งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี สุภา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี สุภา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี สุภา
อ.สุธาสินี สุภา สัญญายืม

2 ลักษณะของสัญญายืม สัญญายืม คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ยืม ได้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นและตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินให้

3 ลักษณะของสัญญายืมด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1. สัญญายืมเป็นเอกเทศสัญญา - มีลักษณะเป็นการตกลงกันของบุคคลสองฝ่าย ผู้ให้ยืม-ผู้ยืม โดยการแสดงเจตนาคำเสนอ คำสนองที่สอดคล้องต้องกัน โดยผู้ให้ยืมตกลงให้ผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้ยืมเอง และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น 2. เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้แก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คือ ผู้ยืมในการคืนทรัพย์ที่ยืม ผู้ให้ยืมตกลงยินยอมให้ผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมได้เปล่า

4 เป็นสัญญาที่ผู้ให้ยืมต้องส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืมให้แก่ผู้ยืม
สัญญายืมอาศัยการส่งมอบทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาเพื่อความบริบูรณ์ (complete) ในการทำสัญญา หลักในเรื่องนี้ปรากฏใน มาตรา 641 “ การให้ยืมใช้คงรูป ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม ” มาตรา 650 วรรคสอง “ สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ”

5 การส่งมอบ คือ การโอนการครอบครองทรัพย์ที่ยืมจากผู้ให้ยืมไปยังผู้ยืม
“บริบูรณ์” Complete หมายความว่าอย่างไร ฝ่ายแรก การส่งมอบเป็นแบบของสัญญายืม หากไม่มีการส่งมอบทรัพย์ แม้ทำเป็นหนังสือ ถือว่าสัญญาไม่บริบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ หรือเป็นโมฆะ ฝ่ายที่สอง การส่งมอบไม่เป็นแบบ การส่งมอบเป็นส่วนประกอบของการแสดงเจตนาในการทำนิติกรรมบางประเภท ถ้าไม่มีการส่งมอบทรัพย์ ถือว่าการแสดงเจตนายังไม่สมบูรณ์ นิติกรรมจึงยังไม่เกิดแต่ไม่ตกเป็นโมฆะ

6 ไม่บริบูรณ์ is not complete ≠ โมฆะ Void
บริบูรณ์ หมายความว่า หากตราบใดผู้ให้ยืมยังไม่ส่งมอบทรัพย์ให้แก่ผู้ยืม สัญญายืมจะยังไม่เกิด ยังบังคับอะไรไม่ได้ แต่เมื่อใดมีการส่งมอบทรัพย์สัญญาก็เกิดขึ้นและผูกพันกัน แสดงให้เห็นว่าสัญญายืมที่สมบูรณ์ อันจะมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมาย ย่อมเกิดขึ้นจากการกระทำที่แยกออกได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งคือการแสดงเจตนาที่ตรงกันเพื่อการยืมของคู่สัญญาและ ส่วนที่สองคือการได้ส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้แก่ผู้ยืม

7 สัญญายืมเป็นสัญญาที่สมบูรณ์โดยการส่งมอบ ต่างจากสัญญาอื่น ๆ ที่ความสมบูรณ์แห่งสัญญาอาจเกิดจากการแสดงเจตนาเสนอสนองที่ตรงกันเพียงอย่างเดียว (consensual contract) หรือเป็นสัญญาที่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด (formal contract)

8 สัญญาจะให้ยืมมีได้หรือไม่
เวียร์ ขอยืมรถจักรยานยนต์ ณเดช ใช้ในอาทิตย์หน้าเพื่อไปทริปกับเพื่อนๆเดอะแก๊งค์ที่เชียงใหม่ เวียร์จัดการทำแผนเดินทางและจองที่พักเรียบร้อยแล้ว ต่อมา ณเดช เปลี่ยนใจไม่ให้ยืม เพราะกลัวรถราคาแพงเสียหาย ดังนี้ เวียร์จะฟ้องให้ ณเดช ส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่ตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

9 บังคับไม่ได้ บังคับได้ ไม่แน่ใจ

10 ยืมใช้คงรูป (Loan for use)
ผู้ยืม Borrower ให้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า ผู้ให้ยืม Lender คืนทรัพย์สินที่ยืม

11 ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ม. 640
ยืมใช้คงรูป คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืม ได้ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์นั้นเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน ย่อมมีผลให้สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ถือเอาตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญแห่งสัญญาด้วย มาตรา 648 บัญญัติว่า “อันการยืมใช้คงรูปย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะแห่งผู้ยืม”

12 เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในวัตถุแห่งสัญญา
เป็นเพียงการมอบการครอบครองในตัวทรัพย์เท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ยังเป็นของผู้ให้ยืม ผลของการเป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ คือ

13 2.1 ผู้ให้ยืมอาจไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้ยืมก็ได้ตัวอย่าง นายก. เช่าหนังสือ FHM จากร้านหลังมช มาอ่าน นายก. อาจนำหนังสือเล่มดังกล่าวไปให้นาย ข. ยืมต่อไปก็ได้ สัญญายืมใช้คงรูปมีผลสมบูรณ์ผูกพัน คือ นาย ข.มีหนี้ที่จะต้องคืนหนังสือเล่มเมื่ออ่านเสร็จแล้ว และ นายก.ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้นาย ข. ส่งมอบหนังสือคืนให้กับตนตามสัญญา นาย ก. อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ยืมที่ทำให้ทรัพย์ที่ยืมเสียหาย เช่น นาย ข. อาจทำหนังสือขาดหรือเปื้อนน้ำ

14 2.2 ในกรณีทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลายอันเป็นผลจากการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้ยืมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้มีการชดใช้ราคาทรัพย์ หรือเรียกค่าสินไหมทดแทนในนามของตนเอง ตัวอย่าง ก. ยืมรถจักรยานยนต์ของน้องชาย ขับรถตามปกติแล้วถูก ข. ขับรถชน ก. ฟ้องให้ ข.ใช้ค่าซ่อมและค่าเสื่อมราคาซึ่งเป็นค่าความเสียหายเกี่ยวกับตัวทรัพย์โดยตรงไม่ได้ เพราะไม่ใช่เจ้าของรถ และ ก. ก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม

15 ฎ 3451/2524 ทรัพย์ที่ยืมบุบสลายเพราะการกระทำของบุคคลภายนอก มิใช่เกิดจากการกระทำของผู้ยืม ผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ เมื่อไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ ผู้ยืมก็ไม่อยู่ในฐานะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดรับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

16 2.3 ถ้าเกิดความวินาศภัยแห่งทรัพย์ที่ยืม โดยมิใช่เป็นความผิดของผู้ยืมแล้ว ผู้ยืมย่อมหลุดพ้นความรับผิดโดยสิ้นเชิง หลักความวินาศแห่งทรัพย์ย่อมตกแก่ผู้เป็นเจ้าของ (Res perit domino) ต.ย. นาย ก. ยืมรถยนต์ นาย ข. ไปตามหาโคที่หายไป รถแล่นความเร็ว30-40 ก.ม./ ชม. มีรถโดยสารชนท้าย รถพลิกคว่ำลงข้างทาง นาย ก.ไม่มีส่วนร่วมในการทำให้รถยนต์เสียหาย เพราะใช้ทรัพย์อย่างวิญญูชนพึงกระทำแล้ว นาย ก. จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่รถ

17 ต.ย. ก. ยืมรถ ข. เพื่อใช้ในการเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพฯ ในระหว่างใช้รถปรากฏเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ก. บังคับรถไม่ได้ รถถูกน้ำพัดชนราวสะพานทำให้รถยนต์เสียหาย ดังนี้ ก. ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่รถ (เกิดจากเหตุสุดวิสัย)

18 3. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูป เมื่อพิจารณาตามม. 138
วัตถุอันมีรูปร่างสังหาริมทรัพย์ ? อสังหาริมทรัพย์ ? สำหรับวัตถุไม่มีรูปร่าง ? สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ( licensing agreement) 4. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์โดยการส่งมอบ

