ่าน การเข้าใจสารและรับรู้ความหมายของสารจากตัวอักษรออกมาเป็นถ้อยคำความคิด โดยผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ ตีความ และประเมินค่าของผู้อ่านแต่ละคน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการรู้จักนำความคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร

13 ความสำคัญของการอ่าน เพิ่มประสบการณ์ ความรู้ ความคิด
พัฒนาชีวิตและจิตวิญญาณ เป็นสะพานเชื่อมประสานความรู้สู่เพื่อนมนุษย์

14 จุดประสงค์ของการอ่าน
เพื่อให้รู้ เพื่อให้เกิดความบันเทิง

15 ประเภทของการวินิจสาร
การวิเคราะห์ข้อความ การจับใจความ การตีความ

16 การวิเคราะห์ข้อความ การพิจารณาแยกองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในงานเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งว่ามีลักษณะอย่างไร มีคุณค่าหรือมีข้อสังเกตอย่างไรบ้าง และต้องแยกข้อเท็จจริงออกจากข้อคิดเห็นได้

17 การแยกแยะเรื่องที่อ่านให้ได้ว่าส่วนใดเป็นใจความสำคัญส่วนใดเป็นพลความ
การจับใจความ การแยกแยะเรื่องที่อ่านให้ได้ว่าส่วนใดเป็นใจความสำคัญส่วนใดเป็นพลความ

18 การตีความ การคิดพิจารณาความหมายที่ผู้เขียนได้เขียนไว้อย่างถูกต้องตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียน โดยเฉพาะความหมายโดยนัยหรือความหมายแฝงที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อความหมายด้วย และต้องอาศัยบริบท น้ำเสียง ทัศนคติของผู้เขียนตลอดจนเหตุการณ์ปัจจุบันด้วยเช่นกัน

19 การอ่าน

20 ท่านรู้จักกิจกรรมการอ่านขนาดใด?
เป็นหนึ่งในความสามารถพื้นฐานของการกำเนิดเป็นมนุษย์ เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้รับรู้ข่าวสาร สาระ ความรู้ เป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน

21 ท่านรู้จักกิจกรรมการอ่านขนาดใด?
เป็นวิธีการรวบรวมประเด็นสาระความรู้ เพื่อจะได้ตอบคำถามต่างๆของผู้อ่านได้และ เมื่อสั่งสมไว้ก็จะสามารถนำไปสื่อสารต่อให้ผู้อื่นด้วยการพูด การเขียน การนำไปปฏิบัติได้

22 ก่อนอื่นควรเข้าใจธรรมชาติของทักษะการอ่าน
เป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อน จาก การใช้ ตาดู นำเข้าสมองไปคิด ถอดความ ตีความ เก็บไว้ในใจ หรือเปล่งเสียงออกมา

23 ก่อนอื่นควรเข้าใจธรรมชาติของทักษะการอ่าน
เป็นการตีความหมายของสัญลักษณ์ เป็นการปะติดปะต่อความหมายของเรื่องราว เป็นการเก็บข้อมูล

24 ธรรมชาติของทักษะการอ่าน
การอ่านเป็นกระบวนการทางสติปัญญาที่สมองทำหน้าที่ทั้งหมดในการตีความหมายของข้อความที่อ่าน โดยสมองจะเริ่มทำงานเมื่อตาของผู้อ่านมองเห็นตัวอักษรและสัญลักษณ์ที่ผู้เขียนเขียนไว้

25 ธรรมชาติของทักษะการอ่าน (ต่อ)
แล้วนำความรู้เดิมที่สะสมไว้ในสมองมาช่วยในการตีความข้อมูลที่ผ่านตา ได้ข้อมูลใหม่จากการอ่านก็จะนำเข้าไปปะติดปะต่อกับข้อมูลเก่าในสมองจนได้เป็นข้อมูลใหม่มาสำหรับสะสมไว้ในฐานข้อมูลของสมองเพื่อจะได้นำมาใช้สื่อสารในคราวต่อไป

26 ธรรมชาติของทักษะการอ่าน (ต่อ)
การอ่านจึงเป็นการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน ผู้อ่านจะอ่านเอาความหมายที่ผู้เขียนเขียนไว้ ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์เดิมและความรู้ทางภาษาของผู้อ่าน

