งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 9 การสร้างต้นแบบ (Prototyping)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 9 การสร้างต้นแบบ (Prototyping)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 9 การสร้างต้นแบบ (Prototyping)

2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบหลักเกณฑ์ในการสร้างต้นแบบ
2. เพื่อให้ทราบเหตุผลที่ต้องสร้างต้นแบบ 3. เพื่อให้ทราบถึงประเภทของต้นแบบ 4. เพื่อให้ทราบถึงบทบาทของผู้ใช้ระบบที่มีต่อต้นแบบ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

3 เนื้อหาในบทเรียน ทำไมต้องทำต้นแบบ ประเภทข้อมูลที่ได้จากการทำต้นแบบ
ประเภทของต้นแบบ แนวทางในการพัฒนาต้นแบบ บทบาทของผู้ใช้ระบบที่มีต่อการทำต้นแบบ ข้อดีและข้อเสียของการทำต้นแบบ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

4 ทำไมต้องทำต้นแบบ ? มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

5 9.1) Prototype คืออะไร? ระบบการทำงาน ที่ไม่ใช่เพียงแค่ความคิดที่อยู่บนกระดาษ แต่เป็นความคิดที่ถูกพัฒนาภายใต้สมมติฐานของระบบใหม่ อาจเทียบกับระบบที่มีคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานที่รับข้อมูลเข้า(Input) มีกระบวนการคำนวณ(Process) การพิมพ์และการแสดงผลลัพธ์ (Output) การจำลองเอาระบบงานใหม่มาย่อให้เล็กลง เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ระบบเห็น แนวทางหรือเกิดภาพพจน์ว่าระบบงานใหม่จะเป็นอย่างไร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

6 ทำไมต้องสร้าง Prototype?
ความต้องการสารสนเทศมักจะไม่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ผู้ใช้อาจจะรู้เพียงว่า ธุรกิจต้องปรับปรุง หรือรู้ว่าขบวนการทำงานต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือรู้เพียงว่าต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารที่ดีกว่า แต่บอกไม่ได้ว่าสารสนเทศคืออะไรตัวต้นแบบมักใช้ในรูปแบบของการทดสอบหรือเป็นการนำร่อง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

7 เหตุผลหลักในการนำ Prototype มาใช้
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้รู้ถึงความต้องการของผู้ใช้ให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบให้เห็นถึงผลกระทบของระบบที่ออกแบบ และหาทางเลือกใหม่เพื่อแก้ไขผลกระทบนั้น เพื่อใช้เป็นตัวแทนระบบที่ได้ออกแบบ ให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งาน ให้นักวิเคราะห์ได้ประมาณเวลาและสิ่งที่ออกแบบต่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

8 9.2 ประเภทข้อมูลที่ได้จากการทำต้นแบบ
นักวิเคราะห์ระบบสามารถนำเทคนิคการทำ Prototype เพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลหรือความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ระบบ เพื่อจะนำไปพัฒนาระบบให้สมบูรณ์ โดยการทำ Prototype สามารถทำให้ผู้ใช้ทุก ๆ ระดับ คือตั้งแต่ระดับพนักงานเสมียนและผู้ให้บริการ ไปจนถึงระดับผู้จัดการหรือผู้บริหารสามารถออกความเห็นเกี่ยวกับส่วนของระบบการทำงานที่ตนเองเกี่ยวข้องอยู่ว่ามีข้อคิดเห็นอย่างไร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

9 ประเภทข้อมูลที่ได้จากการทำต้นแบบ
ข้อมูลที่ได้จาก Prototype สามารถแยกเป็น 4 ประเภท PROTOTYPE User Reactions User Suggestions Innovations Revision Plans มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

