ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยอภิรักษ์ บุตโต ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
พ.ญ.เสาวลักษณ์ ชาวโพนทอง อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
โครงการลดเค็ม อยุธยา พ.ญ.เสาวลักษณ์ ชาวโพนทอง อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา
3
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคมะเร็ง เบาหวานและความดัน กำลังเป็นภาวะวิกฤตระดับโลก(Global Crisis) ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค(World Health Organization-WHO) พบว่า ในปี 2548 ร้อยละ 60% ของการเสียชีวิตทั้งหมดของโลก(ราว 35 ล้านคน) เกิดจากโรคเรื้อรัง และกว่าครึ่งของจำนวนนี้ 17 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
4
นอกจากนั้นองค์การอนามัยโรคระบุว่าภาระโรค(Burden of disease) มากกว่าครึ่งเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 30% ของภาระโรคในกลุ่มนี้เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ได้จำกัดอยู่ที่ประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ได้เป็นปัญหาที่สำคัญต่อประเทศกำลังพัฒนาทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งส่งผลต่อภาระในระบบบริการสุขภาพ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม การสูญเสียของประชากรก่อนวัยอันควรและภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
5
สำหรับสังคมไทยพบความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 15 ขึ้นไป สูงขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในปี 2552 พบว่ามีความชุกของความดันโลหิตสูงร้อยละ 21.4 นอกจากนั้นยังพบว่าอัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของโรคหัวใจเพิ่มจาก ในปี 2537 เป็น ต่อประชากร 100,000 คนในปี 2552 โรคหลอดเลือดสมอง ในปี 2537 เป็น ต่อประชากร 100,000 คนในปี 2552 โรคไตวายเพิ่มจาก ในปี 2547 เป็น ต่อประชากร 100,000 คนในปี 2552 และจากการศึกษาภาระโรคในปี 2547 พบว่าการสูญเสียปีสุขภาวะจากโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังคิดเป็น 50% ซึ่งสูงกว่าโรคติดต่อถึง 3 เท่า ซึ่งภาระโรคที่เกิดจากโรคหัวใจและหลอดเลือดคิดเป็น 12% ในปี 2548 โดยประชากรยิ่งมีอายุมากขึ้นจะแนวโน้มเป็นเป็นโรคไม่ติดต่อมากขึ้น
6
การศึกษาผลกระทบของการบริโภคโซเดียมต่อภาวะสุขภาพพบว่าการบริโภคโซเดียมในปริมาณมากทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายหนา(Left ventricular hypertrophy) และเกิดการสะสมของผังพืดในกล้ามเนื้อหัวใจ ไตและหลอดเลือด และการศึกษาพบว่าการลดการบริโภคโซเดียมจาก 3800 มิลลิกรัมต่อวัน เป็น 2500 มิลลิกรัมต่อวันจะลดภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ซึ่งจะลดโอกาสการเกิดภาวะไตวาย นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่บริโภคโซเดียมมากกว่า 4600 มิลลิกรัมต่อวันมีอัตราการขับ Creatinine ลดลงและภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่บริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2300 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งหมายถึงการบริโภคโซเดียมในปริมาณที่สูงมีแนวโน้มมีโอกาสเกิดภาวะไตวายสูงขึ้น
7
บทบาทขององค์การอนามัยโลกต่อการดำเนินการเพื่อลดการบริโภคโซเดียมในประชากร องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวและประกาศให้การดำเนินการเพื่อลดการบริโภคโซเดียมในประชากรเป็นภารกิจหนึ่งในสามอันดับแรกและคุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อลดความชุกของโรคเรื้อรัง โดยตั้งเป้าหมายในระดับประเทศว่าต้อง”ลดการบริโภคโซเดียมในประชากรลง 30% ภายในปี 2023” นอกจากนั้นยังได้แนะนำให้ประชากรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2300 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน
8
สำหรับแบบแผนการบริโภคโซเดียมในประเทศไทยแตกต่างจากประเทศตะวันตก ซึ่งกรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคไม่ติดต่อ ทำการสำรวจปริมาณการบริโภคโซเดียม 4 จังหวัดเมื่อปี 2550 (นครราชสีมา นครปฐม เชียงใหม่ สุราษฏร์ธานี) พบว่าประชากรไทยมีค่าเฉลี่ยการบริโภคโซเดียมในปริมาณที่สูงคือ ประมาณ 3700 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดโดยมีสัดส่วนของการกินอาหารนอกบ้านและซื้ออาหารนอกบ้านมากินมากกว่าการบริโภคมาจากอาหารแปรรูป
9
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานตาม ยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย( ) โดยกำหนดเป้าหมายหลักในการพัฒนาลดปัญหาโรควิถีชีวิต ที่สำคัญ 5 โรค (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง) ใน 4 ด้าน คือ ลดการเกิดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการตาย ลดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มวิถีชีวิตพอเพียงใน 2 ด้าน คือ เพิ่มการบริโภคที่เหมาะสม เพิ่มการออกกำลังกายที่เพียงพอ โดยคาดหวังผลลัพธ์ของการพัฒนาว่าจะทำให้ประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนอย่างบูรณาการ สมดุล ยั่งยืนและเป็นสุข บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากหลักการและเหตุผลความสำคัญของปัญหาข้างต้น จะเห็นว่าการบริโภคเกลือหรือโซเดียมที่สูงเกินความจำเป็น เกิดจากแบบแผนและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
10
ทำให้เกิดภาระโรครวมถึงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคไตวายเรื้อรังที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย กระบวนการพัฒนาคนและระบบงานเพื่อควบคุมและป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ แสวงหาความร่วมมือ แนวทางมาตรการเชิงสร้างสรรค์ ที่จะนำมาใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ตามมาตรการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเกลือหรือโซเดียมที่สอดคล้องกับความหลากหลายตามบริบท(การบริหารจัดการ)ของกลุ่มคนพื้นที่ หรือการบริหารจัดการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละภาคส่วน ดังนั้นทีมผู้ศึกษาวิจัย จึงได้พัฒนาโครงการขับเคลื่อนรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเกลือ(โซเดียม)ในประเทศไทยขึ้น
11
วิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์
1. พัฒนาและสังเคราะห์องค์ความรู้ ข้อมูลวิชาการและหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence Base)ที่เป็นปัจจุบัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานลดการบริโภคเกลือ (โซเดียม) ในประเทศไทย ที่สอดคล้องกับข้อจำกัด สภาพปัญหา และบริบทของพฤติกรรมการบริโภคอาหารในแต่ละพื้นที่ 2. พัฒนารูปแบบแนวทางที่จะใช้ในการรณรงค์การลดการบริโภคเกลือหรือโซเดียมของประเทศไทยที่สอดคล้องกับสภาวะสังคม วัฒนธรรมและบริบทของแต่ละพื้นที่ 3. ถอดบทเรียนของกระบวนการพัฒนาคน และระบบงาน โดยเฉพาะในพื้นที่ Model เพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ 4. พัฒนาและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลดการบริโภคเกลือ(โซเดียม)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.