งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักกฎหมายเกี่ยวกับสุรา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักกฎหมายเกี่ยวกับสุรา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักกฎหมายเกี่ยวกับสุรา

2 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
2. แนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสุรา 3. หลักกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางการบริหารการจัดเก็บภาษีสุรา

3 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง วิธีการ และเงื่อนไขว่าด้วยกรรมวิธีเกี่ยวกับการทำสุราสำหรับสุรากลั่น ชนิดสุราขาว พ.ศ ลว. 21 ธันวาคม 2555 - “การทำสุรากลั่น ชนิดสุราขาว ที่จำหน่ายภายในราชอาณาจักร ให้มีขนาดของภาชนะบรรจุสุราขนาด ลิตร และขนาด ลิตรขึ้นไป” ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตให้ทำและขายสุรากลั่นชุมชน พ.ศ (ฉบับที่ 6) ลว. 21 ธันวาคม 2555 - “ขนาดของภาชนะบรรจุสุราที่จำหน่ายภายในราชอาณาจักรให้มีขนาด ลิตร และขนาด ลิตรขึ้นไป”

4 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
กฎกระทรวง งดเว้นไม่เรียกเก็บภาษีสุรากลั่นชนิดสุราสามทับ ที่นำไปทำการแปลงสภาพเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ลว. 17 พฤษภาคม 2556 - ให้งดเว้นไม่เรียกเก็บภาษีสุราสำหรับสุรากลั่นชนิดสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามวิธีการที่อธิบดีกำหนด ---

5 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขว่าด้วยการขออนุญาต และการออกใบอนุญาตให้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 8) ลว. 1 ส.ค.2556 - ให้ผู้ประสงค์จะนำสุราสามทับที่เติมสารใด ๆ เข้ามาในราชอาณาจักร ให้แจ้งชนิดและปริมาณของสารใด ๆ ที่ใช้เติมลงในสุราสามทับ พร้อมทั้งส่งตัวอย่างให้กรมสรรพสามิตตรวจวิเคราะห์ก่อนยื่นคำขออนุญาตนำสุราดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักร - ในกรณีที่กรมสรรพสามิตตรวจวิเคราะห์แล้วปรากฎว่าสุราสามทับที่เติมสารใด ๆ ตามวรรคหนึ่ง สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา หรือสามารถแยกสารที่เติมลงไปในสุราสามทับออกได้โดยวิธีการอย่างง่ายในห้องปฏิบัติการทั่วไป ให้ผู้ประสงค์ที่จะนำสุราสามทับที่เติมสารใด ๆ ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรปฏิบัติตามข้อ 2.2 และ 2.3 ของประกาศดังกล่าวโดยอนุโลม

6 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขว่าด้วยการขออนุญาต และการออกใบอนุญาตให้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 8) ลว. 1 ส.ค.2556 (ต่อ) แรงแอลกอฮอล์ของสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนด เว้นแต่ในกรณีที่ดีกรีของสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งระบุไว้ในฉลากปิดภาชนะบรรจุสุรา อาจแตกต่างจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร หรือไม่ตรงกับที่กรมสรรพสามิตได้อนุมัติฉลากปิดภาชนะบรรจุสุราสำหรับสุราที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรไว้ ดังนี้ (ก) สูงได้ไม่เกินกว่า 1 ดีกรี (ข) ต่ำได้ไม่เกินกว่า 1 ดีกรี ทั้งนี้ ให้ใช้มาตรฐานวัดแรงแอลกอฮอล์ของสุราโดยเครื่องมือวัดแรงแอลกอฮอล์ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเชียส

7 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
คำสั่งกรมสรรพสามิต ที่ 376/2556 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพสามิต ลว. 1 สค. 56 1. ให้ยกเลิกความใน (2) ใน ของข้อ 9 แห่งคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 518/2550 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 2. ให้ยกเลิกความใน (5) (6) และ (7) ใน ของข้อ 9 แห่งคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 518/2550 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 และให้ใข้ความต่อไปนี้แทน “(5) การอนุญาตให้โรงงานสุราแปลงสภาพแอลกอฮอล์ และการอนุญาตให้ซื้อแอลกอฮอล์แปลงสภาพ ตามระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการแปลงสภาพแอลกอฮอล์ รวมทั้งการอนุญาตซื้อหรือนำแอลกอฮอล์แปลงสภาพออกจากโรงงานสุรา ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดวิธีการแปลงสภาพแอลกอฮอล์