10 เราได้อะไรจากการทำ Prototype?
1.) การตอบสนองของผู้ใช้ระบบที่มีต่อระบบงาน (User Reactions) นักวิเคราะห์ระบบสามารถรวบรวมปฏิกิริยาของผู้ใช้จากการ สังเกต การสัมภาษณ์ หรือการพูดคุย และ จากแบบสอบถาม นักวิเคราะห์ระบบจะพบความหลากหลายของปฏิกิริยาของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ ทั้งนี้เพราะต่างคนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป อาจมีทั้งความเต็มใจและต่อต้านระบบที่ติดตั้งใหม่เพราะผู้ใช้ระบบคิดว่าระบบงานใหม่นั้นจะไปแทนตัวเอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

11 เราได้อะไรจากการทำ Prototype?
2.) ข้อเสนอแนะต่าง ๆของผู้ใช้ระบบ (User Suggestions) ข้อมูลที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจะรวบรวมได้ในระหว่างการนำเสนอระบบโดยการทำต้นแบบคือ ข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นต่าง ๆ ของผู้ใช้ระบบที่อาจต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข บางจุดของระบบงาน ทั้งนี้ต้องอาศัยเวลาระยะหนึ่งเพื่อการรวบรวมข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากผู้ใช้ระบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับการสละเวลา และความสนใจของผู้ใช้ต่อระบบงานที่กำลังพัฒนาอยู่ ข้อเสนอแนะเหล่านี้จะช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบเห็นว่าควรจะจัดการอย่างไรต่อไปในการพัฒนาระบบ เช่น แก้ไข ปรับปรุง หรือทำต้นแบบใหม่ ที่มีความเหมาะสมและสามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ระบบได้ดีที่สุด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

12 เราได้อะไรจากการทำ Prototype?
3.) ระบบใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง(Innovations) ระบบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนาระบบโดยส่วนมากจะยังไม่มีใครพูดถึงหรือคิดถึงว่าควรจะมีระบบนี้เกิดขึ้น แต่เมื่อผู้ใช้และนักวิเคราะห์ระบบได้เข้าไปสัมผัสแล้ว ก็อาจเห็นว่าเป็นระบบที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของระบบที่กำลังพัฒนาอยู่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

13 เราได้อะไรจากการทำ Prototype?
4.) การทบทวนแผนงานและการพัฒนาระบบ (Revision Plans) การทำต้นแบบจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบมองเห็นถึงระบบงานที่ควรจะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคต ทำให้เกิดการทบทวนแผนงานต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถจัดลำดับความสำคัญของระบบงานว่าควรจะทำต้นแบบระบบใดก่อนหลัง นอกเหนือไปจากนั้น หากเป็นระบบงานที่ต้องเกี่ยวข้องไปถึงหลาย ๆ แผนกหรือหลาย ๆ ฝ่ายของแต่ละบริษัท การทบทวนแผนงานก็จะช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบทราบว่าควรจะนำแผนกใดมาทำต้นแบบต่อไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

14 9.3) ประเภทของ Prototype ในปัจจุบันคำว่า “ต้นแบบ” ได้ถูกใช้ในหลาย ๆ ความหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ในสภาวะที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี การทำต้นแบบสามารถจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่มดังนี้ ตัวต้นแบบชนิด Patched-Up Prototype ตัวต้นแบบที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง (Nonoperational Prototype) ตัวต้นแบบที่ใช้ได้เพียงส่วนเดียว (First-Of-A-Series Prototype) ตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน (Select Features Prototype) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

15 ตัวต้นแบบชนิด Patched-Up Prototype
เป็นตัวต้นแบบที่สร้างขึ้นทีละส่วนแล้วนำมาปะติดปะต่อกัน คล้ายการนำขนมปังมาซ้อนชั้นกัน เช่น การสร้างวงจรรวม เป็นต้น ในลักษณะของระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่มีคุณสมบัติที่จำเป็นในการทำงานทั้งหมด แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นภาพรวมทั้งระบบว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ยังไม่สามารถ นำแต่ละส่วนมาใช้งานได้จริง Feature1 Feature2 Feature3 Feature4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