19 ผลแห่งสัญญายืมใช้คงรูป
1. สิทธิผู้ยืม สิทธิที่จะใช้สอยหรือแสวงหาประโยชน์จากตัวทรัพย์ที่ยืมตามสภาพแห่งทรัพย์ที่ผู้ให้ยืมส่งมอบ เช่น ขอยืมชุดใส่ไปงานเลี้ยง ชุดมีรอยขาดจะเรียกให้ผู้ให้ยืมจัดการซ่อมแซมไม่ได้

20 สิทธิได้ใช้ทรัพย์ที่ยืมตลอดไปตามอายุสัญญาที่ตกลงกัน แยกได้ 2 กรณี
สิทธิได้ใช้ทรัพย์ที่ยืมตลอดไปตามอายุสัญญาที่ตกลงกัน แยกได้ 2 กรณี มาตรา 646 “ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้วตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ถ้าเวลาก็มิได้กำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะเรียกของคืนเมื่อใดก็ได้”

21 กรณีไม่ได้กำหนดเวลายืม ต้องให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์ที่ยืมเสียก่อน จึงจะเรียกคืนได้ แต่ถ้ายืมนานเกินควร ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนก็ได้ ม ว. แรก เช่น ยืมรถขุด เพื่อขุดดินทำบ่อปลา ไม่ได้กำหนดระยะเวลากันไว้ ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิเรียกคืนเมื่อขุดบ่อปลาเสร็จแล้ว หรือถ้าระยะเวลาผ่านไป 1 เดือนแล้วก็ยังขุดบ่อปลาไม่เสร็จ ซึ่งตามความเป็นจริงเพียงแค่ 10 วันน่าจะเสร็จ ดังนี้ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิเรียกคืนก่อนได้

22 กรณีไม่ได้กำหนดเวลายืม และ ไม่รู้เอาไปใช้ในการใด ผู้ให้ยืมเรียกคืนทรัพย์ในเวลาใดก็ได้ ม. 646 ว. สอง
เช่น ยืมมีดไม่รู้เอาไปใช้ทำอะไร ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนเมื่อใดก็ได้

23 2. หน้าที่หรือหนี้ของผู้ยืม
2.1 การเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ม.642 “ ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาก็ดี ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย” 2.2 ค่าใช้จ่ายรักษาทรัพย์ ม.647 - ผู้ยืมรับผิดชอบเฉพาะค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติในการบำรุงรักษาทรัพย์ที่ยืม เช่น ยืมรถยนต์ อาจมีค่าใช้จ่ายเติมน้ำมันเครื่อง เติมน้ำกลั่น ค่าล้างรถ

24 ค่าใช้จ่ายพิเศษ ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ ?
เช่น รถยนต์ที่ยืมมา คอมพ์แอร์เสีย น้ำยาแอร์หมด ไดร์ชาร์ตหรือไดร์สตาร์ทเสีย

25 2.3 การสงวนรักษาทรัพย์ที่ยืม ม.644
2.3 การสงวนรักษาทรัพย์ที่ยืม ม.644 - ผู้ยืมมีหน้าที่ต้องสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง

26 - ถ้าสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชนแล้ว ทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือบุบสลาย ผู้ยืมไม่ต้องรับผิดชอบ
เช่น คนปกติทั่วไปเมื่อใช้รถเสร็จ ในกรณีที่มีที่จอดรถ ก็ต้องจอดในที่มีรั้วปิดกั้น หรือถ้าไม่มีที่จอดรถต้องจอดข้างถนนก็ต้องล็อคประตู ล็อคกระจก จอดในที่มีแสงสว่าง ไม่ใช่จอดในที่เปลี่ยวไม่มีคน หากผู้ยืมได้ใช้ความระมัดระวังดังกล่าวแล้ว แต่รถยังถูกขโมยหรือถูกทุบกระจกแตก ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิด

27 - ดังนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ยืมไม่ได้สงวนทรัพย์ที่ยืม หรือสงวนแต่ไม่ถึงระดับของวิญญูชน ถือว่าผู้ยืมผิดหน้าที่ ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ตามม. 215 และผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ม. 645 หากมีความสูญหายหรือบุบสลายเป็นผลจากการไม่สงวนทรัพย์สินที่ยืม เป็นละเมิดตาม ม.420

28 2.4 การใช้ทรัพย์สินที่ยืม ม.643
2.4 การใช้ทรัพย์สินที่ยืม ม.643 ม.643 บัญญัติว่า “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์นั้น หรือนอกจากการปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี เอาไว้นานเกินควรกว่าที่เคยจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ทรัพย์สินนั้นก็จะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

29 ผู้ยืมมีหน้าที่ 4 กรณี ผู้ยืมต้องไม่เอาทรัพย์ที่ยืมไปใช้เป็นการอย่างอื่นนอกจากการอันปกติแก่ทรัพย์ ผู้ยืมต้องไม่ใช้ทรัพย์ที่ยืมนอกจากการอันปรากฏในสัญญา 3. ผู้ยืมจะต้องไม่นำทรัพย์ที่ยืมไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย ฎ 1892/2535 4. ผู้ยืมต้องไม่เอาทรัพย์ที่ยืมไปไว้นานเกินควร

30 ผู้ยืมผิดหน้าที่ แม้ความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์ที่ยืมเป็นเหตุสุดวิสัย มิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมก็ต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม ตาม ม. 643

31 ถ้าผู้ยืมไม่ผิดหน้าที่ ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด
ต.ย. ยืมโทรศัพท์มือถือมาใช้ 1 อาทิตย์ ยืมได้ 2 วัน ไฟไหม้บ้านผู้ยืม เพราะเพื่อนบ้านประมาทจุดไฟเผาขยะโดยไม่เฝ้า ทำให้โทรศัพท์เสียหาย แต่ถ้ายืมโทรศัพท์มาใช้ร่วม 1 เดือนไม่ยอมคืน ไฟไหม้โทรศัพท์ ผู้ยืมต้องรับผิดชอบ เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าอย่างไรโทรศัพท์ก็ต้องสูญหายหรือบุบสลาย เช่น บ้านผู้ยืมและบ้านผู้ให้ยืม บ้านต้นเพลิงอยู่ติดกัน ไฟลามทั้ง 3 หลัง แม้โทรศัพท์อยู่ที่ผู้ให้ยืมก็ต้องเสียหายเพราะไฟไหม้เช่นกัน ผู้ยืมไม่ต้องรับผิด

32 ดังนั้น กรณีทรัพย์ที่ยืมสูญหายหรือเสียหายไปโดยเหตุสุดวิสัย อันมิใช่เกิดจากความผิดของผู้ยืม เช่น ยืมรถเขาไปใช้ ระหว่างใช้ถูกคนร้านปล้นทรัพย์ไป หรือรถถูกวางระเบิดเสียหายทั้งคัน น้ำท่วมฉับพลัน ความสูญหายตกเป็นพับแก่ผู้ให้ยืม ผู้ยืมไม่ต้องชดใช้ราคาให้แก่ผู้ให้ยืม มาตรา 643 คู่สัญญาสามารถตกลงยกเว้นเป็นอย่างอื่น โดยกำหนดว่าแม้ทรัพย์สินจะสูญหายไปด้วยเหตุสดวิสัยให้ผู้ยืมต้องรับผิดชอบชดใช้ราคาหรือจัดหาทรัพย์สินอื่นแทน เป็นประเภท ชนิด ปริมาณเดียวกันมาคืนให้แก่ผู้ให้ยืมก็ได้

33 การคืนทรัพย์ที่ยืม การคืนทรัพย์ที่ยืมต้องเป็นทรัพย์อันเดียวกันกับที่ยืม ในกรณีที่ผู้ยืมไม่สามารถคืนทรัพย์ที่ยืมได้ เช่น เกิดการสูญหายเพราะความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยืมแทน

34 3.2 สิทธิในการเรียกทรัพย์ที่ยืมคืน
3. สิทธิของผู้ให้ยืม 3.1 สิทธิบอกเลิกสัญญา ม. 645 3.2 สิทธิในการเรียกทรัพย์ที่ยืมคืน 3.3 สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ราคาทรัพย์ ม. 215 ม.213 ม. 222

35 4. หน้าที่หรือหนี้ของผู้ให้ยืม
- หนี้ในที่นี้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ทำให้ผู้ให้ยืมต้องมีความรับผิดชอบได้ หนี้ดังกล่าวได้แก่ 4.1 การเสียค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาทรัพย์ ที่ยืมในกรณีพิเศษ 4.2 การรับผิดเพราะความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์ที่ยืม

36 2. เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา ม. 645
ความสิ้นสุดแห่งสัญญายืมใช้คงรูป 1. ความมรณะของผู้ยืม ม. 648 2. เมื่อมีการบอกเลิกสัญญา ม. 645 3. เมื่อผู้ยืมคืนทรัพย์ที่ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม 4. เมื่อมีการเรียกให้คืนทรัพย์ที่ยืม ม. 646 5. เมื่อทรัพย์ที่ยืมเกิดการสูญหายหรือสิ้นสภาพไป

37 อายุความ การใช้สิทธิเรียกร้องอันเกี่ยวกับการปฏิบัติชำระหนี้โดยมิชอบตามสัญญายืมใช้คงรูป มีกำหนดระยะเวลา 6 เดือนนับจากสิ้นสัญญา ตามม. 649 เช่น นายเอกยืมรถยนต์นายโทมาแล้วทำผิดหน้าที่ ตามมาตรา 643 โดยการนำรถยนต์ไปบรรทุกดิน หินจนรถเสียหาย ผู้ให้ยืมต้องฟ้องภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา

38 ฟ้องเพื่อให้ชดใช้ราคาทรัพย์หรือฟ้องเรียกเอาทรัพย์ที่ยืมคืน อาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไป คือ 10 ปี ตาม ม. 193/30 เช่น นายดำยืมรถยนต์ที่นายแดงเช่ามาเพื่อใช้ในการทอดกฐิน มีกำหนดเวลา 7 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วนายดำไม่ยอมส่งคืนรถยนต์ให้นายแดง นายแดงจะต้องฟ้องเรียกรถยนต์คืนจากนายดำภายใน 10 ปี

39 ในกรณีผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของทรัพย์นั้น การใช้สิทธิเพื่อเรียกเอาทรัพย์ที่ยืมคืนจากผู้ยืม นอกจากใช้สิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปแล้ว ผู้ให้ยืมมีสิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์ที่ยืมคืนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความแต่อย่างใด

40 สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ม. 650
สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ม. 650 มาตรา 650 บัญญัติว่า “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองคือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

41 สาระสำคัญแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
1. เป็นสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน - ย่อมทำให้ผู้ยืมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น - ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์ตามสัญญาเป็นประเภท ชนิด ปริมาณเดียวกันกับทรัพย์สินที่ยืม

42 1.1 ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือมีกรรมสิทธิ์ที่ให้ยืม
1.1 ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือมีกรรมสิทธิ์ที่ให้ยืม - หากผู้ให้ยืมมิได้เป็นเจ้าของ สัญญายืมไม่สมบูรณ์ แม้ผู้ยืมจะยืมโดยสุจริตก็ตาม - อย่างไรก็ตาม ผู้ให้ยืมไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ได้รับรองในการกระทำของผู้ให้ยืม ส.ยืมสมบูรณ์ ผู้ยืมได้ประโยชน์จากสัญญา จะปฏิเสธว่าผู้ให้ยืมไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ ฎ 16/2534 - ผู้ให้ยืมหมดสิทธิในการติดตามเอาทรัพย์คืนในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์ จะมีเพียงสิทธิตาม ส.ยืมเท่านั้น

43 1.2 กรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่ยืม
1.2 กรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่ยืม ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมต้องรับผลในความเสียหาย และมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ จะยกภัยพิบัติที่เกิดขึ้นปฏิเสธความรับผิดในการคืนทรัพย์ที่ยืมตามสัญญาไม่ได้

44 ตัวอย่าง นาย ก. ยืมปูนซีเมนต์ ตราช้าง จากร้านนาย ข. 10 ถุง มาขายให้ลูกค้า หลังจากรับปูนมาแล้วน้ำท่วม ปูนที่ยืมมาเสียหายทั้งหมด ดังนี้ นายก. ต้องรับผลในความเสียหายนั้น และเมื่อถึงกำหนดต้องคืนปูน 10 ถุงให้แก่ นาย ข.

45 2. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนได้
2. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนได้ มีค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์ได้ ยืมเงินตกลงให้ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี ยืมข้าวเปลือก 2 ถังตกลงให้ข้าวเปลือก 1 ถัง

46 3. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
- “ทรัพย์ชนิดใช้ไปสิ้นไป” หมายความถึง ทรัพย์สินประเภทที่เมื่อมีการใช้ทรัพย์นั้นแล้ว ตัวทรัพย์สินนั้นย่อมจะเสื่อมสภาวะสลายหายไป หรือสิ้นเปลืองหมดไป เรียกว่า “โภคยทรัพย์”

47

48

49 ข้อสังเกต อย่างไรก็ตามแม้ตามสภาพแห่งทรัพย์จะไม่สิ้นไปหมดไปเพราะการใช้ก็ตาม แต่หากต้องการจะใช้ในลักษณะที่เป็นการทำลายหรือเอาไปขาดก็ได้ เช่น การขอยืมโคมาฆ่าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขก หรือขอยืมไม้ ตะปู สังกะสีเพื่อนำมาปลูกบ้าน ซึ่งถือเป็นการเอาทรัพย์นั้นมาอย่างเด็ดขาด ฎ 905/2505

50 4. เป็นสัญญาที่ตกลงคืนทรัพย์ที่ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นที่เป็นประเภท ชนิดและปริมาณเดียวกับที่ยืม
5. เป็นสัญญาที่สมบูรณ์โดยการส่งมอบ

51 ผลแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
1. หนี้ในการเสียค่าใช้จ่าย ม.651 2. หนี้ในการคืนทรัพย์สินที่ยืม แยกพิจารณาได้ดังนี้ 2.1 สัญญายืมมีกำหนดเวลาใช้คืน ส.กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน เมื่อฝ่ายหนึ่งผิดนัด อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิก ส. ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ฎ 2220/2538

52 ในกรณีผู้ยืมตายก่อนถึงกำหนดชำระใน ส
ในกรณีผู้ยืมตายก่อนถึงกำหนดชำระใน ส. ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้รับมรดกหรือผู้จัดการมรดกชำระหนี้ทันทีได้หรือไม่ ฎ 3994/2540 ผู้ให้ยืมต้องทวงถามก่อนหรือไม่ ฎ 2620/2517 สัญญากู้มีข้อความว่า “ผู้กู้จะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี แต่ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงกำหนดได้โดยผู้ให้กู้ไม่ต้องแสดงเหตุผล” ข้อสัญญานี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ดูใน ฎ 866/2534,ฎ 6216/2537,ฎ 5760/2540

53 2. 2. สัญญายืมไม่มีกำหนดระยะเวลาใช้คืน ม. 652 “ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าว
2.2 สัญญายืมไม่มีกำหนดระยะเวลาใช้คืน ม “ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าว...ก็ได้” จะตีความอย่างไร ? ฝ่ายแรก ผู้ให้ยืมมีสิทธิเลือกว่าจะใช้สิทธิเรียกโดยพลัน ตามม. 203 หรือใช้วิธีบอกกล่าว ตามม. 652 ตามแต่จะเลือก ฝ่ายที่สอง ผู้ให้ยืมจะต้องบอกกล่าวแก่ผู้ยืมเสียก่อนว่าจะให้คืนทรัพย์เมื่อใดม.652

