ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสุดา บราวน์ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ซักซ้อมแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552
2
ปัญหาที่พบ คือ 1.การจ่ายค่าตอบแทนไม่ตรงลักษณะงานที่ปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติงานเป็นเวรเป็นผลัด เวชปฏิบัติครอบครัว คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ ฯลฯ 2.การออกคำสั่งหัวหน้าหน่วยบริการเพื่อมอบหมายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในลักษณะต่างๆ ไม่ถูกต้อง 3.การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเบิกค่าตอบแทนไม่ครบถ้วน ถูกต้อง เช่นบันทึกการปฏิบัติงาน บันทึกแลกเปลี่ยนเวร การขออนุมัติเรียกเวรเสริม ฯลฯ 4.การกำหนดตารางเวรปฏิบัติงานที่อาจกระทบต่อสถานะเงินบำรุง เช่น ตารางเวรบ่ายดึก ของพยาบาล 5.การกำหนดเวลาปฏิบัติงานนอกเวลาไม่สอดคล้องกับการให้บริการหรือบริบทของหน่วยบริการ
3
ประเภทหรือลักษณะการปฏิบัติงาน ใน ฉ.5
1.การปฏิบัติงานในลักษณะเป็นเวรหรือเป็นผลัด (ข้อ 1.2) 2.การปฏิบัติงานของแพทย์เวรประจำอาคารผู้ป่วยนอก (ข้อ 1.3 (1) ) 3.การปฏิบัติงานของแพทย์เวรในหรือรอให้คำปรึกษา (ข้อ 1.3 (2) ) 4.การปฏิบัติงานของแพทย์ต่างหน่วยบริการ (ข้อ 1.3 (3) ) 5.การปฏิบัติงานของทันตแพทย์ต่างหน่วยบริการ (ข้อ 1.5) 6.การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในทีมช่วยผ่าตัด (ข้อ 1.6 (1) ) 7.การปฏิบัติงานของพยาบาลที่เตรียมผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด (ข้อ 1.6(2) ) 8.การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อื่นในลักษณะเวรรอให้บริการ (ข้อ 1.8) 9.การปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการในลักษณะการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (ข้อ 1.7)
4
ประเภทหรือลักษณะการปฏิบัติงาน ใน ฉ.5 (ต่อ)
10.การปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ (ข้อ 2) 11.การปฏิบัติงานเวรบ่ายหรือเวรดึกของพยาบาล (ข้อ 3) 12.การปฏิบัติงานชันสูตรพลิกศพ (ข้อ 4) 13.การปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและเวชปฏิบัติครอบครัว (ข้อ 8)
5
เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน
1.การปฏิบัติงานในลักษณะเป็นเวรหรือเป็นผลัด (ข้อ 1.2) - ใน 1 เวรหรือ 1 ผลัด ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ชม. ทำงานไม่ถึง 8 ชม. ค่าตอบแทนลดลงตามส่วน เศษของชั่วโมงให้ตัดทิ้ง ถ้าถึงครึ่งชั่วโมงนับเป็น 1 ชม. - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามข้อ 1.1 - ให้จ่ายค่าตอบแทน ตามข้อ 1.4 (ไม่มีแพทย์) เช่น ทันตแพทย์ 1100 บาท/เวร เภสัชกร 720 บาท/เวร พยาบาลวิชาชีพ 600 บาท/เวร พยาบาลเทคนิค/จพ.สธ. 480 บาท/เวร ฯลฯ 2.การปฏิบัติงานของแพทย์เวรประจำอาคารผู้ป่วยนอก (ข้อ 1.3 (1) ) - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามข้อ 1.1 - จ่ายค่าตอบแทน อัตรา คนละ 1100 บาท/เวร 3.การปฏิบัติงานของแพทย์เวรในหรือรอให้คำปรึกษา (ข้อ 1.3 (2) ) ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามข้อ 1.1 - จ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงาน (บัญชี 1) หรือไม่ต่ำกว่า คนละ 550 บาท/เวร
6
เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน
4.การปฏิบัติงานของแพทย์ต่างหน่วยบริการ (ข้อ 1.3 (3) ) - ต้องมีการขอรับการสนับสนุนและได้รับอนุมัติจาก นพ.สสจ. ก่อน - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน - จ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงาน (บัญชี 1) หรือไม่ต่ำกว่า ชม.ละ 120บาท 5.การปฏิบัติงานของทันตแพทย์ต่างหน่วยบริการ (ข้อ 1.5) - จ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงาน (บัญชี 2) หรือไม่ต่ำกว่า ชม.ละ 120บาท
7
เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน
6.การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในทีมช่วยผ่าตัด (ข้อ 1.6 (1) ) - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน - จ่ายค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วย ในอัตรา 120 บาท/ราย สำหรับผ่าตัดเล็ก อัตรา 240 บาท/ราย สำหรับผ่าตัดใหญ่ (จนท.อื่นลดลงตามส่วน) 7.การปฏิบัติงานของพยาบาลที่เตรียมผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด (ข้อ 1.6(2) ) - จ่ายค่าตอบแทนตามจำนวนผู้ป่วยแต่ละรายในอัตราทีมละ 120 บาท สำหรับ ผ่าตัดเล็ก และ อัตราทีมละ 360 บาท สำหรับผ่าตัดใหญ่ 8.การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อื่นในลักษณะเวรรอให้บริการ (On call)(ข้อ 1.8) - ต้องเสนอคณะกรรมการบริหาร รพ.กำหนดลักษณะงานและอัตราค่าตอบแทนตามความเหมาะสม ก่อน - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน - จ่ายค่าตอบแทนโดยเทียบเคียง ข้อ 1.4 (ค่าตอบแทนลักษณะเวรหรือผลัด)
8
เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน
9.การปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการในลักษณะการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (ข้อ 1.7) - ต้องมีการขอรับการสนับสนุนและได้รับอนุมัติจาก นพ.สสจ. ก่อน - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน - จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง (จ่ายได้ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ) เช่น แพทย์ ทันแพทย์ ชม.ละ 120 บาท เภสัชกร ชม.ละ 90 บาท พยาบาลวิชาชีพ นวก. ชม.ละ 80 บาท พยาบาลเทคนิค/จพ.สธ. ชม.ละ 60 บาท จนท.พยาบาล/จนท.สธ. ชม.ละ 50 บาท เป็นต้น 10.การปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ (ข้อ 2) - ต้องมีกรณีความจำเป็นเฉพาะ หรือเฉพาะโรค นอกเหนือการปฏิบัติงานนอกเวลาปกติ -คณะกรรมการบริหาร รพ.ต้องพิจารณากำหนดให้มีคลินิกพิเศษ และประกาศการจัดบริการให้ผู้รับบริการทราบ - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน (ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเป็นเวรหรือเป็นผลัด)
9
เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน
10.การปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ (ข้อ 2) ต่อ - อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ (ที่ไม่ใช่แพทย์ ทันตแพทย์ ) ให้คิดเป็นรายชั่วโมง เช่น เภสัชกร ชม.ละ 90 บาท พยาบาลวิชาชีพ นวก. ชม.ละ 80 บาท พยาบาล เทคนิค/จพ.สธ. ชม.ละ 60 บาท จนท.พยาบาล/จนท.สธ. ชม.ละ 50 บาท เป็นต้น -อัตราค่าตอบแทนแพทย์ที่ปฏิบัติงานให้บริการแบบผู้ป่วยนอก จ่ายตามจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจ รายละ 50 บาท - อัตราค่าตอบแทนทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานให้บริการทันตกรรม ให้จ่ายตามคุณภาพและปริมาณงานตามบัญชีหมายเลข 2 หรือไม่น้อยกว่า ชม.ละ 120 บาท 11.การปฏิบัติงานเวรบ่ายหรือเวรดึกของพยาบาล (ข้อ 3) - ให้หัวหน้าหน่วยบริการกำหนดเจ้าหน้าที่ตามความเหมาะสมกับความจำเป็นของงานตามมาตรฐานภาระงานบริการพยาบาล - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน - เป็นเวรบ่ายหรือเวรดึกเสมือนการปฏิบัติราชการปกติ (ไม่ใช่เวร OT) - อัตราค่าตอบแทน พยาบาลวิชาชีพ 240 บาท/คน พยาบาลเทคนิค 180 บาท/คน เจ้าหน้าที่พยาบาล 145 บาท/คน (ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งพยาบาลฯ ไม่มีสิทธิได้รับ)