16 ตัวต้นแบบที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง (Nonoperational Prototype)
เป็นการสร้างต้นแบบของระบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการสำรวจปัญหาเฉพาะจุดสำหรับการออกแบบ โดยต้นแบบที่สร้างขึ้นมานั้น โดยแท้จริงแล้วยังไม่สามารถจะทำงานได้เป็นเพียงโครงร่างแบบคร่าว ๆ เท่านั้น เช่น ให้ผู้ใช้ระบบได้เห็นว่าการแสดงผลบนจอภาพจะเป็นเช่นไรในการป้อนข้อมูลเข้า ลำดับการทำงานของระบบ และผลลัพธ์จะออกมาในรูปแบบใด เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ระบบสามารถแสดงข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและออกแบบระบบต่อไป ต้นแบบนี้เหมาะกับระบบงานที่เขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน Input Process Output มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

17 ตัวต้นแบบที่ใช้ได้เพียงส่วนเดียว (First-Of-A-Series Prototype)
จะถูกนำมาใช้ในกรณีที่มีการวางแผนที่จะติดตั้งระบบที่เหมือน ๆ กันในหลาย ๆ แห่ง หรือเหมาะสำหรับธุรกิจที่มีหลายสาขา ตัวอย่างเช่น ระบบบริการฝาก-ถอนเงินด่วนของธนาคาร (ATM) ระบบแบบเต็มรูปจะมีการทดลองติดตั้งใน 2-3 สาขาก่อน เพื่อจะได้นำเอาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทดลองติดตั้งนี้ไปแก้ไข และถ้าระบบสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์แล้วก็จะนำไปติดตั้งในทุก ๆ สาขาของแต่ละธนาคาร การทำต้นแบบแบบนี้ จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้เพราะได้มีการทดลองและทดสอบจนทำงานได้เป็นอย่างดี Facility1 Facility2 Facility3 Facility4 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

18 ตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน (Select Features Prototype)
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแสดงเฉพาะหน้าที่หรือขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ของระบบงานเท่านั้น เช่น ในระบบงานระบบหนึ่งจะสามารถให้ผู้ใช้ระบบงานเพิ่มข้อมูล, ลบข้อมูล, ค้นหาข้อมูล และแสดงรายละเอียดข้อมูล แต่ในการทำต้นแบบระบบนี้ อาจจะนำเสนอเฉพาะการเพิ่ม, การลบ และการแสดงรายละเอียดของข้อมูลเท่านั้น ซึ่งจะมีการนำเสนอหน้าจอเพื่อแสดงการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้ระบบงานกับระบบ (interface) การป้อนข้อมูล (input) การทำงาน หรือการประมวลผลของระบบ (process) และการแสดงผลลัพธ์ (output) หลังจากที่ทำต้นแบบเรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะถูกนำมาทำเป็นระบบย่อย (modules) ซึ่งหากสามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ระบบทั้งระบบก็จะได้รับการพัฒนาต่อไปได้โดยไม่เสียเวลา และลดอัตราความเสี่ยงต่อความล้มเหลวหรือผิดพลาดของระบบได้ ซึ่งการทำต้นแบบแบบนี้เป็นแบบที่นักวิเคราะห์ระบบทั่วไปนิยม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

19 ตัวต้นแบบที่เลือกบางส่วน (Select Features Prototype)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

20 9.4 แนวทางในการพัฒนาต้นแบบ
เมื่อนักวิเคราะห์ระบบตัดสินใจที่จะรวมการทำต้นแบบเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบแล้วนักวิเคราะห์ระบบก็ควรจะศึกษาถึงขั้นตอนของการพัฒนาต้นแบบ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนก็ต้องทำต่อเนื่องกันไปดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 แยกระบบงานใหญ่ให้เป็นระบบงานย่อย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

21 9.4 แนวทางในการพัฒนาต้นแบบ
ขั้นตอนที่ 2 : สร้างต้นแบบให้เสร็จเร็วที่สุด ในการพัฒนาระบบงาน มักจะเกิดช่องว่างของระยะเวลาระหว่างการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบ และการติดตั้งระบบงานใหม่ที่ได้พัฒนาจนสำเร็จแล้ว ซึ่งช่องว่างนี้เองมักไม่ค่อยมีใครคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ใช้ระบบที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา การที่ไม่มีการศึกษา หรือติดตามความต้องการของผู้ใช้ระบบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบงานใหม่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงนี้ได้ ในขั้นนี้ ต้องทำให้เร็ว เมื่อ SA แยกระบบเป็นระบบย่อย ๆ แล้ว SA ต้องนำระบบย่อยเหล่านั้น มาทำต้นแบบร่วมกับผู้ใช้ระบบทันที และการทำต้นแบบไม่ควรเกิน 1 สัปดาห์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