54 ในกรณีผู้ยืมไม่ชำระหนี้ (คืนทรัพย์สิน) ผู้ให้ยืมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยืม และอาจเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการไม่ชำระหนี้ ได้ตาม ม. 222 การฟ้องเรียกให้ชดใช้ราคาทรัพย์สินที่เป็นประเภท ชนิด ปริมาณเดียวกันกับทรัพย์ที่ยืม จะคิดราคา ณ.เวลาและ สถานที่ส่งมอบคืน เช่น ยืมน้ำปลา 1 โหล ขณะยืมขวดละ 20 บาท ต่อมาผู้ให้ยืมเรียกให้คืน น้ำปลาขวดละ 25 บาท ถ้าผู้ยืมไม่สามารถคืนน้ำปลาได้ ต้องชดใช้ในราคาขวดละ 25 บาท

55 อายุความ กรณียืมใช้สิ้นเปลืองทั่วไป ใช้อายุความ 10 ปี นับแต่วันที่หนี้ตาม ส.ยืมถึงกำหนดชำระ ตามมาตรา 193/30 - ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าคืนเมื่อใดและอนุมานโดยพฤติการณ์ทั้งปวงไม่ได้ ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนได้โดยพลัน ม. 203 ว.หนึ่ง อายุความ 10 ปีเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป (นับแต่วันที่ยืม) ม.193/12

56 ตัวอย่าง ทำสัญญา 1 ม.ค. 40 สัญญามีอายุ 2 ปี ครบกำหนด 1 ม.ค. 42 แต่ไม่ได้ชำระหนี้ตามกำหนด ในวันที่ 1 พ.ค. 48 ลูกหนี้มาติดต่อผ่อนชำระเงินกู้อยู่ อยากทราบว่า ณ วันนี้ (29 มี.ค. 53) สัญญานี้ทางเจ้าหนี้จะทำการฟ้องร้องได้หรือไม่

57 อายุความตามสัญญากู้ยืมเงิน มีกำหนดอายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป. พ. พ
อายุความตามสัญญากู้ยืมเงิน  มีกำหนดอายุความทั่วไป 10 ปี  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30  ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินกู้คืน  ตาม มาตรา 193/12  และเมื่อสัญญากู้ถึงกำหนดชำระ 2 ปี  และครบกำหนดในวันที่ 1 ม.ค. 42  เพราะฉะนั้น  อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้เงินกู้  จึงมีกำหนดอายุความถึง 1 ม.ค. 52  ส่วนการที่ลูกนี้ได้มาติดต่อขอผ่อนชำระเงินกู้ ในวันที่ 1 พ.ค. 48    ก็ย่อมเป็นเรื่องที่ลูกหนี้ได้ทำการชำระหนี้ให้บางส่วนแล้ว  กรณีนี้จึงย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ 1 พ.ค. 48 ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/14(1)    ฉะนั้น  อายุความตามสิทธิเรียกร้องแห่งมูลหนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับแต่วัน ที่ 1 พ.ค. 48  ต่อไปจนครบกำหนด 10 ปี  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 คดียังไม่ขาดอายุความ

58 2. กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นงวด มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(2)
2. กรณีผ่อนชำระหนี้เป็นงวด มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(2) ฎ 2075/ บ.กู้เงินโจทก์โดยตกลงผ่อนชำเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางชำระหนี้ของ ส.กู้ยืม ถือได้ว่า บ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี

59

60 นาย ก. ได้ไปทำการกู้เงินจาก ธนาคาร A มาเป็นจำนวนเงิน XX,XXX บาท ซึ่งกำหนดให้ผ่อนจ่ายคืนทั้งหมด 24 งวดๆละ 1,000.-บาท โดยต้องผ่อนจ่ายคืนไม่เกินวันที่ 8 ของทุกๆเดือน นาย ก. ได้รับเงินกู้มาแล้ว ในวันที่ 9/ก.ค./ ซึ่งหลังจากนั้น นาย ก. ได้ผ่อนจ่ายชำระคืนไปแล้ว เป็นบางงวด ดังนี้ งวดที่1_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 8/ส.ค./2550 งวดที่2_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/ก.ย./2550 งวดที่3_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 6/ต.ค./2550 งวดที่4_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/พ.ย./2550 งวดที่5_____เริ่มหยุดจ่าย

61 “ผิดนัดชำระตามสัญญา” คือ
“ผิดนัดชำระตามสัญญา” คือ...เมื่อถึงวันที่ลูกหนี้จะต้องจ่ายคืนเงินกู้ตามสัญญาที่ได้ระบุไว้ แต่กลับมิได้จ่ายตามวันที่ได้กำหนดไว้สัญญา วันที่ 8/ธ.ค./2550 ถือว่า นาย ก. ได้เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา ไม่ใช่ วันที่ 7/พ.ย./2550 ซึ่งเป็น “การจ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้ายเพราะถือได้ว่า นาย ก. ยังมีการจ่ายชำระเงินในวันที่ 7/พ.ย./2550 ตามสัญญาอยู่ จึงไม่ได้เป็นการผิดนัดตามสัญญาแต่อย่างใด

62 3. กรณีผู้ยืมตายก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ
ผู้ให้ยืมต้องฟ้องทายาทของผู้ยืมภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ยืมได้รู้หรือควรได้รู้ความตายของผู้ยืม ตามม ว.3 โดยไม่ต้องรอให้หนี้ถึงกำหนดชำระตามสัญญา

63 ความแตกต่างระหว่างยืมใช้คงรูปและยืมใช้สิ้นเปลือง
ลักษณะการใช้ไม่ทำให้เสียภาวะหรือเสื่อมเสีย ผู้ให้ยืมไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ยืมใช้สิ้นเปลือง ลักษณะการใช้ทำให้เสื่อมภาวะหรือเสื่อมเสีย และทำให้สิ้นเปลืองหมดไป ผู้ให้ยืมต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม

64 ความแตกต่างระหว่างยืมใช้คงรูปและยืมใช้สิ้นเปลือง
ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์สินอันเดียวกันกับที่ยืม 5. มีค่าตอบแทนไม่ได้ ผู้ยืมไม่ต้องคืนทรัพย์สินอันเดียวกับที่ยืม แต่คืนชนิด ประเภท ปริมาณเดียวกัน 5. อาจมีค่าตอบแทนได้

65 คำถามท้ายบท

66 ดำให้แดงยืมรถยนต์ไปทำธุระที่ภูเก็ตเป็นเวลา 10 วัน เมื่อครบกำหนด 10 วันแล้ว แดงเกิดมีธุระจะต้องไปทำต่อที่นครศรีธรรมราชอีก 7 วัน จึงขับรถต่อไปทำธุระที่นครศรีธรรมราช หลังจากนั้นจึงขับรถกลับกรุงเทพฯ ระหว่างนั้นมีฝนตกพายุพัดอย่างหนัก แดงไม่สามารถขับรถหนีไปได้ จึงต้องจอดรถรออยู่ข้างทางจนกระทั้งพายุสงบเป็นเหตุให้รถยนต์ของดำต้องแช่น้ำอยู่หลายชั่วโมงทำให้เครื่องยนต์เสียหายต้องซ่อมแซมเป็นเงิน 3000 บาท ดังนี้ ดำจะเรียกค่าซ่อมแซมจากแดงได้หรือไม่ อย่างไร

67 คำถาม นายเขียวยืมน้ำตาลทรายจากนายขาวมา 1 กระสอบ เพื่อใช้ทำอาหารขาย กำหนดจะใช้คืนภายใน 1 เดือนในระหว่างการใช้เกิดไฟไหม้โรงครัวของนายเขียว ทำให้น้ำตาลทรายที่ยืมมาและเก็บไว้ในโรงครัวนั้นเสียหายหมด เมื่อครบ 1 เดือน นายขาวมาทวงน้ำตาลทรายคืน ถ้านายเขียวไม่ยอมใช้คืนให้ อ้างว่าน้ำตาลเสียหายจากไฟไหม้ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ความผิดของนายเขียว จะกระทำได้หรือไม่