8 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
คำสั่งกรมสรรพสามิต ที่ 376/2556 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพสามิต ลว. 1 สค. 56 (ต่อ) (6) การยกเว้นภาษีสุรา ตามมาตรา 7 และกฎกระทรวงกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขอและการยกเว้นภาษีสุรา การเก็บ และการขนสุรา สำหรับสุราที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2555 (7) การคืนภาษีสุรา ตามมาตรา 10 และกฎกระทรวงกำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการคืนค่าภาษีสุรา สำหรับสุราที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2555” 3. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (13) ใน ของข้อ 9 แห่งคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 518/2550 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 “(13) การอนุมัติให้ซื้อหรือนำเข้าสุราสามทับ (แอลกอฮอล์บริสุทธิ์) เพื่อการลดหย่อนภาษี ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดวิธีการลดหย่อนภาษีสุราสำหรับสุราสามทับที่นำไปใช้ในการอุตสาหกรรม (พ.ศ.2550)”

9 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
คำสั่งกรมสรรพสามิต ที่ 376/2556 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพสามิต ลว. 1 สค. 56 (ต่อ) 4. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) (10) และ (11) ใน ของข้อ 10 แห่งคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 518/2550 เรื่อง มอบอำนาจหน้าที่ให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพสามิต ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 “(9) การอนุญาตให้โรงงานสุราองค์การสุรา กรมสรรพสามิต แปลงสภาพแอลกอฮอล์และการอนุญาตให้ซื้อแอลกอฮอล์แปลงสภาพจากโรงงานสุราองค์การสุรา กรมสรรพสามิต ตามระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการแปลงสภาพแอลกอฮอล์ รวมทั้งการอนุญาตซื้อหรือนำแอลกอฮอล์แปลงสภาพออกจากโรงงานสุราองค์การสุรา กรมสรรพสามิต ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดวิธีการแปลงสภาพแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ อำนาจในการอนุญาตในกรณีนี้มอบให้สรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงงานสุราองค์การสุรา กรมสรรพสามิต ตั้งอยู่เป็นผู้มีอำนาจอนุญาต (10) การอนุญาตให้ซื้อสุราสามทับ (แอลกฮอล์บริสุทธิ์) ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดวิธีการขอลดหย่อนภาษีสุราสำหรับสุราสามทับที่นำไปใช้การแพทย์ เภสัชกรรรม และวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ อำนาจในการอนุญาตในกรณีนี้มอบให้สรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงงานสุราองค์การสุรา กรมสรรพสามิต ตั้งอยู่เป็นผู้มีอำนาจอนุญาต (11) การอนุมัติให้ซื้อหรือนำเข้าสุราสามทับ (แอลกอฮอล์บริสุทธิ์) เพื่อการลดหย่อนภาษี ตามประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดวิธีการลดหย่อนภาษีสุราสำหรับสุราสามทับที่นำไปใช้ในการอุตสาหกรรม (พ.ศ.2550) ทั้งนี้ อำนาจในการอนุญาตในกรณีนี้มอบให้สรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงงานสุราองค์การสุรา กรมสรรพสามิต ตั้งอยู่เป็นผู้มีอำนาจอนุญาต”

10 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ (ฉบับที่ 7)พ.ศ. 2556 1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม “สุราแช่” หมายความว่า สุราที่ไม่ได้กลั่นและหมายความรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรีด้วย เช่น เบียร์ ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง เป็นต้น “สุรากลั่น” หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้ว และให้หมายความรวมถึงสุรากลั่นที่ได้ผสมแล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่าสิบห้าดีกรีด้วย เช่น สุราสามทับ สุราขาว สุราผสม สุราปรุงพิเศษ และสุราพิเศษ เป็นต้น

11 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม “ราคาขายส่งช่วงสุดท้าย” หมายความว่า ราคาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา ตามมาตรา 5ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 6 ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 1 หรือผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ ได้ขายสุราให้แก่ผู้ขายปลีก โดยรวมค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นราคาตามปกติในทางธุรกิจโดยสุจริตและเปิดเผย โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

12 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
2. แก้ไขฐานภาษี “ราคาขายส่งช่วงสุดท้าย” หมายความว่า ราคาที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา ตามมาตรา 5ผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร ตามมาตรา 6 ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 1 หรือผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ ได้ขายสุราให้แก่ผู้ขายปลีก โดยรวมค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นราคาตามปกติในทางธุรกิจโดยสุจริตและเปิดเผย โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