10
เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน
10.การปฏิบัติงานในคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ (ข้อ 2) ต่อ - อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ (ที่ไม่ใช่แพทย์ ทันตแพทย์ ) ให้คิดเป็นรายชั่วโมง เช่น เภสัชกร ชม.ละ 90 บาท พยาบาลวิชาชีพ นวก. ชม.ละ 80 บาท พยาบาล เทคนิค/จพ.สธ. ชม.ละ 60 บาท จนท.พยาบาล/จนท.สธ. ชม.ละ 50 บาท เป็นต้น -อัตราค่าตอบแทนแพทย์ที่ปฏิบัติงานให้บริการแบบผู้ป่วยนอก จ่ายตามจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจ รายละ 50 บาท - อัตราค่าตอบแทนทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานให้บริการทันตกรรม ให้จ่ายตามคุณภาพและปริมาณงานตามบัญชีหมายเลข 2 หรือไม่น้อยกว่า ชม.ละ 120 บาท 11.การปฏิบัติงานเวรบ่ายหรือเวรดึกของพยาบาล (ข้อ 3) - ให้หัวหน้าหน่วยบริการกำหนดเจ้าหน้าที่ตามความเหมาะสมกับความจำเป็นของงานตามมาตรฐานภาระงานบริการพยาบาล - ต้องมีคำสั่งมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน - เป็นเวรบ่ายหรือเวรดึกเสมือนการปฏิบัติราชการปกติ (ไม่ใช่เวร OT) - อัตราค่าตอบแทน พยาบาลวิชาชีพ 240 บาท/คน พยาบาลเทคนิค 180 บาท/คน เจ้าหน้าที่พยาบาล 145 บาท/คน (ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งพยาบาลฯ ไม่มีสิทธิได้รับ)
11
เงื่อนไขและอัตราการจ่ายค่าตอบแทน
12.การปฏิบัติงานชันสูตรพลิกศพ (ข้อ 4) - แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมให้ได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยค่าตอบแทนและค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พักฯ -ให้หัวหน้าหน่วยบริการมอบหมายแพทย์ เจ้าหน้าที่ รวมพนักงานขับรถ ตามความจำเป็นในแต่ละครั้งที่ออกปฏิบัติงาน - ผู้ที่ออกปฏิบัติงานหากปฏิบัติงานเป็นเวรหรือผลัดอยู่แล้ว ให้ได้รับค่าตอบแทนทั้งสองกรณี แต่การจ่ายค่าตอบแทนเป็นเวรเป็นผลัดให้ลดลงตามส่วน ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมฯ 13.การปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและเวชปฏิบัติครอบครัว (ข้อ 8) - ครอบคลุมบริการด้านสร้างเสริมสุขภาพ เวชปฏิบัติครอบครัว กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรค ทั้งในและนอกสถานบริการ เพื่อให้เกิดบริการเชิงรุกแก่ประชาชน -หัวหน้าหน่วยบริการต้องมีคำสั่งมอบหมาย อ้างเหตุผลความจำเป็นข้างต้น - หากปฏิบัติงานนอกหน่วยบริการ สามารถเบิกค่าตอบแทนได้ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ - หากปฏิบัติงานในหน่วยบริการ ให้เบิกค่าตอบแทนได้เฉพาะนอกเวลาราชการ - อัตราค่าตอบแทน ให้เบิกได้ตามข้อ 1 ได้แก่ ค่าตอบแทนเป็นเวรหรือผลัด ตามข้อ 1.4
12
หลักฐานประกอบการเบิกจ่าย
1.แผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้อง 2.คำสั่งมอบหมาย/ตารางเวร 3.บันทึกการปฏิบัติงาน/ผู้ควบคุมงานลงนามกำกับ 4.เอกสารขอเบิกจ่าย ชื่อ วันเวลาที่ปฏิบัติงาน ลายมือชื่อผู้เบิกและผู้เกี่ยวข้อง 5.เอกสารการเปลี่ยนแปลงกรณีไม่เป็นไปตามคำสั่ง เช่น บันทึกแลกเปลี่ยนเวร เวรเสริม ฯลฯ 6.เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
13
ตัวอย่างคำสั่ง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.