22 9.4 แนวทางในการพัฒนาต้นแบบ
ขั้นตอนที่ 3 : ต้องมีความยืดหยุ่นในการทำต้นแบบ ความยืดหยุ่นในที่นี้หมายถึงการทำต้นแบบให้มีลักษณะที่สามารถแก้ไข และเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ไม่ใช่ทำในลักษณะตายตัว จะแก้ไขอะไรทีต้องทำต้นแบบใหม่หมด และก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องแก้ไขไปหมดทุกครั้งที่ผู้ใช้ระบบคนใดคนหนึ่งท้วงติงขึ้นมา ต้องมีการเจรจา และวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้ใช้ระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับนักวิเคราะห์ระบบว่าสิ่งที่ต้องการให้แก้ไขนั้นมีความเหมาะสมแค่ไหน อย่างไร หรือจะมีผลกระทบต่อระบบอื่นหรือไม่ การแก้ไขที่เกิดขึ้นควรจะช่วยให้ระบบงานเข้าใกล้ความต้องการผู้ใช้ระบบมากที่สุด เราต้อง กระตุ้นให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วม และมีการประเมินต้นแบบ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

23 9.4 แนวทางในการพัฒนาต้นแบบ
ขั้นตอนที่ 4 : การให้ผู้ใช้ระบบเข้ามาร่วมเพื่อแสดงความคิดเห็น ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการจัดทำต้นแบบมีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้การออกแบบ และพัฒนาระบบเป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาระบบได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าว ข้อคิดเห็นของผู้ใช้ระบบที่ได้จากการทำต้นแบบจะต้องถูกนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะดำเนินการพัฒนา หรือสร้างระบบจริง หากผู้ใช้ระบบเห็นว่ายังมีบางส่วนที่ไม่เหมาะสม นักวิเคราะห์ระบบควรทำการแก้ไขต้นแบบให้ผู้ใช้ระบบได้พิจารณาอีกครั้งว่าเป็นไปตามความต้องการหรือไม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

24 9.5 บทบาทของผู้ใช้ระบบที่มีต่อการทำต้นแบบ
1. ทดลองใช้ต้นแบบ ให้อิสระกับผู้ใช้ และควรแนะนำวิธีการใช้งานให้น้อยที่สุด ให้ผู้ใช้ได้ใช้เอง ซึ่ง SA จะต้องปล่อยให้ผู้ใช้ต้นแบบด้วยตัวเอง การเปลี่ยนแปลงของแนวความคิด หรือการเปลี่ยนแปลงของลักษณะการใช้ระบบที่อาจเกิดขึ้นใหม่ของผู้ใช้ระบบ หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงลำดับก่อนหลังของการทำต้นแบบ ควรจะจัดทำเป็นบันทึกและสำเนาให้กับทีมงาน เพื่อให้ทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

25 9.5 บทบาทของผู้ใช้ระบบที่มีต่อการทำต้นแบบ
2. แสดงทัศนะคติที่มีต่อการทำต้นแบบ ในการที่จะทำให้ผู้ใช้ระบบมีความรู้สึกอยากจะพูดในสิ่งที่ตนรู้สึกจริง ๆ คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ทั้งนี้ผู้ใช้ระบบอาจไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ เพราะเกรงว่าจะเกิดผลกระทบ หรือเป็นเรื่องไร้สาระในสายตาของนักวิเคราะห์ระบบ ซึ่งสิ่งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง และการวางตัวของนักวิเคราะห์ระบบว่าจะทำให้ผู้ใช้ระบบไว้วางใจตนเองได้มากน้อยเพียงไร นอกเหนือไปจากนั้น ผู้ใช้ระบบบางรายอาจรู้สึกว่าคำวิพากษ์วิจารณ์หรือความเห็นของตนอาจไปขัดแย้งกับหน่วยงานอื่น ๆ ก็ได้ กรณีนี้นักวิเคราะห์อาจจะเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยเป็นการส่วนตัวสำหรับผู้ใช้ระบบ งานที่มีหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อต้นแบบนั้น ๆ เพื่อเป็นการขจัดอิทธิพลอันอาจก่อให้เกิดการพัฒนาระบบที่บิดเบือนไปจากความต้องการที่แท้จริงได้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

