ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
คลินิกไร้พุงคุณภาพ (DPAC Quality)
นางตรีชฎาภรณ์ ภักดิ์โพธิ์ ศูนย์อนามัยที่ ๙ นครราชสีมา
2
คลินิกไร้พุงคุณภาพ (DPAC Quality)
หมายถึง คลินิกไร้พุงที่มีการดำเนินการให้บริการในสถานบริการสาธารณสุข ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการและการมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืน
3
กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจดูแลสุขภาพและประชาชนที่มีโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง 5 โรค หรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงด้านพฤติกรรม
4
กระบวนการให้บริการคลินิกไร้พุง
หมายถึง หน่วยงานสถานบริการสาธารณสุขมีกระบวนการให้คำปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. เพื่อลดอ้วน ลดเสี่ยง ลดโรค
5
กระบวนการให้บริการคลินิกไร้พุง
1. มีกระบวนการคัดกรอง กลุ่มเสี่ยง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในสถานบริการหรือในชุมชน เพื่อให้สามารถจัดบริการได้อย่างเหมาะสม
6
กระบวนการให้บริการคลินิกไร้พุง (ต่อ)
2. มีกระบวนการให้คำปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. เพื่อลดอ้วน ลดเสี่ยง ลดโรค ดังนี้ - ลงทะเบียนผู้เข้ารับบริการที่มากจากกการคัดกรอง หรือส่งต่อมาจากคลินิก NCD ผู้ที่สนใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดอ้วน ลดเสี่ยง ลดโรค - ประเมินความเสี่ยงพฤติกรรมสุขภาพการกินและการออกแรง/ออกกำลังกาย - ประเมินภาวะสุขภาพ/ทดสอบสมรรถภาพทางกาย - ประเมินความพร้อมในการปรับเปลี่ยนกิจกรรม - ให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้รับบริการตระหนักรู้ถึงภัยพฤติกรรมเสี่ยง โอกาสเกิดโรค และให้ความช่วยเหลือตามทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Stages of change theory) หรือทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอื่นๆ - ตั้งเป้าหมายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ.
7
กระบวนการให้บริการคลินิกไร้พุง (ต่อ)
3. ให้ความรู้การ สอนทักษะ จัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. รายบุคคล รายกลุ่ม การจัดการบรรยายพิเศษ /การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ /การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ความรู้ 4. นัดและติดตามประเมินผล
8
แนวทางการพัฒนาคลินิกไร้พุงคุณภาพ
1. การปรับวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ดำเนินการให้เกิดการบูรณาการบริการให้เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อส่งเสริม ป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. พัฒนาคลินิกไร้พุง ให้มีคุณภาพโดยประยุกต์ใช้การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA ย่อมาจาก Public Sector Management Quality Award) และยึดผู้มารับบริการหรือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 3. เพิ่มการดูแลแบบผสมผสาน โดยบูรณาการงานคลินิกไร้พุง (DPAC) และงานโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCD) ประสานการดำเนินงานร่วมกันเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการส่งเสริม ป้องกัน และบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างยั่งยืน 4. เพิ่มคุณภาพในกระบวนการจัดการ และคุณภาพการบริหารจัดการทางคลินิก (Clinical Quality) เชื่อมโยงการเข้าถึงการดูแลในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน 6.มีการสนับสนุนการใช้ข่าวสาร และทรัพยากรร่วมกัน
9
แนวทางการประเมิน
11
เกณฑ์และหลักฐานการประเมิน
12
องค์ประกอบหลัก เกณฑ์ หลักฐานการประเมิน
1. การนำองค์กร (10 คะแนน) 1.1 นโยบาย การดำเนินงานคลินิกไร้พุง (DPAC) /คลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้าน 3อ.และ/หรือคลินิก NCD มีนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพเพื่อ ป้องกันโรค (2.5 คะแนน) 1.2 โครงสร้าง และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนในการดำเนินการ การดำเนินงานคลินิกไร้พุง (DPAC) /คลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้าน 3อ.และ/หรือคลินิก NCD มีโครงสร้างคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานชัดเจน 1.3 การสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้แก่ บุคลากรของสถานบริการ โรงพยาบาล ผู้รับบริการ และ ประชาชนทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับนโยบาย กลวิธี และมาตรการต่อการบริการ คลินิกไร้พุง (DPAC) /คลินิก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้าน 3อ.และ/ หรือคลินิก NCD มีกระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ การประกาศ ให้แก่บุคลากรของสถานบริการ ผู้รับบริการ และประชาชนทั่วไปให้รับทราบถึงบริการคลินิกไร้พุง (DPAC) 1.4 การสนับสนุนเพื่อประสานการบริการและใช้ทรัพยากรร่วมกันในการดำเนินงาน DPAC สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน สนับสนุนสุขภาพชุมชนประสานและสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น มีเอกสารที่แสดงถึงการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพ
