ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
แนวทางการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางและการคำนวณราคากลาง
2
เหตุใด... ต้องมีการประกาศราคากลาง
จัดซื้อ/จัดจ้างในราคาสูงเกินจริง หรือราคาไม่สมเหตุสมผล มีการจ่ายเงินสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐ 2
3
เหตุผลและความจำเป็นในการกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การจัดหาพัสดุของหน่วยงานรัฐใช้เงินของแผ่นดิน (งบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ หรือรายได้ของหน่วยงานรัฐ) การดำเนินการที่ผ่านมามีการทุจริตแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบทำให้รัฐเสียหาย มีการสมยอมในการเสนอราคา ไม่แข่งขันอย่างเป็น ธรรม จ่ายเงินให้ เจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้ได้เป็นคู่สัญญา นักการเมืองเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการ ทำความผิด ละเว้นไม่ปฏิบัติ หน้าที่ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและจัดเก็บภาษี เงินได้
4
มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง
๑. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณ ราคากลางไว้ในระบบข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกส์ ๒. บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐยื่นบัญชี แสดงรายรับรายจ่ายของโครงการต่อ กรมสรรพากร
5
ข้อควรระวังในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
6
ผู้ควบคุมงาน ผู้ควบคุมงานก่อสร้างมีหน้าที่จดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงานเพื่อรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ การที่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างไปดูแลงานบางวันและมิได้จดบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมรายวัน และบันทึกรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ ถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ 267/2550
7
กรรมการตรวจการจ้าง การที่กรรมการตรวจการจ้างทำรายงานเสนอผู้มีอำนาจเกี่ยวกับ การเพิ่มและลดงานตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคาร โดยไม่เป็นไปตามระเบียบและไม่ตรวจสอบราคาที่แท้จริง จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย เนื่องจากงานส่วนที่ลด มีราคาสูงกว่างานส่วนที่ผู้รับจ้างต้องทำเพิ่มถือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ 13/2548
8
ขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้าง
กรณีราคาแพง สาเหตุ : ไม่แข่งขันราคา ไม่สืบราคา ไม่ใช้ราคาตามบัญชีราคามาตรฐานสำนักงบประมาณ ไม่ใช้ราคาสำนักงานพาณิชย์จังหวัด กำหนดราคากลางสูงเกินจริง เนื่องจาก ใช้ค่า Factor F ไม่ถูกต้อง กรณีแบ่งซื้อแบ่งจ้าง หลักเกณฑ์ : วิธีการซื้อหรือจ้างเปลี่ยนไป อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบ
9
ขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้าง
การล็อคสเปค ข้อห้าม : สร 0203/ว 52 ลว.28 มี.ค. 2520 ห้ามมิให้ ส่วนราชการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งของที่จะซื้อให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อหนึ่ง หรือของผู้ขายรายใดรายหนึ่ง และห้ามระบุยี่ห้อสิ่งของที่ต้องการจะซื้อทุกชนิด เว้นแต่ที่มีข้อยกเว้นให้ไม่แข่งขัน มาตรา ๑๑ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด หรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐผู้ใดโดยทุจริตทำการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หรือกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใดได้มีสิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐโดยไม่เป็นธรรม หรือเพื่อกีดกันผู้เสนอราคารายใดได้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
10
การพิจารณาผล ไม่เลือกผู้เสนอราคาต่ำสุดที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไข
เช่น Spec ของผู้เสนอราคาลำดับที่ 2 ดีกว่าผู้เสนอราคารายต่ำสุด จึงรับราคาผู้เสนอราคาลำดับที่ 2 นำราคาของแถมของผู้เสนอราคารายต่ำที่ 2 มาคิดราคาด้วย อ้างว่า ผู้เสนอราคารายต่ำสุดลำดับที่ 2 เสนอราคาที่มีคุณภาพดีกว่า เป็นที่นิยม โดยไม่มีหลักฐานหรือผู้เชี่ยวชาญยืนยันได้ชัดเจน อ้างว่าผู้เสนอราคารายต่ำสุด เสนอราคาต่ำมาก อาจทำงางานก่อสร้างไม่ได้และอาจทิ้งงาน แต่ไม่มีการตรวจสอบหรือเรียกรายต่ำสุดมาชี้แจงก่อนพิจารณา
11
การบริหารสัญญา การตรวจรับ
- แก้ไขเปลี่ยนแปลงงวดงาน / สัญญา โดยไม่เป็นประโยชน์แก่ทางราชการ - คำนวณค่าปรับไม่ถูกต้อง - งดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาทำการ กรณีส่งมอบงาน/ของ ล่าช้า การตรวจรับ - ตรวจการจ้างก่อสร้างที่ไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการ - ตรวจรับของที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา - ตรวจรับโดยไม่มีของ - ไม่ส่งมอบของภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา
12
การจำหน่ายพัสดุ - ตรวจสอบพัสดุประจำปีพบว่า พัสดุสูญหาย ไม่ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ก่อนจำหน่ายพัสดุเป็นสูญ
13
กฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
๑. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที) ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๑๐๓/๗ และมาตรา ๑๐๓/๘ ๒. แนวทางการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางและการคำนวณราคากลาง ๓. ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ จัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับ หน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๔. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
14
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การทุจริต พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 103/7 มาตรา ๑๐๓/๗ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในกรณีที่มีการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐนั้น มีหน้าที่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต่อกรมสรรพากร นอกเหนือจากบัญชีงบดุลปกติที่ยื่นประจำปี เพื่อให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการคำนวณภาษีเงินได้ในโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐดังกล่าวทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด
15
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การทุจริต พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 103/7 1. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ 2. กำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต่อกรมสรรพากร (มูลค่าสัญญา 2,000,000 บาท ขึ้นไป)
16
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๖๒ การจัดซื้อจัดจ้างตามวิธีการตามมาตรา ๕๕ (๑) ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำประกาศและเอกสารเชิญชวนให้ทราบเป็นการทั่วไปว่าหน่วยงานของรัฐจะดำเนินการในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุใด วัน เวลา สถานที่ยื่นข้อเสนอ และเงื่อนไขอื่น ๆ ประกาศและเอกสารเชิญชวนตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น ในการนี้ หน่วยงานของรัฐจะเผยแพร่ประกาศและเอกสารเชิญชวนดังกล่าวโดยวิธีการอื่นด้วยก็ได้
17
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
หลักเกณฑ์ วิธีการ และรายละเอียดการจัดทำประกาศและเอกสารเชิญชวน รวมทั้งระยะเวลาการประกาศเชิญชวน ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด การจัดซื้อจัดจ้างตามวิธีการตามมาตรา ๕๕ (๒) หรือ (๓) ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำหนังสือเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้ายื่นข้อเสนอ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๖๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๖๒ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลาง และการคำนวณราคากลางในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
18
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๕๕ การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอาจกระทำได้โดยวิธี ดังต่อไปนี้ (๑) วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการทั่วไปที่มี คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดให้เข้ายื่นข้อเสนอ (๒) วิธีคัดเลือก ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามรายให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานนั้น มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดน้อยกว่าสามราย (๓) วิธีเฉพาะเจาะจง ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคารวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๙๖ วรรคสอง
19
มาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ
