งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหลากหลายทางชีวภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหลากหลายทางชีวภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหลากหลายทางชีวภาพ

2 ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
หมายถึง สิ่งมีชีวิตจำนวนมากมาย ทั้งที่เป็นชนิดเดียวกันหรือว่าต่างชนิดกัน ที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน สิ่งมีชีวิตที่พบในปัจจุบันมีอยู่มากมาย ซึ่งเป็นผลมาจากการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วงระยะเวลากว่า 3,000 ล้านปี โดยในแต่ละยุคจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นใหม่บ้างหรือสูญพันธุ์ไปบ้างนักธรณีวิทยา และนักบรรพชีวินได้พยายามสร้างตารางเวลาเพื่อบันทึกลำดับเหตุการณ์การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยใช้หลักฐานของซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถคำนวณอายุได้ ซึ่งเรียกว่า “ ตารางธรณีกาล ”

3 ตารางธรณีกาล

4

5 อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
อนุกรมวิธาน (Taxonomy หรือ Systematics) เป็นการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับการจำแนกพันธุ์ ซึ่งก็คือ การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะ ศึกษาในด้านต่างๆ ลักษณะ ได้แก่ 1. การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ( classification ) 2. การกำหนดชื่อที่เป็นสากลของหมวดหมู่และชนิดของสิ่งมีชีวิต (nomenclature) 3. การตรวจสอบหาชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องของสิ่งมีชีวิต (identification )

6 ประโยชน์ของอนุกรมวิธาน
1. เพื่อความสะดวกที่จะนำมาศึกษา 2. เพื่อสะดวกในการนำมาใช้ประโยชน์ 3. เพื่อเป็นการฝึกทักษะในการจัดจำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ 4. เพื่อทำให้รู้ถึงลักษณะโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคลึงหรือต่างกัน 5. เพื่อทำให้รู้ถึงความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต

7 ระบบการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต
โดยทั่วไปที่มีอยู่ 4 ระบบที่สำคัญคือ 1. Artificial System เป็นระบบการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยพิจารณา ลักษณะภายนอก หรือลักษณะทั่วๆ เท่าที่สังเกตได้ มิได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ หรือการมีบรรพบุรุษ ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต เป็นการจัดจำแนกเพื่อความสะดวก และรวดเร็วเท่านั้น 2. Phylogenetic System เป็นระบบการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต โดยพิจารณาถึง ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการของ สิ่งมีชีวิตที่เป็นไปได้มากที่สุด นักอนุกรมวิธานพยายามจัดให้เป็นไปตามระบบนี้

8 3. Nature System จำแนกโดยอาศัยลักษณะธรรมชาติ ลักษณะภายนอก
ลักษณะภายใน พฤติกรรม และ นิเวศวิทยา 4. Modern  system ระบบนี้เป็นการผสมระหว่าง  Natural  system กับ Phylogenetic  system  เข้าด้วยกันโดยรวมลักษณะภายนอก  ลักษณะ ภายใน  เอ็มบริโอ  ลักษณะทางชีวเคมี  เช่นผนังเซลล์ประกอบด้วยสาร อะไรบ้าง มีอาหารเก็บไว้ที่ไหน  มีรงควัตถุอะไร  จำนวนโครโมโซม  รวมทั้ง สภาวะแวดล้อมและซากดึกดำบรรพ์ (fossil) มาเป็นเกณฑ์พิจารณา

9 หลักเกณฑ์ในการจัดจำแนกหมวดหมู่
1. เปรียบเทียบโครงสร้างภายนอกและภายในว่ามีความเหมือนหรือ แตกต่างกันอย่างไร โดยทั่วไปจะใช้โครงสร้างที่เห็นเด่นชัดเป็นเกณฑ์ในการจัดจำแนก ออกเป็นพวก ๆ เช่น การมีรยางค์ หรือขาเป็นข้อปล้อง มีขนเป็นเส้นเดียว หรือเป็นแผงแบบขนนก มีเกล็ด เส้น หรือ หนวด มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น ถ้าโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน แม้จะทำหน้าที่ต่างกันก็จัดไว้เป็นพวกเดียวกัน เช่น กระดูกแขนของมนุษย์ กระดูกครีบของปลาวาฬ ปีกนก ขาคู่หน้าของสัตว์สี่เท้า ถ้าเป็นโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดต่างกัน แม้จะทำหน้าที่เหมือนกันก็จัดไว้คนละพวก เช่น ปีกนก และปีกแมลง