68 สัญญากู้ยืมเงิน (Loan Agreement)
1. หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง กรณีที่ไม่ใช่กู้ยืมเงิน จะนำบทบัญญัติเรื่องยืมไปใช้บังคับไม่ได้ ได้แก่ 1.1 ยืมเงินทดลอง 1.2 สัญญาเล่นแชร์เปียหวย 1.3 มอบเงินไปให้ดำเนินกิจการร่วมกัน 1.4 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี 1.5 สัญญาบัตรเครดิต

69 2. การส่งมอบเงินที่ยืม ม. 650 วรรค2
2.1 การส่งมอบโดยตรง 2.2 การส่งมอบโดยปริยาย - ตกลงแปลงหนี้ใหม่จากมูลหนี้เดิมมาเป็นการกู้ยืมเงินแทน เช่น ทำสัญญากู้แทนการจ่ายเงินที่เป็นหนี้กัน

70 100,000 ผู้ซื้อ ผู้ขาย แปลงหนี้ใหม่ ผู้กู้ ผู้ให้กู้
หนี้ตาม ส.ซื้อขาย 100,000 ผู้ซื้อ ผู้ขาย แปลงหนี้ใหม่ ผู้กู้ ผู้ให้กู้ หนี้ตาม ส.กู้ 100,000

71 ผู้ซื้อที่ดินค้างชำระราคาที่ดินจึงทำสัญญากู้ไว้แทน
- ทำสัญญากู้แทนการวางมัดจำเป็นเงินสด - ในสัญญาประนีประนอมยอมความมีการตกลงว่าจะให้กู้ยืมเงินเพื่อประกันกรณีผู้ทำละเมิดไม่ชำระหนี้ ผู้ซื้อที่ดินค้างชำระราคาที่ดินจึงทำสัญญากู้ไว้แทน ในกรณีที่ทำสัญญากู้เพื่อชำระหนี้อื่น หนี้อื่นต้องเป็นหนี้ตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นหนี้ทางศีลธรรม

72 กรณีศึกษา ก. เช่าซื้อรถจักรยานยนต์จากร้านค้าโดยมี ข. เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ ข.เกรงว่านายก.จะไม่ชำระค่าเช่าซื้อทำให้ ข. เสียหายได้ จึงให้ ก. ทำสัญญากู้ประกันความเสียหาย (ผู้กู้)ต่อมา ข. (ผู้ให้กู้) ฟ้องให้ ก. ชำระหนี้ตามสัญญากู้ ได้หรือไม่ อย่างไร

73 ส.กู้ 50,000 ก ผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน ผู้ให้กู้ ร้านค้า
สัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ 50,000 ผู้กู้ ส.กู้ 50,000 มีการส่งมอบเงินหรือไม่? ฟ้องบังคับตามส.กู้ได้หรือไม่? ผู้ค้ำประกัน ผู้ให้กู้

74 ฎ 4951/ ขณะจำเลยทำสัญญากู้เป็นเวลาภายหลังจากการทำสัญญาค้ำประกันสินค้าเพียง 3 ชั่วโมง ความเสียหายจากการค้ำประกันยังไม่เกิดขึ้นและคำนวณไม่ได้ อันเป็นหนี้ไม่แน่นอน ไม่อาจนำเป็นมูลหนี้ในสัญญากู้ได้ พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องตามมูลหนี้เดิม

75 ฎ 4684/ ก่อนโจทก์จะทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของจำเลย ต่อธนาคาร โจทก์ได้ให้จำเลยทำสัญญากู้ไว้เป็นเงิน 80,000 บาท เพื่อเป็นประกัน ดังนั้นแม้ขณะนั้นสัญญากู้เงินไม่บริบูรณ์ตามมาตรา 650 วรรคสอง แต่ก่อนฟ้องคดีธนาคารได้หักเงินในบัญชีของโจทก์ชำระหนี้ของจำเลยไปเท่าจำนวนเงินตามสัญญากู้ ย่อมถือว่าจำเลยได้รับเงินตามสัญญากู้นับแต่ธนาคารได้หักเงินของโจทก์ชำระหนี้จำเลย สัญญากู้จึงบริบูรณ์ใช้บังคับกันได้

76 ดิฉันให้เพื่อนยืมเงินไป 8,000 บาท โดยโอนเงินให้ทางธนาคาร ไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ มีเพียงใบโอนเงินจากธนาคาร ตอนนี้เพื่อนไม่ยอมคืนเงินให้ ทวงก็ปิดมือถือ ดิฉันจะฟ้องเรียกเงินคืนได้หรือไม่ เพราะเครียดมากๆค่ะ

77 3.1 ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ
3. หลักฐานการกู้เงิน ม. 653 วรรคแรก ลักษณะของหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน มีหลักต้องพิจารณา 4 ประการ คือ 3.1 ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ - หลักฐานดังกล่าวต้องมีข้อความที่แสดงว่าจำเลยหรือผู้กู้ได้รับเงินไปและจะใช้คืน โดยมีการระบุจำนวนเงินด้วย

78

79 การลงลายมือชื่อของผู้ยืมทำได้หลายประการคือ 1. การลงลายมือชื่อ
3.2 ผู้กู้ต้องลงลายมือชื่อในหนังสือนั้น การลงลายมือชื่อของผู้ยืมทำได้หลายประการคือ 1. การลงลายมือชื่อ 2. การใช้ตราประทับ 3. การพิมพ์ลายนิ้วมือ แกงได มีพยานรับรอง 2 คน 4. การพิมพ์ลายนิ้วมือ แกงได หรือเครื่องหมายอื่นใดซึ่งทำลงในเอกสารต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่

80 ปพพ. มาตรา 9 เมื่อ มีกิจการอันใด ซึ่ง กฎหมายบังคับ ให้ทำเป็นหนังสือ บุคคล ผู้จะต้อง ทำหนังสือ ไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่ หนังสือ นั้น ต้องลง ลายมือชื่อ ของ บุคคลนั้น             ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือ เครื่องหมายอื่น ทำนองเช่นว่านั้น ที่ทำลงใน เอกสาร แทนการลง ลายมือชื่อ หากมีพยาน ลง ลายมือชื่อ รับรองไว้ด้วย สองคน แล้ว ให้ถือเสมอกับ ลงลายมือชื่อ             ความใน วรรคสอง ไม่ให้ใช้บังคับแก่ การลง ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือ เครื่องหมายอื่น ทำนองเช่นว่านั้น ซึ่ง ทำลงใน เอกสาร ที่ทำต่อหน้า พนักงานเจ้าหน้าที่  

81 แกงได น. " รอยกากบาท หรือ ขีดเขียน ซึ่งบุคคลไม่รู้หนังสือ ขีดเขียนลง ไว้เป็นสำคัญ " cross n. "a mark (X) made as a signature, as by a person who cannot write his name "

82 ตราประทับ ( Inkan / Hanko )
ชาวญี่ปุ่นจะใช้ตราประทับแทนการเซ็นต์ชื่อในเอกสารสำคัญต่างๆ และเนื่องจากธนาคารในญี่ปุ่นหลายแห่งจะไม่อนุญาตให้เปิดบัญชีโดยใช้ลายเซ็นต์

83 3.3 หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจะต้องมีเมื่อใด
การกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือยกขึ้นฟ้องหรือต่อสู้คดีไม่ได้ ฎ 865/ เอกสาร 3 ฉบับ คือ เช็คที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โฉนดที่ดิน และหนังสือมอบอำนาจ อ้างว่ามีการกู้เงินไม่ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าถ้าไม่ใช้หนี้เงินกู้ยอมให้จำเลยนำโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนขายฝาก โจทก์จึงเรียกโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้