ขั้นตอนก่อนทำสัญญา ให้หน่วยงานของรัฐกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติของบุคคลหรือนิติ บุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญา (ผู้เสนอราคา) ไว้ในขอบเขตของงาน (Term of Reference : TOR) หรือประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้ * (๑) บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาต้องไม่อยู่ในฐานะซึ่งได้ มีการระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อว่าเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้แสดงบัญชีรายรับ รายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนใน สาระสำคัญ * (๒) บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐซึ่ง ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement : e-GP) ต้องลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ กรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ * ใช้บังคับกับการจัดซื้อจัดจ้างทุกกรณีมิใช่เฉพาะ ๒ ล้านบาทเท่านั้น
20
วิธีปฏิบัติ ๑. การกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติข้อ ๑ (๑) ให้กำหนดไว้ทุกกรณี ในการจัดทำสัญญา ๔ ประเภท ๒. ให้ตรวจสอบคุณสมบัติอย่างน้อย ๒ ครั้ง คือ (๑) ตรวจสอบคราวเดียวกับตรวจสอบคุณสมบัติคุณสมบัติ เบื้องต้นทั่วไป (๒) ตรวจสอบอีกครั้งก่อนการทำสัญญา ๓. ตรวจสอบผ่านทางเวบไซต์สำนักงาน ป.ป.ช. และเวปไซต์ระบบจัดซื้อจัดจ้าง กรมบัญชีกลาง
27
มาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติ (ต่อ)
** ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐก่อนิติสัมพันธ์กับบุคคล หรือนิติบุคคลซึ่งได้มีการระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อว่าเป็น คู่สัญญาที่ไม่ได้แสดงบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายหรือ แสดงบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนใน สาระสำคัญ เว้นแต่บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นจะได้แสดง บัญชีแสดงรายรับรายจ่ายตามประกาศนี้หรือได้มีการ ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง และมีการสั่งเพิกถอนรายชื่อ จากบัญชีดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าสัญญานั้นจะมีมูลค่า เท่าใดก็ตาม (ประกาศ ข้อ ๑๗)
28
มาตราที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตามมาตรา ๑๐๓/๗
๑. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลาง ไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ๒. บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงาน ของรัฐยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายของโครงการต่อ กรมสรรพากร (บังคับใช้วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕)
29
การเปลี่ยนแปลงแนวทางในการเปิดเผยรายละเอียด ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้าง
๑. ระยะแรก วงเงินการจัดซื้อจัดจ้างเป็น ความลับ ๒. ระยะที่สอง เริ่มให้มีการเปิดเผยราคากลาง งานก่อสร้าง (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๖ ม.ค. ๔๑) ๓. ปัจจุบันต้องเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง และการคำนวณราคากลาง ตาม มาตรา ๑๐๓/๗ และมาตรา ๑๐๓/๘
30
ราคากลาง สิ่งที่ต้องเปิดเผย ๕ ข้อ
๑. เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด ๒. ให้ลงรายละเอียดค่าใช้จ่าย ราคากลาง ๓. นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา พร้อมกับการขออนุมัติ ๔. การประกาศให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ๕. ไม่กระทบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงาน
31
ความหมายของศัพท์ที่สำคัญ
การจัดซื้อจัดจ้าง หมายความว่า การจ้าง ก่อสร้าง การจ้างควบคุมงาน การจ้างออกแบบ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างงานวิจัยหรือเงิน สนับสนุนให้ทุนการวิจัย การจ้างพัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์ การจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง อันเป็นการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุน วิจัย ไม่ว่าการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ นั้นจะใช้เงินจากงบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ หรือเงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐเองก็ตาม แต่ ไม่รวมถึงการจำหน่ายพัสดุ
32
ราคากลางและการคำนวณราคากลาง
ราคากลาง หมายความว่า รายละเอียดราคามาตรฐานหรือราคาที่ใกล้เคียงความเป็นจริงเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้เสนอราคาได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริง และให้หายความรวมถึงราคาที่หน่วยงานของรัฐได้มาจากการอ้างอิง สืบราคาจากท้องตลาด ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา ๒ ปีงบประมาณ หรือวิธีอื่นใดตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ การคำนวณราคากลาง หมายความว่า วิธีการคำนวณราคาการจัดซื้อจัดจ้าง ในแต่ละรายการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่หน่วยงานของรัฐกำหด หรือปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งราคากลาง
33
ราคากลาง “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับ เปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ จริงตามลำดับ ดังต่อไปนี้ (1) ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับราคากลางกำหนด (2) ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ (3) ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด (4) ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด (5) ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลาสองปีงบประมาณ (6) วิธีอื่นใดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ ในกรณีที่มีราคาตาม (1) ให้ใช้ราคาตาม (1) ก่อน ในกรณีที่ไม่มีราคาตาม (1) แต่มีราคาตาม (2) หรือ (3) ให้ใช้ราคาตาม (2) หรือ (3) ก่อน โดยจะใช้ราคาใดตาม (2) หรือ (3) ให้คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ ใน กรณีที่ไม่มีราคาตาม (1) (2) และ (3) ให้ใช้ราคาตาม (4) (5)หรือ (6) โดยจะใช้ราคาใดตาม (4) (5)หรือ (6)ให้คำนึงถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ ราชการกำหนดไว้แล้ว แนวทางการเปิดเผยราคากลางของทางราชการ และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 103/7
34
เงื่อนไขการประกาศ วงเงินที่ต้องประกาศ
ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางและการคำนวณราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งแสน (๑๐๐,๐๐๐) บาท ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม วิธีการประกาศ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและการคำนวณราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างในระบบฐานข้อมูล (เว็บไซต์) ๒ แห่ง ดังนี้
35
เงื่อนไขการประกาศ วิธีการประกาศ
๑. ในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (ระบบ e-GP) ๒. ในเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐที่จัดซื้อจัดจ้าง หรือในกรณีที่ หน่วยงานของรัฐไม่มี เว็บไซต์ของตนเอง ให้ประกาศหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐที่เป็นต้นสังกัด
36
เงื่อนไขการประกาศ (ต่อ)
ระยะเวลาที่ประกาศ กรณีการจัดหาที่มีการแข่งขันที่ต้องประกาศเชิญชวน (๑) กรณีมีการประกาศขอบเขตดำเนินการ TOR (Terms of Reference) ให้ประกาศพร้อมกับการประกาศ TOR (๒) กรณีไม่มีการประกาศขอบเขตดำเนินการ TOR (Terms of Reference) ให้ประกาศพร้อมกับการประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ระยะเวลาปลดประกาศ (๑) เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้างได้มีคำสั่งรับคำเสนอซื้อหรือจ้างแล้ว หรือ (๒) เมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการพิจารณาผลหรือ ผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาผลเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างแล้วแต่ระยะเวลาใดถึงกำหนดก่อน 36
37
เงื่อนไขการประกาศ (ต่อ)
ระยะเวลาที่ประกาศ (ต่อ) กรณีการจัดหาที่ไม่มีประกาศเชิญชวน ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างราคากลางและการคำนวณราคากลาง (๑) ภายในสาม (๓) วันทำการ นับแต่วันที่ผู้มีอำนาจได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อขอจ้าง หรือ (๒) หากไม่มีการรายงานขอซื้อขอจ้าง ให้ประกาศภายในสาม (๓) วันทำการนับแต่วันที่ผู้มีอำนาจได้อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง หรืออนุมัติให้เงินสนับสนุนทุนการวิจัย (๓) หากไม่สามารถประกาศตามระยะเวลาข้างต้น เนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศภายในสามสิบ (๓๐) วันนับแต่วันที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง 37
38
เงื่อนไขการประกาศ (ต่อ)
ระยะเวลาที่ประกาศ (ต่อ) ระยะเวลาปลดประกาศ เมื่อประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (๓๐) วัน แล้วก็สามารถปลดประกาศออกได้ กรณีการแก้ไขสัญญา ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีการแก้ไขสัญญาและการแก้ไขสัญญานั้นมีผลกระทบต่อจำนวน ปริมาณ ชนิดของวัสดุ พัสดุ หรือเปลี่ยนแปลงชนิดของสินค้าหรือบริการหรือรูปแบบรายการจากที่เคยประกาศไว้ ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการต้องเผยแพร่รายละเอียดที่เกี่ยวกับสัญญาซึ่งได้มีการแก้ไขนั้นไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อีกครั้งเป็นเวลาอย่างน้อย ๓๐ วัน 38