27 การเตรียมความพร้อม เพื่ออ่านได้อย่างมีคุณภาพ
ต้องมีประสบการณ์เดิม รู้จักคำสำคัญ (key word) เพื่อนำไปสืบค้นสิ่งที่ต้องการจะอ่าน รู้จักและเข้าใจคำศัพท์เทคนิค (technical term) และ ศัพท์วิชาการ (academic term) ต่างๆที่มีในบทความ

28 การเตรียมความพร้อมเพื่ออ่านได้อย่างมีคุณภาพ (ต่อ)
ต้องมีความสามารถในการจับใจความ อ่านแล้วเอาเรื่องหรือประเด็นสำคัญที่ต้องการติดตัวไปได้ (take home message) ต้องรู้จักการย่อความ จดบันทึกสาระ ประเด็น และข้อมูลต่างๆเพื่อนำไปใช้ต่อได้ หลังจากอ่าน ต้องมีทักษะการใช้ภาษาอื่น แปลได้ ทำความเข้าใจได้เมื่ออ่านบทความที่ใช้ภาษาอื่น ส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ แปลอังกฤษเป็นไทย

29 การอ่านจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างขุมทรัพย์ทางปัญญาของปัจเจกชน อันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งอย่างไม่มีขีดจำกัด

30 การหาข้อเท็จจริงของเรื่องที่อ่านคือการอ่านประเภทใด

31 การอ่านตีความ หรือ การอ่านสรุปความ

32 การหารายละเอียดของเรื่องที่อ่านคือการอ่านประเภทใด

33 การอ่านวิเคราะห์ (ข้อความ)

34 การจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านคือการอ่านประเภทใด

35 การอ่านจับใจความ หรือ การอ่านจับสาระ

36 การอ่านแบบคร่าวๆเพื่อทราบเรื่องทั้งหมดคือการอ่านประเภทใด

37 การอ่านสำรวจ หรือ การอ่านแบบกวาดสายตา

38 ข้อเท็จจริง กับ ความคิดเห็น

39 ภาษาพูด กับ ภาษาเขียน

40 บันเทิงคดี กับ สารคดี เขียนโดยใช้อะไรเป็นหลัก
บันเทิงคดี กับ สารคดี เขียนโดยใช้อะไรเป็นหลัก จุดมุ่งหมาย

41 เขียนเป็นแบบแผน กับ เขียนไม่เป็นแบบแผน

42 นิทานพื้นบ้าน บทกวีนิพนธ์
เรื่องสั้น เรียงความ รายงานทางวิชาการ บทความ แนะนำหนังสือ

43 การอ่านเชิงวิเคราะห์

44 การอ่านวิเคราะห์ การอ่านเพื่อแยกแยะข้อความที่อ่านอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง องค์ประกอบ หลักการและเหตุผลของเรื่อง จนสรุปได้ว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร การอ่านวิเคราะห์ช่วยให้เห็นภาพรวมของเรื่องที่อ่าน ฝึกให้อ่านอย่างรอบคอบ ช่วยพัฒนาสติปัญญา ซึ่งทักษะในการอ่านนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และจะนำไปใช้ในการอ่านประเมินค่าต่อไป

45 ความหมายของการอ่านวิเคราะห์ คำว่า "วิเคราะห์" หมายถึง การใคร่ครวญหรือแยกออกเป็นส่วน ๆ หรือแยกแยะส่วนต่าง ๆ ออก ดูให้ถี่ถ้วนที่สุดที่จะทำได้

46 ประโยชน์ของการอ่านวิเคราะห์ ๑
ประโยชน์ของการอ่านวิเคราะห์ ๑. ช่วยทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพของงานเขียนทุกส่วนว่าประกอบด้วยอะไร อยู่ในลักษณะใด พร้อมทั้งมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่อ่านนั้น ๒. สามารถแยกแยะประเด็นข้อมูลได้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริงและส่วนใด เป็นข้อคิดเห็น ๓. ทำให้เป็นคนใฝ่รู้ และเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านตลอดจนได้เล็งเห็นคุณค่า ของงานเขียน ๔. เป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิด มีทัศนะและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีเหตุและผล

47 ๕. ช่วยให้เกิดทักษะในการอ่านสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สามารถเลือกเฟ้น ในสิ่งที่ตนต้องการอ่าน ได้จากข้อมูลข้อเขียนประเภทต่าง ๆ นั้น ๖. ก่อให้เกิดความรู้ความคิดกว้างขวาง ตามแนวทางระบอบประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และรู้จักตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุดด้วยตนเอง ๗. ช่วยให้รู้จักประเมินค่าเรื่องที่ได้อ่าน ด้วยความรอบคอบและด้วยเหตุผล สามารถนำสิ่งที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

48 ๑. อ่านหนังสือเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ และพิจารณาหา เหตุผลประกอบ ๒. อ่านหนังสืออื่น ๆ ประกอบ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ก่อนที่จะประเมินค่า ๓. ใช้ความรู้ ประสบการณ์ และวิจารณญาณในการแยกแยะส่วนที่ดี ส่วนที่บกพร่องอย่างมีเหตุมีผล ๔. เมื่ออ่านหนังสือเรื่องนั้น ๆ จบ ควรตอบตนเองได้ว่า ได้รับอะไรจาก การอ่าน เช่น ได้รับความรู้ ความ บันเทิง ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ และ เรื่องนั้น ๆ มีคุณค่าอย่างไร เป็นต้น

49 การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
รายงานทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการที่ เกิดจากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร จากการสำรวจ การสังเกต การทดลอง ฯลฯ แล้วนำมารวบรวมวิเคราะห์ เรียบเรียงขึ้น ใหม่ ตามโครงเรื่องที่ได้วางไว้ โดยมีหลักฐานและเอกสาร อ้างอิงประกอบ

50 ส่วนประกอบของการเขียนรายงานเชิงวิชาการ
๑. ส่วนนำ ๑.๑ ปกนอก ๑.๒ ใบรองปก ๑.๓ ปกใน ๑.๔ คำนำ ๑.๕ สารบัญ ๒. ส่วนเนื้อเรื่อง ๒.๑ อัญประภาษ (Quotation) ๒.๒ การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnotes) ๒.๒.๑ เชิงอรรถอ้างอิง ๒.๒.๒ เชิงอรรถอธิบาย ๒.๒.๓ เชิงอรรถโยง ๒.๓ การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ๓. ส่วนท้าย ๓.๑ บรรณานุกรม (Bibiogecphy) ๓.๒ ภาคผนวก

51 ขั้นตอนในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ
๑. กำหนดเรื่อง ๑.๑ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ๑.๒ เป็นเรื่องที่มีขอบเขตและเนื้อหา ๑.๓ เป็นเรื่องที่หาข้อมูลจากหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ มาประกอบการเขียน ๒. กำหนดชื่อเรื่องและขอบเขตของเรื่อง ๒.๑ จำกัดโดยแขนงวิชา ๒.๒ จำกัดโดยบุคคล ๒.๓ จำกัดโดยสถานที่ ๒.๔ จำกัดโดยภูมิศาสตร์ ๒.๕ จำกัดโดยระยะทาง " ๒.๖ จำกัดขอบเขตโดยใช้คำว่า"บางประการ"และ"แนวโน้ม"

52 คำนิยามของ รายงานทางวิชาการ
คำนิยามของ รายงานทางวิชาการ เอกสารที่เกิดขึ้นจากการศึกษาค้นคว้า สำรวจ วิเคราะห์ หรือรวบรวมเรื่องทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีระเบียบแบบแผนและมีขั้นตอน

53 ได้อะไรจากการทำรายงาน
รู้และเข้าใจในเรื่องที่ศึกษามากยิ่งขึ้น ช่วยฝึกให้คิดเป็นทำเป็น รู้จักประยุกต์วิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ช่วยสร้างประสบการณ์ในการเขียนงานทางวิชาการได้ดีขึ้น

54 ขั้นตอนการเขียนรายงาน
การเลือกและการกำหนดหัวข้อเรื่อง กำหนดจุดประสงค์ สำรวจแหล่งข้อมูลพื้นฐาน การวางโครงเรื่อง การรวบรวมข้อมูลและการจดบันทึก การเรียบเรียงเนื้อหาของรายงาน การอ้างอิงและบรรณานุกรม