13 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
3 . แก้ไขเพดานอัตราภาษี (1) สุราแช่ (ก) ชนิดเบียร์ ตามมูลค่าร้อยละ 60 และ 300 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งชันสูตรด้วยเครื่องวัดของกรมสรรพสามิตหรือที่กรมสรรพสามิตรับรอง และหรือ 30 บาทต่อปริมาณหนึ่งลิตร   (ข) ชนิดไวน์และสปาร์กกลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น ตามมูลค่าร้อยละ 60 และ 2,000 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งชันสูตรด้วยเครื่องวัดของกรมสรรพสามิตหรือ ที่กรมสรรพสามิตรับรอง และหรือ 300 บาทต่อปริมาณหนึ่งลิตร (ค) ชนิดอื่น ๆ นอกจาก (ก) และ (ข) ตามมูลค่าร้อยละ 25 และ 150 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งชันสูตรด้วยเครื่องวัดของกรมสรรพสามิตหรือที่กรมสรรพสามิตรับรอง และหรือ 30 บาทต่อปริมาณหนึ่งลิตร

14 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
3 . แก้ไขเพดานอัตราภาษี (2) สุรากลั่น (ก) ชนิดสุราขาว ตามมูลค่าร้อยละ 50 และ 400 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งชันสูตรด้วยเครื่องวัดของกรมสรรพสามิตหรือที่กรมสรรพสามิตรับรอง และหรือ 60 บาทต่อปริมาณหนึ่งลิตร (ข) ชนิดอื่น ๆ นอกจาก (ก) ตามมูลค่าร้อยละ 50 และ 400 บาท ต่อปริมาณหนึ่งลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งชันสูตรด้วยเครื่องวัดของกรมสรรพสามิต หรือที่กรมสรรพสามิตรับรอง และหรือ 60 บาทต่อปริมาณหนึ่งลิตร

15 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการกำหนดราคาสุราที่ทำในราชอาณาจักร และสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี พ.ศ. 2556 1. กรณีไม่มีราคาขายส่งช่วงสุดท้าย - ให้ใช้ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายสูงสุดของสุราประเภท ชนิด คุณภาพ อย่างเดียวกัน ที่มีแรงแอลกอฮอล์และปริมาณบรรจุเท่ากันหรือใกล้เคียงกันของสุราประเภทนั้น 2. กรณีที่ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายมีหลายราคา - ให้ใช้ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายสูงสุดของสุรา ของผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ซึ่งเป็นราคาที่สามารถอ้างอิงได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราได้ขายสุรานั้น ตามที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุราหรือผู้นำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรได้แจ้งชื่อไว้ต่ออธิบดี่ตามแบบและระยะเวลาที่อธิบดีกำหนด

16 1. กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับสุรา
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการกำหนดราคาสุราที่ทำในราชอาณาจักร และสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี พ.ศ. 2556 2. กรณีที่ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายมีหลายราคา (ต่อ) - ในกรณีที่ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายที่ผู้ได้รับอนุญาตแจ้งไว้ต่ำกว่าราคาขายส่งช่วงสุดท้ายของผู้ได้รับอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 รายอื่นนอกจากที่ได้แจ้งชื่อไว้ โดยไม่มสีเหตุผลอันสมควร ให้ใช้ราคาขายส่งช่วงสุดท้ายสูงสุดของผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 ที่มีราคาสูงสุดในเดือนที่ล่วงมาแล้ว

17 2. แนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสุรา
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 - ร่างประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง การนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่างสินค้าหรือไม่ใช่เพื่อการค้า หลักการ - ผ่อนผันให้นำสุราจำนวนไม่เกิน 10 ลิตร สำหรับในกรณีเพื่อเป็นตัวอย่างสินค้าหรือไม่ใช่เพื่อการค้าที่นำเข้ามาทางด่านศุลกากร หรือในกรณีนำติดตัวเข้ามาทางด่านศุลกากรได้ โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต - ต้องปิดแสตมป์ที่ภาชนะบรรจุสุราก่อนขนผ่านด่านศุลกากร

18 3. หลักกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางการบริหาร การจัดเก็บภาษีสุรา
3. หลักกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางการบริหาร การจัดเก็บภาษีสุรา คำนิยาม ลักษณะสินค้า “สุรา” หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา หรือซึ่งดื่มกินไม่ได้แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้วสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา (พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ มาตรา 4) “สุรา” ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า เหล้า,น้ำเมาที่ได้จากการกลั่น  