39
เงื่อนไขการประกาศ (ต่อ)
กรณีการแก้ไขสัญญา (ต่อ) (๑) ให้ใช้แบบตารางแสดงวงเงินงบประมาณตามประเภทการจัดซื้อจัดจัดจ้าง (๒) โดยในช่องชื่อโครงการ ให้ระบุว่า แก้ไขสัญญา และให้แนบรายละเอียดของสาระสำคัญที่มีการแก้ไข (๓) ให้ประกาศภายในระยะเวลา ๓ วัน นับแต่ที่มีการอนุมัติให้แก้ไขสัญญา เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่มีการแก้ไขสัญญา 39
40
เงื่อนไขการประกาศ (ต่อ)
ระยะเวลาปลดประกาศ การประกาศรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้างราคากลางและการคำนวณราคา กลาง ให้หน่วยงานของรัฐประกาศเป็นเวลาไม่ น้อยกว่า ๓๐ วัน หน่วยงานของรัฐอาจปลด ประกาศเมื่อได้ประกาศครบ ๓๐ วันแล้ว 40
41
บทกำหนดโทษ ๑. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๐๓/๘ วรรคสอง กำหนดให้ หน่วยงานของรัฐใดฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการในการประกาศราคากลาง หรือวิธีการคำนวณราคากลางตามติคณะรัฐมนตรีให้ถือว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องมีความผิดทางวินัยหรือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งหรือต้องพ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี ๒. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ข้อ ๔ กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการ (กระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือไม่ควบคุมกำกับดูแลการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง) ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดอาญาแล้วแต่กรณี 41
42
หน่วยงานของรัฐที่ต้องปฏิบัติ
๑. กระทรวง ทบวง กรม ๒. ราชการส่วนภูมิภาค ๓. ราชการส่วนท้องถิ่น ๔. รัฐวิสาหกิจ ๕. องค์การมหาชน 42
43
หน่วยงานของรัฐที่ต้องปฏิบัติ
๖. หน่วยงานธุรการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ๗. หน่วยงานอื่นของรัฐ ๘. หน่วยงานอื่นใดที่ดำเนินกิจการของรัฐตามกฎหมาย และได้รับเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินลงทุนจากรัฐ 43
44
การจัดซื้อจัดจ้าง การจ้างก่อสร้าง การจ้างควบคุมงาน การจ้างออกแบบ
การจ้างที่ปรึกษา การจ้างงานวิจัย หรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ การจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง
45
วิธีการประกาศ ๑. ในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (ระบบ e-GP) ๒. ในเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐที่จัดซื้อจัดจ้าง /กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่มีเว็บไซต์ของตนเอง ให้ประกาศหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐที่เป็นต้นสังกัด
46
- ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ มูลค่า เกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งแสนบาท)
การบังคับใช้ - ตั้งแต่วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ มูลค่า เกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งแสนบาท) 46
47
แนวทางการเปิดเผยราคากลางและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับราคากลาง
๑. การจ้างงานก่อสร้าง หมายความว่า งานก่อสร้างอาคาร ก่อสร้างทาง สะพาน ท่อเหลี่ยม และงานก่อสร้างชลประทาน และให้หมายความรวมถึง งานดัดแปลง งานต่อเติม งานรื้อถอน งานซ่อมแซม และงานปรับปรุงสิ่งก่อสร้างอันมีลักษณะที่มีแบบรูปรายการและจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการดำเนินการด้วย 47
48
ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับและรายละเอียดค่าใช้จ่าย
ในการจ้างก่อสร้าง ชื่อโครงการ /หน่วยงานเจ้าของโครงการ ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร บาท ๓. ลักษณะงานโดยสังเขป ๔. ราคากลางคำนวณ ณ วันที่ เป็นเงิน บาท ๕. บัญชีประมาณการราคากลาง ๕.๑ ๕.๒ ๕.๓ ๕.๔ ๖. รายชื่อคณะกรรมการกำหนดราคากลาง
49
การจ้างงานก่อสร้าง วิธีปฏิบัติ
๑. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเจ้าของโครงการ ให้ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของโครงการในการจัดซื้อจัดจ้าง กรณีเป็นหน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานภายใน ให้ระบุต้นสังกัดที่เป็นนิติบุคคลด้วย ตัวอย่าง กองจัดหากลางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐได้รับและหรือมีเพื่อใช้ ในการจัดซื้อจัดจ้าง 49
50
การจ้างงานก่อสร้าง (ต่อ)
๓. ลักษณะงานโดยสังเขป ให้ระบุลักษณะงานก่อสร้างให้ทราบว่าหน่วยงานรัฐจะดำเนินการ (จ้าง) งานก่อสร้างประเภทใด ตัวอย่าง งานก่อสร้างอาคาร ให้มีบรรยายลักษณะของงานตามหัวข้อที่กำหนดไว้ใน BOQ (Bill of Quantities) เช่น งานก่อสร้างอาคาร ๒๐ ชั้น เป็นต้น ๔. ราคากลางคำนวณ ณ วันที่ ให้ระบุวันที่ผู้มีอำนาจตามระเบียบ กฎ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ ได้เห็นชอบราคากลางที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางเสนอ เป็นเงิน บาท ให้ใส่จำนวนเงินที่เป็นราคากลาง 50
51
การจ้างงานก่อสร้าง (ต่อ)
๕. บัญชีประมาณการราคากลาง ให้ระบุรายละเอียดของการประมาณการที่เกี่ยวข้องกับชนิด จำนวน ปริมาณ รายการของพัสดุ วัสดุต่างๆ ค่าแรงงาน ฯลฯ โดยแนบเอกสารรายการตามประเภทของงานก่อสร้างตามแบบประมาณราคามาตรฐานที่ทางราชการกำหนด (๑) แบบแสดงรายการปริมาณงานและราคา (แบบ ปร. ๔) แบบสรุปค่าก่อสร้าง (แบบ ปร. ๕ ก) แบบสรุปค่าครุภัณฑ์จัดซื้อ (แบบ ปร. ๕ ข) และแบบสรุปราคากลางงานก่อสร้างอาคาร (แบบ ปร. ๖) (๒) แบบสรุปราคางานก่อสร้างชลประทาน (๓) แบบสรุปราคากลางงานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม หมายถึง แบบประเมินราคางานก่อสร้างทาง สะพาน และท่อเหลี่ยม (๔) แบบประมาณการราคากลางอื่นๆ ที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดขึ้น 51
52
การจ้างงานก่อสร้าง (ต่อ)
๖. รายชื่อคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ให้ระบุรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการกำหนดราคากลาง หรือชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่กำหนดไว้ในสรุปผลการประมาณราคาค่าก่อสร้างซึ่งได้ลงชื่อไว้ (แบบ ปร. ๕ และปร. ๖) หรือแบบสรุปราคากลางงานก่อสร้างชลประทาน หรือแบบประเมินราคางานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม หรือแบบอื่นๆ 52
53
แนวทางการเปิดเผยราคากลางและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับราคากลาง (ต่อ)
๒. การจ้างควบคุมงาน หมายความว่า การจ้างบริการจาก นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ที่ประกอบธุรกิจบริการด้านควบคุมงานก่อสร้างหรืองานอื่นที่มีความจำเป็นที่ต้องมีการควบคุมงาน 53
54
ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจ้างควบคุมงาน
๑. ชื่อโครงการ /หน่วยงานเจ้าของโครงการ ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับ บาท ๓. วันที่กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) เป็นเงิน บาท ๔. ค่าตอบแทนบุคลากร บาท ๔.๑ ระดับหัวหน้าโครงการ คน ๔.๒ ระดับผู้ดำเนินงาน คน ๔.๓ ระดับผู้ช่วย คน ๕. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ถ้ามี) บาท ๖. ค่าใช้จ่ายอื่น (ถ้ามี) บาท ๗. รายชื่อผู้รับผิดชอบในการกำหนดค่าใช้จ่าย/ดำเนินการ/ขอบเขตดำเนินการ (TOR) ๘. ที่มาของราคากลาง…… 54
55
การจ้างควบคุมงาน วิธีปฏิบัติ
๑. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของหน่วยงานของรัฐ หรือที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้เพื่อให้มีการดำเนินการ ในกรณีที่มีการดำเนินกิจกรรมย่อย หรือรายการอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการให้ใส่ชื่อกิจกรรมย่อย หรือรายการด้วย หน่วยงานเจ้าของโครงการ ให้ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของโครงการในการจัดซื้อจัดจ้าง กรณีเป็นหน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานภายใน ให้ระบุต้นสังกัดที่เป็นนิติบุคคลด้วย ตัวอย่าง สำนักบริหารงานคลัง สำนักงาน ป.ป.ช. ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับ (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐได้รับและหรือมีเพื่อใช้ ในการจัดซื้อจัดจ้าง 55
56
การจ้างควบคุมงาน (ต่อ)
๓. วันที่กำหนดราคากลาง ให้ระบุวันที่ผู้มีอำนาจตามระเบียบ กฎ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ ได้อนุมัติจำนวนเงินอันเป็นราคาที่จะใช้ในการ จัดจ้างครั้งนั้น เป็นเงิน (บาท) ให้ใส่จำนวนเงินที่เป็นราคากลาง ๔. ค่าตอบแทนบุคลากร (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งที่หน่วยงานของรัฐเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถมาแล้ว หรือที่หน่วยงานของรัฐได้ประกาศเชิญชวน หรือที่มาจากการจ้างตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ โดยให้มีการแจงรายละเอียดของบุคลากรในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการควบคุมงาน 56
57
การจ้างควบคุมงาน (ต่อ)