10

11 2. แบบแผนการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีล้าดับขั้นตอนการเจริญของเอ็มบริโอเหมือนกัน ต่างกันที่รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนเท่านั้น และสิ่งมีชีวิตที่มีความคล้ายกันในระยะการเจริญของเอ็มบริโอมาก แสดงว่ามีวิวัฒนาการใกล้ชิดกันมาก

12 3. ซากดึกดำบรรพ์ การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตทำให้ทราบบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันได้ และสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันก็จัดอยู่พวกเดียวกัน เช่น การจัดเอานกและสัตว์เลื้อยคลานไว้ในพวกเดียวกัน เพราะจากการศึกษาดึกดำบรรพ์ ของเทอราโนดอน (Pteranodon) ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ และซากของอาร์เคออพเทอริกส์ (Archaeopteryx) ซึ่งเป็นนกโบราณชนิดหนึ่งมีขากรรไกรยาว มีฟัน มีปีก มีนิ้ว ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน จากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่านกมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลื้อยคลาน เทอราโนดอน ( Pteranodon ) อาร์เคออพเทอริกส์ ( Archaeopteryx )

13 4. ออร์แกเนลล์ภายในเซลล์
โดยอาศัยหลักที่ว่าสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดกันมากย่อมมีสารเคมีและออร์แกเนลล์ภายในเซลล์คล้ายคลึงกันด้วย ออร์แกเนลล์ที่นำมาพิจารณาได้แก่ พลาสติก และสารโปรตีนที่เซลล์สร้างขึ้น

14 ลำดับชั้นในการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิตจะจัดเป็นลำดับขั้น โดยเริ่มด้วยการจัดเป็นหมวดหมู่ใหญ่ก่อน แล้วแต่ละหมู่ใหญ่ก็จำแนกออกไปเป็นหมู่ย่อยลงไปเรื่อย ๆ อาณาจักร (Kingdom) ศักดิ์ (Phylum (สัตว์) or Division (พืช) ) ชั้น (Class) อันดับ หรือลำดับ (Order) วงศ์ (Family) สกุล (Genus) ชนิด (Species)

15 ตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ของมนุษย์
Kingdom Animalia ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ เป็นสิ่งมีชีวิตพวกที่นิวเคลียสมีผนังห่อหุ้ม ประกอบด้วย หลายเซลล์มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง แบบถาวร ไม่มีคลอโรฟิลล์ สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีวิตได้หลายลักษณะทั้งบนบก ในน้ำและบางชนิดเป็นปรสิต อาณาจักรนี้ได้แก่สัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์ไม่มีกระดูกสัน หลังจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง Phylum Chordata ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ มีแกนลำตัว Class Mammalia ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ มีต่อมน้ำนม ขนสั้นเล็ก ๆ (hair) Order Primate ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ มีนิ้ว5นิ้ว ปลายนิ้วมีเส้นแบน นิ้วหัวแม่มือพับ ขวางกับนิ้วอื่นๆ Family Homonidae ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ เดิน 2 ขา มีฟันเขี้ยวเล็กอยู่ระดับเดียวกับ ฟันอื่น Genus Homo ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ สามารถประดิษฐ์เครื่องมือและสะสมเครื่องมือไว้ Species Homo sapiens sapiens ลักษณะสิ่งมีชีวิตในหมวดหมู่ มีความสามารถเชิงศิลป์

16 ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ
1. ความหลากหลายของชนิด (Species diversity) เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจากนักนิเวศวิทยาได้ศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มสิ่งมีชีวิต ในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในเขตพื้นที่นั้น เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป

17 ชนิดพันธุ์ที่จำแนกแล้วในโลก

18 2. ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity)
เป็นส่วนที่มีความเกี่ยวเนื่องมาจากความหลากหลายของชนิดและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลไกวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต การปรากฏลักษณะของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะถูกควบคุมโดยหน่วยพันธุกรรมหรือยีน และการปรากฏของยีนจะเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตที่ทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นดำรงชีวิตอยู่ได้ และมีโอกาสถ่ายทอดยีนนั้นต่อไปยังรุ่นหลัง เนื่องจากในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมียีนจำนวนมาก และลักษณะหนึ่งลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีหน่วยพันธุกรรมมากกว่าหนึ่งแบบ จึงทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมีลักษณะบางอย่างต่างกัน