19 3. หลักกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางการบริหาร การจัดเก็บภาษีสุรา
3. หลักกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางการบริหาร การจัดเก็บภาษีสุรา “สุราแช่” หมายความว่า สุราที่ไม่ได้กลั่นและให้หมายความ รวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรีด้วย เช่น เบียร์ ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง เป็นต้น “สุรากลั่น” หมายความว่า สุราที่ได้กลั่นแล้วและให้หมายความ รวมถึงสุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มี แรงแอลกอฮอล์เกินกว่าสิบห้าดีกรีด้วย เช่น สุราสามทับ สุราขาว สุราผสม สุราปรุงพิเศษ และสุราพิเศษ เป็นต้น

20 3. หลักกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางการบริหารการจัดเก็บภาษีสุรา
กฎกระทรวง ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2513) ออกตามความพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 กำหนดชนิดของสุรากลั่นไว้ ดังต่อไปนี้ 1. ชนิดสุราสามทับ คือสุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตั้งแต่ แปดสิบดีกรีขึ้นไป 2. ชนิดสุราขาว คือสุรากลั่นที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งผสมปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี

21 3. หลักกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางการบริหารการจัดเก็บภาษีสุรา
3. ชนิดสุราผสม คือสุรากลั่นที่ใช้สุราขาวหรือสุราสามทับ มาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี 4. ชนิดสุราปรุงพิเศษ คือสุรากลั่นที่ใช้สุราสามทับมาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี 5. ชนิดสุราพิเศษ คือสุรากลั่นที่ทำขึ้นโดยใช้กรรมวิธีพิเศษ มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ (ก) ประเภทวิสกี้ บรั่นดี รัม ยิน หรือสุราแบบต่างประเทศอย่างอื่น (ข) ประเภทเกาเหลียง เชี่ยงชุน บ้นกุ่ยโล่ว หรือสุราแบบจึน อย่างอื่น

22 การควบคุม พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 1. การทำสุรา
2. การนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร 3. การจัดเก็บภาษีสุรา 4. การใช้สุราทำสินค้า 5. การขายสุรา 6. การขนสุรา 7. การทำและขายเชื้อสุรา

23 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การทำสุรา มาตรา 5 ห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นสำหรับทำสุราไว้ในครอบครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี... โทษ มาตรา 30 - จำคุก ไม่เกินหกเดือน หรือ - ปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าได้ขายสุราที่ทำขึ้นนั้นด้วย ต้องระวางโทษ - จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ - ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นการทำสุราแช่มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท

24 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การทำสุรา มาตรา 5 ทวิ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา ต้องปฏิบัติตาม วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดว่าด้วยกรรมวิธีเกี่ยวกับการทำสุรา การใช้วัตถุดิบ ระยะเวลาและวีการเก็บสุรา ชนิดของสุราและ แรงแอลกอฮอล์จำนวนสุราที่ให้ทำและขายในท้องที่ที่กำหนด โทษ มาตรา 32 ทวิ - ปรับไม่เกินห้าพันบาท

25 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใดนำสุราเกินกว่าหนึ่งลิตรเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต การนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่างสินค้าหรือมิใช่เพื่อการค้า อธิบดีมีอำนาจผ่อนผันให้นำเข้ามาได้ตามจำนวนและทางศุลกากรที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาต บทบัญญัติในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้ทำการตามหน้าที่ ผู้ขนส่งโดยสุจริต โทษ มาตรา 35 - ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

26 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การเสียภาษีสุรา มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา...ต้องเสียภาษีสำหรับสุราที่ทำได้ก่อนขนสุราออกจากโรงงานสุราตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง การเสียภาษีให้กระทำโดยการปิดแสตมป์สุราที่ภาชนะบรรจุสุราในความควบคุมของพนักงานเจ้าหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีจะกำหนดวิธีการเสียภาษีโดยวิธีอื่น โดยออกเป็นกฎกระทรวงก็ได้ (การเสียภาษีสุราสำหรับสุราที่ทำในราชอาณาจักรโดยวิธีอื่นนอกจากปิดแสตมป์สุราให้ใช้วิธีการดังต่อไปนี้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 116 (พ.ศ.2541)) 1. การใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราและคำนวณภาษีสุราตามที่วัดได้จากเครื่องมือ 2. การใช้เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสุราผนึกหรือปิดภาชนะบรรจุหรือเป็นภาชนะบรรจุสุรา) โทษ มาตรา 34 ตรี – ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ถ้าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงเป็นกรณีไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามระยะเวลาหรือวิธีการที่กำหนด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสี่เท่าของค่าภาษีสุรา แต่ต้องไม่ต้องกว่าสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