55 การเลือกและกำหนดหัวข้อเรื่อง
หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อเรื่อง เป็นเรื่องที่น่าสนใจผู้ทำรายงานสนใจมากที่สุด มีพื้นความรู้พอสมควรในเรื่องที่ทำ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอต่อการศึกษาค้นคว้า ขอบเขตของเนื้อหาไม่กว้าง หรือ แคบ เกินไป

56 ตัวอย่างการกำหนดหัวข้อเรื่อง
เรื่อง ปัญหาสังคม กำหนดเป็น ปัญหาชุมชนแออัด เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ กำหนดเป็น สนธิสัญญาทางการค้าระหว่างประเทศ เรื่อง เศรษฐกิจไทย กำหนดเป็นเศรษฐกิจไทยยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

57 การสำรวจแหล่งข้อมูลพื้นฐาน
แหล่งทรัพยากรสารนิเทศ หนังสือ วารสาร หนังสืออ้างอิง หนังสือพิมพ์ รายงานวิจัย รายงานสัมมนา วิทยานิพนธ์ โสตทัศนวัสดุ ฐานข้อมูล ซีดี-รอม

58 ลักษณะการวางโครงเรื่อง
กำหนดขอบข่ายของเรื่องที่จะเขียน เพื่อจัดลำดับเนื้อเรื่อง กำหนดหัวข้อเรื่องใหญ่ (กล่าวถึงอะไร) ภายใต้หัวข้อเรื่องใหญ่ จะมีหัวข้อย่อยอะไรบ้าง จัดลำดับความสำคัญของแต่ละหัวข้อ ดังนั้นโครงเรื่องจะประกอบด้วย หัวข้อใหญ่ และ หัวข้อย่อย

59 ลักษณะการวางโครงเรื่อง
ชื่อเรื่อง ๑.____________________ (หัวข้อใหญ่) ๒.____________________ ๒.๑__________________ (หัวข้อย่อย) ๒.๒__________________ ๓._____________________

60 ตัวอย่างการเรียงลำดับโครงเรื่อง
อาการโรคภูมิแพ้ ประวัติโรคภูมิแพ้ การป้องกันโรคภูมิแพ้ ความหมายของโรคภูมิแพ้ การรักษาโรคภูมิแพ้ สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ ชนิดของโรคภูมิแพ้

61 โรคภูมิแพ้ ความหมายของโรคภูมิแพ้ ประวัติโรคภูมิแพ้ ชนิดของโรคภูมิแพ้
สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ อาการโรคภูมิแพ้ การรักษาโรคภูมิแพ้ การป้องกันโรคภูมิแพ้

62 ตัวอย่างการเขียนโครงเรื่อง

63 การทำแท้ง ๑. ความหมายของการทำแท้ง ๒. ประเภทของการทำแท้ง
๓. สาเหตุของการทำแท้ง ๔. ขั้นตอนและวิธีการทำแท้ง ๔.๑ ฉีดยา ๔.๒ การบีบ ๔.๓ การขูด ๕. อันตรายจากการทำแท้ง ๖. แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำแท้ง

64 ส่วนประกอบของรายงาน ส่วนประกอบตอนต้น
ปกนอก ใบรองปก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป ส่วนประกอบตอนท้าย บรรณานุกรม ภาคผนวก

65 หลักการใช้ภาษาในการเขียนรายงาน
ได้สาระสมบูรณ์ เนื้อความครบถ้วน สมบูรณ์ทั้งเหตุ/ผล ชัดเจน รวดเร็วเข้าใจง่าย ได้คลุมเครือ กะทัดรัด ไม่ใช่ความพุ่มเฟือย คงเส้นคงวา คำวลี ประโยค สุภาพและลื่นไหล ถูกต้อง (ประโยคสมบูรณ์ประธาน/กริยา กรรม)ไม่ใช่วลีต่อกัน/ไม่ใช่ภาษาพูด

66 การเขียนรายงานทางวิชาการ
หมายถึง รายงานการศึกษาในเรื่องต่างๆ ฝึกให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ขั้นตอนการเขียนรายงานทางวิชาการ ๑. เลือกหัวข้อ หรือกำหนดเรื่อง ๒. กำหนดจุดมุ่งหมายและกำหนดขอบเขตของเรื่อง ๓. วางโครงเรื่อง ๔. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ๕. เสนอผลรายงาน