84 4. หนังสือกู้ยืมเงิน หากอ้างหนังสือสัญญากู้เป็นพยานต้องปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้” ส่วนหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ต้องปิดอากรแสตมป์

85

86 การขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น หมายถึง การที่ผู้ขีดฆ่าจะทำอย่างไรก็ได้ ที่ทำให้ไม่สามารถนำอากรแสตมป์นั้นมาใช้ได้อีก จะให้ผู้กู้เซ็นต์ทับอากรแสตมป์ทุกดวงก็ได้ ฎ 1014/2537 สัญญากู้ยืมเงิน อันเป็นตราสารที่โจทก์ได้อ้างเป็นพยาน ถึงจะได้มีการปิดอากรแสตมป์ไว้แล้วครบตามที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ว่าไม่ได้มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น จึงถือว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ศาลจึงไม่อาจที่จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จึงต้องถือว่าคดีนี้ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินมาฟ้อง ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย

87 ตอนทำสัญญาเถ้าแก่ให้เซ็นชื่อใส่กระดาษเปล่า
รู้แต่ว่ากู้เงินแค่ 3,000 บาท แต่ในสัญญาเขากรอกเป็น 30,000 บาท เขาส่งคนมาทวงหนี้ 2 ครั้งแล้ว ถ้าหนูไม่จ่าย แต่ให้เขาฟ้องศาล หนูจะมีทางชนะ ไหมค่ะ

88 5. กรณีมีการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืม
5. กรณีมีการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืม 5.1 แก้ไขจำนวนเงินในขณะเขียนสัญญากู้ เช่น กู้ 10,000 บาทขณะเขียนผู้กู้ขอเพิ่ม 20,000 บาท ผู้กู้ตกลงจึงแก้จำนวนเงิน 5.2 แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้เดิมเมื่อมีการกู้ยืมครั้งใหม่ เช่น สัญญาเดิมกู้ยืม 10,000 บาท เมื่อครบกำหนดเอาเงินมาชำระแล้วขอกู้ใหม่อีก 10,000 บาท จึงเอาสัญญาเดิมมาขีดฆ่าจำนวนเดิมแล้วเขียนใหม่เป็น 20,000 บาท โดยผู้กู้ไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับ ต่อมาเจ้าหนี้ฟ้องชำระหนี้ 20,000 บาท

89 5.3 แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้นโดยผู้กู้ไม่ยินยอม เช่น กู้ยืม 5,000 บาท ต่อมาผู้กู้ไม่มาชำระหนี้ จึงเพิ่ม 0 อีกตัว แล้วนำสัญญานั้นมาฟ้องศาล 5.4 สัญญากู้ไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แยกพิจารณา 1. ผู้ให้กู้กรอกเงินสูงกว่ากู้จริง ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินตามที่กู้จริง   ธรรมเนียมการกู้ยืมเงิน เจ้าหนี้มักให้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อ โดยไม่กรอกข้อความลงในแบบฟอร์มสำเร็จรูปของสัญญากู้ยืมเงินที่มีขายตามท้องตลาด ถ้าลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ค่อยกรอกข้อความตามความเป็นจริง แล้วฟ้องศาล

90 กรณีศึกษา ลูกความกู้เงินแค่ 12,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 20 ต่อเดือน ส่งได้ 8 เดือน ขาดส่งมาแล้ว 4 เดือน วันนี้ได้รับหมายศาล พร้อมสำเนาคำฟ้องว่า กู้ยืมเงิน 120,000 บาท ดอกเบี้ยตามกฎหมายสูงสุด ให้ไปศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน ใน3 สัปดาห์ข้างหน้า ลูกความปรึกษาจะทำอย่างไรดี

91 หากเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ไปกรอกจำนวนเงินเองถ้าจำนวน เงินดังกล่าวไม่ตรงกับความเป็นจริงที่กู้ยืม สัญญากู้ดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้เลยเนื่องจากเป็น สัญญากู้ปลอม(คำพิพากษาฎีกาที่ 2518/2547)

92 กรอกข้อความเท็จ ปลอมเอกสาร ประมวลกฎหมายอาญา ม.264 วรรคสอง “ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้านำเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

93 ผลจาการขี้โกง สัญญากู้เป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ ถือว่าสัญญากู้ฉบับนี้ใช้ไม่ได้ ถือว่าไม่มีสัญญากู้ ฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญาไมได้เลย

94 5.5 กรณีกู้ยืมเพียงครั้งเดียวแต่ผู้กู้ลงชื่อในสัญญาสองฉบับ เช่น ทำสัญญากู้จำนวน 7,000 บาท แต่ให้ทำสัญญากู้ 2 ฉบับ ฉบับแรกระบุจำนวนเงินกู้7,000 บาท ฉบับที่สอง 14,000 บาท โดยตกลงว่าถ้าไม่ชำระหนี้ให้โจทก์นำสัญญากู้ฉบับที่สองมาฟ้อง

95 ข้อควรปฏิบัติหรือระวังในการกู้ยืม

96 ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ยืมไปและจะใช้คืน
ลงลายมือชื่อผู้กู้ทุกครั้ง เก็บ ส.กู้คนละฉบับ ศึกษาประวัติของผู้กู้ กรอกจำนวนเงินตัวเลขให้ชัดเจน และตัวอักษรกำกับตัวเลข ห้ามเซ็นลายมือชื่อในกระดาษเปล่า ติดอากรแสตมป์ให้ครบ กู้ยืมชำระเป็นงวด ต้องกำหนดวันชำระแต่ละงวดให้ชัดเจน อ่านรายละเอียดใน ส.ก่อนเซ็น

97 ห้ามลงลายมือชื่อแทนกัน ต้องมีน.ส.มอบอำนาจที่ถูกต้อง
กู้เงินในระบบ กรอกเงินกู้ยืมตามความเป็นจริง ขีดฆ่าอากรแสตมป์การยื่นพยาน สัญญากู้ควรมีพยาน 2 ฝ่ายทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ แก้ ส.ต้องเซ็นชื่อกำกับ

98 1. อย่าลงลายมือชื่อในเอกสารเปล่าไม่กรอก
2. พยานต้องไม่เป็นพยานของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 3. อย่าลืมติดอากรแสตมป์ให้ครบและขีดฆ่าด้วย 4. ตัวเลข ต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และขีดปิดหน้าหลังตัวเลข 5. แก้ไขต้องมีการเซ็นกำกับทุกครั้ง 6. เก็บ ส.กู้ไว้คนละฉบับ อย่าเก็บที่ผู้ให้กู้ฝ่ายเดียว 7. ถ่ายสำเนาบัตรปชช ให้ผู้กู้ รับรองสำเนาถูกต้อง และลายมื่อชื่อให้ตรงกับ ส. กู้

99 ดอกเบี้ย (interest) เรื่องดอกเบี้ยแยกพิจารณาได้ 4 กรณี คือ 1. ดอกเบี้ยที่กำหนดโดยกฎหมาย มีบทบัญญัติกำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งนำมาใช้ในเรื่องกู้ยืม 2 มาตรา คือ

100 กรณีไม่กำหนดอัตราดอกเบี้ย
ม. 7 “ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน และมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทบัญญัติอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี” ม. 224 วรรคหนึ่ง “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น”

101 มาตรา 7 ส.กู้มีข้อความ ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามกฎหมาย เมื่อไม่ได้กำหนดอัตราไว้ คิดได้ร้อยละ 7.5/ปี ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ทุกเดือน โจทก์ฟ้องขอให้ชำระร้อยละ 15/ปี ศาลพิพากษาให้จ.ล.ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5/ปีได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ส.กู้ระบุ “ยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราอย่างสูง” ดู ฎ. 3708/2528

