งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ข้อมูล และ เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ข้อมูล และ เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ข้อมูล และ เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
ข้อมูล และ เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ การสัมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ ๓ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาโครงการวิจัยรุ่นที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๕ กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

2 + - × ÷ ข้อมูล โจทย์/คำถาม วิธีการได้ข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์
สงสัย/ไม่มีคำตอบ ข้อมูล ตัวเลข ไม่ใช่ตัวเลข ตัวหนังสือ คำพูด ภาพ ~เปรียบเทียบ ~ความหมาย ~หาเหตุผล ~หาความสัมพันธ์ ~จัดหมวดหมู่ โจทย์/คำถาม + - × ÷ วัตถุประสงค์การวิจัย ข้อมูล วิธีการได้ข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลอง จัดเวที สังเกต สัมภาษณ์ สำรวจ PRA/PAR ฯลฯ ได้คำตอบโจทย์ สร้างความรู้ นำไปพัฒนางาน เครื่องมือเก็บข้อมูล แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก mind map แบบPRA กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

3 ประเภทของข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) ข้อมูลเชิงคุณภาพ
(Qualitative Data)

4 ความหมายของข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวนตัวเลข
นับได้ / บอกความมาก-น้อยได้ เป็นข้อความ/ตัวหนังสือที่บรรยายลักษณะ นับเป็นจำนวนตัวเลขไม่ได้

5 เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
1. แบบสอบถาม 2. แบบสัมภาษณ์ 3. แบบทดสอบ

6 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. กำหนดข้อมูลที่ต้องการ 2. การวัดโดยกำหนดตัวชี้วัดและสร้างมาตรวัด 3. สร้างข้อคำถาม 4. ตรวจสอบและทำบรรณาธิกร 5. ทดลองใช้และ 6. ปรับปรุง

7 1.ขั้นตอนการกำหนดข้อมูลที่ต้องการ
1.พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการวิจัยแต่ละข้อ 2.แยกวัตถุประสงค์ของการวิจัยออกเป็นประเด็นย่อยๆให้มากที่สุด 3.นำประเด็นที่แยกออกมาทำเป็นแผนผังก้างปลา เพื่อนำไปกำหนดเป็นข้อคำถาม

8

9 2. การวัดโดยกำหนดตัวชี้วัดและสร้างมาตรวัด
แนวคิด นามธรรม ตัวแปร(สิ่งที่จะวัด) ตัวชี้วัด มาตรวัด รูปธรรม

10 ความหมายของตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด หมายถึงสิ่งที่บ่งบอกหรือสะท้อนลักษณะของประเด็นที่ต้องการจะวัด เช่น ประเด็นที่ต้องการจะวัด ตัวชี้วัด ความอ้วน น้ำหนัก ปริมาณไขมันในร่างกาย สุขภาพ จำนวนครั้งของการเจ็บป่วย ความสวย หน้าตา รูปร่าง บุคลิกภาพ อารมณ์