27 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การยกเว้นภาษีสุรา มาตรา 7 วรรคสอง ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุราส่งสุราที่ตนทำในราชอาณาจักรออกไปนอกราชอาณาจักร ผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุราอาจขอยกเว้นภาษีสุราสำหรับสุราที่จะส่งออกไปนอกราชอาณาจักรนั้นได้ โดยต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอและการยกเว้นภาษีสุรา การเก็บและการขนสุราดังกล่าวออกจากโรงงานสุราเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร โทษ มาตรา 35ทวิ - ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท มาตรา 7 วรรคสาม ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสุราหรือภาชนะบรรจุสุราตามมาตรา 22 ให้ผู้ได้รับอนุญาตปิดแสตมป์สุราใหม่ที่ภาชนะบรรจุโดยไม่ต้องเสียภาษี

28 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การคืนภาษีสุรา
มาตรา 10 ผู้ส่งสุราออกไปนอกราชอาณาจักรมีสิทธิได้รับคืนค่าภาษีสุราสำหรับสุราที่ส่งออกไปนั้น โดยปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 11 สุราซึ่งได้ทำการขนออกจากโรงงานสุราที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าเจ้าของพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีได้ว่า ได้แปรสภาพไปเองจนไม่สมควรจะใช้ดื่มต่อไป และได้ส่งคืนโรงงานสุราโดยปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เจ้าของสุรานั้นมีสิทธิที่จะได้รับคืนค่าภาษีสุราสำหรับสุราที่ส่งคืนนั้น (สุราที่จะขอคืนค่าภาษีตาม ม.11 ต้องปรากฏข้อเท็จจริง ดังนี้ (1) สี กลิ่น รส หรือแรงแอลกอฮอล์ของสุรามีสภาพเปลี่ยนไปจากเดิม (2) ขุ่น หรือมีตะกอน (3) มีคุณลักษณะทางเคมี วัตถุเจือปนอาหาร หรือสารปนเปื้อนไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกำหนด - ให้ขอคืนได้ครั้งละไม่เกินสี่แสนลิตร และการขอคืนค่าภาษีสุราคราวต่อไปจะกระทำได้เมื่อได้รับค่าภาษีสุราที่ได้ขอไว้ก่อนแล้ว

29 การแปลงภาพแอลกอฮอล์ (สุราแปลงสภาพ)
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การแปลงภาพแอลกอฮอล์ (สุราแปลงสภาพ) 1. ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดวิธีการแปลงสภาพแอลกอฮอล์ ปัจจุบันกรมสรรพสามิตกำหนดให้แปลงสภาพแอลกอฮอล์ได้ ตามสูตรส่วนผสม ทั้งสิ้น 14 สูตร - โรงงานสุราองค์การสุรา กรมสรรพสามิต แปลงสภาพแอลกอฮอล์ได้ทุกสูตร - โรงงานสุราอื่น ๆ นอกจากโรงงานสุราองค์การสุรา แปลงสภาพแอลกอฮอล์ได้เฉพาะสูตรที่ 2 ข. สูตรที่ 5 ก. สูตรที่ 12 ก. สูตรที่ 13 และสูตรที่ 14 - โรงงานต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์จากวัสดุเกษตร ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ทำการแปลงสภาได้เฉพาะสูตรที่ สูตรที่ 8 สูตรที่ 9 และสูตรที่ 10 - ผู้ซื้อหรือนำแอลกอฮอล์แปลงสภาพออกไปจากโรงงานสุรา ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีและต้องมีหนังสือสำคัญแทนใบขนแอลกอฮอล์แปลงสภาพผู้ควบคุมโรงงานออกให้กำกับการขนแอลกอฮอล์แปลงสภาพไปด้วย