๔. ค่าตอบแทนบุคลากร (ต่อ) ระดับหัวหน้าโครงการ ให้ระบุจำนวนของบุคลากรในระดับหัวหน้า โครงการ (๒) ระดับผู้ดำเนินงาน ให้ระบุจำนวนของบุคลากรในระดับผู้ดำเนินงาน (๓) ระดับผู้ช่วย ให้ระบุจำนวนของบุคลากรในระดับผู้ช่วย ๕. ค่าวัสดุอุปกรณ์/ค่าวัสดุ (ถ้ามี) (บาท) ให้ระบุการประมาณการจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการดำเนินงานของผู้ควบคุมงาน โดยให้มีการแจงรายละเอียดจากวงเงินค่าจ้างที่หน่วยงานของรัฐจะต้องจ่ายแยกออกเป็นรายจ่ายที่จะต้องจ่ายอันเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์หรือค่าวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการจ้างนั้นๆ ที่คู่สัญญาจะต้องนำมาใช้ในการดำเนินการตามสัญญา ๖. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (บาท) ให้ระบุค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของ ผู้ควบคุมงานนอกเหนือจากรายการค่าตอบแทนบุคคลากรและค่าวัสดุอุปกรณ์/ค่าวัสดุที่ต้องมีขึ้นตามลักษณะของงานนั้นๆ เฉพาะเรื่อง 57
58
การจ้างควบคุมงาน (ต่อ)
๗. รายชื่อผู้รับผิดชอบในการกำหนดค่าใช้จ่าย/ดำเนินการ/ขอบเขตดำเนินการ (TOR) ให้ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้กำหนดขอบเขตดำเนินการ (TOR : Terms of Reference) และรายละเอียดของภารกิจที่หน่วยงานของรัฐมีความประสงค์ที่จะดำเนินการ ซึ่งเป็นการแสดงถึงรายละเอียดที่ต้องการให้คู่สัญญาดำเนินการ รวมทั้งขอบเขตความรับผิดชอบอื่นๆ ของคู่สัญญาที่จะต้องดำเนินการตามหน้าที่และเป็นเอกสารที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของผลงานและใช้เป็นเอกสารอ้างอิงที่เป็นเอกสารส่วนหนึ่งของสัญญา รวมถึงกำหนดรายละเอียดของค่าใช้จ่ายและที่มาของการกำหนดค่าใช้จ่าย โดยอาจเป็นเจ้าหน้าที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลแล้วแต่กรณี ๘. ที่มาของราคากลาง ให้ระบุหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดราคากลาง หรืออัตราที่ใช้อ้างอิง เพื่อคิดราคาค่าจ้างควบคุมงาน 58
59
แนวทางการเปิดเผยราคากลางและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับราคากลาง (ต่อ)
๓. การจ้างออกแบบ หมายความว่า การจ้างบริการจากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจบริการด้านงานออกแบบงานก่อสร้างหรือออกแบบงานอื่นที่มีความจำเป็นที่ต้องมีการควบคุมงาน 59
60
ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจ้างออกแบบ
๑. ชื่อโครงการ /หน่วยงานเจ้าของโครงการ ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับ บาท ๓. วันที่กำหนดราคากลาง เป็นเงิน บาท ๔. ค่าตอบแทนบุคลากร บาท ๔.๑ ระดับหัวหน้าโครงการ คน ๔.๒ ระดับผู้ดำเนินงาน คน ๔.๓ ระดับผู้ช่วย คน ๕. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ถ้ามี) บาท ๖. ค่าใช้จ่ายอื่น (ถ้ามี) บาท ๗. รายชื่อผู้รับผิดชอบในการกำหนดค่าใช้จ่าย/ดำเนินการ/ขอบเขตดำเนินการ (TOR)..... ๘. ที่มาของราคากลาง 60
61
การจ้างออกแบบ วิธีปฏิบัติ
๑. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของหน่วยงานของรัฐ หรือที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้เพื่อให้มีการดำเนินการ ในกรณีที่มีการดำเนินกิจกรรมย่อย หรือรายการอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการให้ใส่ชื่อกิจกรรมย่อย หรือรายการด้วย หน่วยงานเจ้าของโครงการ ให้ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของโครงการในการจัดซื้อจัดจ้าง กรณีเป็นหน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานภายใน ให้ระบุต้นสังกัดที่เป็นนิติบุคคลด้วย ตัวอย่าง สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย กรมประมง ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับ (บาท) ให้ระบุวงเงินที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้หรือได้รับเพื่อจะใช้ในการจัดซื้อหรือจัดจ้างในครั้งนั้น 61
62
การจ้างออกแบบ (ต่อ) ๓. วันที่กำหนดราคากลาง หมายถึง วันที่ผู้มีอำนาจตามระเบียบ กฎ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ ได้อนุมัติจำนวนเงินอันเป็นราคาที่จะใช้ในการจัดจ้างครั้งนั้น เป็นเงิน (บาท) ให้ใส่จำนวนเงินที่เป็นราคากลาง ๔. ค่าตอบแทนบุคลากร (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐจ่ายให้กับผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งที่หน่วยงานของรัฐเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถมาแล้ว หรือที่หน่วยงานของรัฐได้ประกาศเชิญชวน หรือที่มาจากการจ้างตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ โดยให้มีการแจงรายละเอียดของบุคลากรในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการออกแบบ (๑) ระดับหัวหน้าโครงการ ให้ระบุจำนวนของบุคลากรในระดับหัวหน้าโครงการ (๒) ระดับผู้ดำเนินงาน ให้ระบุจำนวนของบุคลากรในระดับผู้ดำเนินงาน (๓) ระดับผู้ช่วย ให้ระบุจำนวนของบุคลากรในระดับผู้ช่วย 62
63
การจ้างออกแบบ (ต่อ) ๕. ค่าวัสดุอุปกรณ์ ให้ระบุการประมาณการจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการดำเนินงานของผู้ออกแบบ โดยให้มีการแจงรายละเอียดจากวงเงินค่าจ้างที่หน่วยงานของรัฐจะต้องจ่ายแยกออกเป็นรายจ่ายที่จะต้องจ่ายอันเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์หรือค่าวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการจ้างนั้นที่ผู้รับจ้างจะต้องนำมาใช้ในการดำเนินการตามสัญญา ๖. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (บาท) ให้ระบุค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของผู้ออกแบบนอกเหนือจากรายการค่าตอบแทนบุคคลากรและค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องมีขึ้นตามลักษณะของงานนั้น เฉพาะเรื่อง 63
64
การจ้างออกแบบ (ต่อ) ๗. รายชื่อผู้รับผิดชอบในการกำหนดค่าใช้จ่าย/ดำเนินการ/ขอบเขตดำเนินการ (TOR) หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้กำหนดขอบเขตดำเนินการ (TOR : Terms of Reference) และรายละเอียดของภารกิจที่หน่วยงานของรัฐมีความประสงค์ที่จะดำเนินการซึ่งเป็นการแสดงถึงรายละเอียดที่ต้องการให้คู่สัญญาดำเนินการ รวมทั้งขอบเขตความรับผิดชอบอื่นๆ ของคู่สัญญาที่จะต้องดำเนินการตามหน้าที่และเป็นเอกสารที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของผลงานและใช้เป็นเอกสารอ้างอิงที่เป็นเอกสารส่วนหนึ่งของสัญญารวมถึงกำหนดรายละเอียดของค่าใช้จ่ายและที่มาของการกำหนดค่าใช้จ่าย โดยอาจเป็นเจ้าหน้าที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลแล้วแต่กรณี ๘. ที่มาของการกำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ให้ระบุหลักเกณฑ์ แหล่งที่มาหรืออัตราที่หน่วยงานของรัฐใช้อ้างอิงเพื่อคิดราคาค่าจ้างออกแบบ 64
65
แนวทางการเปิดเผยราคากลางและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับราคากลาง (ต่อ)
๔. การจ้างที่ปรึกษา หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษาซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพ วิชาชีพหรือให้บริการเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ การศึกษา การเงิน บัญชี กฎหมาย หรืออื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการจ้างออกแบบและควบคุมงาน 65
66
ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษา
๑. ชื่อโครงการ /หน่วยงานเจ้าของโครงการ ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร บาท ๓. วันที่กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) เป็นเงิน บาท ๔. ค่าตอบแทนบุคลากร บาท ๔.๑ ประเภทที่ปรึกษา คน ๔.๒ คุณสมบัติที่ปรึกษา คน ๔.๓ จำนวนที่ปรึกษา คน ๕. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ถ้ามี) บาท ๖. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ (ถ้ามี) บาท ๗. ค่าใช้จ่ายอื่น (ถ้ามี) บาท ๘. รายชื่อผู้รับผิดชอบในการกำหนดค่าใช้จ่าย/ดำเนินการ/ขอบเขตดำเนินการ (TOR) ๙. ที่มาของการกำหนดราคากลาง (อ้างอิง) 66
67
การจ้างที่ปรึกษา (ต่อ)
วิธีปฏิบัติ ๑. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของหน่วยงานของรัฐ หรือที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้เพื่อให้มีการดำเนินการ ในกรณีที่มีการดำเนินกิจกรรมย่อย หรือรายการอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการให้ใส่ชื่อกิจกรรมย่อย หรือรายการด้วย หน่วยงานเจ้าของโครงการ ให้ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของโครงการในการจัดซื้อจัดจ้าง กรณีเป็นหน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานภายใน ให้ระบุต้นสังกัดที่เป็นนิติบุคคลด้วย ตัวอย่าง ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศ กรมทางหลวง ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐได้รับและหรือมีเพื่อใช้ ในการจัดซื้อจัดจ้าง 67
68
การจ้างที่ปรึกษา (ต่อ)
๓. วันที่กำหนดราคากลาง ให้ระบุวันที่ผู้มีอำนาจตามระเบียบ กฎ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ ได้เห็นชอบราคากลางที่คณะกรรมการกำหนดราคากลาง หรือเจ้าหน้าที่เสนอ หรือวันที่ให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อขอจ้าง เป็นเงิน (บาท) ให้ใส่จำนวนเงินที่เป็นราคากลาง ๔. ค่าตอบแทนบุคลากร (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐจ่ายให้กับที่ปรึกษาตาม ความเหมาะสมตามลักษณะของงานที่จะจ้างหรือตามอัตราค่าจ้างของงาน ในลักษณะเดียวกันที่หน่วยงานของรัฐเคยจ้าง โดยแจ้งรายละเอียดจำนวนคน - เดือน (man-months) ตามประเภทที่ปรึกษา คุณสมบัติของที่ปรึกษา ที่จะจ้าง 68
69
การจ้างที่ปรึกษา (ต่อ)