13
องค์ประกอบหลัก เกณฑ์ หลักฐานการประเมิน 2.การวางแผนและบริหารเชิงกลยุทธ์ (10 คะแนน) 2.1 การวางแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการดำเนินงาน มีแผนการดำเนินงาน (2.5 คะแนน) 2.2 การจัดทำแผนปฏิบัติ การที่สอดคล้องกับแผนกล ยุทธ์ และความต้องการ ของผู้รับบริการเพื่อเป็น คลินิกไร้พุงคุณภาพ มีแผนปฏิบัติการ 2.3 กลไก การดูแล กำกับ และติดตามประเมินผล มีการบันทึกผลและรายงานแสดงการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับบริการ 2.4 การวิเคราะห์ และนำผลการประเมินสู่การปรับแผน มีผลการวิเคราะห์การดำเนินงาน
14
3. การมุ่งเน้นผู้รับบริการ/ประชาชน
องค์ประกอบหลัก เกณฑ์ หลักฐานการประเมิน 3. การมุ่งเน้นผู้รับบริการ/ประชาชน (10 คะแนน) 3.1 การรับฟังความคิดเห็น/ความต้องการ ของผู้รับบริการ มีช่องทางการรับฟังความคิดเห็น (2.5 คะแนน) 3.2 การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีผลการประเมินความพึงพอใจ ของผู้รับบริการ (2.5 คะแนน) 3.3 การสื่อสารประชาสัมพันธ์คลินิกไร้พุง (DPAC ) แก่ผู้รับบริการ ประชาชน และภาคีเครือข่าย มีช่องทางการสื่อสาร เช่น ป้าย,โปสเตอร์,แผ่นพับ (2.5 คะแนน) 3.4 การสร้างความสัมพันธ์กับผู้รับบริการ ประชาชน ภาคีเครือข่าย มีกิจกรรม/ช่องทางหรือวิธีการ สร้างความสัมพันธ์กับ ผู้รับบริการ ประชาชน ภาคี เครือข่าย (2.5 คะแนน)
15
4. การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้
องค์ประกอบหลัก เกณฑ์ หลักฐานการประเมิน 4. การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (10 คะแนน) 4.1 การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน และมีข้อมูลเปรียบเทียบ มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการ ดำเนินงาน เช่นข้อมูลผลการ ดำเนินงาน,ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของ ผู้รับบริการ, ผลการใช้งบประมาณ, ข้อมูลความพึงพอใจ(2 คะแนน) 4.2 การจัดการข้อมูล สารสนเทศเพื่อสะดวกในการ เข้าถึงในการใช้งาน มีระบบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่พร้อมใช้งาน สามารถนำมาใช้งานได้ทันที(2 คะแนน) 4.3 การจัดการความรู้เพื่อ บรรลุผล มีชุดความรู้/คู่มือ/โมเดล (2 คะแนน) 4.4 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Hard ware/ soft ware มีโปรแกรมในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ (2 คะแนน) 4.5 การปรับปรุงผลการดำเนินงาน มีแผนพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน
16
องค์ประกอบหลัก เกณฑ์ หลักฐานการประเมิน
5. การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล (10 คะแนน) 5.1 ขีดความสามารถและอัตรากำลังของบุคลากรเพียงพอ มีบุคลากรที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานและผ่านการอบรม (2 คะแนน) 5.2 บรรยากาศการทำงานของบุคลากร (สภาพแวดล้อมทางสังคม และสิทธิประโยชน์ ) มีสถานที่ทำงานเอื้อต่อการ ทำงานและให้บริการ (2 คะแนน) 5.3 การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ และประชาชน มีผลการวัดความพึงพอใจต่อการบริการ
17
6. การจัดการกระบวนการ องค์ประกอบหลัก เกณฑ์ หลักฐานการประเมิน
6. การจัดการกระบวนการ (25 คะแนน) 6.1 การเชื่อมต่อการให้บริการในสถานบริการ ระบบการดำเนินงานเชิงรุก และการรับ-ส่งต่อ มี flow chart หรือข้อมูลการส่งต่อผู้รับบริการ (5คะแนน) 6.2 กระบวนการทำงาน - การคัดกรองและประเมินผู้รับบริการ - การวางแผนการดูแลผู้รับบริการ - การดูแลโดยบุคลากรสาธารณสุข 1. ให้คำปรึกษาแบบองค์รวม 2.การสร้างความตระหนัก เสริมพลังให้ผู้รับบริการมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม3อ. 3. การฝึกทักษะ3อ. 4. ติดตามและประเมินผล 1.มีทะเบียนและรายงานผลการคัดกรอง (5คะแนน) 2.บันทึกการให้คำปรึกษา (5คะแนน) 3.บันทึกการกำกับติดตาม (5คะแนน) 6.3 ระบบบริหารความเสี่ยง ความปลอดภัย และคุณภาพการให้บริการคลินิกไร้พุง(DPAC) - การดูแลเฉพาะ เช่น ภาวะฉุกเฉิน - การดูแลต่อเนื่องและการส่งต่อ มีการบวนการ หรือ flow chartการ บริหารความเสี่ยง (2.5คะแนน) 6.4 การจัดการสถานที่ให้บริการและวัสดุอุปกรณ์ (บอกวิธีการใช้เครื่องมือ/วัสดุ/อุปกรณ์ และตรวจสอบ คุณภาพ) มีคู่มือคำแนะนำการใช้เครื่องมือและข้อมูล สภาพการใช้งานของเครื่องมือ/วัสดุ/อุปกรณ์ (2.5คะแนน)
18
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.