102 ม. 224 วรรคหนึ่ง ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดคิดได้ร้อยละ 7.5/ปี
แต่หากคู่สัญญาตกลงกำหนดอัตราเท่าใดก็ให้ใช้ได้เท่านั้น แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมาย คือร้อยละ 15/ ปี หรือ 1.25/เดือน ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด ม.224 วรรคสอง เช่น กู้ยืมเงินคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 /ปี หากผิดนัด คิดร้อยละ 12 ต่อปี ดังนี้ลูกหนี้ผิดนัดจะคิดร้อยละ27/ ปี ไม่ได้ คิดได้ตามที่คู่สัญญาตกลงคือ ร้อยละ 12 ต่อปี

103 2.1 ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะทั้งหมดแต่ต้นเงินสมบูรณ์
2. ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ม. 654 2.1 ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะทั้งหมดแต่ต้นเงินสมบูรณ์ 2.2 ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าแล้วนำไปรวมกับต้นเงินในสัญญากู้ 2.3 ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปแล้วจะเรียกคืนได้หรือไม่ หรือขอให้นำไปหักจากเงินต้นได้หรือไม่ 2.4 ผู้ให้กู้ยังมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัด

104 ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะทั้งหมดแต่ต้นเงินสมบูรณ์
ฝ่าฝืนพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา 2475 มาตรา 3 ประกอบกับมาตรา 654 บัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000 บาท การตกลงที่จะเรียกหรือเสียดอกเบี้ยเกินอัตราจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมายและขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงเป็นโมฆะตามมาตรา 150

105

106

107

108

109

110 ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด
ดอกเบี้ยเกินอัตรา ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด ร้อยละ20/ปี ร้อยละ 7.5 / ปี วันกู้ วันครบกำหนดชำระ วันชำระจริง โมฆะ หรือ ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปหากไม่ปรากฏก่อนฟ้องผิดนัด

111 ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยล่วงหน้าแล้วนำไปรวมกับต้นเงินในสัญญากู้
กู้เงิน 80,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 2/ เดือนเป็นเวลา 15 เดือน เป็นเงิน 30,000 บาท รวมเป็น ส. กู้ 110,000 บาท เงิน 30,000 บาทตกเป็นโมฆะ กู้เงินกัน 4,000 คิดดอกเบี้ยร้อยละ 5/ เดือนเป็นเวลา 10 เดือน เป็นเงิน 2,000 บาท เอารวมไว้เป็นเงินกู้ด้วย เงิน 2,000 บาทดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ ต้นเงินสมบูรณ์ฟ้องเรียกคืนได้

112 - พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523
3. ดอกเบี้ยกรณีผู้ให้กู้เป็นสถาบันการเงิน - พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 สถาบันการเงินที่อยู่ในความหมายของพ.ร.บ.นี้มีอยู่ 11 ประเภท คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

113 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร
ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทประกันภัย สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่จดทะเบียนและตั้งอยู่ในต่างประเทศ

114 การคิดดอกเบี้ยต้องเป็นไปตาม ประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมในขณะทำสัญญากู้ คิดเกินดอกเบี้ยเป็นโมฆะ ประกาศธนาคารให้คิดไม่เกินร้อยละ 16 ต่อปี ขณะทำสัญญาธนาคารคิดร้อยละ 18ต่อปี ฝ่าฝืนต่อพ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ ม.14 เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ม.3 (ก) ดอกเบี้ยดังกล่าวตกเป็นโมฆะ

115 ธนาคารเรียกดอกเบี้ยฝ่าฝืนกฎหมาย
ฎีกาที่ 570/2549 โจทก์เป็นสถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ. ธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดด้วย ตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์นั้น โจทก์ได้ออกประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเป็นสองอัตรา คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ

116 ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกหนี้ที่ปฏิบัติผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญาเลย จึงเป็นการ กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ถือว่าเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) จึงตกเป็นโมฆะ

117 ผู้ให้กู้จะเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลงกันไม่ได้ เมื่อไม่มีเงื่อนไขยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยได้เกินกว่านั้น เช่น ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกจากลูกค้าร้อยละ 20 ธนาคารตกลงกับลูกค้าร้อยละ 19 แม้ต่อมาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลงกันไว้ ธนาคารไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยลูกค้าไม่ยินยอม ฎ 5587/2538

118 ถ้าหากมีเงื่อนไขหรือความตกลงให้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ โดยมีหนังสือแจ้งให้ผู้กู้ทราบถึงอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง และไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ ใช้บังคับได้ กำหนดข้อสัญญา “ธนาคารมีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ” ข้อตกลงนี้ใช้บังคับได้หรือไม่ ?

119 สัญญากู้ระหว่างธนาคารกับผู้กู้ในช่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเว้นว่างไว้ไม่ได้พิมพ์ตัวเลข ในสัญญาระบุว่า “ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากผู้กู้ได้”

120 หมายความว่า หลังทำสัญญาแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้ให้กู้ประกาศเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย ผู้กู้ยอมให้คิดดอกเบี้ยตามสัญญาในอัตราที่เปลี่ยนแปลง โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ครบถ้วน เป็นข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมชัดแจ้ง ถ้าธนาคารคิดดอกเบี้ยไม่เกินประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารมีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย ฎ 170/2546

121 ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้กำหนดได้หรือไม่ ?
ต.ย. เสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ ร้อยละ ต่อปี ผู้กู้ประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญาหรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ คิดเพิ่มร้อยละ 18.5 ต่อปี

122 ข้อตกลงล่วงหน้า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
เมื่อศาลเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยอันเป็นเบี้ยปรับสูงเกินส่วนก็ปรับลดเป็นจำนวนพอสมควรได้เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด เบี้ยปรับ ม.383 วรรค 1

123 4.2 ประเพณีการค้าขายที่มีการคิดดอกเบี้ยทบต้น
4. ดอกเบี้ยทบต้น (compound interest) มาตรา 655 4.1 ต้องทำสัญญาเรียกดอกเบี้ยทบต้นเป็นหนังสือ ม. 655 วรรคแรก กฎหมายยอมให้มีการตกลงคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อเมื่อปรากฏว่ามีการค้างส่งดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี 4.2 ประเพณีการค้าขายที่มีการคิดดอกเบี้ยทบต้น ม. 655 วรรคสอง เช่น บัญชีเดินสะพัด หรือการค้าขายอย่างอื่นที่มีการคิดดอกเบี้ยทบต้นกัน

124 ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยทบต้น
เงินต้น ดอกเบี้ย จำนวนดอกเบี้ยในแต่ละปี ปีที่ บาท ปีที่ บาท ปีที่ บาท ปีที่ บาท ปีที่ บาท รวมดอกเบี้ย บาท

125 ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยธรรมดา
เงินต้น ดอกเบี้ย จำนวนดอกเบี้ยในแต่ละปี ปีที่ บาท ปีที่ บาท ปีที่ บาท ปีที่ บาท ปีที่ บาท รวมดอกเบี้ย บาท

126 การคิดดอกเบี้ยทบต้นตามมาตรา 655 เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่ก. ม
การคิดดอกเบี้ยทบต้นตามมาตรา 655 เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่ก.ม.กำหนดตามมาตรา 654 และ จะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยขัดต่อมาตรา 224 วรรคสองหรือไม่

127 การคิดดอกเบี้ยทบต้นตาม มาตรา 655 นั้น แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันแล้วทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา (ฎ 658/659/2511) การที่โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปีมาทบรวมกับยอดเงินต้น ดอกเบี้ยที่ทบนั้นจึงกลายเป็นเงินต้นไม่เป็นดอกเบี้ยอีกต่อไป ข้อตกลงมีผลใช้บังคับได้ตามมาตรา 655 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ตาม มาตรา 224 วรรคสอง (ฎ 5291/2540)

128 การยอมรับเอาของอื่นแทนเงิน
ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หากแต่เป็นการยอมรับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นตามหลัก ม. 321 -เหตุผลในการมีบทบัญญัติเฉพาะม. 656

129 ตัวอย่างที่ 1 3,000 บาท ผู้ให้กู้ ผู้กู้ ส่งมอบข้าว 2 กระสอบๆ
1,200 บาท ปัญหา ผู้กู้เป็นหนี้เท่าไร ?