11 ความหมายของมาตรวัด มาตรวัด : หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการวัด
( การกำหนดหน่วยในการวัด ) ระดับของการวัด Nominal scale – เพศ อาชีพ Ordinal scale – ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ Interval scale – ความรู้ อุณหภูมิ Ratio scale – อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ความถี่ในการประชุม มาตรวัด : หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการวัด เป็นการแบ่งสิ่งที่ต้องการวัดเป็นระดับต่างๆ แบ่งได้ 4 ระดับ นามมาตร Nominal scale เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่มหรือประเภท เป็นการกำหนดตัวเลขแทนชื่อคน แทนคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น 0 แทนเพศชาย และ 1 แทนเพศหญิง คุณสมบัติที่สำคัญของมาตรานี้ก็คือ ตัวเลขที่กำหนดให้บอกได้เพียงความแตกต่างกัน คือชี้ว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ไม่ได้แทนอันดับ ขนาด ปริมาณหรือคุณภาพใด ๆ ตัวอย่างได้แก่ เพศ อาชีพ ประเภทกลุ่ม การเข้าร่วม เชื้อชาติ ศาสนา จัดอันดับ Ordinal ในมาตรานี้มีคุณสมบัติของ Nominal scale คือ ความแตกต่าง สิ่งที่เราทราบเพิ่มขึ้นจากระดับ Nominal scale คือ ทิศทาง ของความแตกต่าง อันดับ 1 อยู่เหนือกว่าอันดับ 2 เนื่องจากมีปริมาณหรือคุณภาพมากกว่า แม้จะทราบว่าใครมากกว่า น้อยกว่า แต่ไม่รู้ว่ามากกว่ากันเท่าใด และช่วงระหว่างอันดับต่าง ๆ มักไม่เท่ากัน เช่นที่ 1 อาจมีคุณภาพเหนือกว่าที่ 2 มากขณะที่ที่ 2 มีคุณภาพห่างจากที่ 3 เพียงเล็กน้อย เป็นต้น ตัวอย่างได้แก่ ระดับการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ อันตรภาค Interval เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่า 2 มาตรที่กล่าวมา โดยมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือ มี 0 สมมุติ และมีหน่วยการวัดที่เท่ากัน เช่น ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ไม่ได้หมายความว่า ณ จุดนั้นไม่มีความร้อนอยู่เลย หรือการที่ นร.ก สอบได้ 50 คะแนน ข สอบได้ 25 คะแนน กล่าวได้ว่า ก ได้คะแนนมากกว่า ข 25 คะแนน แต่ไม่ได้หมายความว่า นร.ก มีความรู้เป็น 2 เท่าของ ข เพราะจุดเริ่มต้นไม่ใช่ 0 แท้ คนที่สอบได้ 0 คะแนน ไม่ได้ความหมายว่าไม่มีความรู้ในวิชานั้น สรุป เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่มได้ เรียงลำดับได้ และแบ่งเป็นช่วงๆได้ โดยแต่ละช่วงมีขนาดเท่าๆกัน 0 ของข้อมูลประเภทนี้เป็น 0 สมมุติ ไม่ใช่ศูนย์แท้ อัตราส่วน Ratio Scale เป็นระดับของการวัดที่นอกจากจะมีคุณสมบัติเหมือนInterval scale แล้วก็ยังมีศูนย์แท้ ซึ่งหมายถึงไม่มีอะไรเลยหรือมีจุดเริ่มต้นที่แท้จริง ตัวอย่างได้แก่ ความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง แต่ละหน่วยของน้ำหนักจะมีขนาดเท่ากัน เช่น นายเก่ง หนัก 40 กิโลกรัม จะหนักเป็น 2 เท่าของ นายเฉย ซึ่งหนัก 20 กิโลกรัม ที่บอกอย่างนี้ได้เพราะแต่ละหน่วยกิโลกรัมมีน้ำหนักเท่ากัน และเริ่มจาก 0 แท้ น้ำหนัก 0 กิโลกรัมก็คือไม่มีน้ำหนักเลย

12 ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
นำประเด็นต่างๆที่ได้ทำเป็นแผนผังก้างปลามาพิจารณา กำหนดตัวชี้วัดในแต่ละประเด็นจากแผนผังก้างปลา กำหนดมาตรวัดในแต่ละประเด็น ทำตารางสรุปประกอบด้วย ประเด็นที่จะวัด ตัวชี้วัด มาตรวัด

13 ประเด็น ตัวชี้วัด มาตรวัด
1. ปัจจัยทางสังคม 1.1 เพศ เพศ Normal Scale 1.2 อายุ อายุจริง Ratio Scale 1.3 การศึกษา ระดับการศึกษาสูงสุด Ordinal Scale 2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ 2.1 แรงงาน จำนวนแรงงานที่ใช้ในการทำนา 2.2 รายได้ รายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ข้าว 3. ปัจจัยอื่น ๆ 3.1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะของเทคโนโลยี ความสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ปฏิบัติ Interval Scale 5 = มาก 4 = ค่อนข้างมาก ความยุ่งยากของเทคโนโลยี 3 = ปานกลาง 2 = ค่อนข้างน้อย ความสามารถในการทดลองปฏิบัติ 1 = น้อย 3.2 ทัศนคติต่อเทคโนโลยี การช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การช่วยให้รายได้เพิ่มขึ้น 5 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง 4 = เห็นด้วย 3 = เฉย ๆ 2= ไม่เห็นด้วย 1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

14 3. การสร้างข้อคำถาม นำตารางสรุปตัวชี้วัดมาพิจารณา
สร้างข้อคำถามให้ครบทุกประเด็นตัวชี้วัดและใช้มาตรวัดตามที่ได้กำหนดไว้ ยกร่างชุดของคำถาม

15 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนที่นำเครื่องมือที่สร้างแล้วไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการวิเคราะห์ ตีความหมาย วิจารณ์และสรุปผล ร.ศ.ดร.เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ

16 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt ข้อมูล และ เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google