19 3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological diversity) หรือ ความหลากหลายของภูมิประเทศ (Landscape diversity) ในบางถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติที่เป็นลักษณะสภาพทางภูมิประเทศแตกต่างกันหลายแบบ

20

21

22 สาเหตุที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมมีอยู่หลายประการ เช่น
1. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดโดยวิถีธรรมชาติที่เรียกว่า การกลายพันธุ์ (mutation)” ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการแบ่งเซลล์ของโครโมโซม หรือเนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทำให้ลูกที่เกิดมา มีลักษณะแตกต่างไปจากพ่อแม่

23 2. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการหลอมรวมเซลล์สืบพันธุ์ของแกะกับแพะ แล้วใส่เข้าไปให้เจริญเติบโตในมดลูกของแกะ แล้วได้สัตว์ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า “กีป (geep)” เป็นชื่อผสมระหว่างแพะ (goat) กับแกะ (sheep) ลักษณะเด่น ได้แก่ มีเขา ขนมีลักษณะผสมระหว่างขนแพะกับขนแกะ หรือการผสมพันธุ์ของสุนัขระหว่างสายพันธุ์ต่างๆ ทำให้เกิดสุนัขหลากหลายสายพันธุ์ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นต้น

24 ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
จากจุดเริ่มต้นของความหลากหลายทางชีวภาพบนโลกมนุษย์ เมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว จนกระทั่งปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตได้วิวัฒนาการแยกออกเป็นชนิดต่างๆ หลายชนิด โดยแต่ละชนิดมีลักษณะการดำรงชีวิตต่างๆ เช่น บางชนิดมีลักษณะง่ายๆ เหมือนชีวิตแรกเกิด บางชนิดมีลักษณะซับซ้อน บางชนิดดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ บางชนิดดำรงชีวิตอยู่บนบก เป็นต้น ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน ตามแนวความคิดของ อาร์ เอช วิทเทเคอร์ (R.H. whittaker) จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร คือ

25 วิทเทเคอร์ (Whittaker, 1969) ได้แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร โดยแยกเอาเห็ดราออกมาจากอาณาจักรโพรติสตา โดยยึดวิถีการได้รับสารอาหารเป็นเกณฑ์ ดังนี้ 1. อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน 2. อาณาจักรโพรติสตา (Kingdom Protista) ได้แก่ โพรโตซัวและสาหร่ายบางพวก 3. อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) ได้แก่ เห็ดราต่าง ๆ ราเมือก 4. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) ได้แก่ พืชมีท่อลำเลียง และไม่มีท่อลำเลียง สาหร่าย 5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) ได้แก่ สัตว์ชนิดต่าง ๆ

26 1. อาณาจักรมอเนอรา ( Kingdom Monera )
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอราเป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ ในกลุ่ม โพรคาริโอต ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และแบคทีเรีย ซึ่งมีรูปร่างต่างกันออกไป เช่น เป็นแท่ง เกลียว กลม หรือต่อกันเป็นสายยาว แบคทีเรียบางชนิดทำให้เกิดโรค เช่น โรคบิด บาดทะยัก เรื้อน อหิวาตกโรค คอตีบ ไอกรน บางชนิดพบในปมรากถั่วที่เรียกว่า ไรโซเบียม ( Rhizobium sp. ) สามารถนำไนโตรเจนจากอากาศไปสร้างไนเตรด ซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญของพืช ส่วนสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ที่รู้จักดีคือ สไปรูรินา ( Sprirurina sp. ) ซึ่งมีโปรตีนสูง ใช้ทำอาหารเสริม

27 มีสมาชิกประมาณ 6,000 สปีชีส์

28

29 อาณาจักรโพรทิสตา ( Kingdom Protista )
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่ม ยูคาริโอต มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้มีทั้งประเภทชั้นต่ำ เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ มีคลอโรพลาสต์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง ได้แก่ สาหร่าย ซึ่งพบในน้ำจืดและน้ำเค็ม บางชนิดไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา นอกจากนั้นยังพบสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ราเมือก ซึ่งพบตามที่ชื้นแฉะ สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตาบางชนิดท้าให้เกิดโรค เช่น พลาสโมเดียม ( Plasmodium sp. ) ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรีย สาหร่ายบางชนิดทำอาหารสัตว์ บางชนิดทำวุ้น เช่น สาหร่ายสีแดง