67 เรื่องที่ควรทำรายงานทางวิชาการ
๑. การโฆษณาในประเทศไทย ๒. กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง ๓. ปัญหาครอบครัว

68 เรื่องที่ไม่ควรทำรายงานทางวิชาการ
๑. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ๒. การสื่อสารเบื้องต้น ๓. ชีวิตแห่งความสุขของฉัน

69 รูปแบบการสัมภาษณ์ในการทำรายงานทางวิชาการ
ได้แก่ การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม ไม่นิยมใช้วิธีอื่น เช่น สัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และสัมภาษณ์ทางวิทยุและโทรทัศน์

70 ส่วนประกอบของรายงานวิชาการ
๑. ส่วนนำ ๒. ส่วนเนื้อความ ๓. ส่วนท้าย

71 ๑. ส่วนนำ ประกอบด้วย - หน้าปกนอก - ใบรองปก แผ่นรองปก - หน้าปกใน - คำนำ
๑. ส่วนนำ ประกอบด้วย - หน้าปกนอก - ใบรองปก แผ่นรองปก - หน้าปกใน - คำนำ - สารบัญ - บัญชีตารางหรือภาพประกอบ

72 ๒. ส่วนเนื้อความ - ส่วนที่เป็นเนื้อหา
- ส่วนประกอบในเนื้อหา หรือการอ้างแทรกในเนื้อหา - เชิงอรรถ footnote

73 ๒. ส่วนเนื้อความ - ส่วนประกอบในเนื้อหา หรือการอ้างแทรกในเนื้อหา
พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหนึ่งของชาติไทย ซึ่งเป็นศูนย์รวมของ คนไทยทั้งชาติและเป็นเครื่องค้ำจุนความมั่นคงของชาติตลอดมา (สมพร เทพสิทธา, ๒๕๓๖, หน้า ๓๗-๓๘) จะเห็นว่าพุทธศาสนานั้นเป็นแกน หลักของชาติ... ...หลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการบริหารและพัฒนาประเทศ ท่านพุทธทาสภิกขุ (๒๕๓๕, หน้า ๒๓๑) เห็นว่าพุทธศาสนาเป็นหลักความมั่นคงทางการเมือง

74 การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
- การลงชื่อผู้แต่ง ผู้แต่งคนไทย ถ้าเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ ยศทางตำรวจ ทหาร และนักบวช ให้เขียนตามปกติ เช่น (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร, ๒๕๔๕, หน้า ๖)

75 เชิงอรรถ - บอกที่มาของข้อความที่ยกมากล่าวถึงหน้านั้นเรียกว่าเชิงอรรถอ้างอิง - อธิบายคำหรือข้อความในหน้านั้นเพิ่มเติม เรียกว่าเชิงอรรถเสริมความ แจ้งให้ผู้อ่านดูเพิ่มเติม ข้อความที่เกี่ยวข้องกับคำหรือข้อความที่กล่าว ในหน้านั้น ได้จากหน้าอื่นของหนังสือเล่มเดียวกัน เรียกว่า เชิงอรรถโยงข้อความ

76 ส่วนท้าย - รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม รูปแบบของการเขียนบรรณานุกรม
- รายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม รูปแบบของการเขียนบรรณานุกรม ชื่อ/ ชื่อสกุล.// (ปีที่พิมพ์).// ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์. เช่น เปลื้อง ณ นคร. (๒๕๔๗). หลักการพัฒนาตัวเอง (พิมพ์ครั้งที่ ๑๕). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

77 บรรณานุกรม ต้องเรียงตามพยัญชนะและรูปสระที่ปรากฏ
อะ อั อัะ อา อำ อิ อี อึ อื อุ อู เอ เอะ เอา เอาะ เอิ เอี เอีะ เอื เอืะ แอ แอะ ออ โอ โอะ ใอ ไอ เช่น กะทัดรัด กัณหา กาญจนา กำธร กุญชร เกรียงไกร ไกรศักดิ์ คำที่สะกดด้วยพยัญชนะเดียวกัน วรรณยุกต์แตกต่างกัน ให้ดูพยัญชนะตัวถัดไป ไม่เรียงลำดับตามเสียงวรรณยุกต์ เช่น ส้มจุก สมชาย สมณศักดิ์ สมศักดิ์ ส้มโอ