๔.๑ ประเภทที่ปรึกษา ให้ระบุประเภทที่ปรึกษา พร้อมสาขาวิชา ตามประเภทดังต่อไปนี้ (๑) กลุ่มงานวิชาชีพทั่วไป หมายถึง กลุ่มงานที่มีลักษณะทั่วไปไม่ซับซ้อนเช่น ด้านการบริหารจัดการ ด้านประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ตัวอย่าง กลุ่มงานวิชาชีพทั่วไป ด้านประชาสัมพันธ์ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ หมายถึง กลุ่มงานที่มีลักษณะงานที่ต้องใช้เทคนิคเฉพาะทาง เช่น ด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม การเงิน บัญชี วิจัย กฎหมาย พลังงาน สิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ หมายถึง กลุ่มงานซึ่งมีลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และต้องเป็นสาขาที่ขาดแคลนเท่านั้น เช่น ด้านนิวเคลียร์ ดาวเทียม คณิตศาสตร์ประกันภัย และด้านสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น 69
70
การจ้างที่ปรึกษา (ต่อ)
๔.๒ คุณสมบัติที่ปรึกษา ให้ระบุคุณสมบัติเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาประสบการณ และผลงาน ซึ่งมีผลต่อการพิจารณากำหนดค่าจ้างที่ปรึกษา ๔.๓ จำนวนที่ปรึกษา ให้ระบุจำนวนทั้งบุคลากรหลักและฝ่ายสนับสนุน ๕. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ถ้ามี) (บาท) ให้ระบุการประมาณการจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการดำเนินงานของที่ปรึกษา ๖. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ (ถ้ามี) (บาท) ให้ระบุค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับที่ปรึกษาเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศหรือของเจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ว่าจ้างซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายอันเป็นจำนวนเงินที่รวมไว้ในสัญญาจ้างนั้นๆ ๗. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (บาท) ให้ระบุค่าใช้จ่ายใดๆที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของที่ปรึกษา นอกเหนือจากรายการค่าตอบแทนบุคลากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศฯ ที่ต้องมีขึ้นตามลักษณะของงานนั้นๆ เฉพาะเรื่อง 70
71
การจ้างที่ปรึกษา (ต่อ)
๘. รายชื่อผู้รับผิดชอบในการกำหนดค่าใช้จ่าย/ดำเนินการ/ขอบเขตดำเนินการ (TOR) ให้ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้กำหนดขอบเขตดำเนินการ (TOR : Terms of Reference) และรายละเอียดของภารกิจที่หน่วยงานของรัฐมีความประสงค์ที่จะดำเนินการ ซึ่งเป็นการแสดงถึงรายละเอียดที่ต้องการให้คู่สัญญาดำเนินการ รวมทั้งขอบเขตความรับผิดชอบอื่นๆ ของคู่สัญญาที่จะต้องดำเนินการตามหน้าที่ และเป็นเอกสารที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของผลงานและใช้เป็นเอกสารอ้างอิงที่เป็นเอกสารส่วนหนึ่งของสัญญา รวมถึงกำหนดรายละเอียดของค่าใช้จ่ายและที่มาของการกำหนดค่าใช้จ่าย โดยอาจเป็นเจ้าหน้าที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือ คณะบุคคลแล้วแต่กรณี 71
72
การจ้างที่ปรึกษา (ต่อ)
๙. ที่มาของการกำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ให้ระบุแหล่งที่มาหรืออัตราที่ใช้อ้างอิงเพื่อคิดราคาค่าจ้างที่ปรึกษา ตามหลักเกณฑ์ในการคิดอัตราค่าตอบแทนที่ปรึกษาไทยของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เช่น ตามเกณฑ์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ตามหนังสือ ที่ ลงวันที่...... สำหรับหน่วยงานอื่นของรัฐจะใช้หลักเกณฑ์ หรืออัตราใดให้เป็นไปตามระเบียบแนวทางปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน แต่ให้แสดงเป็นที่มาของราคากลางตามตัวอย่างข้างต้นด้วย ** ให้แนบรายละเอียดของค่าใช้จ่าย ราคากลางด้วย 72
73
แนวทางการเปิดเผยราคากลางและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับราคากลาง (ต่อ)
๕. การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย หมายความว่า การจ้างที่หน่วยงานของรัฐ ตกลงจ้างหรือให้ทุนสนับสนุนเพื่อการค้นคว้าโดยการทดลอง สำรวจ หรือการศึกษาตามหลักวิชาการเพื่อให้ได้ข้อมูล ความรู้ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่างๆ อันจะสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ หรือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าการจ้างงานวิจัยดังกล่าวจะเป็นการจ้างตามระเบียบ ข้อบังคับ กฎ ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐ หรือระเบียบ ข้อบังคับ กฎอื่นใด ก็ตาม 73
74
หรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย
ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจ้างงานวิจัย หรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย ๑. ชื่อโครงการ /หน่วยงานเจ้าของโครงการ ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในการจ้างหรือเงินสนับสนุน ให้ทุนการวิจัย บาท ๓. วันที่กำหนดราคากลาง เป็นเงิน บาท ๔. หมวดค่าตอบแทน บาท ๔.๑ ประเภทนักวิจัย ๔.๒ คุณสมบัตินักวิจัย ๔.๓ จำนวนนักวิจัย คน 74
75
หรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย(ต่อ)
ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจ้างงานวิจัย หรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย(ต่อ) ๕. หมวดค่าจ้าง บาท ๖. หมวดค่าใช้สอย บาท ๗. ค่าวัสดุ บาท ๘. ค่าครุภัณฑ์ บาท ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานหรือค้นคว้าข้อมูลในต่างประเทศ (ถ้ามี) ๙.๑ จำนวน คน ๙.๒ บาท ๑๐. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ บาท ๑๑. รายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ผู้รับผิดชอบ) ที่เกี่ยวกับการจ้างงานวิจัยหรือ สนับสนุนทุนวิจัย และ TOR ๑๒. ที่มาของการกำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) 75
76
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย
วิธีปฏิบัติ ๑. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของหน่วยงานของรัฐ หรือที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้เพื่อให้มีการดำเนินการ ในกรณีที่มีการดำเนินกิจกรรมย่อย หรือรายการอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ให้ใส่ชื่อกิจกรรมย่อย หรือรายการด้วย หน่วยงานเจ้าของโครงการ ให้ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของโครงการในการจัดซื้อจัดจ้าง กรณีเป็นหน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานภายใน ให้ระบุต้นสังกัดที่เป็นนิติบุคคลด้วย ตัวอย่าง ศูนย์วิจัยเพื่อการต่อต้านการทุจริต ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำนักงาน ป.ป.ช. 76
77
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ)
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ) ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในการจ้างหรือเงินสนับสนุนให้ทุน การวิจัย (บาท) ให้ระบุวงเงินที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้หรือได้รับเพื่อจะใช้ ในการจัดซื้อหรือจัดจ้างในครั้งนั้น ๓. วันที่กำหนดราคากลาง ให้ระบุวันที่ผู้มีอำนาจตามระเบียบ กฎ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้น ได้อนุมัติจำนวนเงินอันเป็นราคาที่จะใช้ในการจัดจ้างครั้งนั้น เป็นเงิน (บาท) ให้ใส่จำนวนเงินที่เป็นราคากลาง กรณีที่ผู้วิจัยหรือผู้ขอรับทุนเป็นผู้เสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายการวิจัย ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายการจ้างหรือการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยตามตาราง โดยให้ระบุจำนวนเงินที่อนุมัตินั้นลงในรายการราคากลางด้วย 77
78
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ)
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ) ๔. หมวดค่าตอบแทน (บาท) หมายถึง การแจงรายละเอียดค่าใช้จ่าย ในงานจ้างการวิจัยออกเป็นหมวดเพื่อให้เห็นรายละเอียดของจำนวนเงินที่เป็นค่าตอบแทนให้กับนักวิจัยตามประเภทของนักวิจัย คุณสมบัติของนักวิจัยและจำนวนนักวิจัย ๔.๑ ประเภทนักวิจัย ให้ระบุแบ่งประเภทนักวิจัยตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้แบ่งประเภทนักวิจัยไว้ ๑๒ สาขาวิชาการ ดังนี้ 78
79
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ)
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ) (๑) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ (๒) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (๓) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช (๔) สาขาเกษตรและชีววิทยา (๕) สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย (๖) สาขาปรัชญา (๗) สาขานิติศาสตร์ (๘) สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (๙) สาขาเศรษฐศาสตร์ (๑๐) สาขาสังคมวิทยา (๑๑) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ (๑๒) สาขาการศึกษา 79
80
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ)