30 มีสมาชิกประมาณ 60,000 สปีชีส์

31 อาณาจักรเห็ด รา (Kingdom Fungi)
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ อาจมีเซลล์เดียว เช่น ยีสต์ที่ทำขนมปัง หรือใช้ในการหมักสุรา ไวน์ เบียร์ เป็นต้น บางชนิดมีหลายเซลล์ เช่น เห็ด มีการรวมตัวเป็นกลุ่มของเส้นใยหรืออัดแน่นเป็นกระจุก มีผนังเซลล์คล้ายพืช แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์ และดำรงชีวิตโดยการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยหลั่งน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร แล้วจึงดูดเอาโมเลกุลที่ถูกย่อยเข้าสู่เซลล์ ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ

32 มีสมาชิกประมาณ 70,000 สปีชีส์

33 อาณาจักรพืช ( Kingdom Plantae )
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อ และเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น ราก ลำต้น ใบ มีคลอโรพลาสต์ซึ่งเป็นวัตถุที่ใช้ใน การสังเคราะห์ด้วยแสง โดยอาศัยพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ จึงมีหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ พบทั้งบนบกและในน้ำ โดยพืชชั้นต่ำจะไม่มีท่อลำเลียง ได้แก่ มอส พืชชั้นสูงจะมีท่อลำเลียง หวายทะนอย หญ้าถอดปล้อง ตีนตุ๊กแก ช้องนางคลี่ เฟิร์น สน ปรง พืชใบเลี้ยงคู่ และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

34 มีสมาชิกประมาณ 250,000 สปีชีส์

35

36 อาณาจักรสัตว์ ( Kingdom Animalia )
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเนื้อเยื่อซึ่งประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ ไม่มีผนังเซลล์ ภายในเซลล์ไม่มีคลอโรพลาสต์ ต้องอาศัยอาหารจากการกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ดำรงชีวิตเป็นผู้บริโภคในระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้มีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า บางชนิดเคลื่อนที่ไมได้ เช่น ฟองน้ำ ปะการัง กัลปังหา เป็นต้น

37 มีสมาชิกประมาณ 1,000,000 สปีชีส์

38 สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ฟองน้ำ กัลปังหา แมงกะพรุน พยาธิต่าง ๆ ไส้เดือน หอย ปู แมลง หมึก ดาวทะเล 2) สัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

39 การวิวัฒนาการของอาณาจักรทั้ง 5

40 คุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพมีคุณค่าและความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนี้ 1. เป็นแหล่งปัจจัยสี่ ป่าไม้ซึ่งเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มนุษย์ได้อาศัยอาหารที่ได้จากป่า เช่น น้ำ พืช สัตว์ เห็ด มาเป็นอาหาร หรือทำยารักษาโรค มนุษย์สร้างที่อยู่อาศัยจากต้นไม้ในป่า พืชบางชนิด เช่น ต้นฝ้าย นุ่น และไหม ใช้ท้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม เก็บฟืนมาทำเชื้อเพลิงเพื่อหุง หาอาหาร และให้ความอบอุ่น

41 2. เป็นแหล่งความรู้ ป่าเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งรวมพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต จึงเปรียบเสมือนห้องเรียนธรรมชาติ โดยเฉพาะความรู้ด้านชีววิทยา นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งให้ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อยู่ในป่า ถ้าหากป่าหรือธรรมชาติถูกทำลายไป ความหลากหลายทางชีวภาพก็ถูกทำลายไปด้วย จะทำให้มนุษย์ขาดแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญไปด้วย

42 3. เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ
ความหลากหลายทางชีวภาพก่อให้เกิดทัศนียภาพที่งดงาม แตกต่างกันไปตามสภาวะของภูมิอากาศ ในบริเวณที่ภูมิอากาศเหมาะสมแก่การอยู่อาศัยก็จะมีพรรณไม้นานาชนิด มีสัตว์ป่า แมลง ผีเสื้อ ช่วยให้รู้สึกสดชื่น สบายตา ผ่อนคลายความตึงเครียด และนอกจากนี้ยังปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


ดาวน์โหลด ppt ความหลากหลายทางชีวภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google