130 ตัวอย่างที่ 2 3,000 บาท ผู้ให้กู้ ผู้กู้ ส่งมอบข้าว 1 เกวียนๆละ
4,000 บาท ปัญหา ผู้กู้ต้องชำระหนี้เท่าไร ?

131 ชาวนา(ผู้กู้)ได้รับผลกระทบอย่างไรจากข้อตกลงตามสัญญากู้ดังกล่าว

132 ในกรณีกู้ยืมเงินจึงมีบทบัญญัติเฉพาะได้แก่ ม. 656
แยกพิจารณาได้ 2 กรณี 1. การยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินที่กู้ มีข้อพิจารณา 3 ประการ 1.1 คู่กรณีได้ตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินกัน 1.2 ผู้กู้อาจรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอื่นแทนจำนวนเงินได้ 1.3 ต้องมีการคิดคำนวณมูลค่าหรือราคาสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ผู้กู้ได้ยอมรับแทนจำนวนเงินที่ได้ตกลงกู้

133 กู้กัน 1250 บาทตามราคาปูนขณะส่งมอบ
การคิดราคาไม่ถือตามราคาท้องตลาดในเวลาใดเวลาหนึ่งหรือคิดราคาที่สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ผู้ให้กู้ ผู้กู้ กู้ 1000 บาท ปูน 10 ถุง ตกลงกันๆละ 500 บาท ข้อตกลงเป็นโมฆะ ปูนในขณะส่งมอบราคาถุงละ 125 บาท กู้กัน 1250 บาทตามราคาปูนขณะส่งมอบ

134 2. การยอมรับเอาสิ่งของอื่นแทนการชำระเงินที่กู้ยืม ม. 656 วรรคสอง
- ในการคิดคำนวณแห่งมูลค่าหรือราคาแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้น ต้องถือเกณฑ์แห่งราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบ - หากไม่มีการตกลงคิดราคาหรือมีการตกลงคิดราคาแต่ไม่ถือราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ย่อมมีผลตกเป็นโมฆะ เฉพาะในเรื่องของการตกลงคิดราคากันเท่านั้น หนี้ไม่ระงับแต่อย่างใด

135 สัญญากู้มีข้อความว่า
ถ้าไม่ชำระหนี้เงินกู้ภายในกำหนด ผู้กู้ยอมโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้กู้ ถ้าสองเดือนไม่นำเงินมาให้ เป็นอันว่าที่ดินที่ยึดถือว่าเป็นประกันเป็นอันขาดกัน ผู้กู้นำนามาให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกัน มีบันทึกว่า ถ้าข้าพเจ้าไม่นำต้นเงินและดอกเบี้ยมาให้ตามสัญญา ข้าพเจ้ายอมโอนที่นารายนี้ให้เป็นกรรมสิทธิ์ ฝ่าฝืนม. 656 วรรค 2 ตกเป็นโมฆะ ตาม วรรค 3

136 ทำสัญญากู้เอารถยนต์ตีใช้หนี้โดยกำหนดราคาไว้ล่วงหน้า
เมื่อผู้กู้ไม่ใช้เงินต้องโอนสิทธิการเช่าแก่ผู้ให้กู้โดยไม่คำนึงมีราคาเท่าใดในท้องตลาดในเวลาส่งมอบ ชำระหนี้เงินกู้โดยโอนสิทธิการเช่าซื้อที่ดินและบ้าน ไม่ได้คิดราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ดังนี้หากมีการโอนสิทธิให้เจ้าหนี้และเจ้าหนี้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่การเคหะแห่งชาติเสร็จสิ้นและจดทะเบียนที่ดินและบ้านเป็นของตน ผู้กู้สามารถยกข้อต่อสู้อะไรได้บ้างเพื่อไม่ให้เสียสิทธิในที่ดินและบ้าน ดู ฎีกาที่ 2033/2541

137 ข้อสังเกต กรณีกู้ยืมเงินแล้วผู้กู้ทำหนังสือยกที่ดินมือเปล่าให้เจ้าหนี้ แม้ไม่เป็นไปตามม. 656 ว. 3 แต่การแสดงเจตนาสละการครอบครองให้แก่ผู้ให้กู้ ผู้ให้กู้มีสิทธิตามบทบัญญัติเรื่องทรัพย์ ม. 1378

138 ตัวอย่าง นายขาวกู้ยืมเงินนายมืด จำนวน 5000 บาท เพื่อลงทุนซื้อปุ๋ยใส่ในนาข้าว นายมืดตกลงให้กู้ยืมเงินดังกล่าว โดยตกลงกับนายขาวว่า หากนายขาวไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ภายในเวลา 1 ปี ให้นายขาวโอนที่นาให้แก่ตน ดังนี้เมื่อนายขาวไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่นายมืดได้ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกัน นายมืดจะบังคับให้นายขาวโอนที่นาให้แก่ตนได้หรือไม่ เพียงใด

139 การใช้เงินที่กู้ยืม ม. 653 วรรคท้าย
1) การชำระเงินต้นที่กู้ยืม (ก) การชำระเงินต้น หลักฐานในการชำระเงินต้นมี 3 ประเภท 1. หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ 2. การเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม 3. การแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

140 ข้อยกเว้น หากมีการชำระหนี้เงินกู้โดยประการอื่นที่ไม่ได้ชำระด้วยเงิน จะไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 653 วรรค 2 เช่น การหักกลบลบหนี้ การแปลงหนี้ใหม่ การปลดหนี้ หรือหนี้เกลื่อนกลืนกัน ตลอดจนการชำระหนี้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 321 หรือตกลงรับของอื่นแทนการชำระหนี้ ตามมาตรา 656 วรรค 2

141 ตัวอย่างเช่น นายจิตต์ให้นายใจ กู้เงินจำนวน 5000 บาท โดยทำหนังสือสัญญากู้ยืมกันไว้ ต่อมาคู่สัญญาได้ตกลงกันชำระหนี้ด้วยข้าวสาร 10 กระสอบ นายจิตต์ก็ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ในวันที่นายใจนำข้าวสารมาคืนนายจิตต์ นายจอยเป็นผู้นำข้าวสารเข้าไปเก็บในบ้าน ต่อมาภายหลังนายจิตต์มาฟ้องนายใจว่ายังไม่ชำระหนี้เงินกู้จำนวน 5000 บาท ดังนี้ นายใจสามารถนำนายจอยมาสืบว่าได้ชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินอื่นแทนเงินแล้ว

142 (ข) การชำระหนี้บางส่วน
- ถือว่าหนี้เงินกู้นั้นระงับไปบางส่วน ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกส่วนที่ค้างชำระได้อยู่อีก การชำระดอกเบี้ย ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ สามารถนำสืบได้ด้วยพยานบุคคล เช่น

143 นาย ก. กู้ยืมเงินนาย ข. จำนวน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นาย ก. ได้ชำระตัวเงินพร้อมดอกเบี้ยให้นาย ข. เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยนาย ข. ได้ออกใบเสร็จรับเงินเฉพาะจำนวนเงินต้นให้แก่นาย ก. ต่อมานาย ข. กลับมาฟ้องนาย ก. ว่ายังค้างชำระดอกเบี้ยแก่ตน จำนวน 500 บาท ดังนี้ นาย ก. จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่นาย ข. แล้วได้

144 3) อายุความ - ตามหลักแห่งอายุความทั่วไป คือ 10 ปี ตามม.193/30 - การฟ้องเรียกดอกเบี้ยที่ค้างส่ง มีอายุความ 5 ปี ตามม. 193/33

145 จบ


ดาวน์โหลด ppt วิชากฎหมายพาณิชย์ 2 อ.สุธาสินี สุภา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google