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ) ๔.๒ คุณสมบัตินักวิจัย ให้ระบุคุณสมบัตินักวิจัย เช่น การศึกษา ผลงาน เป็นต้น ๔.๓ จำนวนนักวิจัย ให้ระบุจำนวนนักวิจัย ๕. หมวดค่าจ้าง (บาท) ให้ระบุการแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในงานจ้างวิจัยที่ผู้วิจัยจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในงานวิจัยที่ต้องมีการจ้างให้ดำเนินการเพื่อให้งานวิจัยสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๖. หมวดค่าใช้สอย (บาท) ให้ระบุการแจงรายละเอียดที่เป็นค่าใช้จ่าย ในงานวิจัยที่ผู้วิจัยต้องใช้ ในการดำเนินกิจกรรมการดำเนินงานในงานวิจัยให้สำเร็จ ๗. ค่าวัสดุ (บาท) ให้ระบุการประมาณการจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่าย ในกิจกรรมการดำเนินงานวิจัยในการดำเนินการตามหน้าที่โดยให้มีการแจงรายละเอียดจากวงเงินค่าจ้างที่หน่วยงานของรัฐจะต้องจ่ายแยกออกเป็นรายจ่าย ที่จะต้องจ่ายอันเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์หรือค่าวัสดุที่ใช้ในการดำเนินงานตามวัตถุ ประสงค์ของการจ้างนั้นๆ ที่คู่สัญญาจะต้องนำมาใช้ในการดำเนินการตามสัญญา 80
81
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ)
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ) ๘. ค่าครุภัณฑ์ (บาท) ให้ระบุครุภัณฑ์ที่ผู้วิจัยจำเป็นต้องใช้ในงานวิจัยเพื่อให้งานวิจัยนั้นสำเร็จและเป็นครุภัณฑ์ที่ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการจัดซื้อเพื่อนำมา ใช้ในงานวิจัยนั้น ๙. ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานหรือค้นคว้าข้อมูลในต่างประเทศ (ถ้ามี) (บาท) ให้ระบุค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานของคณะผู้วิจัยและหรือของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ว่าจ้างหรือเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ๙.๑ จำนวน (คน) ให้ระบุจำนวนคนที่เป็นเจ้าหน้าที่และคณะนักวิจัยที่เดินทางไปต่างประเทศหรือศึกษาดูงานหรือค้นคว้าข้อมูล ในต่างประเทศ ๙.๒ จำนวนเงิน (บาท) ให้ระบุจำนวนค่าใช้จ่ายต่อคนที่เดินทางไปต่างประเทศหรือศึกษาดูงานหรือค้นคว้าข้อมูลในต่างประเทศ 81
82
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ)
การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย (ต่อ) ๑๐. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (บาท) หมายถึง ค่าใช้จ่ายใดๆที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานวิจัยนอกเหนือจากรายการค่าตอบแทน ค้าจ้าง ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานฯ ที่ต้องมีขึ้นตามลักษณะของงานนั้นเฉพาะเรื่อง ๑๑. รายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ผู้รับผิดชอบ) ที่เกี่ยวกับงานจ้างวิจัยหรือสนับสนุนทุนวิจัยและ TOR ให้ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้กำหนดขอบเขตดำเนินการ (TOR : Terms of Reference) และรายละเอียดของงานวิจัยที่หน่วยงานของรัฐมีความประสงค์ที่จะให้ดำเนินการ โดยอาจเป็นเจ้าหน้าที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลแล้วแต่กรณี ๑๒. ที่มาของการกำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ให้ระบุแหล่งที่มา โดยกำหนดอัตราจ้างงานวิจัย หรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัยจากวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ของนักวิจัยเป็นสำคัญ 82
83
แนวทางการเปิดเผยราคากลางและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับราคากลาง (ต่อ)
๖. การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ หมายความว่า การจ้างเพื่อให้มีการวิเคราะห์ ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ โดยรวมค่าผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ ค่าซอฟต์แวร์ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบด้วย 83
84
ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์
๑. ชื่อโครงการ /หน่วยงานเจ้าของโครงการ ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร บาท ๓. วันที่กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) เป็นเงิน บาท ๔. ค่า Hardware บาท ๕. ค่า Software บาท ๖. ค่าพัฒนาระบบ บาท ๗. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ บาท ๘. รายชื่อผู้รับผิดชอบในการกำหนดค่าใช้จ่าย/ดำเนินการ/ขอบเขตดำเนินการ (TOR) ๙. ที่มาของการกำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) 84
85
การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
วิธีปฏิบัติ ๑. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของหน่วยงานของรัฐ หรือที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้เพื่อให้มีการดำเนินการ ในกรณีที่มีการดำเนินกิจกรรมย่อย หรือรายการอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการให้ใส่ชื่อกิจกรรมย่อย หรือรายการด้วย หน่วยงานเจ้าของโครงการ ให้ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของโครงการในการจัดซื้อจัดจ้าง กรณีเป็นหน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานภายใน ให้ระบุต้นสังกัดที่เป็น นิติบุคคลด้วย ตัวอย่าง สำนักบริหารงานคลัง สำนักงาน ป.ป.ช. ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท) ให้ระบุวงเงินที่หน่วยงานของรัฐกำหนดไว้หรือได้รับเพื่อจะใช้ในการจัดซื้อหรือจัดจ้างในครั้งนั้น 85
86
การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
๓. วันที่กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ให้ระบุวันที่ผู้มีอำนาจตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือกฎที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นได้อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นเงิน...(บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐจะใช้ในการจัดซื้อหรือจัดจ้างในครั้งนั้น ๔. ค่า Hardware (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐจะใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เน็ตเวิร์ก อุปกรณ์สำรองข้อมูล ระบบพลังงานสำรอง และอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง 86
87
การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
๕. ค่า Software (บาท) ให้ระบุค่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐจะใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปซึ่งครอบคลุมถึงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) ซอฟต์แวร์ระบบจัดการเน็ตเวิร์ค (Network Management System) ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการด้านความปลอดภัย (Security Management System) ซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Tools) และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำเร็จรูปต่างๆ ที่ไม่ต้องมีการแก้ไขดัดแปลงโปรแกรมเพิ่มเติม (Packaged Application Software) 87
88
การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
๖. ค่าพัฒนาระบบ (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐจะใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดจ้างปรับปรุงระบบงานเดิมหรือพัฒนาระบบงานใหม่ โดยให้แสดงแหล่งที่มาหรือเกณฑ์ที่ใช้เพื่อกำหนดราคา อย่างไรก็ตาม หากการจ้างพัฒนาระบบนี้เป็นการดัดแปลงซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ให้แยกค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปนั้นไว้ในรายการที่ ๕ ค่า Software ๗. ค่าใช้จ่ายอื่น (บาท) ให้ระบุค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานนอกเหนือจากรายการหมวดค่า Hardware ค่า Software ค่าพัฒนาระบบที่ต้องมีขึ้นตามลักษณะของงานนั้น ได้แก่ ค่าบริหารโครงการ ค่าบำรุงรักษา และอื่นๆ กรณีที่เป็นค่าใช้จ่ายอื่นนี้ หากสามารถระบุได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในรายการใดก็ให้ระบุด้วย เช่น ค่าบำรุงรักษา เป็นต้น 88
89
การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
๘. รายชื่อผู้รับผิดชอบในการกำหนดค่าใช้จ่าย/ดำเนินการ/ขอบเขตดำเนินการ (TOR) ให้ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้กำหนดขอบเขตดำเนินการ (TOR : Terms of Reference) และรายละเอียดของภารกิจที่หน่วยงานของรัฐมีความประสงค์ที่จะดำเนินการซึ่งแสดงถึงรายละเอียดที่ต้องการให้คู่สัญญาดำเนินการ รวมทั้งขอบเขตความรับผิดชอบอื่นๆ ของคู่สัญญาที่จะต้องดำเนินการตามหน้าที่ และเป็นเอกสารที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของผลงานและใช้เป็นเอกสารอ้างอิงที่เป็นเอกสารส่วนหนึ่งของสัญญารวมถึงกำหนดรายละเอียดของค่าใช้จ่ายและที่มาของการกำหนดค่าใช้จ่าย โดยอาจเป็นเจ้าหน้าที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลแล้วแต่กรณี 89
90
การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
๙. ที่มาของการกำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ให้ระบุแหล่งที่มาหรือเกณฑ์ของการคิดราคางานพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในแต่ละรายการตามข้อ ๔ , ๕ และ ๖ ดังนี้ ค่า Hardware ให้ระบุแหล่งที่มาที่หน่วยงานของรัฐใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดหรือกำหนดราคาค่า Hard ware เช่น หากใช้เกณฑ์ราคามาตรฐานที่มีคณะบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานกำหนดไว้ ก็ให้ระบุว่า ใช้ราคามาตรฐานตามที่ ( ชื่อคณะบุคคล หน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดราคามาตรฐาน) ตัวอย่าง กรณีใช้ราคามาตรฐานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดก็ให้ระบุว่า ตามเกณฑ์ราคามาตรฐานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด ค่า software หากใช้เกณฑ์ราคามาตรฐานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด ก็ให้ระบุว่า ตามเกณฑ์ราคามาตรฐานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด เช่นเดียวกัน 90