26 9.5 บทบาทของผู้ใช้ระบบที่มีต่อการทำต้นแบบ
3. ให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไขต้นแบบ หากผู้ใช้คิดว่าควรจะเพิ่มเติมหรือตัดออกสำหรับบางขั้นตอนของระบบงาน นักวิเคราะห์ระบบควรแสดงความเต็มใจที่จะรับฟังคำแนะนำนั้น ๆ พร้อมกับสอบถามถึงสาเหตุและความต้องการของผู้ใช้ระบบ หลังจากนั้นจะเป็นหน้าที่ของนักวิเคราะห์กับทีมงานพัฒนาระบบที่จะทำการชั่งน้ำหนักคำแนะนำเหล่านั้นว่า สิ่งใดควรทำตาม สิ่งใดไม่ควรทำนักวิเคราะห์อาจจะเชิญผู้ใช้ระบบที่เกี่ยวข้องกับแต่ละต้นแบบ ซึ่งมีหลาย ๆ คนเข้าร่วมกันปรึกษา (brain storming) เพื่อหาจุดที่ดีที่สุดของการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงต้นแบบก่อนที่จะมีการนำไปสร้างระบบจริง นั่นคือนักวิเคราะห์ระบบต้องแสดงให้ผู้ใช้ระบบเห็นว่าคำแนะนำของผู้ใช้ระบบจะไม่ถูกโยนทิ้งไปก่อนที่จะมีการพิจารณากันอย่างจริงจังทุกครั้งไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

27 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

28 ตัวอย่างระบบงานร้านเช่ารถ
ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลัก ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลลูกค้า ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลรถ ปรับปรุงแฟ้มข้อมูลประเภทรถ เช่ารถ ค้นหาและแสดงรายละเอียดรถ บันทึกสัญญาเช่ารถ บันทึกรายการเช่ารถ พิมพ์สัญญาเช่ารถ รับคืนรถ คำนวณค่าเช่ารถ พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ซ่อมรถ ตรวจรับและจัดพิมพ์ใบแจ้งซ่อม บันทึกรายการซ่อมรถ ส่งคืนรถ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

29 ตัวอย่างระบบงานร้านเช่ารถ
พิมพ์รายงาน รายงานเช่ารถประจำวัน รายงานการคืนรถ รายงานสรุปรถคงเหลือและปล่อยเช่า รายงานประวัติการซ่อมบำรุงรถ รายงานสรุปยอดรายได้ System Utilities Backup Recovery User Accounts Maintain Accounts Change Current User Password Help Supports Contents and Index Search for Help About Car Rent Service Center มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

30 ตัวอย่างต้นแบบระบบงานร้านเช่ารถยนต์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

31 ต้นแบบหลังจากผู้ใช้นำไปทดลองใช้
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

32 9.6 ข้อดีและข้อเสียของการทำต้นแบบ
ข้อดีของการทำต้นแบบ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบได้ในระหว่างตอนต้น ๆ ของการพัฒนา นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสามารถขจัดระบบที่ไม่จำเป็นออก นักวิเคราะห์สามารถออกแบบระบบให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ระบบมากขึ้น ข้อเสียของการทำต้นแบบ ยากต่อการบริหารโครงการ นักวิเคราะห์ระบบอาจเข้าใจผิดโดยคิดว่าระบบงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 9 การสร้างต้นแบบ (Prototyping)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google