30 การแปลงภาพแอลกอฮอล์ (สุราแปลงสภาพ) (ต่อ)
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การแปลงภาพแอลกอฮอล์ (สุราแปลงสภาพ) (ต่อ) 2. ระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการแปลงสภาพแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2540 - โรงงานสุราองค์การสุรา และโรงงานสุราอื่นๆ จะแปลงสภาพแอลกอฮอล์ได้จำนวนเท่าใดให้อธิบดีกรมสรรพสามิต เป็นผู้พิจารณาอนุญษต - โรงงานสุรากรมสรรพสามิต จะแปลงสภาพแอลกอฮอล์ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้ทั้งหมดในโรงงานสุราแห่งนั้น - โรงงานสุราองค์การสุรา จะได้รับอนุญาตให้แปลงสภาพแอลกอฮอล์ได้เมื่อใดให้อธิบดีกรมสรรพสามิตเป็นผู้พิจารณาตามความจำเป็น - โรงงานสุรากรมสรรพสามิต และโรงงานสุราอื่น ๆ ให้ขออนุญาตแปลงสภาพแอลกอฮอล์ได้สองเดือนต่อหนึ่งครั้ง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับการค้าหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น - ภาชนะที่ใช้บรรจุแอลกอฮอล์แปลงสภาพที่จะนำออกจากโรงงานสุราให้บรรจุภาชนะขนาด 18 ลิตร หรือขนาด 200 ลิตร หากจะบรรจุภาชนะขนาดอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมสรรพสามิตก่อน

31 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การงดเว้นและการลดหย่อนภาษีสุรา สำหรับสุราที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำสุรา - การลดหย่อนภาษีสุรา สำหรับสุราที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำสุราที่ได้เสียภาษีไว้แล้วให้ลดหย่อนภาษีได้เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนภาษีสุราที่ได้เสียไว้นั้น - ผู้ควบคุมโรงงานสุราต้องตรวจสอบชนิด จำนวนสุรา และดำเนินการบันทึกรายการต่าง ๆ ให้เป็นตามระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานสุรา หรือประกาศกรมสรรพสามิตเกี่ยวกับการอนุญาตให้ทำและขายสุราที่เกี่ยวข้อง

32 การใช้สุราทำของสิ่งหนึ่งสิ่งใด
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การใช้สุราทำของสิ่งหนึ่งสิ่งใด มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้สุราทำของสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน บทบัญญัติในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่การใช้สุราในการปรุงยาตามคำสั่งของแพทย์ (บรรดาสิ่งของที่ใช้สุราทำขึ้นเพื่อการค้า ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตตามมาตรา 12 มีดังนี้ (1) น้ำหอมต่าง ๆ (2) หัวน้ำเชื้อต่าง ๆ (3) น้ำยารักษาโรคต่าง ๆ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2493)

33 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การขนสุรา (มาตรา และ 16) มาตรา 13 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขนสุราที่ยังไม่เสียภาษีโดยถูกต้องออกจากโรงงานสุรา เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี โทษ ม.39 - จำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือ - ปรับไม่เกิน 4 เท่า ของค่าภาษีสุรา (ไม่น้อยกว่า 20,000 บาท) หรือ - ทั้งจำทั้งปรับ

34 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การขนสุรา (มาตรา และ 16) มาตรา14 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขนสุราตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไปเว้นแต่ ได้รับใบอนุญาตขนสุราจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานศุลกากร สำหรับกรณีขนสุรา ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร การขนสุราชนิดที่ได้มีกฎกระทรวงยกเว้นให้ทำการขนได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขนสุรา ต้องนำใบขนสุรากำกับไปกับน้ำสุราที่ขนด้วย โทษ ม.38 ทวิ ปรับตามปริมาณน้ำสุราที่ขนในอัตราลิตรละ 10 บาท

35 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การขนสุรา (มาตรา และ 16) มาตรา16 ให้อธิบดีอนุญาตมีอำนาจอนุญาตให้ ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ ออกหนังสือสำคัญสำหรับการขนสุราออกจากสถานที่ขายสุราของตนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด หนังสือสำคัญเช่นว่านี้ ให้ถือเสมือนหนึ่งใบอนุญาตขนสุราดังกล่าวในมาตรา 14 ตามเงื่อนไขนั้น

36 การขนสุรา ม. 16 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493
การขนสุรา (มาตรา และ 16) การขนสุรา ม. 16 - ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 หรือตัวแทน (ไม่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตทำสุรา เว้นแต่ภาคอนุมัติเป็นรายๆ) - มีอำนาจออกหนังสือสำคัญตามแบบ ส.1/ แบบ ส.1/42 ก. และแบบ ส.1/42 ข. เพื่อใช้สำหรับ การขนสุราออกจากสถานที่ขายสุราของตนได้ - หนังสือสำคัญเช่นว่านี้ให้ถือเสมือนหนึ่งเป็นใบอนุญาต ขนสุรา โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข

37 - แบบ ส.1/42 ทำด้วยกระดาษสีขาว ปกสีน้ำตาล
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การขนสุรา ม. 16 เงื่อนไข - แบบ ส.1/ ทำด้วยกระดาษสีขาว ปกสีน้ำตาล - แบบ ส.1/42 ก. ทำด้วยกระดาษฟ้า ปกสีน้ำตาล - แบบ ส.1/42 ข. ทำด้วยกระดาษสีชมพู ปกสีน้ำตาล - ต้องประทับตราประจำต่อและลงลายมือชื่อหรือประทับตราลายมือชื่อของเจ้าพนักงานสรรพสามิตแห่ง ท้องที่ที่สถานที่ขายสุราของผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งอยู่ จึงจะนำไปใช้ได้

38 หนังสือสำคัญแบบ ส.1/42 มีสามตอน
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การขนสุรา ม. 16 เงื่อนไข (ต่อ) หนังสือสำคัญแบบ ส.1/42 มีสามตอน - ตอนต้นที่ติดกับต้นขั้ว ให้เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ขายสุราที่ได้รับอนุญาตเพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบ และเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนแล้วอนุญาตให้ทำลายได้ - ตอนกลางสำหรับใช้ควบคุมกำกับไปกับสุราที่ขน - ตอนปลายให้รวบรวมนำส่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตแห่งท้องที่ที่สถานที่ขายสุราตั้งอยู่ตรวจสอบภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยทำเป็นหนังสือนำส่งด้วย

39 หนังสือสำคัญแบบ ส.1/42 ก. มีสองตอน
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การขนสุรา ม. 16 เงื่อนไข (ต่อ) หนังสือสำคัญแบบ ส.1/42 ก. มีสองตอน - ตอนต้นที่ติดกับต้นขั้ว ให้เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ขายสุราที่ได้รับอนุญาตเพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบ และเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนแล้วอนุญาตให้ทำลายได้ - ตอนปลายใช้สำหรับควบคุมกำกับไปกับสุราที่ขน และให้รวบรวมนำส่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตแห่งท้องที่ที่สถานที่ขายสุราตั้งอยู่ตรวจสอบภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยทำเป็นหนังสือนำส่งด้วย

40 หนังสือสำคัญแบบ ส.1/42 ข. มีสามตอน
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การขนสุรา ม. 16 เงื่อนไข (ต่อ) หนังสือสำคัญแบบ ส.1/42 ข. มีสามตอน - ตอนต้นที่ติดกับต้นขั้วให้เก็บรักษาไว้ ณ สถานที่ขายสุราที่ได้รับอนุญาตเพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตตรวจสอบ และเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนแล้วอนุญาตให้ทำลายได้ - ตอนกลางสำหรับใช้ควบคุมกำกับไปกับสุราที่ขน - ตอนปลายให้รวบรวมนำส่งเจ้าพนักงานสรรพสามิตแห่งท้องที่ที่สถานที่ขายสุราตั้งอยู่ตรวจสอบภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยทำเป็นหนังสือนำส่งด้วย

41 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดขายสุราหรือนำสุราออกแสดงเพื่อขาย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต โทษ ม. 40 - ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ถ้าสุรานั้นเป็นสุราที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร) - ปรับไม่เกิน 500 บาท (ถ้าสุรานั้นเป็นสุราที่ทำขึ้นในราชอาณาจักร)

42 มาตรา 18 บทบัญญัติในมาตรา 17 มิให้ใช้บังคับแก่
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 18 บทบัญญัติในมาตรา 17 มิให้ใช้บังคับแก่ (1) การขายสุราทั้งหมดในคราวเดียวภายใต้ความควบคุมของเจ้าพนักงานสรรพสามิต ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตายหรือถูกเพิกถอน (2) การขายในการบังคับคดี (3) การขายโดยคำสั่งของอธิบดีกรมศุลกากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