91
การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ต่อ)
ค่าพัฒนาระบบ หากใช้เกณฑ์ราคามาตรฐานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด ก็ให้ระบุว่า ตามเกณฑ์ราคามาตรฐานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด หากให้ใช้ราคาที่เคยซื้อครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ ก็ให้ระบุว่า ใช้ราคาที่เคยซื้อครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ พร้อมระบุเลขที่สัญญาที่ใช้อ้างอิง ตัวอย่าง ใช้ราคาที่เคยซื้อ/เคยจ้าง ครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา ๒ ปี งบประมาณ ตามสัญญา เลขที่.... ลงวันที่.... เดือน พ.ศ หากใช้ราคาตลาดโดยสืบราคาจากท้องตลาด หรือเว็บไซต์ต่างๆเป็นราคาอ้างอิง ก็ให้ระบุชื่อบริษัท ห้างหุ้นส่วนที่สืบราคา หรือ ชื่อเว็บไซต์ด้วย โดยมิต้องระบุราคา 91
92
แนวทางการเปิดเผยราคากลางและรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับราคากลาง (ต่อ)
๗. การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง หมายความว่า การจัดหาโดยการซื้อ หรือการจ้างในงานอื่นๆ โดยให้หมายความรวมถึงการเช่า เช่าซื้อ และแลกเปลี่ยนด้วย 92
93
ซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง
ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง ๑. ชื่อโครงการ /หน่วยงานเจ้าของโครงการ ๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร บาท ๓. วันที่กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) เป็นเงิน บาท ราคา/หน่วย(ถ้ามี) บาท ๔. แหล่งที่มาของราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ๔.๑ ๔.๒ ๔.๓ ๕. รายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ทุกคน
94
การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง
วิธีปฏิบัติ ๑. ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามที่กำหนดไว้ในแผนงานของหน่วยงานของรัฐ หรือที่หน่วยงานของรัฐได้กำหนดไว้เพื่อให้มีการดำเนินการในกรณีที่มีการดำเนินกิจกรรมย่อย หรือรายการอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการให้ใส่ชื่อกิจกรรมย่อย หรือรายการด้วย หน่วยงานเจ้าของโครงการ ให้ระบุชื่อหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของโครงการในการจัดซื้อจัดจ้าง กรณีเป็นหน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานภายใน ให้ระบุต้นสังกัดที่เป็นนิติบุคคลด้วย ตัวอย่าง สำนักบริหารงานคลัง สำนักงาน ป.ป.ช. 94
95
การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง (ต่อ)
๒. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท) ให้ระบุจำนวนเงินที่หน่วยงานของรัฐได้รับและหรือมีเพื่อใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง ๓. วันที่กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ให้ระบุวันที่ผู้มีอำนาจตามระเบียบ กฎ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ ได้เห็นชอบราคากลางที่คณะกรรมการกำหนดราคากลางเสนอ หรือวันที่ให้ความเห็นชอบรายงานขอซื้อขอจ้าง เป็นเงิน (บาท) ให้ใส่จำนวนเงินที่เป็นราคากลาง ราคา/หน่วย (ถ้ามี) (บาท) ให้ระบุราคาต่อหน่วยด้วย (ถ้ามี) กรณีจัดซื้อหลายรายการ ให้ระบุราคาต่อหน่วยในแต่ละรายการ กรณีจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้างให้ระบุราคาต่อหน่วยในแต่ละรายการ (ถ้ามี) 95
96
การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง (ต่อ)
การจ้างให้จัดทำกิจกรรมหรือจัดงาน อาจระบุราคาในแต่ละรายการตามขอบเขตการดำเนินงาน ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้ (๑) งานเวที แสง สี เสียง และการแสดง (๒) งานสถานที่ พร้อมการตกแต่งสถานที่ (๓) งานออกแบบ ติดตั้งบูท บอร์ด นิทรรศการ (๔) งานประชาสัมพันธ์ (๕) งานอภิปราย เสวนา (๖) งานบันทึกภาพ และเสียง (๗) ค่าเอกสารประกอบการจัดกิจกรรม (๘) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เป็นต้น 96
97
การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง (ต่อ)
๔. แหล่งที่มาของราคากลาง ให้ระบุแหล่งที่มาของราคาหรือวิธีคำนวณราคาที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างตามแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐนั้นๆ เช่น กรณีส่วนราชการอาจใช้วิธีการคำนวณราคาตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีหรือกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังกำหนด พรบ.จัดซื้อจัดจ้างปี60.pdf (๑) กรณีใช้ราคามาตรฐานครุภัณฑ์ที่มีคณะบุคคล หน่วยงานกำหนดไว้ ให้ระบุว่า ตามราคามาตรฐานของ (ชื่อคณะบุคคล หน่วยงานที่กำหนด) ตัวอย่าง ตามราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณกำหนด ตามราคากลางตามประกาศของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ตามราคามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขจัดทำขึ้นและเผยแพร่ทางเอกสารหรือเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ตามราคามาตรฐานที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด 97
98
การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง (ต่อ)
(๒) กรณีใช้ราคาที่เคยซื้อครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ ให้ระบุว่า ใช้ราคาที่เคยซื้อครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา ๒ ปี งบประมาณ ตามสัญญา เลขที่.... ลงวันที่.... เดือน พ.ศ. .... (๓) กรณีใช้ราคาตลาดโดยสืบราคาจากท้องตลาด เว็บไซต์ต่างๆ เป็นราคาอ้างอิง ให้ระบุชื่อบริษัท/ห้างหุ้นส่วน/เว็บไซต์ ที่สืบราคา โดยไม่ต้องลงราคาของแต่ละรายที่ไปสืบมา ตัวอย่าง สืบราคาจากท้องตลาด ๓ ราย ดังนี้ ๑ ๒ ๓ 98
99
การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง (ต่อ)
๕. เจ้าหน้าที่ผู้กำหนดราคากลาง (ราคาอ้างอิง) ให้ระบุชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นผู้กำหนดขอบเขตดำเนินการ (TOR : Terms of Reference) และรายละเอียดของภารกิจที่หน่วยงานของรัฐมีความประสงค์ที่จะดำเนินการ รวมถึงกำหนดรายละเอียดของค่าใช้จ่ายและที่มาของการกำหนดค่าใช้จ่าย หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้ดำเนินการสืบหาหรือกำหนดราคา หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุและได้จัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติตามระเบียบ ประกาศหรือกฎของหน่วยงานของรัฐ โดยอาจเป็นเจ้าหน้าที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลแล้วแต่กรณี 99
100
การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง (ต่อ)
หมายเหตุ ๑. ในกรณีที่เอกสารมีราคาในแต่ละรายการแล้ว เช่น TOR อาจแนบเอกสารในการประกาศนี้แทนการกรอกราคาหรือค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการก็ได้ ๒. กรณีที่กำหนดรายละเอียดค่าใช้การจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง เป็นเงินตราต่างประเทศ หน่วยงานของรัฐอาจระบุจำนวนเงินตามตารางนี้เป็นเงินตราต่างประเทศก็ได้ 100
101
ข้อสังเกตและคำแนะนำเพิ่มเติม
๑. ในรายงานขอซื้อขอจ้างควรแสดงที่มาหรือวิธีคำนวณราคากลางด้วย ๒. ให้ระบุวันที่ประกาศราคากลางลงในแบบตารางแสดงวงเงินงบประมาณและรายละเอียดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อจัดจ้างด้วย ๓. แนบแบบตารางแสดงวงเงินงบประมาณและรายละเอียดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อจัดจ้างไว้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบด้วย 101
102
ความเห็นเกี่ยวกับการเห็นชอบราคากลางและวันที่กำหนด ราคากลางที่ต้องเปิดเผย
ความเห็นศูนย์กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เห็นว่า กรณีที่หน่วยงาน ของรัฐนั้นได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคากลางขึ้น เพื่อพิจารณา เปรียบเทียบและกำหนดราคากลางเกี่ยวกับการจ้างครั้งนั้นตามขั้นตอนของทาง ราชการซึ่งได้กระทำไปก่อนที่จะมี การเสนอขออนุมัติจัดจ้าง เมื่อคณะกรรมการได้มี มติเห็นชอบราคากลางแล้วเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ระเบียบ กฎ หรือ ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อพิจารณาอนุมัติ จำนวนเงินอันเป็นราคาที่จะใช้ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดย ในการจัดจ้างหากมี การเห็นชอบราคากลางไปก่อนที่จะมี การอนุมัติให้จัดจ้างการดำเนินการในลักษณะ 102
103
ความเห็นเกี่ยวกับการเห็นชอบราคากลางและวันที่กำหนด ราคากลางที่ต้องเปิดเผย (ต่อ)
ดังกล่าวย่อมเป็นวิธีการในการจัดหาและขั้นตอนในทางปฏิบัติของราชการเกี่ยวกับการพัสดุ ซึ่ง หากไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับกฎหมาย หรือระเบียบว่าด้วยการนั้น หน่วยงานของรัฐ ก็ชอบที่จะ ดำเนินการไปได้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดหาพัสดุ และย่อมถือว่าวันที่ผู้มีอำนาจได้เห็นชอบหรือ อนุมัติเป็นวันที่กำหนดราคากลาง สำหรับในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีการกำหนดราคากลางและเสนอผู้มีอำนาจเพื่อ พิจารณาเห็นชอบราคากลางไปพร้อมกับรายงานการขอซื้อหรือขอจ้างตามขั้นตอนการจัดหาของ ระเบียบพัสดุ เพื่อขอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ระเบียบ กฎ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง 103