78 บรรณานุกรม การลงรายการชื่อผู้แต่ง คำนำหน้าชื่อให้ตัดทิ้งไม่ต้องใส่ไว้
คำนำหน้าชื่อตามปกติ เช่น นาย นาง นางสาว ด.ช. ด.ญ. ตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ดร. ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ คำระบุบอกอาชีพ เช่น นายแพทย์ แพทย์หญิง ทันตแพทย์ ทนายความ อาจารย์

79 บรรณานุกรม คำนำชื่อให้คงไว้โดยให้ย้ายสลับไปไว้หลังชื่อ ได้แก่
คำนำชื่อให้คงไว้โดยให้ย้ายสลับไปไว้หลังชื่อ ได้แก่ ฐานันดรศักดิ์ เช่น ปิ่น มาลากุล, ม.ล. อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. บรรดาศักดิ์ เช่น ประดิษฐ์ไพเราะ, หลวง อนุมานราชธน, พระยา ยศทางตำรวจและทหาร เช่น คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลตรี ม.ร.ว. เปรม ติณสูลานนท์, พลเอก

80 บรรณานุกรม สมณศักดิ์ ให้คงไว้ตามปกติไม่ต้องย้ายไปไว้ข้างหลัง เช่น
สมณศักดิ์ ให้คงไว้ตามปกติไม่ต้องย้ายไปไว้ข้างหลัง เช่น พระเทพคุณาธร พระพิศาลธรรมพาที ผู้แต่ง ๒ คนขึ้นไปให้ลงชื่อผู้แต่งทุกคน โดยใช้คำว่า “และ” ก่อนชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย เช่น อนันต์ อนันตกูล, ติณ ปรัชญา, ลิขิต ธีระเวคิน และทินพันธ์ นาคา เรียงตามลำดับชื่อที่ปรากฏในหนังสือ

81 บรรณานุกรม การลงรายการที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์
เมืองที่พิมพ์ให้ลงเฉพาะชื่อเมืองหรือจังหวัด ถ้ามีชื่อผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ ให้ใส่เฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ โดยตัดคำว่าสำนักพิมพ์ออก ถ้าปรากฏเฉพาะชื่อโรงพิมพ์ ให้ลงคำว่า โรงพิมพ์ด้วย ถ้าปรากฏว่ามีเฉพาะชื่อบริษัท ให้ตัดคำว่า บริษัท...จำกัดหรือ หจก. ออก

82 ส่วนท้าย สมทรง แก้ววิจิตร. (ม.ป.ป.). เพื่อนรัก. ม.ป.ท.
สมทรง แก้ววิจิตร. (ม.ป.ป.). เพื่อนรัก. ม.ป.ท. สมศรี รักเรียน. (๒๕๔๔). เด็กไทย เด็กดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์น้ำใจ. สมบัติ มีบ้าน. (๒๕๔๖). เครื่องจักสาน (พิมพ์ครั้งที่๓). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. นคร รักความดี และพรพรรณ ศิลาอ่อน. (๒๕๔๗). หลักการบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ ๑๕). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

83 ส่วนท้าย ภาคผนวก คือส่วนที่อธิบายเพิ่มเติมเรื่องราวที่เขียนโยงกับเนื้อเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น แต่มิใช่เนื้อหาในเรื่องโดยตรง อาจเป็นตัวเลขสถิติต่างๆ หรือข้อสอบหรือแบบสอบถาม ภาคผนวกจะมีหรือไม่แล้วแต่ความจำเป็น ถ้ามีจะต้องจัดเรียงต่อจากหน้าบรรณานุกรม

84 ส่วนท้าย - อภิธานศัพท์
- อภิธานศัพท์ คือส่วนที่อธิบายคำยาก หรือศัพท์เฉพาะที่มีในรายงาน อาจเรียงตามลำดับอักษร ลำดับบท หรือลำดับก่อนหลังของคำศัพท์


ดาวน์โหลด ppt การรับสารด้วยการอ่าน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google