43 มาตรา 19 ใบอนุญาตขายสุรามี 7 ประเภทคือ
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 19 ใบอนุญาตขายสุรามี 7 ประเภทคือ ประเภทที่ 1 สำหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนตั้งแต่สิบลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 2 สำหรับการขายสุราที่ทำในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนตั้งแต่สิบลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 3 สำหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่าสิบลิตร ประเภทที่ 4 สำหรับการขายสุราที่ทำในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่าสิบลิตร ประเภทที่ 5 สำหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่าสิบลิตรเพื่อดื่ม ณ สถานที่ขายเป็นการชั่วคราวไม่เกินสิบวัน ประเภทที่ 6 สำหรับการขายสุราที่ทำในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่าสิบลิตร เพื่อดื่ม ณ สถานที่ขายเป็นการชั่วคราวไม่เกินสิบวัน ประเภทที่ 7 สำหรับการขายสุรา ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่าสิบลิตร เพื่อดื่มภายในสมาคมหรือสโมสร

44 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตขายสุรา ป.3 ถึง ป.7
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การออกใบอนุญาตขายสุรา ข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตขายสุรา ป.3 ถึง ป.7 1. สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานศึกษา ศาสนสถาน หรือสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งบริเวณ ต่อเนื่องติดกับสถานที่ดังกล่าว 2. สถานที่ขายสุราต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่ที่เคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขายสุรา เว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี 3. ผู้ขอรับใบอนุญาตขายสุราต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ขายสุรา เว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

45 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการขายสุรา (1) ไม่ขายสุราให้แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (2) ไม่ขายสุราในบริเวณสถานศึกษา ศาสนสถาน สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับ สถานที่ดังกล่าว (3) ไม่ขายสุราในบริเวณสถานที่ที่เคยถูกสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตขายสุรา เว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี

46 ความหมาย “สถานศึกษา” พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493
“สถานศึกษา” หมายถึง เฉพาะสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือระดับอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ - โรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา - วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย (ต่ำกว่าระดับปริญญาหรือ ระดับปริญญา) ไม่รวมถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ เช่นโรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนขับรถยนต์ หรืออาชีพอื่น

47 ความหมาย “ศาสนสถาน” พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 “ศาสนสถาน” หมายถึง
- วัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ (พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505) - มัสยิด (พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540) - วัดบาทหลวงในศาสนาคริสต์ (พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะ ฐานะ ของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128) - สถานประกอบศาสนกิจในนิกายศาสนาอื่น (เช่น โบสถ์ในศาสนาคริสต์นิกายอื่น หรือวัดแขกในศาสนาฮินดู เป็นต้น)

48 “เหล้าปั่น”

49 “เหล้าปั่น”

50 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราและการเปลี่ยนแปลงสุรา มาตรา 22 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ป.1 ป.2 - เปลี่ยนแปลงสุราโดยเอาสุราอื่นใด หรือน้ำ หรือของเหลว หรือวัตถุอื่นใดเจือปนลง หรือ - เปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต และทำต่อหน้า พนักงานเจ้าหน้าที่ โทษ ม ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

51 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 การเปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุราและการเปลี่ยนแปลงสุรา มาตรา 23 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ป.3 ถึง ป.7 - เปลี่ยนแปลงสุราโดยเอาสุราอื่นใด หรือน้ำ หรือของเหลว หรือวัตถุอื่นใดเจือปนลง หรือ - เปลี่ยนแปลงภาชนะบรรจุสุรา เว้นแต่ ผู้ซื้อได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงสุราเพื่อดื่มในขณะนั้น โทษ ม ปรับไม่เกิน 500 บาท

52 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 1. ตรวจสอบว่าผู้ขายมีใบอนุญาตขายสุราจากเจ้าพนักงานสรรพสามิตหรือไม่ หากไม่มีใบอนุญาต จะมีความผิดฐานขายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 2. หากผู้ขายเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงน้ำสุราตามมาตรา หากทำการเปลี่ยนแปลงโดยผู้ซื้อได้ร้องขอเพื่อดื่มในขณะนั้น ไม่มีความผิด หากทำการเปลี่ยนแปลงโดยผู้ซื้อมิได้ร้องขอ จะมีความผิด และต้องรับโทษตามมาตรา 38 ปรับไม่เกิน 500 บาท

53 เวลาขายสุรา พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493
- ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3 หรือประเภทที่ จะขายสุราได้แต่เฉพาะภายในเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง (ตั้งแต่ นาฬิกา ถึง นาฬิกา และตั้งแต่เวลา นาฬิกา ถึง นาฬิกา ) โทษ ม.41 ปรับไม่เกิน 50 บาท


ดาวน์โหลด ppt หลักกฎหมายเกี่ยวกับสุรา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google