104
ความเห็นเกี่ยวกับการเห็นชอบราคากลางและวันที่กำหนด ราคากลางที่ต้องเปิดเผย (ต่อ)
ของหน่วยงานของรัฐอนุมัติให้มี การจัดซื้อหรือจัดจ้างไปในคราวเดียวกัน ก็ย่อมเป็น ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัสดุในการที่จะพิจารณากำหนดราคากลาง และจัดทำรายงานการ ขอซื้อขอจ้างเพื่อเสนอ ขออนุมัติตามขั้นตอนของกฎหมายและ ระเบียบ ซึ่งย่อมกระทำได้เช่นเดียวกันหากการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวมิได้ขัดหรือ แย้งต่อกฎหมาย หรือระเบียบ 104
105
วิธีปฏิบัติในการ เปิดเผยราคากลาง
106
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เห็นชอบแนวทาง และวิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลางของทางราชการ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ มาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า หน่วยงานของรัฐจะต้องประกาศราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจดูได้
107
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
การบันทึกข้อมูลราคากลางในระบบ e-GP ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (e-GP) โดยการ LOGIN ด้วยรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านของหน่วยงานเพื่อดำเนินการสร้างโครงการการจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP โดยมีรายละเอียดการบันทึกข้อมูลราคากลาง ดังต่อไปนี้ ๑. การบันทึกข้อมูลราคากลางในขั้นตอนการเพิ่มโครงการ ๑.๑ หน้าจอเพิ่มโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ใช้งานต้องบันทึกข้อมูลที่มี * ให้ครบทุกรายการ การบันทึกข้อมูลราคากลางจะต้องบันทึกทุกวิธีการจัดหา และทุกประเภทการจัดหา โดยให้กดปุ่ม “ระบุรายละเอียด” ตามภาพที่ 1 แล้วจะปรากฏหน้าจอการบันทึกราคากลาง ตามภาพที่ 2
108
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
ภาพที่ ๑ หน้าจอเพิ่มโครงการจัดซื้อจัดจ้าง
109
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง ภาพที่ ๒ หน้าจอบันทึกราคากลาง
110
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
ผู้ใช้งานบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับราคากลางที่ได้จากการคำนวณ หรือจากการสืบราคา (ราคาอ้างอิง) ในช่อง “ราคากลาง” และแนบไฟล์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับราคากลางในระบบ e-GP โดยแนบไฟล์ตามรูปแบบที่กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดไว้ ไฟล์เอกสารที่แนบจะต้องนามสกุล .pdf ขนาดของไฟล์ที่จะแนบในแต่ละ Browse ไม่เกิน 2 เมกะไบต์ ดังนั้นในระบบมี 10 Browse จะแนบได้ทั้งสิ้น 20 เมกะไบต์
111
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
๑.๒ หน้าจอบันทึกราคากลาง ผู้ใช้งานจะต้องบันทึกข้อมูล “ราคากลาง” และต้องแนบไฟล์ข้อมูลและรายละเอียดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด ให้หน่วยงานของรัฐต้องประกาศ ๒. กรณีที่มีการแก้ไขข้อมูลราคากลาง ๒.๑ เงื่อนไขการแก้ไขข้อมูลราคากลาง ๒.๑.๑ กรณีที่การจัดหาที่มีการแข่งขันการเสนอราคา เมื่อประกาศเชิญชวนขึ้นเว็บไซต์ไปแล้วหากต้องการแก้ไขราคากลางจะต้องประกาศเปลี่ยนแปลงประกาศเชิญชวนก่อน โดยเข้าไปที่เมนูงานเปลี่ยนแปลง ประกาศ” เลือกเมนูงานย่อย “เปลี่ยนแปลงประกาศเชิญชวน” โดยระบุข้อความในประกาศว่าเปลี่ยนแปลงประกาศราคากลาง
112
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
๒.๑.๒ การแก้ไขข้อมูลราคากลางจะต้องแก้ไขก่อนที่จะบันทึกข้อมูลในบอล บันทึกรายชื่อผู้ขอรับเอกสาร/ซื้อเอกสาร โดยผู้ใช้งานจะต้องไปประกาศเปลี่ยนแปลงประกาศเชิญชวนให้เสร็จ ๒.๑.๓ การจัดหาด้วยวิธีประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขได้ ดังนี้ ๑) บอล ๒ (ร่าง TOR และร่างเอกสารประกวดราคา) ถ้าบอลเป็นพื้นฟ้าเครื่องหมายถูก จะไม่สามารถแก้ไขราคากลางได้ เพราะนั้นหมายความว่าได้เอา TOR ขึ้นเว็บไซต์แล้ว หากจะแก้ไขจะต้องไปกดปุ่มปรับปรุงในบอล ๓ (ปรับปรุงร่าง TOR และ ร่างเอกสารประกวดราคา) ๒) บอล ๓ ปรับปรุงฯ จะแก้ไขราคากลางได้ก็ต่อเมื่อมีการกดปุ่มปรับปรุงฯ ถ้าบอลเป็นพื้นฟ้าเครื่องหมายถูกจะแก้ไขไม่ได้ ซึ่งการแก้ไขราคากลางระบบจะย้อนให้เข้ากลับไปแก้ไขในขั้นตอน “จัดทาร่าง TOR”
113
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
๒.๑.๓ การจัดหาโดยวิธีอื่นนอกเหนือจากข้อ และ สามารถแก้ไขได้ ก่อนบันทึกข้อมูลในบอลบริหารสัญญา ๒.๒ การแก้ไขราคากลางงาน ๒.๒.๑ กรณีที่โครงการอยู่สถานะ “เพิ่มโครงการ” ยังไม่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการทำงานที่เป็นลูกบอลหากต้องการแก้ไขราคากลางจะต้องกลับไปแก้ไขที่เมนูงาน “รายการโครงการ” ตามภาพที่ 3
114
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
ภาพที่ 3 เมนูงานหลัก
115
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
เมื่อเลือกเมนูงาน “รายการโครงการ” จะปรากฏหน้าจอค้นหาโครงการจัดซื้อจัดจ้าง และเลือกโครงการที่ต้องการแก้ไข ตามภาพที่ ๔ ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้ที่คอลัมน์ข้อมูลโครงการโดยกด“รายละเอียด/แก้ไข” จะปรากฏหน้าจอบันทึกราคากลาง ตามภาพที่ ๕ และดาเนินการบันทึกข้อมูลตามข้อ 1.1
116
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
ภาพที่ ๔ ค้นหาข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้าง
117
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
๒.๒.๒ กรณีที่โครงการได้เข้าสู่ขั้นตอนการทำงานที่เป็นลูกบอลแล้ว หากต้องการแก้ไขราคากลางจะต้องกลับไปแก้ไขที่เมนูงาน “แก้ไขราคากลาง” ตามภาพที่ ๕ และเลือกโครงการที่ต้องการแก้ไข ตามภาพที่ ๖
118
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
ภาพที่ ๕ เมนูงานหลัก
119
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
ภาพที่ ๖ ค้นหาข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อแก้ไขราคากลาง
120
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
ผู้ใช้งาน โดยกด “รายละเอียด/แก้ไข” จะปรากฏหน้าจอบันทึกราคากลาง ตามภาพที่ ๗ สำหรับการดำเนินการแก้ไขให้ดาเนินการบันทึกข้อมูลตามข้อ ๑.๑ วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง ภาพที่ ๗ บันทึกแก้ไขราคากลาง
121
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
๓. การเปิดเผยข้อมูลราคากลางที่หน้าเว็บไซต์ มีเงื่อนไขการแสดง ดังต่อไปนี้ ๓.๑ การจัดหาใดก็ตามที่มีประกาศเชิญชวน เช่น วิธีสอบราคา ประกวดราคา ประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ การจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีคัดเลือก การจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีคัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด และการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีพิเศษโดยการประกวดแบบเปิดเผย พร้อมกับการประกาศเชิญชวนที่หน้าเว็บไซต์ ๓.๒ ส่วนวิธีการจัดหาอื่นๆ จะเปิดเผยข้อมูลราคากลางเมื่อผู้มีอำนาจได้อนุมัติรายงานขอซื้อขอจ้างในบอล 2 (บันทึกเลขที่และวันที่ของเอกสารและคำสั่ง)ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสาร โดยมีรายละเอียดดังนี้ ผู้สนใจเข้าไปที่เว็บไซต์ ตามภาพที่ 8 แล้วกด “ค้นหาประกาศ” จะปรากฏหน้าจอเงื่อนไขค้นหาประกาศ ตามภาพที่ 9
122
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
ภาพที่ 8 หน้าเว็บไซต์
123
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง ภาพที่ ๙ หน้าค้นหาประกาศ
ภาพที่ ๙ หน้าค้นหาประกาศ
124
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
คำอธิบาย ๑. ตัวเลือกประเภทประกาศ ให้เลือก ประกาศราคากลาง ประกาศเชิญชวน แสดงข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา 2. เลือกวิธีการจัดหา ให้เลือก ตกลงราคา สอบราคา ประกวดราคา พิเศษ กรณีพิเศษ
125
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
คำอธิบาย ๒. เลือกวิธีการจัดหา ให้เลือก (ต่อ) กรณีพิเศษ ประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง จ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก จ้างออกแบบโดยวิธีตกลง จ้างออกแบบโดยวิธีคัดเลือก จ้างออกแบบโดยวิธีคัดเลือกแบบจากัดข้อกำหนด จ้างออกแบบโดยวิธีคัดเลือกแบบประกวดแบบ จ้างออกแบบโดยวิธีพิเศษ
126
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง
คำอธิบาย (ต่อ) ๓. เลือกประเภทการจัดหา ให้เลือก ซื้อ จ้างก่อสร้าง จ้างทำของ/จ้างเหมาบริการ เช่า จ้างที่ปรึกษา จ้างออกแบบ จ้างควบคุมงาน จ้างออกและควบคุมงาน ๔. กดปุ่ม “ค้นหา” ระบบจะแสดงข้อมูลตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในหัวข้อที่ ๑ – ๓ ๕. ผู้สนใจเลือกโครงการที่ต้องการดูประกาศราคากลางได้ที่หัวข้อ “เรื่อง” จะปรากฏหน้าจอ ตามภาพที่ ๑๐ สามารถเปิดดูโดยเลือกไฟล์ นามสกุล .pdf
127
วิธีปฏิบัติในการเปิดเผยราคากลาง ภาพที่ ๑๐ ประกาศราคากลาง(ราคาอ้างอิง)
128
จบการนำเสนอ สวัสดีครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.